และแล้วศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ได้อ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 โดยใช้เวลาอ่านคำพิพากษาร่วม 8 ชั่วโมง และถ่ายทอดเสียงการพิพากษาคดีนี้ไปยังทั่วประเทศและทั่วโลกด้วย
ผลคำตัดสินนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าพลิกล็อกจากการคาดการณ์ของ 2 ใน 3 ฝ่าย เพราะก่อนพิพากษาคดีนี้มีการคาดการณ์กันไว้ว่าคำตัดสินจะออกมาเป็น 3 ทาง คือยึดทั้งหมด ปล่อยทั้งหมด และยึดบางส่วน
พวกที่คาดและพร่ำพูดว่ายึดทั้งหมดนั้น ในน้ำใจแท้ต้องการให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดทั้งหมด คำตัดสินจึงพลิกล็อกทั้งในส่วนพูดและในส่วนคิด
พวกที่คาดและพร่ำพูดว่าปล่อยทั้งหมดนั้น ในน้ำใจแท้ต้องการให้ยึดทรัพย์ทั้งหมด คำตัดสินจึงพลิกล็อกทั้งในส่วนพูดและในส่วนคิดเช่นเดียวกัน
เพราะคำพิพากษาได้ตัดสินให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินบางส่วน และคืนบางส่วน จะเรียกว่าออกกั๊กก็ได้ แต่เป็นการออกกั๊กที่ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่อัยการสูงสุดร้องขอตามกฎหมาย ป.ป.ช. ขอให้ทรัพย์ที่ คตส. อายัดไว้ตกเป็นของแผ่นดิน ในข้อกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือร่ำรวยผิดปกตินั่นเอง
สิ่งที่เรียกว่าทรัพย์สินในกฎหมาย ป.ป.ช. คือทรัพย์สินที่ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินไว้ในชื่อของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คู่สมรส และบุตร รวมถึงทรัพย์สินที่ถือในชื่อผู้อื่นด้วย
สิ่งที่เรียกว่าร่ำรวยผิดปกติในกฎหมาย ป.ป.ช. คือทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจากที่แจ้งไว้ตอนรับตำแหน่ง โดยเป็นการเพิ่มที่ผิดปกติ และไม่สามารถแสดงที่มาได้
ดังนั้นโดยหลักของกฎหมาย ป.ป.ช. จึงไม่สามารถสั่งให้ทรัพย์ที่อายัดไว้ทั้งหมดตกเป็นของแผ่นดินได้ เพราะตอนเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นได้มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินไว้ว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหุ้น และต่อมาได้จำหน่ายขายออกไป แล้วได้เงินมาและเงินนั้นก็ได้ถูก คตส. อายัดไว้
เพราะเหตุนี้ศาลจึงคำนวณมูลค่าหุ้นตามมูลค่าในขณะเข้าดำรงตำแหน่ง และสั่งให้คืนทรัพย์สินดังกล่าว ทรัพย์สินนอกจากที่คืนก็ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
เคยมีการกล่าวอ้างทฤษฎีวัวกินหญ้าว่าเมื่อให้วัวไปกินหญ้าของคนอื่น ซึ่งเป็นการผิดกฎหมายก็ต้องยึดวัวทั้งตัว เพราะไม่สามารถแยกส่วนที่วัวโตขึ้นเพราะกินหญ้ากับส่วนที่เป็นอยู่เดิมได้ ซึ่งการกล่าวเช่นนี้เป็นการกล่าวอุปมาที่อิงอยู่กับหลักกฎหมายอาญา
เป็นหลักกฎหมายอาญาว่าด้วยการริบทรัพย์สิน เพราะในทางอาญานั้นหากทรัพย์สินใดมีไว้ผิดกฎหมายก็ดี หรือไม่ผิดกฎหมายแต่ได้ใช้ไปในการกระทำความผิดตามกฎหมายก็ดี ศาลย่อมมีอำนาจสั่งริบทรัพย์นั้นได้ ซึ่งถ้าเป็นคดีอาญา การริบทรัพย์ก็จะสอดคล้องกับคำอุปมาเรื่องวัวกินหญ้า
แต่คดีนี้เป็นเรื่องตามกฎหมาย ป.ป.ช. ซึ่งไม่ใช่เรื่องอาญา และจะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่คดีแพ่งเสียทีเดียว หากจัดเป็นคดีพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ คือถ้าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติอันเป็นการร่ำรวยผิดปกติแล้ว ส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นต้องตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินในชื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือที่ถือไว้ในชื่อผู้อื่น และพิสูจน์ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การตัดสินคดีนี้ศาลได้ยึดหลักตามกฎหมาย ป.ป.ช. จึงมีคำสั่งให้คืนทรัพย์ตามมูลค่าที่มีอยู่เดิม และให้ทรัพย์ส่วนที่เกินจากที่มีอยู่เดิมนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
ดังนั้นคำตัดสินที่ไม่ออกหัว ไม่ออกก้อย แต่ออกตรงกลาง จึงไม่เป็นที่ต้องอกต้องใจของคนทั้งสองพวก คือคนพวกที่ต้องการให้คืนทรัพย์ทั้งหมด และพวกที่ต้องการให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินทั้งหมด
นี่แหละคือสิ่งที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ได้พระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องเวนิชวานิชว่า ในกระแสแห่งยุติธรรมา ยากจะหาความเกษมเปรมใจ
ถึงตอนนี้ก็ต้องขอพระราชทานอภัยโทษและต้องขออภัยท่านทั้งหลายเพราะในตอนก่อนหน้านี้ได้ใช้ถ้อยคำผิดพลาดไป เป็นว่ายากจะหาความเกษมเปรมปรีดิ์ มาวันนี้ก็ต้องใช้ความให้ถูกต้องคือ “ในกระแสแห่งยุติธรรมา ยากจะหาความเกษมเปรมใจ”
คำตัดสินคดีนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่เป็นคำพิพากษาที่ยาวมาก ใช้เวลาอ่านร่วม 8 ชั่วโมง มีเนื้อหาที่ละเอียดลออ และวินิจฉัยทุกข้อต่อสู้จนสิ้นกระแสความ เป็นคำตัดสินที่ประกอบด้วยหลักการรับฟังข้อเท็จจริง และหลักกฎหมายที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดฉบับหนึ่งของประวัติศาสตร์คำพิพากษาของศาลฎีกา
ซึ่งต้องถือว่านี่คือเกียรติประวัติของทั้งสถาบันคือศาลฎีกา และของทั้งตัวบุคคลคือองค์คณะผู้พิพากษา ที่พิจารณาพิพากษาคดีนี้ จัดเป็นคำพิพากษาที่สามารถเผยแพร่ได้อย่างสง่างามไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศก็ตามที
แม้กระนั้นก็มีผู้โต้แย้งว่า คำตัดสินคดีนี้เป็นการยอมรับการรัฐประหาร เพราะยอมรับประกาศของ คมช. ฉบับที่ 30 ในเรื่องการแต่งตั้ง คตส. และมีการวินิจฉัยในเรื่องการจัดเก็บภาษีอากรที่ซ้ำซ้อน
ก็เป็นธรรมดาของผู้ที่ไม่เห็นด้วย ย่อมสามารถวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงวิชาการได้ แต่ถ้าหากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะใส่ร้ายป้ายสีหรือดูหมิ่นศาลก็ย่อมต้องมีความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ในที่นี้สมควรที่จะทำความเข้าใจในข้อกังขาทั้งสองเรื่องดังกล่าว
เรื่องแรก คือคำตัดสินเรื่องนี้ยอมรับการรัฐประหารหรือไม่ ก็ต้องกล่าวว่าคำตัดสินเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการยอมรับหรือไม่ยอมรับการรัฐประหาร แต่เป็นการยอมรับผลของการออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งเป็นมาตรฐานการปฏิบัติทางกฎหมายในประเทศไทยมาช้านานแล้ว
นั่นคือผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์ไม่ว่าพระเจ้าแผ่นดินในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ดี คณะราษฎร์ก็ดี หัวหน้าคณะปฏิวัติก็ดี หัวหน้าคณะปฏิรูปก็ดี เมื่อได้อำนาจรัฐแล้วย่อมมีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ และประกาศหรือคำสั่งของผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์นั้นมีผลบังคับเป็นกฎหมาย
ประเทศไทยได้ยอมรับและยอมปฏิบัติตามหลักการแห่งกฎหมายที่ว่ามานี้อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2475 มาแล้ว ดังนั้นการที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 30 ในการตั้ง คตส. และที่แก้ไขนั้นใช้บังคับได้ และ คตส. มีอำนาจสอบสวนจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นเรื่องที่เป็นไปตามหลักปฏิบัติทางกฎหมายที่ได้ถือปฏิบัติตลอดมา
สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในประการนี้ก็คือ คตส. นั้นเป็นแค่ผู้ปฏิบัติในการรวบรวมตรวจสอบพยานหลักฐานว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือไม่ ไม่ใช่ผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าใครผิดหรือใครถูกซึ่งเป็นอำนาจตุลาการโดยเฉพาะ
ในเรื่องนี้หลังจาก คตส. รวบรวมพยานหลักฐานแล้วก็ได้ดำเนินการต่อไปโดย ป.ป.ช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ป.ป.ช. ฉบับปี 2542 แล้ว ป.ป.ช. จึงส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และดำรงอยู่ต่อมาแม้มีการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 แล้วก็ตาม
การตัดสินผิดถูกไม่เกี่ยวกับ คตส. หรือ ป.ป.ช. หรืออัยการสูงสุด แต่เป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลสถิตยุติธรรม ซึ่งมีมาก่อนหน้าการรัฐประหารแล้ว
ในการพิจารณาคดีนี้ คู่ความทั้งสองฝ่ายได้ใช้สิทธิตามกฎหมายในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบต่อศาลจนเป็นที่พอใจแล้ว เป็นการต่อสู้คดีโดยธรรมยุทธแล้ว ไม่มีผู้ใดโต้เถียงว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี เพราะเหตุนี้ก่อนที่ศาลจะตัดสินคดี ไม่ว่าผู้เกี่ยวข้องฝ่ายไหนต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่ายอมรับในคำตัดสินของศาล
เรื่องที่สอง เรื่องการจัดเก็บภาษีที่มีการกล่าวอ้างว่าซ้ำซ้อน เพราะในเมื่อศาลตัดสินว่าหุ้นเป็นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การที่จะจัดเก็บภาษีจากบุตรและผู้ที่รับโอนก่อนที่จะขายไปก็จัดเป็นการซ้ำซ้อน
ในเรื่องนี้ศาลได้วินิจฉัยชัดเจนว่า ในการจัดเก็บภาษีอากรนั้นเป็นไปตามหลักกฎหมายภาษีที่จัดเก็บจากผู้มีเงินได้ ตามหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของ ส่วนการพิจารณาว่าทรัพย์สินเป็นของผู้ใดในคดีนี้ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาหาความจริงได้และเมื่อพยานหลักฐานรับฟังได้ ศาลจึงวินิจฉัยว่าทรัพย์สินเป็นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คงมีปัญหาว่าจะมีการจัดเก็บภาษีรายการเดียวกันนี้จากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อีกหรือไม่ ข้อนี้หากมีการจัดเก็บอีกก็ย่อมเป็นการซ้ำซ้อน เพราะได้มีการเรียกจัดเก็บจากบุตรตามที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นผู้มีเงินได้ไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่กรณีซ้ำซ้อนแต่ประการใด
เมื่อคำตัดสินมีความชัดเจนเช่นนี้ ก็จะไม่มีศาลต่างประเทศใดๆ ที่จะมีอำนาจลบล้างผลแห่งคำตัดสินของศาลฎีกาได้ และการกล่าวร้ายต่อคำตัดสินของศาลนั้นก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อผลแห่งคำพิพากษาแต่ประการใด
เพราะระหว่างศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของศาลกับนักการเมืองนั้น ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างประเทศเขาก็รู้ดีว่าใครน่าเชื่อถือมากกว่ากัน?
ผลคำตัดสินนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าพลิกล็อกจากการคาดการณ์ของ 2 ใน 3 ฝ่าย เพราะก่อนพิพากษาคดีนี้มีการคาดการณ์กันไว้ว่าคำตัดสินจะออกมาเป็น 3 ทาง คือยึดทั้งหมด ปล่อยทั้งหมด และยึดบางส่วน
พวกที่คาดและพร่ำพูดว่ายึดทั้งหมดนั้น ในน้ำใจแท้ต้องการให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดทั้งหมด คำตัดสินจึงพลิกล็อกทั้งในส่วนพูดและในส่วนคิด
พวกที่คาดและพร่ำพูดว่าปล่อยทั้งหมดนั้น ในน้ำใจแท้ต้องการให้ยึดทรัพย์ทั้งหมด คำตัดสินจึงพลิกล็อกทั้งในส่วนพูดและในส่วนคิดเช่นเดียวกัน
เพราะคำพิพากษาได้ตัดสินให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินบางส่วน และคืนบางส่วน จะเรียกว่าออกกั๊กก็ได้ แต่เป็นการออกกั๊กที่ตั้งอยู่บนหลักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่อัยการสูงสุดร้องขอตามกฎหมาย ป.ป.ช. ขอให้ทรัพย์ที่ คตส. อายัดไว้ตกเป็นของแผ่นดิน ในข้อกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือร่ำรวยผิดปกตินั่นเอง
สิ่งที่เรียกว่าทรัพย์สินในกฎหมาย ป.ป.ช. คือทรัพย์สินที่ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินไว้ในชื่อของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คู่สมรส และบุตร รวมถึงทรัพย์สินที่ถือในชื่อผู้อื่นด้วย
สิ่งที่เรียกว่าร่ำรวยผิดปกติในกฎหมาย ป.ป.ช. คือทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจากที่แจ้งไว้ตอนรับตำแหน่ง โดยเป็นการเพิ่มที่ผิดปกติ และไม่สามารถแสดงที่มาได้
ดังนั้นโดยหลักของกฎหมาย ป.ป.ช. จึงไม่สามารถสั่งให้ทรัพย์ที่อายัดไว้ทั้งหมดตกเป็นของแผ่นดินได้ เพราะตอนเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นได้มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินไว้ว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหุ้น และต่อมาได้จำหน่ายขายออกไป แล้วได้เงินมาและเงินนั้นก็ได้ถูก คตส. อายัดไว้
เพราะเหตุนี้ศาลจึงคำนวณมูลค่าหุ้นตามมูลค่าในขณะเข้าดำรงตำแหน่ง และสั่งให้คืนทรัพย์สินดังกล่าว ทรัพย์สินนอกจากที่คืนก็ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
เคยมีการกล่าวอ้างทฤษฎีวัวกินหญ้าว่าเมื่อให้วัวไปกินหญ้าของคนอื่น ซึ่งเป็นการผิดกฎหมายก็ต้องยึดวัวทั้งตัว เพราะไม่สามารถแยกส่วนที่วัวโตขึ้นเพราะกินหญ้ากับส่วนที่เป็นอยู่เดิมได้ ซึ่งการกล่าวเช่นนี้เป็นการกล่าวอุปมาที่อิงอยู่กับหลักกฎหมายอาญา
เป็นหลักกฎหมายอาญาว่าด้วยการริบทรัพย์สิน เพราะในทางอาญานั้นหากทรัพย์สินใดมีไว้ผิดกฎหมายก็ดี หรือไม่ผิดกฎหมายแต่ได้ใช้ไปในการกระทำความผิดตามกฎหมายก็ดี ศาลย่อมมีอำนาจสั่งริบทรัพย์นั้นได้ ซึ่งถ้าเป็นคดีอาญา การริบทรัพย์ก็จะสอดคล้องกับคำอุปมาเรื่องวัวกินหญ้า
แต่คดีนี้เป็นเรื่องตามกฎหมาย ป.ป.ช. ซึ่งไม่ใช่เรื่องอาญา และจะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่คดีแพ่งเสียทีเดียว หากจัดเป็นคดีพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ คือถ้าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติอันเป็นการร่ำรวยผิดปกติแล้ว ส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นต้องตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินในชื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือที่ถือไว้ในชื่อผู้อื่น และพิสูจน์ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การตัดสินคดีนี้ศาลได้ยึดหลักตามกฎหมาย ป.ป.ช. จึงมีคำสั่งให้คืนทรัพย์ตามมูลค่าที่มีอยู่เดิม และให้ทรัพย์ส่วนที่เกินจากที่มีอยู่เดิมนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
ดังนั้นคำตัดสินที่ไม่ออกหัว ไม่ออกก้อย แต่ออกตรงกลาง จึงไม่เป็นที่ต้องอกต้องใจของคนทั้งสองพวก คือคนพวกที่ต้องการให้คืนทรัพย์ทั้งหมด และพวกที่ต้องการให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินทั้งหมด
นี่แหละคือสิ่งที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ได้พระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องเวนิชวานิชว่า ในกระแสแห่งยุติธรรมา ยากจะหาความเกษมเปรมใจ
ถึงตอนนี้ก็ต้องขอพระราชทานอภัยโทษและต้องขออภัยท่านทั้งหลายเพราะในตอนก่อนหน้านี้ได้ใช้ถ้อยคำผิดพลาดไป เป็นว่ายากจะหาความเกษมเปรมปรีดิ์ มาวันนี้ก็ต้องใช้ความให้ถูกต้องคือ “ในกระแสแห่งยุติธรรมา ยากจะหาความเกษมเปรมใจ”
คำตัดสินคดีนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่เป็นคำพิพากษาที่ยาวมาก ใช้เวลาอ่านร่วม 8 ชั่วโมง มีเนื้อหาที่ละเอียดลออ และวินิจฉัยทุกข้อต่อสู้จนสิ้นกระแสความ เป็นคำตัดสินที่ประกอบด้วยหลักการรับฟังข้อเท็จจริง และหลักกฎหมายที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดฉบับหนึ่งของประวัติศาสตร์คำพิพากษาของศาลฎีกา
ซึ่งต้องถือว่านี่คือเกียรติประวัติของทั้งสถาบันคือศาลฎีกา และของทั้งตัวบุคคลคือองค์คณะผู้พิพากษา ที่พิจารณาพิพากษาคดีนี้ จัดเป็นคำพิพากษาที่สามารถเผยแพร่ได้อย่างสง่างามไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศก็ตามที
แม้กระนั้นก็มีผู้โต้แย้งว่า คำตัดสินคดีนี้เป็นการยอมรับการรัฐประหาร เพราะยอมรับประกาศของ คมช. ฉบับที่ 30 ในเรื่องการแต่งตั้ง คตส. และมีการวินิจฉัยในเรื่องการจัดเก็บภาษีอากรที่ซ้ำซ้อน
ก็เป็นธรรมดาของผู้ที่ไม่เห็นด้วย ย่อมสามารถวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงวิชาการได้ แต่ถ้าหากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะใส่ร้ายป้ายสีหรือดูหมิ่นศาลก็ย่อมต้องมีความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ในที่นี้สมควรที่จะทำความเข้าใจในข้อกังขาทั้งสองเรื่องดังกล่าว
เรื่องแรก คือคำตัดสินเรื่องนี้ยอมรับการรัฐประหารหรือไม่ ก็ต้องกล่าวว่าคำตัดสินเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการยอมรับหรือไม่ยอมรับการรัฐประหาร แต่เป็นการยอมรับผลของการออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งเป็นมาตรฐานการปฏิบัติทางกฎหมายในประเทศไทยมาช้านานแล้ว
นั่นคือผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์ไม่ว่าพระเจ้าแผ่นดินในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ดี คณะราษฎร์ก็ดี หัวหน้าคณะปฏิวัติก็ดี หัวหน้าคณะปฏิรูปก็ดี เมื่อได้อำนาจรัฐแล้วย่อมมีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ และประกาศหรือคำสั่งของผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์นั้นมีผลบังคับเป็นกฎหมาย
ประเทศไทยได้ยอมรับและยอมปฏิบัติตามหลักการแห่งกฎหมายที่ว่ามานี้อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 2475 มาแล้ว ดังนั้นการที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 30 ในการตั้ง คตส. และที่แก้ไขนั้นใช้บังคับได้ และ คตส. มีอำนาจสอบสวนจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นเรื่องที่เป็นไปตามหลักปฏิบัติทางกฎหมายที่ได้ถือปฏิบัติตลอดมา
สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในประการนี้ก็คือ คตส. นั้นเป็นแค่ผู้ปฏิบัติในการรวบรวมตรวจสอบพยานหลักฐานว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือไม่ ไม่ใช่ผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าใครผิดหรือใครถูกซึ่งเป็นอำนาจตุลาการโดยเฉพาะ
ในเรื่องนี้หลังจาก คตส. รวบรวมพยานหลักฐานแล้วก็ได้ดำเนินการต่อไปโดย ป.ป.ช. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ป.ป.ช. ฉบับปี 2542 แล้ว ป.ป.ช. จึงส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และดำรงอยู่ต่อมาแม้มีการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 แล้วก็ตาม
การตัดสินผิดถูกไม่เกี่ยวกับ คตส. หรือ ป.ป.ช. หรืออัยการสูงสุด แต่เป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลสถิตยุติธรรม ซึ่งมีมาก่อนหน้าการรัฐประหารแล้ว
ในการพิจารณาคดีนี้ คู่ความทั้งสองฝ่ายได้ใช้สิทธิตามกฎหมายในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบต่อศาลจนเป็นที่พอใจแล้ว เป็นการต่อสู้คดีโดยธรรมยุทธแล้ว ไม่มีผู้ใดโต้เถียงว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี เพราะเหตุนี้ก่อนที่ศาลจะตัดสินคดี ไม่ว่าผู้เกี่ยวข้องฝ่ายไหนต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่ายอมรับในคำตัดสินของศาล
เรื่องที่สอง เรื่องการจัดเก็บภาษีที่มีการกล่าวอ้างว่าซ้ำซ้อน เพราะในเมื่อศาลตัดสินว่าหุ้นเป็นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การที่จะจัดเก็บภาษีจากบุตรและผู้ที่รับโอนก่อนที่จะขายไปก็จัดเป็นการซ้ำซ้อน
ในเรื่องนี้ศาลได้วินิจฉัยชัดเจนว่า ในการจัดเก็บภาษีอากรนั้นเป็นไปตามหลักกฎหมายภาษีที่จัดเก็บจากผู้มีเงินได้ ตามหลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของ ส่วนการพิจารณาว่าทรัพย์สินเป็นของผู้ใดในคดีนี้ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาหาความจริงได้และเมื่อพยานหลักฐานรับฟังได้ ศาลจึงวินิจฉัยว่าทรัพย์สินเป็นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คงมีปัญหาว่าจะมีการจัดเก็บภาษีรายการเดียวกันนี้จากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อีกหรือไม่ ข้อนี้หากมีการจัดเก็บอีกก็ย่อมเป็นการซ้ำซ้อน เพราะได้มีการเรียกจัดเก็บจากบุตรตามที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นผู้มีเงินได้ไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่กรณีซ้ำซ้อนแต่ประการใด
เมื่อคำตัดสินมีความชัดเจนเช่นนี้ ก็จะไม่มีศาลต่างประเทศใดๆ ที่จะมีอำนาจลบล้างผลแห่งคำตัดสินของศาลฎีกาได้ และการกล่าวร้ายต่อคำตัดสินของศาลนั้นก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อผลแห่งคำพิพากษาแต่ประการใด
เพราะระหว่างศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของศาลกับนักการเมืองนั้น ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างประเทศเขาก็รู้ดีว่าใครน่าเชื่อถือมากกว่ากัน?