นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. กล่าวก่อนเข้าร่วมหารือกับอดีต คตส. อาทิ นายอุดม เฟื่องฟุ้ง นายบรรเจิด สิงคเนติ นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ และ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ว่า รู้สึกพอใจผลคำตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ส่วนตัวเห็นว่า น่าจะยึดทั้งหมด 7.6 หมื่นล้านบาท ตามทฤษฎีวัวกินหญ้า ของนายแก้วสรร อติโพธิ อดีต กรรมการ คตส. พร้อมย้ำว่า คตส. ไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการยึดทรัพย์ครั้งนี้ เนื่องจากไม่ได้รับแจ้งเบาะแสจากใคร โดย คตส. ได้ทำงานหาหลักฐานกันเอง จึงไม่มีใครมีสิทธิ์ได้รับ
สำหรับกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ หยิบเรื่องดังกล่าวไปปลุกกระแส เห็นว่า เป็นความคิดของแต่ละคนว่าจะเชื่อหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คตส. ไม่ได้ร้องขอกำลังรักษาความปลอดภัยจากฝ่ายความมั่นคง หลังมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว แม้จะถูกพุ่งเป้า เพราะไม่ต้องการให้ถูกมองว่าขี้ขลาด แต่ยอมรับว่า ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น
ส่วนกรณีที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เตรียมอุทธรณ์โดยหยิบยกกรณียึดทรัพย์สมัยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. มาเทียบเคียงนั้น นายนาม กล่าวว่า ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้ เนื่องจาก รัฐธรรมนูญสมัยนั้นมีความเด็ดขาดไม่ต้องผ่านกระบวนการอัยการ ขณะเดียวกัน ย้ำว่า คตส. มีอำนาจในการโอนคดีให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อได้ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประกาศ คปค. ฉบับ ที่ 30 ระบุไว้
ส่วนกรณีที่การเตรียมยื่นถอดถอน องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้ง 9 คน โดยมีเหตุผลว่า มีการวินิจฉัยขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น นายนาม กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องดูแยกกัน แต่ขอให้อ่านคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิพากษา เพราะเขียนไว้ชัดเจน ละเอียดทุกประเด็น การยื่นถอดถอนองคณะผู้พิพากษาทั้ง 9 สามารถทำได้ แต่ไม่มีผล
สำหรับกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ หยิบเรื่องดังกล่าวไปปลุกกระแส เห็นว่า เป็นความคิดของแต่ละคนว่าจะเชื่อหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คตส. ไม่ได้ร้องขอกำลังรักษาความปลอดภัยจากฝ่ายความมั่นคง หลังมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว แม้จะถูกพุ่งเป้า เพราะไม่ต้องการให้ถูกมองว่าขี้ขลาด แต่ยอมรับว่า ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น
ส่วนกรณีที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เตรียมอุทธรณ์โดยหยิบยกกรณียึดทรัพย์สมัยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. มาเทียบเคียงนั้น นายนาม กล่าวว่า ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้ เนื่องจาก รัฐธรรมนูญสมัยนั้นมีความเด็ดขาดไม่ต้องผ่านกระบวนการอัยการ ขณะเดียวกัน ย้ำว่า คตส. มีอำนาจในการโอนคดีให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อได้ ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประกาศ คปค. ฉบับ ที่ 30 ระบุไว้
ส่วนกรณีที่การเตรียมยื่นถอดถอน องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้ง 9 คน โดยมีเหตุผลว่า มีการวินิจฉัยขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น นายนาม กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องดูแยกกัน แต่ขอให้อ่านคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิพากษา เพราะเขียนไว้ชัดเจน ละเอียดทุกประเด็น การยื่นถอดถอนองคณะผู้พิพากษาทั้ง 9 สามารถทำได้ แต่ไม่มีผล