ก่อนหน้าวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่ง “กลุ่มกรุงเทพ 50” ใต้ปีกของพรรคเพื่อไทยจะจัดการสัมมนาเรื่อง “ทิศทางประเทศไทยปี 2553” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ย่านถนนวิภาวดีรังสิต ตัวผมเองก็พอได้รับทราบข่าวคราวเกี่ยวกับการเข้าร่วมเวทีสัมมนา-ปราศรัยกับกลุ่มคนเสื้อแดงของ คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาระบบสรรหามาบ้างแล้ว
โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่ได้ยินข่าวดังกล่าว ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่า บนเวทีที่รายล้อมด้วยกลุ่มคนและผู้ฟังเสื้อแดง คนชื่อ “เรืองไกร” จะมีสีหน้า ออกท่าทาง หรือใช้คำพูดอย่างไร เพราะภาพลักษณ์ของคุณเรืองไกรตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้น นอกเหนือจากบทบาทของ ส.ว. แล้วก็คือ คนสนิทและที่ปรึกษาของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและอดีตกรรมการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณและคนเสื้อแดงถือว่าเป็นปรปักษ์โดยตรงกับพวกเขา
หากใครยังจำได้ ก่อนหน้านั้นชื่อเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ โด่งดังมาตั้งแต่ปี 2548 ในการอภิปรายงบประมาณ ซึ่งรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ถูกนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ปราศรัยโจมตีกระทรวงการคลัง ซึ่งในขณะนั้นมีนายวราเทพ รัตนากร ดำรงตำแหน่ง รมช. ว่าปฏิบัติสองมาตรฐานในการเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นนอกตลาด กรณีเรียกเก็บภาษีคุณเรืองไกรจากการซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากบิดา แต่กลับไม่เก็บภาษีจากกรณีที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร โอนหุ้นให้พี่ชายคือ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ โดยเรื่องดังกล่าวได้ถูกนำไปขยายความต่อในเวทีวุฒิสภา และมีการนำเรื่องฟ้องร้องในศาลโดยกรมสรรพากรตกเป็นจำเลย และในที่สุดก็แพ้คดีให้กับคุณเรืองไกร
ที่สำคัญ กรณีดังกล่าวได้สร้างผลที่สะเทือนเลือนลั่นต่อมาถึงกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ โดยไม่เสียภาษีของครอบครัวชินวัตรในช่วงต้นปี 2549 และส่งผลสำคัญต่อการล่มสลายของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ต่อมา ปี 2551 ในยุครัฐบาลพรรคพลังประชาชน คนชื่อเรืองไกรคนเดียวกันนี้ก็ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่าเป็น “แจ็คผู้ฆ่ายักษ์” จากการยื่นเอกสารต่อ ป.ป.ช. และ กกต. ให้ตรวจสอบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กรณีรับงานพิธีกรรายการโทรทัศน์ “ชิมไปบ่นไป” ของบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ซึ่งเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 267โดยในวันที่ 9 ก.ย. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ วินิจฉัยว่านายสมัครกระทำการอันต้องห้ามจริง ส่งผลให้นายสมัครต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
กลับมาถึงเวทีของ “กลุ่มกรุงเทพ 50” ในวันที่ 22 ก.พ. อย่างที่หลายท่านคงได้ทราบข่าวและได้ชมลีลาการปราศรัยและตอบคำถามของคุณเรืองไกรไปแล้วทางเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ (อ่านและชมคลิปวิดีโอได้ที่ :http://astv.mobi/ruengkrai) โดยเมื่อได้ชมแล้ว ผมเชื่อว่าหลายท่านก็คงมีความรู้สึกต่อชายผู้นี้แตกต่างกันไป
จากความทรงจำส่วนบุคคล ผมจำได้ว่าเคยพบกับคุณเรืองไกรครั้งแรกตั้งแต่ต้นปี 2549 ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณท้องสนามหลวง ...
คุณเรืองไกรมักจะปรากฏตัวในช่วงหัวค่ำ โดยบ่อยครั้งคุณเรืองไกรจะยืนอยู่นอกรั้วเหล็กหลังเวทีใกล้ๆ กับกลุ่มนักข่าว ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะถูกชักชวนเข้ามาอยู่บริเวณหลังเวที คล้ายๆ กับที่ หมอเหวง โตจิราการเคยเป็น เพียงแต่คุณเรืองไกรในตอนนั้นยังไม่จัดเจนเวทีปราศรัยเท่าหมอเหวง และยังดูประหม่าเมื่อต้องพบปะกับผู้คนจำนวนมาก
ทว่า ท่วงท่าและมาดของ ส.ว.เรืองไกร บนเวทีเสื้อแดง ที่ผมเห็นผ่านทางการถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่น ในช่วงค่ำของวันจันทร์ที่ 22 ก.พ. นั้นผิดแผกไปจากเมื่อหลายปีก่อนไปมาก ไม่ว่าจะเป็นลีลาในการแสดงความเห็นบนเวที, ลีลาการตอบคำถาม, ลีลาการยกเนกไทสีแดงลายจุดขาวขึ้นมาโชว์ หลังถูกคุณอดิศักดิ์ ศรีสม ผู้ดำเนินการเสวนาไต่ถามว่า คุณเรืองไกร “สีเหลือง” หรือ “สีแดง” ไม่รวมถึงน้ำเสียงนบนอบในคำเรียก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า “ท่านนายกรัฐมนตรี”
อย่างไรก็ตาม ใจความสำคัญของการกล่าวถึงคุณเรืองไกรผ่านบทความชิ้นนี้ มิใช่ ลีลาการตอบคำถาม หรือน้ำเสียงของคุณเรืองไกรที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นสิ่งที่คุณเรืองไกร “พูด” และ “ไม่ได้พูด” ในการเสวนาวันนั้น
ด้วยความที่ถูกยกยอให้เป็นชนชั้นระดับปัญญาชน นักบัญชีระดับพระกาฬ ที่หาญกล้าต่อกรกับกรมสรรพากร รวมไปถึงคนระดับรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาแล้ว ทำให้บนเวทีเสวนาของคนเสื้อแดง คุณเรืองไกรซึ่งคงจะยังไม่เคยชินกับการกล่าวคำเท็จอย่างไร้ยางอายเหมือนกับแกนนำเสื้อแดงหลายคน จึงเลือกที่จะพูดในสิ่งที่ “เป็นคุณ” ต่อคดียึดทรัพย์ ครอบครัวชินวัตร และละที่จะกล่าวสิ่งที่ “เป็นโทษ” ต่อคดีเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คำกล่าวที่ว่า
“เงิน 76,000 ล้านบาทได้มาอย่างไร ซึ่งจากการที่ผมติดตามเรื่องนี้ต่อเนื่อง ทำให้รู้ว่าเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ตระกูลชินวัตรกับดามาพงศ์ มีหุ้นก้อนนี้อยู่แล้ว โดยทั้งคุณหญิงพจมานและพ.ต.ท.ทักษิณ ได้แบ่งหุ้นออกไปให้กับนายพานทองแท้ บุตรชาย ต่อจากนั้นเมื่อ น.ส.พิณทองทา บุตรสาวได้บรรลุนิติภาวะ ก็ได้ให้หุ้นผ่านทางตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน ...”
รวมไปถึงคำกล่าวเกี่ยวกับแปรสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมที่เอื้อต่อธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณว่า
“การจ่ายภาษีสัมปทาน เอไอเอสต้องจ่ายให้ทีโอทีร้อยละ 25 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อต้นปี 2546 ไปตราพระราชกำหนดแก้ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตและตรา พ.ร.ก.ภาษีพิกัดสรรพสามิต โดยเมื่อกุมภาพันธ์ก็ออกเป็นมติ ครม. พอถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ตัดสิน วันนั้นมี ส.ส.จำนวนมากไปยื่นคำร้อง ซึ่งผู้นำในวันนั้นชื่อ นายอภิสิทธิ์ ซึ่งผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงมีอยู่ในเว็บไซต์… ศาลรัฐธรรมนูญเวลานั้น มีมติ 8 ต่อ 6 ดังนั้น ถือว่า พ.ร.ก.แปรสัญญาสัมปทานเป็นสรรพสามิต ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ฉะนั้น เมื่อชอบธรรมแล้ว มติ ครม. ก็ต้องถือว่าชอบธรรมด้วย”
การที่คุณเรืองไกรออกมาปกป้องการกระทำทุจริตเชิงนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยอ้างว่า การออกมติ ครม. เพื่อออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 ในตอนนั้นได้รับการรับรองจากศาลรัฐธรรมนูญ มติดังกล่าวจึงเป็นมติที่ “ชอบธรรม” ถือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างร้ายกาจ เพราะจากการแถลงของศาลรัฐธรรมนูญ โดยนายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2546 ระบุเพียงว่า
“การเก็บภาษีดังกล่าว มีผลทำให้รายได้รัฐเพิ่มขึ้น… ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ทางภาษีของรัฐอันจะส่งผลให้มีงบประมาณในการบริหารประเทศได้มากขึ้นและเร็วขึ้น … ” พร้อมระบุด้วยว่า “การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ารัฐบาลสามารถออก พ.ร.ก.ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะตรวจสอบเจตนาแฝงเร้นว่าเป็นการออกเพื่อกีดกันรายใหม่หรือไม่ หรือรัฐบาลจะสามารถเก็บรายได้ตามที่กล่าวอ้าง เพราะอำนาจตรวจสอบนี้เป็นหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร”
กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ มติ 8 ต่อ 6 ของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 14/2546 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 นั้นรับรองอำนาจตามกฎหมายของรัฐบาลในการออก พ.ร.ก. เท่านั้น แต่มิได้รับรองว่า รัฐบาลทักษิณจะทุจริต หรือไม่ทุจริต … โกง หรือ ไม่โกง
อุปมาอุปไมยเหมือนกับว่า ศาลตัดสินว่าพ่อ-แม่มีสิทธิเลี้ยงบุตร แต่ไม่ได้ก้าวล่วงไปตัดสินถึงว่า ในวิธีการเลี้ยงลูกนั้น พ่อแม่ได้ทุบตี กระทำอนาจาร หรือทารุณกรรมบุตรหรือไม่!
ด้วยเหตุนี้เอง แน่นอนว่า ข้อวินิจฉัยและคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ ย่อมมีประเด็นแตกต่างจากข้อวินิจฉัยและคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2546 อย่างสิ้นเชิง ซึ่งผมเชื่อว่า ลึกๆ แล้วคุณเรืองไกรเองก็ทราบดีถึงข้อแตกต่างดังกล่าว
พูดกันอย่างตรงไปตรงมา ... การปรากฏกายในภาพลักษณ์ใหม่และพฤติกรรมที่แปลกแปร่งของคุณเรืองไกร ณ วันนี้ ทำเอาผมอดประหวัดถึงนิยายจีนเรื่องหนึ่งไม่ได้ จนต้องปลอบใจตัวเองด้วยการเดินไปที่ตู้หนังสือ ปัดฝุ่นและหยิบนิยายกำลังภายในเรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” ของ กิมย้ง ขึ้นมาอ่านอีกรอบ
ต่อแต่นี้ไป ผมก็คงได้แต่อวยพรให้คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะและครอบครัว โชคดีในเส้นทางที่เลือกแล้ว
โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่ได้ยินข่าวดังกล่าว ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่า บนเวทีที่รายล้อมด้วยกลุ่มคนและผู้ฟังเสื้อแดง คนชื่อ “เรืองไกร” จะมีสีหน้า ออกท่าทาง หรือใช้คำพูดอย่างไร เพราะภาพลักษณ์ของคุณเรืองไกรตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้น นอกเหนือจากบทบาทของ ส.ว. แล้วก็คือ คนสนิทและที่ปรึกษาของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและอดีตกรรมการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณและคนเสื้อแดงถือว่าเป็นปรปักษ์โดยตรงกับพวกเขา
หากใครยังจำได้ ก่อนหน้านั้นชื่อเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ โด่งดังมาตั้งแต่ปี 2548 ในการอภิปรายงบประมาณ ซึ่งรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ถูกนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ปราศรัยโจมตีกระทรวงการคลัง ซึ่งในขณะนั้นมีนายวราเทพ รัตนากร ดำรงตำแหน่ง รมช. ว่าปฏิบัติสองมาตรฐานในการเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายหุ้นนอกตลาด กรณีเรียกเก็บภาษีคุณเรืองไกรจากการซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากบิดา แต่กลับไม่เก็บภาษีจากกรณีที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร โอนหุ้นให้พี่ชายคือ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ โดยเรื่องดังกล่าวได้ถูกนำไปขยายความต่อในเวทีวุฒิสภา และมีการนำเรื่องฟ้องร้องในศาลโดยกรมสรรพากรตกเป็นจำเลย และในที่สุดก็แพ้คดีให้กับคุณเรืองไกร
ที่สำคัญ กรณีดังกล่าวได้สร้างผลที่สะเทือนเลือนลั่นต่อมาถึงกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ โดยไม่เสียภาษีของครอบครัวชินวัตรในช่วงต้นปี 2549 และส่งผลสำคัญต่อการล่มสลายของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ต่อมา ปี 2551 ในยุครัฐบาลพรรคพลังประชาชน คนชื่อเรืองไกรคนเดียวกันนี้ก็ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่าเป็น “แจ็คผู้ฆ่ายักษ์” จากการยื่นเอกสารต่อ ป.ป.ช. และ กกต. ให้ตรวจสอบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กรณีรับงานพิธีกรรายการโทรทัศน์ “ชิมไปบ่นไป” ของบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ซึ่งเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 267โดยในวันที่ 9 ก.ย. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ วินิจฉัยว่านายสมัครกระทำการอันต้องห้ามจริง ส่งผลให้นายสมัครต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
กลับมาถึงเวทีของ “กลุ่มกรุงเทพ 50” ในวันที่ 22 ก.พ. อย่างที่หลายท่านคงได้ทราบข่าวและได้ชมลีลาการปราศรัยและตอบคำถามของคุณเรืองไกรไปแล้วทางเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ (อ่านและชมคลิปวิดีโอได้ที่ :http://astv.mobi/ruengkrai) โดยเมื่อได้ชมแล้ว ผมเชื่อว่าหลายท่านก็คงมีความรู้สึกต่อชายผู้นี้แตกต่างกันไป
จากความทรงจำส่วนบุคคล ผมจำได้ว่าเคยพบกับคุณเรืองไกรครั้งแรกตั้งแต่ต้นปี 2549 ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณท้องสนามหลวง ...
คุณเรืองไกรมักจะปรากฏตัวในช่วงหัวค่ำ โดยบ่อยครั้งคุณเรืองไกรจะยืนอยู่นอกรั้วเหล็กหลังเวทีใกล้ๆ กับกลุ่มนักข่าว ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะถูกชักชวนเข้ามาอยู่บริเวณหลังเวที คล้ายๆ กับที่ หมอเหวง โตจิราการเคยเป็น เพียงแต่คุณเรืองไกรในตอนนั้นยังไม่จัดเจนเวทีปราศรัยเท่าหมอเหวง และยังดูประหม่าเมื่อต้องพบปะกับผู้คนจำนวนมาก
ทว่า ท่วงท่าและมาดของ ส.ว.เรืองไกร บนเวทีเสื้อแดง ที่ผมเห็นผ่านทางการถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่น ในช่วงค่ำของวันจันทร์ที่ 22 ก.พ. นั้นผิดแผกไปจากเมื่อหลายปีก่อนไปมาก ไม่ว่าจะเป็นลีลาในการแสดงความเห็นบนเวที, ลีลาการตอบคำถาม, ลีลาการยกเนกไทสีแดงลายจุดขาวขึ้นมาโชว์ หลังถูกคุณอดิศักดิ์ ศรีสม ผู้ดำเนินการเสวนาไต่ถามว่า คุณเรืองไกร “สีเหลือง” หรือ “สีแดง” ไม่รวมถึงน้ำเสียงนบนอบในคำเรียก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า “ท่านนายกรัฐมนตรี”
อย่างไรก็ตาม ใจความสำคัญของการกล่าวถึงคุณเรืองไกรผ่านบทความชิ้นนี้ มิใช่ ลีลาการตอบคำถาม หรือน้ำเสียงของคุณเรืองไกรที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นสิ่งที่คุณเรืองไกร “พูด” และ “ไม่ได้พูด” ในการเสวนาวันนั้น
ด้วยความที่ถูกยกยอให้เป็นชนชั้นระดับปัญญาชน นักบัญชีระดับพระกาฬ ที่หาญกล้าต่อกรกับกรมสรรพากร รวมไปถึงคนระดับรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาแล้ว ทำให้บนเวทีเสวนาของคนเสื้อแดง คุณเรืองไกรซึ่งคงจะยังไม่เคยชินกับการกล่าวคำเท็จอย่างไร้ยางอายเหมือนกับแกนนำเสื้อแดงหลายคน จึงเลือกที่จะพูดในสิ่งที่ “เป็นคุณ” ต่อคดียึดทรัพย์ ครอบครัวชินวัตร และละที่จะกล่าวสิ่งที่ “เป็นโทษ” ต่อคดีเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คำกล่าวที่ว่า
“เงิน 76,000 ล้านบาทได้มาอย่างไร ซึ่งจากการที่ผมติดตามเรื่องนี้ต่อเนื่อง ทำให้รู้ว่าเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ตระกูลชินวัตรกับดามาพงศ์ มีหุ้นก้อนนี้อยู่แล้ว โดยทั้งคุณหญิงพจมานและพ.ต.ท.ทักษิณ ได้แบ่งหุ้นออกไปให้กับนายพานทองแท้ บุตรชาย ต่อจากนั้นเมื่อ น.ส.พิณทองทา บุตรสาวได้บรรลุนิติภาวะ ก็ได้ให้หุ้นผ่านทางตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน ...”
รวมไปถึงคำกล่าวเกี่ยวกับแปรสัญญาสัมปทานโทรคมนาคมที่เอื้อต่อธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณว่า
“การจ่ายภาษีสัมปทาน เอไอเอสต้องจ่ายให้ทีโอทีร้อยละ 25 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อต้นปี 2546 ไปตราพระราชกำหนดแก้ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตและตรา พ.ร.ก.ภาษีพิกัดสรรพสามิต โดยเมื่อกุมภาพันธ์ก็ออกเป็นมติ ครม. พอถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ตัดสิน วันนั้นมี ส.ส.จำนวนมากไปยื่นคำร้อง ซึ่งผู้นำในวันนั้นชื่อ นายอภิสิทธิ์ ซึ่งผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงมีอยู่ในเว็บไซต์… ศาลรัฐธรรมนูญเวลานั้น มีมติ 8 ต่อ 6 ดังนั้น ถือว่า พ.ร.ก.แปรสัญญาสัมปทานเป็นสรรพสามิต ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ฉะนั้น เมื่อชอบธรรมแล้ว มติ ครม. ก็ต้องถือว่าชอบธรรมด้วย”
การที่คุณเรืองไกรออกมาปกป้องการกระทำทุจริตเชิงนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยอ้างว่า การออกมติ ครม. เพื่อออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 ในตอนนั้นได้รับการรับรองจากศาลรัฐธรรมนูญ มติดังกล่าวจึงเป็นมติที่ “ชอบธรรม” ถือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างร้ายกาจ เพราะจากการแถลงของศาลรัฐธรรมนูญ โดยนายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2546 ระบุเพียงว่า
“การเก็บภาษีดังกล่าว มีผลทำให้รายได้รัฐเพิ่มขึ้น… ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ทางภาษีของรัฐอันจะส่งผลให้มีงบประมาณในการบริหารประเทศได้มากขึ้นและเร็วขึ้น … ” พร้อมระบุด้วยว่า “การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ารัฐบาลสามารถออก พ.ร.ก.ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะตรวจสอบเจตนาแฝงเร้นว่าเป็นการออกเพื่อกีดกันรายใหม่หรือไม่ หรือรัฐบาลจะสามารถเก็บรายได้ตามที่กล่าวอ้าง เพราะอำนาจตรวจสอบนี้เป็นหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร”
กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ มติ 8 ต่อ 6 ของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 14/2546 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 นั้นรับรองอำนาจตามกฎหมายของรัฐบาลในการออก พ.ร.ก. เท่านั้น แต่มิได้รับรองว่า รัฐบาลทักษิณจะทุจริต หรือไม่ทุจริต … โกง หรือ ไม่โกง
อุปมาอุปไมยเหมือนกับว่า ศาลตัดสินว่าพ่อ-แม่มีสิทธิเลี้ยงบุตร แต่ไม่ได้ก้าวล่วงไปตัดสินถึงว่า ในวิธีการเลี้ยงลูกนั้น พ่อแม่ได้ทุบตี กระทำอนาจาร หรือทารุณกรรมบุตรหรือไม่!
ด้วยเหตุนี้เอง แน่นอนว่า ข้อวินิจฉัยและคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ ย่อมมีประเด็นแตกต่างจากข้อวินิจฉัยและคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2546 อย่างสิ้นเชิง ซึ่งผมเชื่อว่า ลึกๆ แล้วคุณเรืองไกรเองก็ทราบดีถึงข้อแตกต่างดังกล่าว
พูดกันอย่างตรงไปตรงมา ... การปรากฏกายในภาพลักษณ์ใหม่และพฤติกรรมที่แปลกแปร่งของคุณเรืองไกร ณ วันนี้ ทำเอาผมอดประหวัดถึงนิยายจีนเรื่องหนึ่งไม่ได้ จนต้องปลอบใจตัวเองด้วยการเดินไปที่ตู้หนังสือ ปัดฝุ่นและหยิบนิยายกำลังภายในเรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” ของ กิมย้ง ขึ้นมาอ่านอีกรอบ
ต่อแต่นี้ไป ผมก็คงได้แต่อวยพรให้คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะและครอบครัว โชคดีในเส้นทางที่เลือกแล้ว