เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (3 ก.พ.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร โดยมี พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้บัลลูน เรือเหาะตรวจการ เพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเชิญ พล.ต.วุทธิ์ วิมุกตะลพ เจ้ากรมการขนส่งทหารบก เข้าชี้แจงแทนพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และนายชุติวัฒน์ วรรธนผล ผอ.สำนักพิกัดอัตราศุลกากร มาชี้แจง
โดย พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า การที่กรรมาธิการฯศึกษาเรื่องนี้เนื่องจากเป็นห่วง เพราะงบประมาณในการจัดซื้อมากถึง 350 ล้านบาท รวมทั้งเกรงว่าจะไม่มีประสิทธิภาพคุ้มกับงบประมาณเหมือนกับกรณีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที 200 และประเทศที่มีปัญหาเรื่องก่อการร้าย อาทิ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล รวมถึงประเทศในภูมิภาคนี้ก็ยังไม่มีการใช้ เกรงว่าประเทศไทยจะกลายเป็นหนูทดลอง รวมถึงสภาพอากาศในพื้นที่ภาคใต้ที่มีฝนตกถึง 8 เดือน ก็ไม่มีความเหมาะสมต่อการจับภาพด้านล่าง ขณะที่การรับประกันจะเริ่มนับจากวันไหน และบริษัทผู้ขายมีความชัดเจนในเรื่องนี้อย่างไร หากไม่มีประสิทธิภาพ การใช้ย่อมไม่คุ้มค่า
พล.ต.วุทธิ์ ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ขั้นตอนการใช้เรือเหาะอยู่ระหว่างการเชื่อมสัญญาณระหว่างภาคพื้นดินซึ่งอยู่ที่ จ.ปัตตานี แล้วและกำลังฝึกหัดนักบินอยู่ แต่ยังไม่มีการนำขึ้นใช้เพราะระบบทุกอย่างยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่มีการเชื่อมต่อ อย่างไรก็ตาม เครื่องนี้จะต้องใช้ประกอบกับรถยนต์ และเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเรือเหาะจะส่งสัญญาณภาพเป็นอินฟาเรดสู่ห้องควบคุม 20 จุด รวมถึงที่ กทม. เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการได้โดยตรง
ส่วนข้อกังวลว่า เรือเหาะลอยอยู่ในวิสัยที่จะถูกยิงตกได้นั้น ยืนยันว่า เรือเหาะจะต้องลอย 3,000- 10,000 ฟิตขึ้นไป ดังนั้นจึงไม่สามารถถูกยิงตกได้
จากนั้นเป็นการพิจาณาความคืบหน้าการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง แบบบีทีอาร์-3 อี1 จากประเทศยูเครน จำนวน 4 พันล้านบาท โดยกรรมาธิการฯได้เชิญ พล.ต.อุสไนท์ เฟื่องผลนุช ผู้บัญชาการศูนย์อุตสาหกรรม กรมสรรพวุธทหารบก ชี้แจงแทน ผบ.ทบ. และนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้าชี้แจง
โดยพล.ต.อุสไนท์ ชี้แจงว่า การจัดซื้อยานเกราะนั้นเป็นการจัดซื้อระหว่างรัฐต่อรัฐกับประเทศยูเครน โดยเซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 30 ก.ค.51 กำหนดส่งล็อตแรกภายใน 240 วัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีการจัดส่ง เนื่องจากประเทศยูเครนที่ต้องใช้เครื่องยนต์จากเยอรมันนั้น ยังไม่ส่งเครื่องยนต์มาให้ โดยรัฐมนตรีของเยอรมันอ้างว่ากองทัพไทยอาจจะนำไปใช้ในพื้นที่ภาคใต้และทำรัฐประหาร
อย่างไรก็ตามปัญหาได้คลี่คลายแล้ว โดยเยอรมันรับปากว่าจะเปลี่ยนเครื่องที่ใกล้เคียง และประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาให้ ซึ่งเราตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นเครื่องที่ดีกว่าจริง และไม่มีการอัพเกรดเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ ส่วนค่าเสียหายในส่วนของค่าปรับที่ประเทศไทยพึงได้นั้น ขอเรียนว่า เป็นเหตุสุดวิสัย เป็นการจัดซื้อระหว่างรัฐต่อรัฐที่ควรหาทางออกร่วมกัน
ด้านนายพิศิษฐ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนเครื่องยนต์ของกองทัพนั้น เข้าข่ายการเปลี่ยนแปลงสาระคัญของสัญญา ซึ่ง สตง.จะตรวจสอบต่อไปว่า กรณีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์นั้นผู้มีอำนาจในขณะนี้ เป็นผู้อนุมัติหรือไม่ รวมทั้งสตง.เองก็จะไปตรวจสอบเครื่องยนต์ด้วย เพราะตนตรวจสอบพบว่า บริษัทที่ประเทศยูเครนนั้น เป็นบริษัทอัพเกรด ไม่ใช่บริษัทผู้ผลิต เกรงว่าจะมีการดัดแปลงเครื่องยนต์จากประเทศรัสเซีย แล้วนำมาขาย ซึ่งประเทศไทยอาจถูกหลอกได้
พ.ต.ท.สมชาย แถลงภายหลังการประชุม ถึงการใช้บัลลูน เรือเหาะตรวจการ เพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า คณะกรรมมาธิการ ได้ตั้งข้อสังเกต กรณีการใช้งบประมาณว่าแม้จะมีการจ่ายเงินไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับไม่มีการตรวจสอบคุณภาพ และที่ผ่านมาจากการทดสอบที่อู่ตะเภา ก็ปรากฏว่ามีรอยรั่วอยู่บริเวณหัวบอลลูนด้วย
พ.ต.ท.สมชาย แถลงถึงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางแบบบีทีอาร์-3 อี 1 จากประเทศยูเครน ว่า จากการชี้แจงของ สตง.นั้น ดูเหมือนว่าอาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์กับประเทศยูเครน และเข้าข่ายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากตอนแรกทางกองทัพกำหนดทีโออาร์ ว่าต้องใช้เครื่องยนต์ดอยช์ ทำให้หลายบริษัทตกคุณสมบัติ แล้ววันนี้มาเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์เป็น เอ็มทียู 6 อาร์ 106 ทีดี 21 ตรงนี้จะตอบคำถามอย่างไร ขอตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องยนต์ที่เสนอมาใหม่นั้น เป็นเครื่องยนต์เรือรบที่มีราคาถูกกว่า เหตุใดกองทัพจึงไม่ต่อรองราคา และไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงเกรงใจประเทศยูเครนถึงขนาดนี้
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้า จะเชิญตัวแทนจาก สตง. -ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูลอีกครั้ง
โดย พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า การที่กรรมาธิการฯศึกษาเรื่องนี้เนื่องจากเป็นห่วง เพราะงบประมาณในการจัดซื้อมากถึง 350 ล้านบาท รวมทั้งเกรงว่าจะไม่มีประสิทธิภาพคุ้มกับงบประมาณเหมือนกับกรณีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที 200 และประเทศที่มีปัญหาเรื่องก่อการร้าย อาทิ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล รวมถึงประเทศในภูมิภาคนี้ก็ยังไม่มีการใช้ เกรงว่าประเทศไทยจะกลายเป็นหนูทดลอง รวมถึงสภาพอากาศในพื้นที่ภาคใต้ที่มีฝนตกถึง 8 เดือน ก็ไม่มีความเหมาะสมต่อการจับภาพด้านล่าง ขณะที่การรับประกันจะเริ่มนับจากวันไหน และบริษัทผู้ขายมีความชัดเจนในเรื่องนี้อย่างไร หากไม่มีประสิทธิภาพ การใช้ย่อมไม่คุ้มค่า
พล.ต.วุทธิ์ ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ขั้นตอนการใช้เรือเหาะอยู่ระหว่างการเชื่อมสัญญาณระหว่างภาคพื้นดินซึ่งอยู่ที่ จ.ปัตตานี แล้วและกำลังฝึกหัดนักบินอยู่ แต่ยังไม่มีการนำขึ้นใช้เพราะระบบทุกอย่างยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่มีการเชื่อมต่อ อย่างไรก็ตาม เครื่องนี้จะต้องใช้ประกอบกับรถยนต์ และเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเรือเหาะจะส่งสัญญาณภาพเป็นอินฟาเรดสู่ห้องควบคุม 20 จุด รวมถึงที่ กทม. เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการได้โดยตรง
ส่วนข้อกังวลว่า เรือเหาะลอยอยู่ในวิสัยที่จะถูกยิงตกได้นั้น ยืนยันว่า เรือเหาะจะต้องลอย 3,000- 10,000 ฟิตขึ้นไป ดังนั้นจึงไม่สามารถถูกยิงตกได้
จากนั้นเป็นการพิจาณาความคืบหน้าการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง แบบบีทีอาร์-3 อี1 จากประเทศยูเครน จำนวน 4 พันล้านบาท โดยกรรมาธิการฯได้เชิญ พล.ต.อุสไนท์ เฟื่องผลนุช ผู้บัญชาการศูนย์อุตสาหกรรม กรมสรรพวุธทหารบก ชี้แจงแทน ผบ.ทบ. และนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้าชี้แจง
โดยพล.ต.อุสไนท์ ชี้แจงว่า การจัดซื้อยานเกราะนั้นเป็นการจัดซื้อระหว่างรัฐต่อรัฐกับประเทศยูเครน โดยเซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 30 ก.ค.51 กำหนดส่งล็อตแรกภายใน 240 วัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีการจัดส่ง เนื่องจากประเทศยูเครนที่ต้องใช้เครื่องยนต์จากเยอรมันนั้น ยังไม่ส่งเครื่องยนต์มาให้ โดยรัฐมนตรีของเยอรมันอ้างว่ากองทัพไทยอาจจะนำไปใช้ในพื้นที่ภาคใต้และทำรัฐประหาร
อย่างไรก็ตามปัญหาได้คลี่คลายแล้ว โดยเยอรมันรับปากว่าจะเปลี่ยนเครื่องที่ใกล้เคียง และประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาให้ ซึ่งเราตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นเครื่องที่ดีกว่าจริง และไม่มีการอัพเกรดเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ ส่วนค่าเสียหายในส่วนของค่าปรับที่ประเทศไทยพึงได้นั้น ขอเรียนว่า เป็นเหตุสุดวิสัย เป็นการจัดซื้อระหว่างรัฐต่อรัฐที่ควรหาทางออกร่วมกัน
ด้านนายพิศิษฐ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนเครื่องยนต์ของกองทัพนั้น เข้าข่ายการเปลี่ยนแปลงสาระคัญของสัญญา ซึ่ง สตง.จะตรวจสอบต่อไปว่า กรณีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์นั้นผู้มีอำนาจในขณะนี้ เป็นผู้อนุมัติหรือไม่ รวมทั้งสตง.เองก็จะไปตรวจสอบเครื่องยนต์ด้วย เพราะตนตรวจสอบพบว่า บริษัทที่ประเทศยูเครนนั้น เป็นบริษัทอัพเกรด ไม่ใช่บริษัทผู้ผลิต เกรงว่าจะมีการดัดแปลงเครื่องยนต์จากประเทศรัสเซีย แล้วนำมาขาย ซึ่งประเทศไทยอาจถูกหลอกได้
พ.ต.ท.สมชาย แถลงภายหลังการประชุม ถึงการใช้บัลลูน เรือเหาะตรวจการ เพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า คณะกรรมมาธิการ ได้ตั้งข้อสังเกต กรณีการใช้งบประมาณว่าแม้จะมีการจ่ายเงินไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับไม่มีการตรวจสอบคุณภาพ และที่ผ่านมาจากการทดสอบที่อู่ตะเภา ก็ปรากฏว่ามีรอยรั่วอยู่บริเวณหัวบอลลูนด้วย
พ.ต.ท.สมชาย แถลงถึงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางแบบบีทีอาร์-3 อี 1 จากประเทศยูเครน ว่า จากการชี้แจงของ สตง.นั้น ดูเหมือนว่าอาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์กับประเทศยูเครน และเข้าข่ายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากตอนแรกทางกองทัพกำหนดทีโออาร์ ว่าต้องใช้เครื่องยนต์ดอยช์ ทำให้หลายบริษัทตกคุณสมบัติ แล้ววันนี้มาเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์เป็น เอ็มทียู 6 อาร์ 106 ทีดี 21 ตรงนี้จะตอบคำถามอย่างไร ขอตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องยนต์ที่เสนอมาใหม่นั้น เป็นเครื่องยนต์เรือรบที่มีราคาถูกกว่า เหตุใดกองทัพจึงไม่ต่อรองราคา และไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงเกรงใจประเทศยูเครนถึงขนาดนี้
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้า จะเชิญตัวแทนจาก สตง. -ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูลอีกครั้ง