xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.ทหาร ข้องใจกองทัพจัดซื้อ “เรือเหาะ-ยานเกราะ” ส่อบุโรทั่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พ.ต.ท. สมชาย เพศประเสริฐ
กมธ.การทหาร สภาผู้แทนราษฎร ข้องใจกองทัพสั่งซื้อ “บอลลูนเรือเหาะ-ยานหุ้มเกราะล้อยาง” อ้างไม่คุ้มค่า ไม่มีการทดสอบ ติงกองทัพไม่ยกเลิก ทั้งที่ “ยูเครน” ผิดสัญญา ชี้ “บัลลูนเรือเหาะ ไม่เอื้อต่อภูมิศาสตร์ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ และไม่มีภูมิภาคใดใช้

วันนี้ (3 มี.ค.) ที่รัฐสภา พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร ร่วมกับ นายฐนโรจน์ โรจนกุลเสฏฐ์ โฆษกกรรมาธิการฯ แถลงข่าวถึงกรณีโครงการจัดซื้อบัลลูนตรวจการณ์ หรือบัลลูนเรือเหาะ ของกองทัพบก มูลค่า 350 ล้านบาท เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากประเทศยูเครน

พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถใช้ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ได้จริง จากการที่คณะกรรมาธิการได้ติดตามการติดตามการซื้อยานเกราะฯ มูลค่า 3,898 ล้านบาท ซึ่งมีข่าวว่าทางเยอรมันปฏิเสธไม่ขายเครื่องยนต์ดอยช์ ที่ติดอยู่ในยานเกราะฯ เพราะประเทศไทยไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะมาจากการยึดอำนาจของทหาร แต่ขณะนี้ ทางกองทัพได้ชี้แจงว่ามีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่แล้ว ซึ่งทางเยอรมันก็จะขายเครื่องยนต์ดังกล่าวให้ ซึ่งเรารู้สึกกังวลว่า ได้จ่ายเงินไปแล้ว หากไม่มีการส่งมอบใครจะรับผิดชอบ

ขณะที่ นายฐนโรจน์ กล่าวว่า กรณีของยานเกราะฯ ที่จ่ายไปแล้ว 15% ซึ่งเยอรมนีไม่ยอมขายเครื่องดอยช์ให้ แต่ทางกรรมาธิการได้รับการชี้แจงว่าได้เลือกเครื่องตัวใหม่ คือ เอ็มพียู ที่ยังไม่ได้รับรายละเอียดเรื่องคุณสมบัติ แต่ก็เป็นของเยอรมนีอีก แม้จะได้รับการยืนยันว่า เยอรมนีจะยอมขายเครื่องดังกล่าวให้ไทยแล้ว แต่ทางกรรมาธิการฯ ก็ยังไม่มีความมั่นใจ เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นการทำผิดสัญญา และทางกองทัพควรจะยกเลิก แต่ก็ไม่ดำเนินการ ทั้งนี้ เห็นว่าผู้ใช้จะต้องกำหนดคุณสมบัติให้เหมาะสม แต่เมื่อฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างก็จะตามใจผู้ซื้อ ไม่ได้เป็นไปตามใจผู้ใช้

พ.ต.ท.สมชายตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมรัฐบาลถึงมีความเกรงใจยูเครนมากขนาดนี้ ทั้งที่เราไม่มีสนธิสัญญาทางทหารกับยูเครน และที่สำคัญเครื่องยนต์ดอยซ์ที่ติดตั้งยานเกราะฯ ก็เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้กับเรือ นอกจากนี้ ที่ระบุว่าเยอรมนียอมขายเครื่องยนต์ให้แล้ว แต่กลับไม่หนังสือสัญญาการซื้อขาย อย่างไรก็ตาม ทางกรรมาธิการจะยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. และ สตง.เข้าไปตรวจสอบหาผู้กระทำผิด รวมถึงการติดตามงบของอาสารักษาดินแดน (อส.) ของกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะการสั่งซื้อชุดเกราะที่ใช้ในภาคใต้ ซึ่งส่อว่ามีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น

พ.ต.ท.สมชาย กล่าวต่อว่า ตนขอตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดกองทัพจึงจัดซื้อบอลลูนเรือเหาะ เพราะในภูมิภาคนี้ไม่มีประเทศใดใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนอกจากประเทศไทย และเมื่อเลยเวลารับมอบไปแล้วก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น ได้เสอนกองทัพให้ตรวจสอบคุณภาพว่า สามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ และให้มีการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานก่อนการเซ็นรับมอบ

ด้าน นายฐนโรจน์กล่าวว่า จากการที่มีผู้มาชี้แจงว่าขณะนี้มีอุปกรณ์บัลลูนเรือเหาะครบแล้ว ซึ่งได้จ่ายเงินไปแล้ว 70% โดยอยู่ในระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ และได้สร้างโรงเก็บบอลลูนเรียบร้อยแล้วที่ 3 จังหวัดภาคใต้ แต่ทางกรรมาธิการมีความเป็นห่วงเรื่องสภาพอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่มีลมแรง อีกทั้งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ยังไม่ผ่านการทดสอบ เกรงว่าจะเหมือนกับปัญหาของ จีที่200
กำลังโหลดความคิดเห็น