สิ่งที่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ‘ทำ’ และ ‘คิดจะทำ’ ล้วนแต่มีข้อครหาเสมอว่า เพื่อใคร!?
คำว่า ‘เพื่อใคร’ ส่วนใหญ่จะมองกันไปที่ หนึ่ง ‘นายใหญ่’ ที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง และ สอง ‘พรรคพวก’ ซึ่งหมายความรวมตั้งแต่ นายทุนพรรค พ่อค้า และตัวนักการเมืองเองที่รับผิดชอบกระทรวงต่างๆ โดยมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนเป็นที่ตั้ง
ยิ่งการเมืองยุ่งเหยิงอายุขัยของรัฐบาล หรืออำนาจใกล้จะหมดลงเช่นนี้ นักการเมืองเขี้ยวลากดินเหล่านี้ก็จะฉวยจังหวะ เข็นโครงการ อนุมัติโครงการต่างๆ ชนิดที่ว่า บางกรณีคาดไม่ถึงว่า ประเทศไทยในปีพ.ศ.นี้ยังมีวิธีการหารับประทานกันแบบย้อนยุคกลับไปหลายปี ทุกอย่างกระทำแบบ ‘ไร้ยางอาย’ รวดเร็วทันใจราวลวกเส้นบะหมี่สำเร็จรูป!
นอกจากกรณี รถเมล์ 6,000 คัน น้ำมันรัสเซีย หรือแม้กระทั่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นข่าวครึกโครมซึ่งสังคมรับรู้ไปแล้วนั้น ยังพบว่าที่เป็นไปแบบ ‘งุบงิบ’ เป็นข่าวแบบเงียบๆ ก็มีไม่ใช่ไม่มี !
ดังกรณี ‘ยานเกราะล้อยาง’ จากยูเครนซึ่งครั้งหนึ่งเป็นข่าวอื้อฉาวมีข้อพิรุธมากมาย ปรากฏว่า นายสมัคร สุนทรเวช ใช้สถานะความเป็นรมว.กระทรวงกลาโหมเซ็นอนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อได้ไปแล้วอย่างเงียบๆ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามที่ปลัดกระทรวงกลาโหม เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 51
หากยังจำได้ กองทัพบก (ทบ.) พยายามจะจัดซื้อยานเกราะล้อยาง รุ่น BTR –3 E 1 แบบต่างๆ จำนวน 96 คัน พร้อมระบบการฝึกศึกษา อบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบการซ่อมบำรุง โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล กับรัฐบาลประเทศยูเครน
โครงการนี้คิดราคารวมค่าขนส่งถึงสถานที่ที่ ทบ.กำหนด ยกเว้นภาษีอากรทุกชนิด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 114,270,100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,898,892,400 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 34.12 บาท)
เรื่องนี้เคยนำเสนอเข้า ครม.มาแล้วในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งขณะนั้น พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ เป็น รมว.กลาโหม เพื่อขออนุมัติจัดซื้อและผูกพันงบประมาณแต่ถูกตีตกไป ด้วยเหตุผล หนึ่ง กระบวนการเสนอเรื่องเข้า ครม.ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาของรองปลัดกระทรวงกลาโหม สายดูแลเรื่องยุทโธปกรณ์ คือ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ขณะนั้น
สอง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ออกมาท้วงติงการจัดซื้อว่า ยังมีปัญหาที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง. ) ตรวจสอบพบความไม่โปร่งใส ผลจากการเข้ามาขวางครั้งนั้นถึงกลับทำให้มีการโยกย้าย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ออกไปจากตำแหน่งรองปลัดกลาโหม
ต่อมาได้มีการเสนอกลับมาใหม่ และ ครม.ขิงแก่ก็อนุมัติในหลักการ แต่กระทรวงกลาโหม โดยพล.อ.บุญรอด ก็สั่งการให้ทบทวนเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง!
จากนั้นเรื่องนี้ก็เงียบหายไปในสายลมจนกระทั่งมาโผล่ในวันนี้แต่ประเด็นต่างๆ ที่ สตง.สอบไว้ก็ยังคาใจในหลายประเด็น
ประเด็นแรก ข้อเสนอด้านราคา ซึ่งราคาที่บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ผู้ได้รับคัดเลือกแบบจากกองทัพบก เสนอราคาในขั้นตอนการคัดเลือก ประมาณคันละ 800,000 เหรียญสหรัฐ แต่ภายหลังกองทัพบก ชี้แจงว่า สถานทูตยูเครน ยืนยันราคาต่อคันที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรก
สตง. ชี้ว่า รายละเอียดของราคาต่อคันสูงกว่าที่เสนอในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรกเป็นข้อสังเกตว่า ราคาที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกแบบครั้งแรกไม่ใช่ราคาที่จะมีการตกลงซื้อขายกันจริง อาจเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542!
ประเด็นที่สอง การดำเนินการจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบกไม่โปร่งใส โดยในขั้นตอนการจัดหา กองทัพบกได้ประกาศเชิญชวนทำการคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ซึ่งในขั้นตอนนี้ มีผู้เข้าเสนอข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ จำนวน 8 บริษัท แต่เมื่อถึงวันพิจารณาคัดเลือกแบบ กลับปรากฏว่า มีบริษัทที่ไม่ได้มีรายชื่อในการเข้าเสนอข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดด้วย คือ บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งเสนอยานเกราะ รุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน และเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากกองทัพบก
ประการที่สาม ยานเกราะล้อยางรุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน ไม่ได้ผลิตขึ้นมาใหม่แต่เป็นการนำยานเกราะรุ่นเก่าของรัสเซียมาปรับปรุงให้เป็นของใหม่
ที่ผ่านมา กองทัพบกได้ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกแบบ รวมถึงคุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครน และยืนยันว่า ได้ดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง โปร่งใส รวมทั้งจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานประกอบคำชี้แจง
อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาคำชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานของกองทัพบก สตง.พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนในหลายกรณี เช่น เหตุผลและความจำเป็นรวมทั้งความเหมาะสมกรณีผ่อนผันให้บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งไม่ได้ยื่นเสนอข้อมูลภายในวันเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ สามารถเข้าร่วมการคัดเลือกตั้ง โดยให้ยื่นข้อเสนอภายหลังบริษัทอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบผู้เสนอข้อมูลรายอื่นๆ โดยเฉพาะข้อเสนอด้านราคาดังกล่าว
การอนุมัติเซ็นจัดซื้ออย่างเงียบๆ ครั้งนี้ โดยที่กองทัพ และรัฐบาลไม่ยอมตอบคำถาม สตง.ทำความจริงให้ประจักษ์ย่อมเป็นเรื่องน่าหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนผู้เสียภาษี
ไม่อยากจะคิดจริงๆ ว่า นี่คือ การถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างนายสมัคร กับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา!
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th
คำว่า ‘เพื่อใคร’ ส่วนใหญ่จะมองกันไปที่ หนึ่ง ‘นายใหญ่’ ที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง และ สอง ‘พรรคพวก’ ซึ่งหมายความรวมตั้งแต่ นายทุนพรรค พ่อค้า และตัวนักการเมืองเองที่รับผิดชอบกระทรวงต่างๆ โดยมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนเป็นที่ตั้ง
ยิ่งการเมืองยุ่งเหยิงอายุขัยของรัฐบาล หรืออำนาจใกล้จะหมดลงเช่นนี้ นักการเมืองเขี้ยวลากดินเหล่านี้ก็จะฉวยจังหวะ เข็นโครงการ อนุมัติโครงการต่างๆ ชนิดที่ว่า บางกรณีคาดไม่ถึงว่า ประเทศไทยในปีพ.ศ.นี้ยังมีวิธีการหารับประทานกันแบบย้อนยุคกลับไปหลายปี ทุกอย่างกระทำแบบ ‘ไร้ยางอาย’ รวดเร็วทันใจราวลวกเส้นบะหมี่สำเร็จรูป!
นอกจากกรณี รถเมล์ 6,000 คัน น้ำมันรัสเซีย หรือแม้กระทั่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นข่าวครึกโครมซึ่งสังคมรับรู้ไปแล้วนั้น ยังพบว่าที่เป็นไปแบบ ‘งุบงิบ’ เป็นข่าวแบบเงียบๆ ก็มีไม่ใช่ไม่มี !
ดังกรณี ‘ยานเกราะล้อยาง’ จากยูเครนซึ่งครั้งหนึ่งเป็นข่าวอื้อฉาวมีข้อพิรุธมากมาย ปรากฏว่า นายสมัคร สุนทรเวช ใช้สถานะความเป็นรมว.กระทรวงกลาโหมเซ็นอนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อได้ไปแล้วอย่างเงียบๆ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามที่ปลัดกระทรวงกลาโหม เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 51
หากยังจำได้ กองทัพบก (ทบ.) พยายามจะจัดซื้อยานเกราะล้อยาง รุ่น BTR –3 E 1 แบบต่างๆ จำนวน 96 คัน พร้อมระบบการฝึกศึกษา อบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบการซ่อมบำรุง โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล กับรัฐบาลประเทศยูเครน
โครงการนี้คิดราคารวมค่าขนส่งถึงสถานที่ที่ ทบ.กำหนด ยกเว้นภาษีอากรทุกชนิด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 114,270,100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,898,892,400 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 34.12 บาท)
เรื่องนี้เคยนำเสนอเข้า ครม.มาแล้วในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งขณะนั้น พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ เป็น รมว.กลาโหม เพื่อขออนุมัติจัดซื้อและผูกพันงบประมาณแต่ถูกตีตกไป ด้วยเหตุผล หนึ่ง กระบวนการเสนอเรื่องเข้า ครม.ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาของรองปลัดกระทรวงกลาโหม สายดูแลเรื่องยุทโธปกรณ์ คือ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ขณะนั้น
สอง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ออกมาท้วงติงการจัดซื้อว่า ยังมีปัญหาที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง. ) ตรวจสอบพบความไม่โปร่งใส ผลจากการเข้ามาขวางครั้งนั้นถึงกลับทำให้มีการโยกย้าย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ออกไปจากตำแหน่งรองปลัดกลาโหม
ต่อมาได้มีการเสนอกลับมาใหม่ และ ครม.ขิงแก่ก็อนุมัติในหลักการ แต่กระทรวงกลาโหม โดยพล.อ.บุญรอด ก็สั่งการให้ทบทวนเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง!
จากนั้นเรื่องนี้ก็เงียบหายไปในสายลมจนกระทั่งมาโผล่ในวันนี้แต่ประเด็นต่างๆ ที่ สตง.สอบไว้ก็ยังคาใจในหลายประเด็น
ประเด็นแรก ข้อเสนอด้านราคา ซึ่งราคาที่บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ผู้ได้รับคัดเลือกแบบจากกองทัพบก เสนอราคาในขั้นตอนการคัดเลือก ประมาณคันละ 800,000 เหรียญสหรัฐ แต่ภายหลังกองทัพบก ชี้แจงว่า สถานทูตยูเครน ยืนยันราคาต่อคันที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรก
สตง. ชี้ว่า รายละเอียดของราคาต่อคันสูงกว่าที่เสนอในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรกเป็นข้อสังเกตว่า ราคาที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกแบบครั้งแรกไม่ใช่ราคาที่จะมีการตกลงซื้อขายกันจริง อาจเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542!
ประเด็นที่สอง การดำเนินการจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบกไม่โปร่งใส โดยในขั้นตอนการจัดหา กองทัพบกได้ประกาศเชิญชวนทำการคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ซึ่งในขั้นตอนนี้ มีผู้เข้าเสนอข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ จำนวน 8 บริษัท แต่เมื่อถึงวันพิจารณาคัดเลือกแบบ กลับปรากฏว่า มีบริษัทที่ไม่ได้มีรายชื่อในการเข้าเสนอข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดด้วย คือ บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งเสนอยานเกราะ รุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน และเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากกองทัพบก
ประการที่สาม ยานเกราะล้อยางรุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน ไม่ได้ผลิตขึ้นมาใหม่แต่เป็นการนำยานเกราะรุ่นเก่าของรัสเซียมาปรับปรุงให้เป็นของใหม่
ที่ผ่านมา กองทัพบกได้ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกแบบ รวมถึงคุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครน และยืนยันว่า ได้ดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง โปร่งใส รวมทั้งจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานประกอบคำชี้แจง
อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาคำชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานของกองทัพบก สตง.พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนในหลายกรณี เช่น เหตุผลและความจำเป็นรวมทั้งความเหมาะสมกรณีผ่อนผันให้บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งไม่ได้ยื่นเสนอข้อมูลภายในวันเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ สามารถเข้าร่วมการคัดเลือกตั้ง โดยให้ยื่นข้อเสนอภายหลังบริษัทอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบผู้เสนอข้อมูลรายอื่นๆ โดยเฉพาะข้อเสนอด้านราคาดังกล่าว
การอนุมัติเซ็นจัดซื้ออย่างเงียบๆ ครั้งนี้ โดยที่กองทัพ และรัฐบาลไม่ยอมตอบคำถาม สตง.ทำความจริงให้ประจักษ์ย่อมเป็นเรื่องน่าหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนผู้เสียภาษี
ไม่อยากจะคิดจริงๆ ว่า นี่คือ การถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างนายสมัคร กับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา!
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มบล็อก http://mblog.manager.co.th/suwitcha67 หรือ E-mail suwitcha@manager.co.th