ผู้จัดการรายวัน – สตง.แกะเจอปมพิรุธกองทัพบกจัดซื้อยานเกราะล้อยางยูเครนฉาวอีก เผยราคาที่ตกลงซื้อขายตามสัญญาเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เสนอในขั้นตอนการคัดเลือกทุกรุ่นทุกแบบ ทั้งยังไม่เคยทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถนะการใช้งานในประเทศไทย กังขาประสิทธิภาพ เหมาะสมคุ้มค่ากับงบร่วม 4,000 ล้านบาทที่จะจัดซื้อหรือไม่ สนช.สรุปผลตรวจสอบเบื้องต้นกองทัพบกเอื้อประโยชน์บริษัทเอ็นจีวีฯ
ความคืบหน้ากรณีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้าตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบก วงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท ล่าสุด สตง.ได้ตรวจสอบพบข้อพิรุธในการจัดซื้อจัดหายุทธโธปกรณ์ดังกล่าว ในประเด็นข้อเสนอด้านราคา ซึ่งราคาที่บริษัทเอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ผู้ได้รับคัดเลือกแบบจากกองทัพบก เสนอราคาในขั้นตอนการคัดเลือก ประมาณคันละ 800,000 เหรียญสหรัฐฯ แต่ภายหลังกองทัพบก ชี้แจงว่า สถานฑูตยูเครน ยืนยันราคาต่อคันที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรก โดยจำแนกตามประเภทรถ ดังนี้
1) Carrier BTR –3 E 1 ราคา 948,00 เหรียญสหรัฐฯ 2) Commander BTR – 3 E 1 ราคา 970,000 เหรียญสหรัฐฯ 3) Medical BTR –3 E 1 ราคา 810,000 เหรียญสหรัฐฯ 4) 81 mm. Motar BTR – 3 E 1 ราคา 970,000 เหรียญสหรัฐฯ 5) 120 mm. Motar BTR – 3 E 1 ราคา 1,140,000 เหรียญสหรัฐฯ 6) ATMS BTR –3 E 1 ราคา 1,380,000 เหรียญสหรัฐฯ 7) Recovery BTR –3 E 1 ราคา 910,000 เหรียญสหรัฐฯ
สตง. ชี้ว่า รายละเอียดของราคาต่อคันข้างต้นทุกประเภท สูงกว่าที่เสนอในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรก ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่า ราคาที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกแบบครั้งแรกไม่ใช่ราคาที่จะมีการตกลงซื้อขายกันจริง โดยอาจเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลด้านราคาที่แตกต่างกันระหว่างราคาของวันที่ให้ข้อมูลราคาปัจจุบันและราคาในวันลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงของบริษัทเอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด และอาจเข้าข่ายความคิดตามพระราชบัญญัติความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542
นอกจากนั้น ยังมีข้อสังเกตอื่นกรณีเคยมีการทดสองการใช้งานยานเกราะล้อยางในประเทศไทยหรือไม่ กองทัพบก ชี้แจงว่า ไม่เคยมีการทดสอบการใช้งานยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครนในประเทศไทย แต่ได้ส่งคณะเดินทางไปดูงานโรงงานผู้ผลิต เพื่อเยี่ยมชมสายการผลิต ณ สาธารณรัฐยูเครน ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า สภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศของประเทศยูเครนมีความแตกต่างจากประเทศไทยเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ยังไม่เคยมีการทดสอบการใช้งานจริงในประเทศไทย จึงเป็นห่วงต่อการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากอย่างสมประโยชน์และต่อการใช้จ่ายเงินเพื่อให้ได้อาวุธยุทธโธปกรณ์ที่เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสามารถปกป้อง คุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
อนึ่ง สตง.ได้เข้าตรวจสอบโครงการจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบกตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจากประเด็นข้อร้องเรียน 3 ประเด็นหลัก คือ หนึ่ง การดำเนินการจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบก ไม่โปร่งใส โดยในขั้นตอนการจัดหา กองทัพบกได้ประกาศเชิญชวนทำการคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ซึ่งในขั้นตอนนี้ มีผู้เข้าเสนอข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ จำนวน 8 บริษัท แต่เมื่อถึงวันพิจารณาคัดเลือกแบบ กลับปรากฏว่า มีบริษัทที่ไม่ได้มีรายชื่อในการเข้าเสนอข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดด้วย คือ บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งเสนอยานเกราะ รุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน และเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากกองทัพบก
สอง คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถภาพของยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครนไม่มีความเหมาะสมต่อภารกิจและสภาพภูมิประเทศในการใช้งานของประเทศไทย และ สาม ยานเกราะล้อยางรุ่น รุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน ไม่ได้ผลิตขึ้นมาใหม่แต่เป็นการนำยานเกราะรุ่นเก่าของรัสเซียมาปรับปรุงให้เป็นของใหม่
ที่ผ่านมา กองทัพบก ได้ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกแบบ รวมถึงคุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะของยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครน และยืนยันว่า ได้ดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง โปร่งใส รวมทั้งจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานประกอบคำชี้แจง
แต่อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาคำชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานของกองทัพบก สตง.พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนในหลายกรณี เช่น เหตุผลและความจำเป็นรวมทั้งความเหมาะสมกรณีผ่อนผันให้บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งไม่ได้ยื่นเสนอข้อมูลภายในวันเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ สามารถเข้าร่วมการคัดเลือกตั้ง โดยให้ยื่นข้อเสนอภายหลังบริษัทอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบผู้เสนอข้อมูลรายอื่นๆ โดยเฉพาะข้อเสนอด้านราคาดังกล่าวข้างต้น
สำหรับการดำเนินการตรวจสอบของ สตง. ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงของกองทัพบกที่มีบางประเด็นยังไม่กระจ่างชัด ขณะที่กองทัพบกยืนยันว่าทุกๆ ขั้นตอนดำเนินการด้วยความเป็นธรรมโปร่งใส
การเข้ามาตรวจสอบโครงการดังกล่าวของสตง. ทางสถานฑูตยูเครนประจำประเทศไทย ได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี โดยสรุปสาระสำคัญได้ว่า โครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะ BTR –3E 1 กลายเป็นปัญหาและถูกยกขึ้นมาโดย สตง.ได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จและบิดเบือนจากผู้ร้องเรียนและถูกนำไปอภิปรายในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางคน รวมทั้งยืนยันว่า ยูเครน เป็นผู้นำในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ตอบสนองมาตรฐานของโลกระดับสูงสุดเป็นที่รู้จักในการแข่งขันที่เป็นธรรมนั้น
ทาง สตง. ชี้แจงว่า การดำเนินการตรวจสอบของ สตง. เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง รับฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายทุกกรณีรวมถึงคำชี้แจงจากกองทัพบก ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกองทัพบกและประเทศชาติ และการตรวจสอบมิได้เสร็จสิ้นเมื่อลงนามในสัญญาเท่าน้นแต่ต้องติดตามการส่งมอบ ตรวจรับ และใช้ประโยชน์ต่อไป
สำหรับการเข้ามาตรวจสอบโครงการดังกล่าวของ สนช. ขณะนี้ มีประเด็นพิจารณาจากการร้องเรียนและข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1) กระบวนการใช้ในการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง BTR –3E 1 เป็นกระบวนการจัดซื้อที่เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนที่กองทัพบกกำหนดไว้หรือไม่ และ 2) ถ้าไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กองทัพบกกำหนด การกระทำที่ผิดขั้นตอนนั้นเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ใครหรือไม่
ประเด็นแรก มีข้อสรุปเบื้องต้นภายหลังการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รับฟังข้อมูลจากกองทัพบกและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า การเปิดโอกาสให้บริษัทเอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด สามารถเข้ามาเสนอราคาได้ในภายหลัง เหตุเพราะคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานกองทัพบก ได้มีมติรับรองมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้นำเสนอขายไปตั้งแต่ก่อนเปิดให้เอกชนเสนอตัวเข้ามาแข่งขันกันคัดเลือกแล้ว การกระทำของกองทัพบก ดังกล่าว จึงไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาค ความโปร่งใส และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เอกชนรายอื่น
ส่วนประเด็นที่สอง สรุปเบื้องต้นได้ว่า การกระทำของคณะกรรมการคัดเลือกแบบ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ กองทัพบก เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กองทัพบกกำหนด เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใสและผลของการกระทำเป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอ็นจีวี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด อย่างแจ้งชัด
ความคืบหน้ากรณีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้าตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบก วงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท ล่าสุด สตง.ได้ตรวจสอบพบข้อพิรุธในการจัดซื้อจัดหายุทธโธปกรณ์ดังกล่าว ในประเด็นข้อเสนอด้านราคา ซึ่งราคาที่บริษัทเอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ผู้ได้รับคัดเลือกแบบจากกองทัพบก เสนอราคาในขั้นตอนการคัดเลือก ประมาณคันละ 800,000 เหรียญสหรัฐฯ แต่ภายหลังกองทัพบก ชี้แจงว่า สถานฑูตยูเครน ยืนยันราคาต่อคันที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรก โดยจำแนกตามประเภทรถ ดังนี้
1) Carrier BTR –3 E 1 ราคา 948,00 เหรียญสหรัฐฯ 2) Commander BTR – 3 E 1 ราคา 970,000 เหรียญสหรัฐฯ 3) Medical BTR –3 E 1 ราคา 810,000 เหรียญสหรัฐฯ 4) 81 mm. Motar BTR – 3 E 1 ราคา 970,000 เหรียญสหรัฐฯ 5) 120 mm. Motar BTR – 3 E 1 ราคา 1,140,000 เหรียญสหรัฐฯ 6) ATMS BTR –3 E 1 ราคา 1,380,000 เหรียญสหรัฐฯ 7) Recovery BTR –3 E 1 ราคา 910,000 เหรียญสหรัฐฯ
สตง. ชี้ว่า รายละเอียดของราคาต่อคันข้างต้นทุกประเภท สูงกว่าที่เสนอในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งแรก ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่า ราคาที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกแบบครั้งแรกไม่ใช่ราคาที่จะมีการตกลงซื้อขายกันจริง โดยอาจเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลด้านราคาที่แตกต่างกันระหว่างราคาของวันที่ให้ข้อมูลราคาปัจจุบันและราคาในวันลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงของบริษัทเอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด และอาจเข้าข่ายความคิดตามพระราชบัญญัติความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542
นอกจากนั้น ยังมีข้อสังเกตอื่นกรณีเคยมีการทดสองการใช้งานยานเกราะล้อยางในประเทศไทยหรือไม่ กองทัพบก ชี้แจงว่า ไม่เคยมีการทดสอบการใช้งานยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครนในประเทศไทย แต่ได้ส่งคณะเดินทางไปดูงานโรงงานผู้ผลิต เพื่อเยี่ยมชมสายการผลิต ณ สาธารณรัฐยูเครน ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า สภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศของประเทศยูเครนมีความแตกต่างจากประเทศไทยเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ยังไม่เคยมีการทดสอบการใช้งานจริงในประเทศไทย จึงเป็นห่วงต่อการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากอย่างสมประโยชน์และต่อการใช้จ่ายเงินเพื่อให้ได้อาวุธยุทธโธปกรณ์ที่เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสามารถปกป้อง คุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
อนึ่ง สตง.ได้เข้าตรวจสอบโครงการจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบกตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจากประเด็นข้อร้องเรียน 3 ประเด็นหลัก คือ หนึ่ง การดำเนินการจัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบก ไม่โปร่งใส โดยในขั้นตอนการจัดหา กองทัพบกได้ประกาศเชิญชวนทำการคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ซึ่งในขั้นตอนนี้ มีผู้เข้าเสนอข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ จำนวน 8 บริษัท แต่เมื่อถึงวันพิจารณาคัดเลือกแบบ กลับปรากฏว่า มีบริษัทที่ไม่ได้มีรายชื่อในการเข้าเสนอข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนดด้วย คือ บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งเสนอยานเกราะ รุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน และเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากกองทัพบก
สอง คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถภาพของยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครนไม่มีความเหมาะสมต่อภารกิจและสภาพภูมิประเทศในการใช้งานของประเทศไทย และ สาม ยานเกราะล้อยางรุ่น รุ่น BTR –3E1 ของสาธารณรัฐยูเครน ไม่ได้ผลิตขึ้นมาใหม่แต่เป็นการนำยานเกราะรุ่นเก่าของรัสเซียมาปรับปรุงให้เป็นของใหม่
ที่ผ่านมา กองทัพบก ได้ชี้แจงกระบวนการคัดเลือกแบบ รวมถึงคุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะของยานเกราะล้อยางของสาธารณรัฐยูเครน และยืนยันว่า ได้ดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง โปร่งใส รวมทั้งจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานประกอบคำชี้แจง
แต่อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาคำชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานของกองทัพบก สตง.พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนในหลายกรณี เช่น เหตุผลและความจำเป็นรวมทั้งความเหมาะสมกรณีผ่อนผันให้บริษัท เอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งไม่ได้ยื่นเสนอข้อมูลภายในวันเวลาที่กำหนดตามประกาศฯ สามารถเข้าร่วมการคัดเลือกตั้ง โดยให้ยื่นข้อเสนอภายหลังบริษัทอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบผู้เสนอข้อมูลรายอื่นๆ โดยเฉพาะข้อเสนอด้านราคาดังกล่าวข้างต้น
สำหรับการดำเนินการตรวจสอบของ สตง. ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงของกองทัพบกที่มีบางประเด็นยังไม่กระจ่างชัด ขณะที่กองทัพบกยืนยันว่าทุกๆ ขั้นตอนดำเนินการด้วยความเป็นธรรมโปร่งใส
การเข้ามาตรวจสอบโครงการดังกล่าวของสตง. ทางสถานฑูตยูเครนประจำประเทศไทย ได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี โดยสรุปสาระสำคัญได้ว่า โครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะ BTR –3E 1 กลายเป็นปัญหาและถูกยกขึ้นมาโดย สตง.ได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จและบิดเบือนจากผู้ร้องเรียนและถูกนำไปอภิปรายในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางคน รวมทั้งยืนยันว่า ยูเครน เป็นผู้นำในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ตอบสนองมาตรฐานของโลกระดับสูงสุดเป็นที่รู้จักในการแข่งขันที่เป็นธรรมนั้น
ทาง สตง. ชี้แจงว่า การดำเนินการตรวจสอบของ สตง. เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง รับฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายทุกกรณีรวมถึงคำชี้แจงจากกองทัพบก ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกองทัพบกและประเทศชาติ และการตรวจสอบมิได้เสร็จสิ้นเมื่อลงนามในสัญญาเท่าน้นแต่ต้องติดตามการส่งมอบ ตรวจรับ และใช้ประโยชน์ต่อไป
สำหรับการเข้ามาตรวจสอบโครงการดังกล่าวของ สนช. ขณะนี้ มีประเด็นพิจารณาจากการร้องเรียนและข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1) กระบวนการใช้ในการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง BTR –3E 1 เป็นกระบวนการจัดซื้อที่เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนที่กองทัพบกกำหนดไว้หรือไม่ และ 2) ถ้าไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กองทัพบกกำหนด การกระทำที่ผิดขั้นตอนนั้นเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ใครหรือไม่
ประเด็นแรก มีข้อสรุปเบื้องต้นภายหลังการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รับฟังข้อมูลจากกองทัพบกและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า การเปิดโอกาสให้บริษัทเอ็น จี วี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด สามารถเข้ามาเสนอราคาได้ในภายหลัง เหตุเพราะคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานกองทัพบก ได้มีมติรับรองมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้นำเสนอขายไปตั้งแต่ก่อนเปิดให้เอกชนเสนอตัวเข้ามาแข่งขันกันคัดเลือกแล้ว การกระทำของกองทัพบก ดังกล่าว จึงไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาค ความโปร่งใส และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เอกชนรายอื่น
ส่วนประเด็นที่สอง สรุปเบื้องต้นได้ว่า การกระทำของคณะกรรมการคัดเลือกแบบ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ กองทัพบก เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กองทัพบกกำหนด เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใสและผลของการกระทำเป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอ็นจีวี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด อย่างแจ้งชัด