ASTVผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค"สั่งทุกหน่วยงานรัฐเดินหน้าขยายผลดำเนินคดียึดทรัพย์ "แม้ว"ต่อ ทั้งแพ่ง-อาญา กำชับศึกษาคำพิพากษาเพื่อฟ้องคดีใหม่ ยันทำเพื่อรักษาผลประโยชน์แผ่นดิน ไม่ใช่กลั่นแกล้ง ไล่ล่า ด้านอัยการรับลูก เร่งศึกษารายละเอียดหาช่องฟ้อง ขณะที่ป.ป.ช.ตั้งแท่นเชือดอีก 4 เรื่อง ส่วนดีเอสไอ พบช่องรื้อคดีเอสซีแอสเสท
เมื่อวานนี้ ( 2 มี.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการดำเนินคดีทางแพ่งและอาญา ต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายึดทรัพย์ ว่า จากคำพิพากษา จะเห็นว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ที่ศาลมีคำวินิจฉัย ที่มีข้อยุติเกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายแก่ภาครัฐ ฉะนั้นทุกหน่วยงานจะต้องไปศึกษาคำพิพากษา เพื่อจะได้มีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมครม. มีมติขอให้ทางอัยการช่วยสรุปประเด็นต่างๆมาอีกทางหนึ่ง เพื่อหน่วยงานต่างๆรับไปปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้มีการพูดถึงกรอบเวลา เพราะแต่ละหน่วยงานจะมีความซับซ้อนของเรื่องแตกต่างกัน แต่ได้ย้ำไปแล้วว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน และคนที่มาดำรงตำแหน่งตรงนี้ มีหน้าที่ปกป้องประโยชน์ของแผ่นดิน ไม่สามารถที่จะไปละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
สำหรับในคำพิพากษามีการระบุถึงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเอื้อประโยชน์ด้วย ก็จะต้องดำเนินการไปทั้ง 2 ส่วน คือทางแพ่ง และอาญา ซึ่งต้องดำเนินการไปตามข้อเท็จจริง ที่เป็นข้อยุติตามคำวินิจฉัย และ ข้อกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องระบบพีเพด ได้คุยกับไอซีที ไว้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องแก้สัญญาตรงนั้น บังเอิญมีคณะกรรมการที่กระทรวงไอซีที มีอยู่ และตอนนี้เหลือเวลาอีก 1 เดือนที่จะรายงานกลับมา
เมื่อถามต่อว่า การพิจารณาที่อาจต้องแก้สัญญาบางส่วน ซึ่งอาจจะกระทบภาคธุรกิจ มีการดูตรงนี้ประกอบไปด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงต้องดูสถานะของสัญญาณต่างๆ เพราะกรณีการลดส่วนแบ่งรายได้ มันเคยมีเรื่องที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว อย่างที่บอกคือ มีคณะกรรมการ
**ขยายผลดำเนินการฟ้องเป็นคดีใหม่
เมื่อถามว่า กรณีคำพิพากษาของศาลฎีกา จะสามารถเป็นบรรทัดฐานต่อการฟ้องในเรื่องอื่นๆได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คำว่าบรรทัดฐานคงเป็นเรื่องของศาล แต่ตนเป็นฝ่ายบริหาร เมื่อศาลฟังได้เป็นข้อยุติว่า เกิดเรื่องต่างๆอย่างนี้ และมีความเสียหาย หน่วยงานที่เป็นความรับผิดชอบในเรื่องความเสียหายโดยตรง ก็ต้องมีการดำเนินการ ซึ่งเป็นการฟ้องใหม่ เพราะ ถือเป็นคนละคดีกันอยู่แล้ว เนื่องจากคดีที่ตัดสินไปเป็นเพียงคดีเรื่องการยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และการวินิจฉัยว่า ตกเป็นของแผ่นดินเท่าไร ศาลก็ชี้ว่าทรัพย์สินนั้นได้มาโดยชอบหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ จะเห็นได้ว่าวันนั้นที่ศาลแจกแจงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ สูงกว่าการวินิจฉัยให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ฉะนั้นเป็นคนละประเด็นกัน แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นผู้ติดตาม
** ย้ำให้รมต.ตระหนักในหน้าที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ระหว่างที่คดีความยังไม่จบ จะสามารถอายัดบางส่วนไว้ก่อนได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในชั้นนี้ต้องรอเวลา 30 วัน ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือไม่ อย่างไร เมื่อถามว่า ในที่ประชุมครม. มีการพิจารณาเรื่องนี้ว่าเป็นอุทาหรณ์ของนักการเมืองหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนเพียงแต่พูดสั้นๆว่า ถ้าอ่านคำพิพากษาของศาล จะพบว่าพวกเราซึ่งเป็นครม. มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร ฉะนั้นต้องตระหนักว่า หากเกิดปัญหาความเสียหายใดๆ หรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องใดๆ เรามีหน้าที่ที่จะต้องดูแล โดยเฉพาะนายกฯนั้นชัดเจนที่สุดว่า มีหน้าที่ในการที่จะต้องดูแลเกือบทุก ส่วนในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
เมื่อถามว่าคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ได้ชี้แจงหรือไม่เรื่องที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ระบุว่า จะร้องป.ป.ช.ให้สอบบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินที่ระบุว่า อาจจะมีการซุกหุ้น เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งนายกฯ กล่าวปฏิเสธว่าไมได้มีการสอบถามในที่ประชุมครม. แต่ตนได้เห็นข่าวก็สอบถาม ท่านก็บอกว่าพร้อมที่จะไปชี้แจงในกรณีที่ถูกร้อง
**ไม่ใช่ไล่ล่า"ทักษิณ"แต่เป็นหน้าที่
ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะนำเรื่องการยึดทรัพย์ไปฟ้องศาลโลกนั้น เราต้องดูก่อนว่า ไปฟ้องที่ไหน อย่างไร ฟ้องได้หรือไม่ เมื่อถามว่า จะชี้แจงต่อสังคมเพิ่มเติมอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำไม่ใช่เรื่องการไล่ล่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนได้ย้ำไปทั้งในเรื่องนี้ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความปลอดภัย และการบริหารสถานการณ์ในขณะนี้ ได้ย้ำกับ ครม.ว่า เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้เป็นคู่กรณี หรือคู่ต่อสู้อะไรกับใครทั้งสิ้น หน้าที่ของรัฐบาลในเรื่องของสถานการณ์คือ ให้เกิดความสงบเรียบร้อย ในเรื่องคดีความคือ การรักษาประโยชน์แผ่นดิน ไม่ใช่เรื่องไปต่อสู้อะไรกับใคร ฉะนั้นขอให้ทุกคนยึดแนวทางนี้ และแนวทางนี้ จะเป็นแนวทางเดียวที่จะเป็นภูมิคุ้มกัน และป้องกันให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในทุกตำแหน่ง ในการที่จะตอบคำถามในอนาคตต่อไป
**อัยการเปิดเกมไล่ดำเนินคดีแม้ว
นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาสำนวนคดีที่ดำเนินการโดย คตส. และสำนวนคดีที่ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อจาก คตส. ได้เชิญ นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการคดีพิเศษ, นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร นายนัทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พร้อมคณะทำงานเข้าร่วมประชุมหารือ หลังศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนวน 46,373 ล้านบาท ของพ.ต.ท.ทักษิณ และผู้คัดค้านที่ 1-5 ในคดีดังกล่าว ตกเป็นของแผ่นดิน โดยใช้เวลาหารือนาน 30 นาที จึงเสร็จสิ้น
นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการคดีพิเศษ ในฐานะรองประธานคณะทำงาน เปิดเผยว่า หลังจากศาลฎีกาฯมีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกเป็นของแผ่นดิน ทางนายกรัฐมนตรี ก็ได้ประสานขอให้ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด (อสส.) พิจารณาสำนวนในคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทาง อสส. จึงมอบหมายให้ นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด เรียกประชุมคณะทำงาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาในคดียึดทรัพย์ โดยทางเจ้าหน้าที่ศาลฎีกาฯ รับว่าจะรีบส่งสำเนาคำพิพากษาให้ทันทีที่จบกระบวนการในชั้นศาลแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีการหารือในส่วนของคดีอาญา จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งสามารถยื่นฟ้องไปแล้ว จำนวน 2 คดี คือ การอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้แก่ทางการพม่า จำนวน 4,000 ล้านบาท และคดีแปลงสัมปทาน เป็นภาษีสรรพาสามิต ซึ่งทั้ง 2 คดี ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว เมื่อยังไม่ได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาดำเนินคดี
นายธนพิชญ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนที่ยังไม่ได้ยื่นฟ้องอีก 3 คดี นั้น ได้แก่ การแก้สัญญาให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบเครือข่ายโรมมิ่ง, แก้ไขลดส่วนแบ่งระบบบัตรโทรศัพท์เติมเงินล่วงหน้า และ แก้ไขสัญญาส่งดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งทั้ง 3 สำนวน ยังอยู่ในชั้นการพิจารณาไต่สวนของป.ป.ช.
สำหรับคดีแพ่งนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าหน่วยงานรัฐ หน่วยงานใดได้รับความเสียหายบ้าง เพื่อมอบหมายให้อัยการสูงสุดพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อไป
ต่อข้อถามว่าถึงการติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับโทษในคดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก ที่ถูกศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเพื่อจะได้ส่งฟ้องในคดีอื่นนั้น นายธนพิชญ์ กล่าวว่าเรื่องนี้ทางอัยการสำนักงานต่างประเทศ พยายามดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว แต่เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยังอยู่ไม่เป็นหลักแหล่งที่แน่นอน คงต้องใช้เวลาในการตามตัว
**ป.ป.ช.ตั้งแท่นเอาผิดอีก 4 เรื่อง
นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า การประชุมป.ป.ช. เมื่อวานนี้ เป็นการพิจารณาเรื่องการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายหลังศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ รายงานต่อที่ประชุม ว่า ตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ มีคำพิพากษาในคดียึดทรัพย์ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.นั้น มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ คณะกรรมการป.ป.ช. รวม 4 เรื่องคือ
1. กรณีนายวีระ สมความคิด กล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบความถูกต้อง และความมีอยู่จริงของทรัพย์สิน และหนี้สินของอดีตนายกฯ แล้ว นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ คตส. ส่งเรื่องมาให้ ป.ป.ช. ดำเนินการต่ออีก 3 เรื่อง
2. เรื่องกล่าวหา คณะกรรมการ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการบริหารงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อให้มีการพิจารณาลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ จากการให้บริการบัตรเติมเงินมือถือแบบจ่ายเงินล่วงหน้า (Pre-Paid) โดยมิชอบ
3. เรื่องกล่าวหาคณะกรรมการ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้บริหาร บมจ. ทศท. คอร์ปอเรชั่น และผู้บริหาร บมจ. กสท โทรคมนาคม แก้ไขสัญญาอนุญาตให้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ครั้งที่ 7) เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) ระหว่าง ผู้ให้บริการรายอื่น และอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายจากการ Roaming ก่อนนำมาคำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้กับ บมจ. ทีโอที และ ปรับลดอัตราค่าใช้จ่ายเครือข่าย ร่วมระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด
4. เรื่องกล่าวหาการอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยมิชอบด้วยสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ เอื้อประโยชน์ให้แก่ บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และเรื่องการอนุมัติให้ใช้เงินสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศอันเป็นการขัดต่อสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด และเรื่องกล่าวหาการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานฯ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 47 เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ ที่ต้องถือใน บริษัทชินแซทฯ จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ทั้ง 3 เรื่องที่ คตส. ส่งมาให้ ป.ป.ช. นี้ ทางป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงไปก่อนหน้านี้แล้ว และคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้ขอคำพิพากษาฉบับสมบูรณ์จากศาลฎีกาฯ สำหรับนำมาพิจารณาประกอบในการตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สิน ของอดีตนายกรัฐมนตรี และการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องกล่าวหาทั้ง 3 เรื่องตามขั้นตอนต่อไป
นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช. กล่าวถึงกณีฝ่ายกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมยื่นอุทธรณ์ โดยอ้างว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจรับคดีต่างๆมาทำต่อจาก คตส. ว่า คณะกรรมการป.ป.ช. คงไม่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา เพราะหากฝ่ายกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นอุทธรณ์ในประเด็นนี้ ก็เท่ากับไม่ยอมรับอำนาจของศาล คงจะลำบาก หากจะให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาในประเด็นนี้
**ดีเอสไอพบช่องรื้อเอสซีแอสเสท
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงมติครม. ที่สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาคำพิพากษา คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนดำเนินคดีสั่งฟ้องในทางอาญา และทางแพ่ง ว่า ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษจะนำคำพิพากษาของศาลมาศึกษาอย่างละเอียด ว่าจะพบความผิดในกรณีใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับคดีพิเศษ เช่น ความผิดตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร ความผิดเกี่ยวกับการฮั้วประมูล ซึ่งเมื่อศึกษาคำพิพากษาอย่างดีแล้ว จะดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
อธิบดีดีเอสไอ ยังกล่าวถึงคดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอส ซี แอสเสท ว่า คดีดังกล่าวถือว่าได้สิ้นสุดทางคดีไปแล้ว แต่ก็สามารถที่จะรื้อฟื้นคดีใหม่ได้ หลังจากที่ ดีเอสไอ ได้ทำการศึกษาคำพิพากษาเพิ่มเติมแล้ว หากตรวจสอบพบว่ามีหลักฐานใหม่ หรือพบการกระทำผิดกรณีต่างๆ เพิ่ม ก็สามารถเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ส่วนสำนวนเก่าที่ทางอดีตอธิบดีดีเอสไอ นายสุนัย มโนมัยอุดม เคยส่งสำนวนให้อัยการ แต่ไม่ได้สั่งฟ้องนั้น ก็จะนำมาศึกษาเพิ่มเติมประกอบกับคำพิพากษาด้วย
นายธาริต กล่าวอีกว่า เบื้องต้นได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเรียบร้อยแล้วโดยมอบหมายให้สำนักคดีการเงิน การธนาคารเป็นทีมวิเคราะห์ความผิดตามข้อกฏหมายต่างๆ นอกจากนี้ จะประสานกับทางอัยการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
**คตส.ประกาศยุติบทบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 17.00 น.วานนี้ (2มี.ค.) ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง.) อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้นัดรับประทานอาหาร พร้อมทั้งหารือผลการทำงานของ คตส. หลังจากศาลฏีกาแผนกคดีอาญาฯพิพากษายึดทรัพย์ และคืนทรัพย์สินบางส่วนให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ โดยมีนาย นาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคตส. รวมทั้งอดีตกรรมการ คตส.เข้าร่วมประชุมยกเว้น นายแก้วสรร อติโพธิ นายก ล้านรงค์ จันทิก และนางเสาวนีย์ อัศวโรจน์
ภายหลังการหารือนายนาม ยิ้มแย้ม กล่าวว่า หากทีมทนายของพ.ต.ท. ทักษิณ จะอุทธรณ์ ต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน แต่การอุทธรณ์ในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ต้องมีข้อเท็จจริงใหม่เท่านั้น ไม่ใช่ข้อกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องรอฟังทีมทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีกครั้งว่าจะอุทธรณ์ในประเด็นใด
ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณจะฟ้องศาลโลก ไม่สามารถทำได้แน่นอน เพราะคดีนี้ เป็นการทำผิดในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย สำหรับผลพวงจากคดียึดทรัพย์ ที่มีคดีความทั้งทางแพ่ง และอาญาตามมา ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับนักการเมือง และข้าราชการในหลายหน่วยงาน รวมถึงผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ที่จะต้องขอสำเนาคำวินิจฉัยของศาลฏีกาไปศึกษาอย่างละเอียด เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้รัฐเสียหาย เนื่องจาก คตส.หมดอายุไปนานแล้ว ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นหน้าที่หน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง
นายสัก กอแสงเรือง กรรมการ คตส. กล่าวว่าในที่ประชุมได้ข้อสรุปตรงกันว่า คตส. ได้หมดอำนาจหน้าที่แล้ว ไม่อยู่ในฐานะที่จะแถลงอะไรอีก เรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับคดี ก็ขอให้ไปศึกษาคำวินิจฉัยของศาล เพราะมีความครบถ้วน และสำนวนของ คตส. ก็ถือว่า ผ่านศาลแล้ว ถ้าจะทำหน้าที่ก็คือ กรณีคดีเดิม ที่ศาลเรียกให้ไปเบิกความ
ส่วนที่พรรคการเมืองใหม่ เรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายป.ป.ช.ให้การยึดทรัพย์รัดกุมขึ้นนั้น เรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาล หรือฝ่ายนิติบัญญัติ คตส. คงไม่มีหน้าที่อะไรตรงนี้
**"กรณ์"เร่งดำเนินการยึดทรัพย์
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงการตรวจสอบทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ในส่วนที่จะต้องยึดเข้าเป็นเงินของแผ่นดิน ตามคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายไปแล้ว เมื่อวานนี้ ( 1 มี.ค.) คงไม่ได้มีการสั่งการเพิ่มเติมอีก เพราะทุกอย่างชัดเจน ไม่มีอะไรต้องขยายความอีก
ส่วนสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ มองว่ายังไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นมากนัก เพราะสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ถ้ามีสถานการณ์เกิดขึ้นอีก ก็อาจจะมีผลกระทบได้ ดังนั้นรัฐบาลก็จะต้องดูแล ซึ่งเราก็มีมาตรการดูแลอยู่แล้ว
นายกรณ์ กล่าวด้วยว่าว่า คำพิพากษาของศาลมีความศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยสามารถยึดถือได้ แม้ว่าจะสร้างความผิดหวังให้บางคนบ้างก็ตาม
**"เนวิน"ดักคอ"กรณ์"อย่ามั่วรายได้
นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงคดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ตอนที่ศาลมีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์บางส่วน กลุ่มเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย คิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณยังมีเงินเหลืออยู่ในเมืองไทยอีก 30,000 ล้านบาท ทั้งที่จริงๆ แล้วเงินที่จะต้องเก็บเข้าคลังตามที่ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ ยังขาดอีก 3,000 ล้านบาท เพราะเงินในบัญชีที่ถูกคตส. อายัดไว้มีแค่ 43,000 ล้านบาท แต่ตนไม่รู้ว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะมีเงินเหลืออีกเท่าใด
อย่างไรก็ตาม คิดว่าเมื่อนำเงินที่ศาลสั่งอายัดเข้าคลังได้แล้ว นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ใช้โอกาสในการอภิปรายร่างงบประมาณ ปี 2554 อ้างว่ารัฐบาลมีการเก็บรายได้เพิ่มขึ้น เพราะแม้จะเป็นเงินในคดี แต่การแจ้งบัญชี จะตีเป็นเงินรายได้ทั้งหมด ที่พูดเช่นนี้ เพราะตนเคยเป็น รมช.คลัง มาก่อน
**ท้าส.ส.เพื่อไทยยื่อนถอดถอนตุลาการ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง ขู่ล่าชื่อคนเสื้อแดงเพื่อยื่นถอดถอน 9 ตุลาการศาลฎีกาฯที่ตัดสินคดียึดทรัพย์ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงควรเอาความรู้สึกของคนทั้งประเทศ ที่แสดงความรู้สึกผ่านผลการสำรวจต่างๆว่า อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณ ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม ตนไม่อยากให้มีการล่าชื่อจากประชาชนคนธรรมดา และทางที่ดี ส.ส.พรรคเพื่อไทย ทุกคนควรร่วมลงชื่อถอดถอนตุลาการ จะได้พิสูจน์ว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ถ้าเป็นการละเมิด ก็จะได้เห็นส.ส.หลายคนต้องติดคุก หมดสมาชิกภาพไป
เมื่อวานนี้ ( 2 มี.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการดำเนินคดีทางแพ่งและอาญา ต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายึดทรัพย์ ว่า จากคำพิพากษา จะเห็นว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ที่ศาลมีคำวินิจฉัย ที่มีข้อยุติเกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายแก่ภาครัฐ ฉะนั้นทุกหน่วยงานจะต้องไปศึกษาคำพิพากษา เพื่อจะได้มีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมครม. มีมติขอให้ทางอัยการช่วยสรุปประเด็นต่างๆมาอีกทางหนึ่ง เพื่อหน่วยงานต่างๆรับไปปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้มีการพูดถึงกรอบเวลา เพราะแต่ละหน่วยงานจะมีความซับซ้อนของเรื่องแตกต่างกัน แต่ได้ย้ำไปแล้วว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน และคนที่มาดำรงตำแหน่งตรงนี้ มีหน้าที่ปกป้องประโยชน์ของแผ่นดิน ไม่สามารถที่จะไปละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
สำหรับในคำพิพากษามีการระบุถึงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเอื้อประโยชน์ด้วย ก็จะต้องดำเนินการไปทั้ง 2 ส่วน คือทางแพ่ง และอาญา ซึ่งต้องดำเนินการไปตามข้อเท็จจริง ที่เป็นข้อยุติตามคำวินิจฉัย และ ข้อกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องระบบพีเพด ได้คุยกับไอซีที ไว้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องแก้สัญญาตรงนั้น บังเอิญมีคณะกรรมการที่กระทรวงไอซีที มีอยู่ และตอนนี้เหลือเวลาอีก 1 เดือนที่จะรายงานกลับมา
เมื่อถามต่อว่า การพิจารณาที่อาจต้องแก้สัญญาบางส่วน ซึ่งอาจจะกระทบภาคธุรกิจ มีการดูตรงนี้ประกอบไปด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงต้องดูสถานะของสัญญาณต่างๆ เพราะกรณีการลดส่วนแบ่งรายได้ มันเคยมีเรื่องที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว อย่างที่บอกคือ มีคณะกรรมการ
**ขยายผลดำเนินการฟ้องเป็นคดีใหม่
เมื่อถามว่า กรณีคำพิพากษาของศาลฎีกา จะสามารถเป็นบรรทัดฐานต่อการฟ้องในเรื่องอื่นๆได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คำว่าบรรทัดฐานคงเป็นเรื่องของศาล แต่ตนเป็นฝ่ายบริหาร เมื่อศาลฟังได้เป็นข้อยุติว่า เกิดเรื่องต่างๆอย่างนี้ และมีความเสียหาย หน่วยงานที่เป็นความรับผิดชอบในเรื่องความเสียหายโดยตรง ก็ต้องมีการดำเนินการ ซึ่งเป็นการฟ้องใหม่ เพราะ ถือเป็นคนละคดีกันอยู่แล้ว เนื่องจากคดีที่ตัดสินไปเป็นเพียงคดีเรื่องการยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และการวินิจฉัยว่า ตกเป็นของแผ่นดินเท่าไร ศาลก็ชี้ว่าทรัพย์สินนั้นได้มาโดยชอบหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ จะเห็นได้ว่าวันนั้นที่ศาลแจกแจงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ สูงกว่าการวินิจฉัยให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ฉะนั้นเป็นคนละประเด็นกัน แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นผู้ติดตาม
** ย้ำให้รมต.ตระหนักในหน้าที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ระหว่างที่คดีความยังไม่จบ จะสามารถอายัดบางส่วนไว้ก่อนได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในชั้นนี้ต้องรอเวลา 30 วัน ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือไม่ อย่างไร เมื่อถามว่า ในที่ประชุมครม. มีการพิจารณาเรื่องนี้ว่าเป็นอุทาหรณ์ของนักการเมืองหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ตนเพียงแต่พูดสั้นๆว่า ถ้าอ่านคำพิพากษาของศาล จะพบว่าพวกเราซึ่งเป็นครม. มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร ฉะนั้นต้องตระหนักว่า หากเกิดปัญหาความเสียหายใดๆ หรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องใดๆ เรามีหน้าที่ที่จะต้องดูแล โดยเฉพาะนายกฯนั้นชัดเจนที่สุดว่า มีหน้าที่ในการที่จะต้องดูแลเกือบทุก ส่วนในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
เมื่อถามว่าคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ได้ชี้แจงหรือไม่เรื่องที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ระบุว่า จะร้องป.ป.ช.ให้สอบบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินที่ระบุว่า อาจจะมีการซุกหุ้น เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งนายกฯ กล่าวปฏิเสธว่าไมได้มีการสอบถามในที่ประชุมครม. แต่ตนได้เห็นข่าวก็สอบถาม ท่านก็บอกว่าพร้อมที่จะไปชี้แจงในกรณีที่ถูกร้อง
**ไม่ใช่ไล่ล่า"ทักษิณ"แต่เป็นหน้าที่
ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะนำเรื่องการยึดทรัพย์ไปฟ้องศาลโลกนั้น เราต้องดูก่อนว่า ไปฟ้องที่ไหน อย่างไร ฟ้องได้หรือไม่ เมื่อถามว่า จะชี้แจงต่อสังคมเพิ่มเติมอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำไม่ใช่เรื่องการไล่ล่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนได้ย้ำไปทั้งในเรื่องนี้ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความปลอดภัย และการบริหารสถานการณ์ในขณะนี้ ได้ย้ำกับ ครม.ว่า เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้เป็นคู่กรณี หรือคู่ต่อสู้อะไรกับใครทั้งสิ้น หน้าที่ของรัฐบาลในเรื่องของสถานการณ์คือ ให้เกิดความสงบเรียบร้อย ในเรื่องคดีความคือ การรักษาประโยชน์แผ่นดิน ไม่ใช่เรื่องไปต่อสู้อะไรกับใคร ฉะนั้นขอให้ทุกคนยึดแนวทางนี้ และแนวทางนี้ จะเป็นแนวทางเดียวที่จะเป็นภูมิคุ้มกัน และป้องกันให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในทุกตำแหน่ง ในการที่จะตอบคำถามในอนาคตต่อไป
**อัยการเปิดเกมไล่ดำเนินคดีแม้ว
นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาสำนวนคดีที่ดำเนินการโดย คตส. และสำนวนคดีที่ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อจาก คตส. ได้เชิญ นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการคดีพิเศษ, นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร นายนัทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พร้อมคณะทำงานเข้าร่วมประชุมหารือ หลังศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนวน 46,373 ล้านบาท ของพ.ต.ท.ทักษิณ และผู้คัดค้านที่ 1-5 ในคดีดังกล่าว ตกเป็นของแผ่นดิน โดยใช้เวลาหารือนาน 30 นาที จึงเสร็จสิ้น
นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการคดีพิเศษ ในฐานะรองประธานคณะทำงาน เปิดเผยว่า หลังจากศาลฎีกาฯมีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกเป็นของแผ่นดิน ทางนายกรัฐมนตรี ก็ได้ประสานขอให้ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด (อสส.) พิจารณาสำนวนในคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทาง อสส. จึงมอบหมายให้ นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด เรียกประชุมคณะทำงาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาในคดียึดทรัพย์ โดยทางเจ้าหน้าที่ศาลฎีกาฯ รับว่าจะรีบส่งสำเนาคำพิพากษาให้ทันทีที่จบกระบวนการในชั้นศาลแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีการหารือในส่วนของคดีอาญา จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งสามารถยื่นฟ้องไปแล้ว จำนวน 2 คดี คือ การอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้แก่ทางการพม่า จำนวน 4,000 ล้านบาท และคดีแปลงสัมปทาน เป็นภาษีสรรพาสามิต ซึ่งทั้ง 2 คดี ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว เมื่อยังไม่ได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาดำเนินคดี
นายธนพิชญ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนที่ยังไม่ได้ยื่นฟ้องอีก 3 คดี นั้น ได้แก่ การแก้สัญญาให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบเครือข่ายโรมมิ่ง, แก้ไขลดส่วนแบ่งระบบบัตรโทรศัพท์เติมเงินล่วงหน้า และ แก้ไขสัญญาส่งดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งทั้ง 3 สำนวน ยังอยู่ในชั้นการพิจารณาไต่สวนของป.ป.ช.
สำหรับคดีแพ่งนั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าหน่วยงานรัฐ หน่วยงานใดได้รับความเสียหายบ้าง เพื่อมอบหมายให้อัยการสูงสุดพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อไป
ต่อข้อถามว่าถึงการติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับโทษในคดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก ที่ถูกศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเพื่อจะได้ส่งฟ้องในคดีอื่นนั้น นายธนพิชญ์ กล่าวว่าเรื่องนี้ทางอัยการสำนักงานต่างประเทศ พยายามดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว แต่เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยังอยู่ไม่เป็นหลักแหล่งที่แน่นอน คงต้องใช้เวลาในการตามตัว
**ป.ป.ช.ตั้งแท่นเอาผิดอีก 4 เรื่อง
นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า การประชุมป.ป.ช. เมื่อวานนี้ เป็นการพิจารณาเรื่องการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายหลังศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีนายภักดี โพธิศิริ กรรมการป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ รายงานต่อที่ประชุม ว่า ตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ มีคำพิพากษาในคดียึดทรัพย์ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.นั้น มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ คณะกรรมการป.ป.ช. รวม 4 เรื่องคือ
1. กรณีนายวีระ สมความคิด กล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบความถูกต้อง และความมีอยู่จริงของทรัพย์สิน และหนี้สินของอดีตนายกฯ แล้ว นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ คตส. ส่งเรื่องมาให้ ป.ป.ช. ดำเนินการต่ออีก 3 เรื่อง
2. เรื่องกล่าวหา คณะกรรมการ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการบริหารงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อให้มีการพิจารณาลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ จากการให้บริการบัตรเติมเงินมือถือแบบจ่ายเงินล่วงหน้า (Pre-Paid) โดยมิชอบ
3. เรื่องกล่าวหาคณะกรรมการ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้บริหาร บมจ. ทศท. คอร์ปอเรชั่น และผู้บริหาร บมจ. กสท โทรคมนาคม แก้ไขสัญญาอนุญาตให้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ครั้งที่ 7) เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) ระหว่าง ผู้ให้บริการรายอื่น และอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายจากการ Roaming ก่อนนำมาคำนวณส่วนแบ่งรายได้ให้กับ บมจ. ทีโอที และ ปรับลดอัตราค่าใช้จ่ายเครือข่าย ร่วมระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด
4. เรื่องกล่าวหาการอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยมิชอบด้วยสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ เอื้อประโยชน์ให้แก่ บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และเรื่องการอนุมัติให้ใช้เงินสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศอันเป็นการขัดต่อสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด และเรื่องกล่าวหาการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานฯ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 47 เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ ที่ต้องถือใน บริษัทชินแซทฯ จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ทั้ง 3 เรื่องที่ คตส. ส่งมาให้ ป.ป.ช. นี้ ทางป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงไปก่อนหน้านี้แล้ว และคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้ขอคำพิพากษาฉบับสมบูรณ์จากศาลฎีกาฯ สำหรับนำมาพิจารณาประกอบในการตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สิน ของอดีตนายกรัฐมนตรี และการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องกล่าวหาทั้ง 3 เรื่องตามขั้นตอนต่อไป
นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช. กล่าวถึงกณีฝ่ายกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมยื่นอุทธรณ์ โดยอ้างว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจรับคดีต่างๆมาทำต่อจาก คตส. ว่า คณะกรรมการป.ป.ช. คงไม่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา เพราะหากฝ่ายกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นอุทธรณ์ในประเด็นนี้ ก็เท่ากับไม่ยอมรับอำนาจของศาล คงจะลำบาก หากจะให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาในประเด็นนี้
**ดีเอสไอพบช่องรื้อเอสซีแอสเสท
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงมติครม. ที่สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาคำพิพากษา คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนดำเนินคดีสั่งฟ้องในทางอาญา และทางแพ่ง ว่า ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษจะนำคำพิพากษาของศาลมาศึกษาอย่างละเอียด ว่าจะพบความผิดในกรณีใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับคดีพิเศษ เช่น ความผิดตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร ความผิดเกี่ยวกับการฮั้วประมูล ซึ่งเมื่อศึกษาคำพิพากษาอย่างดีแล้ว จะดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
อธิบดีดีเอสไอ ยังกล่าวถึงคดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอส ซี แอสเสท ว่า คดีดังกล่าวถือว่าได้สิ้นสุดทางคดีไปแล้ว แต่ก็สามารถที่จะรื้อฟื้นคดีใหม่ได้ หลังจากที่ ดีเอสไอ ได้ทำการศึกษาคำพิพากษาเพิ่มเติมแล้ว หากตรวจสอบพบว่ามีหลักฐานใหม่ หรือพบการกระทำผิดกรณีต่างๆ เพิ่ม ก็สามารถเอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ส่วนสำนวนเก่าที่ทางอดีตอธิบดีดีเอสไอ นายสุนัย มโนมัยอุดม เคยส่งสำนวนให้อัยการ แต่ไม่ได้สั่งฟ้องนั้น ก็จะนำมาศึกษาเพิ่มเติมประกอบกับคำพิพากษาด้วย
นายธาริต กล่าวอีกว่า เบื้องต้นได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเรียบร้อยแล้วโดยมอบหมายให้สำนักคดีการเงิน การธนาคารเป็นทีมวิเคราะห์ความผิดตามข้อกฏหมายต่างๆ นอกจากนี้ จะประสานกับทางอัยการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
**คตส.ประกาศยุติบทบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 17.00 น.วานนี้ (2มี.ค.) ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง.) อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้นัดรับประทานอาหาร พร้อมทั้งหารือผลการทำงานของ คตส. หลังจากศาลฏีกาแผนกคดีอาญาฯพิพากษายึดทรัพย์ และคืนทรัพย์สินบางส่วนให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ โดยมีนาย นาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคตส. รวมทั้งอดีตกรรมการ คตส.เข้าร่วมประชุมยกเว้น นายแก้วสรร อติโพธิ นายก ล้านรงค์ จันทิก และนางเสาวนีย์ อัศวโรจน์
ภายหลังการหารือนายนาม ยิ้มแย้ม กล่าวว่า หากทีมทนายของพ.ต.ท. ทักษิณ จะอุทธรณ์ ต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน แต่การอุทธรณ์ในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ต้องมีข้อเท็จจริงใหม่เท่านั้น ไม่ใช่ข้อกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องรอฟังทีมทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีกครั้งว่าจะอุทธรณ์ในประเด็นใด
ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณจะฟ้องศาลโลก ไม่สามารถทำได้แน่นอน เพราะคดีนี้ เป็นการทำผิดในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย สำหรับผลพวงจากคดียึดทรัพย์ ที่มีคดีความทั้งทางแพ่ง และอาญาตามมา ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับนักการเมือง และข้าราชการในหลายหน่วยงาน รวมถึงผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ที่จะต้องขอสำเนาคำวินิจฉัยของศาลฏีกาไปศึกษาอย่างละเอียด เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้รัฐเสียหาย เนื่องจาก คตส.หมดอายุไปนานแล้ว ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นหน้าที่หน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง
นายสัก กอแสงเรือง กรรมการ คตส. กล่าวว่าในที่ประชุมได้ข้อสรุปตรงกันว่า คตส. ได้หมดอำนาจหน้าที่แล้ว ไม่อยู่ในฐานะที่จะแถลงอะไรอีก เรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับคดี ก็ขอให้ไปศึกษาคำวินิจฉัยของศาล เพราะมีความครบถ้วน และสำนวนของ คตส. ก็ถือว่า ผ่านศาลแล้ว ถ้าจะทำหน้าที่ก็คือ กรณีคดีเดิม ที่ศาลเรียกให้ไปเบิกความ
ส่วนที่พรรคการเมืองใหม่ เรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายป.ป.ช.ให้การยึดทรัพย์รัดกุมขึ้นนั้น เรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาล หรือฝ่ายนิติบัญญัติ คตส. คงไม่มีหน้าที่อะไรตรงนี้
**"กรณ์"เร่งดำเนินการยึดทรัพย์
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงการตรวจสอบทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ในส่วนที่จะต้องยึดเข้าเป็นเงินของแผ่นดิน ตามคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายไปแล้ว เมื่อวานนี้ ( 1 มี.ค.) คงไม่ได้มีการสั่งการเพิ่มเติมอีก เพราะทุกอย่างชัดเจน ไม่มีอะไรต้องขยายความอีก
ส่วนสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ มองว่ายังไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นมากนัก เพราะสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ถ้ามีสถานการณ์เกิดขึ้นอีก ก็อาจจะมีผลกระทบได้ ดังนั้นรัฐบาลก็จะต้องดูแล ซึ่งเราก็มีมาตรการดูแลอยู่แล้ว
นายกรณ์ กล่าวด้วยว่าว่า คำพิพากษาของศาลมีความศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยสามารถยึดถือได้ แม้ว่าจะสร้างความผิดหวังให้บางคนบ้างก็ตาม
**"เนวิน"ดักคอ"กรณ์"อย่ามั่วรายได้
นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงคดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ตอนที่ศาลมีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์บางส่วน กลุ่มเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย คิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณยังมีเงินเหลืออยู่ในเมืองไทยอีก 30,000 ล้านบาท ทั้งที่จริงๆ แล้วเงินที่จะต้องเก็บเข้าคลังตามที่ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ ยังขาดอีก 3,000 ล้านบาท เพราะเงินในบัญชีที่ถูกคตส. อายัดไว้มีแค่ 43,000 ล้านบาท แต่ตนไม่รู้ว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะมีเงินเหลืออีกเท่าใด
อย่างไรก็ตาม คิดว่าเมื่อนำเงินที่ศาลสั่งอายัดเข้าคลังได้แล้ว นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ใช้โอกาสในการอภิปรายร่างงบประมาณ ปี 2554 อ้างว่ารัฐบาลมีการเก็บรายได้เพิ่มขึ้น เพราะแม้จะเป็นเงินในคดี แต่การแจ้งบัญชี จะตีเป็นเงินรายได้ทั้งหมด ที่พูดเช่นนี้ เพราะตนเคยเป็น รมช.คลัง มาก่อน
**ท้าส.ส.เพื่อไทยยื่อนถอดถอนตุลาการ
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง ขู่ล่าชื่อคนเสื้อแดงเพื่อยื่นถอดถอน 9 ตุลาการศาลฎีกาฯที่ตัดสินคดียึดทรัพย์ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงควรเอาความรู้สึกของคนทั้งประเทศ ที่แสดงความรู้สึกผ่านผลการสำรวจต่างๆว่า อยากให้พ.ต.ท.ทักษิณ ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม ตนไม่อยากให้มีการล่าชื่อจากประชาชนคนธรรมดา และทางที่ดี ส.ส.พรรคเพื่อไทย ทุกคนควรร่วมลงชื่อถอดถอนตุลาการ จะได้พิสูจน์ว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ถ้าเป็นการละเมิด ก็จะได้เห็นส.ส.หลายคนต้องติดคุก หมดสมาชิกภาพไป