ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รัฐปลอดจากสงครามคอมมิวนิสต์ซึ่งต่อสู้โดยอ้างนามประชาชน แต่รัฐกลับเข้าสู่ความขัดแย้งกับประชาชนโดยตรงมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านที่ดินทำกิน และทรัพยากรธรรมชาติ ผมเคยทำวิจัยให้ชื่อว่า ความมั่นคงกับสิ่งแวดล้อม : ความมั่นคงของรัฐกับความไม่มั่นคงของราษฎร อีก 10 ปีข้างหน้า ความขัดแย้งนี้จะรุนแรงมากขึ้น เพราะลำพังกลไกและกระบวนการทางรัฐสภา ที่เป็นทางการ ของเรา ย่อมไม่เพียงพอ และฉับไวพอที่จะแก้ไขหรือบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนที่สุมสั่งสมมานาน
จะว่าไปแล้ว แต่ก่อนพรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทในการแบกภาระปัญหาของประชาชนร่วมกับรัฐ มาบัดนี้พลพรรคคอมมิวนิสต์ กลายเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยไปหมด คนเหล่านี้เคยมีหน้าที่ในการต่อสู้เพื่อประชาชน ตอนนี้กลายเป็นประชาชนผู้ร่วมพัฒนาชาติ มีสิทธิมากกว่ามีภาระหน้าที่ ภาระหนักจึงตกเป็นของรัฐแต่เพียงถ่ายเดียว พรรคคอมมิวนิสต์ไทยแทนที่จะได้อำนาจแล้วล้มทลายไปเหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก กลับยอมแพ้แล้วถ่ายโอนภารกิจอันหนักหน่วงไปให้แก่รัฐ และรัฐบาล
รัฐ ระบอบ และรัฐบาล จึงต้องรับกับประชาชนที่ตื่นตัวเพราะได้รับประสบการณ์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนานในชนบท ทั้งจากพรรคคอมมิวนิสต์และจากพลังประชาธิปไตย แต่ระบอบประชาธิปไตยยังไม่กล้าแข็ง ระบอบยังไม่ยาวนานพอที่พรรคการเมือง และกระบวนการเลือกตั้งจะคัดคนเลว คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวอย่างหน้าด้านๆ หรือโจรปล้นชาติในคราบของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ออกจากระบบการเมือง ระบอบ และรัฐบาลจึงจะเปราะบาง
เมื่อพูดถึงอนาคตและการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงในอนาคตแล้ว ผมเห็นว่าเราควรจะถามด้วยว่า นอกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเสื่อมทรามทางสังคม-วัฒนธรรมแล้ว มีปัจจัยใดบ้างที่คงที่ คือไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก สิ่งนี้คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ของประเทศไทยเรา อาณาเขตของบ้านเมืองเราเคยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ แต่มีลักษณะคงที่ถาวรเมื่อประมาณ 100 ปีมานี้เอง ความคงที่ถาวรของที่ตั้งรัฐประชาชาตินี้ เป็นเครื่องกำหนดอิสระในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐในระดับหนึ่ง ผมจึงอยากชี้ให้เห็นว่า เราควรนึกถึงการเปลี่ยนแปลงภายใต้กรอบระเบียบโลกใหม่ ควบคู่ไปกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนพลังทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ภายในส่วนย่อยของโลก ภูมิภาค และภายในรัฐ
ระเบียบโลกใหม่ที่มีความเกี่ยวข้องพัวพันทางเศรษฐกิจ ความเป็นสากลของทุนข้ามชาติ การปรับเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาเป็นเศรษฐกิจที่เน้นการปล่อยให้พลังของตลาดเป็นกลไกหลักได้เริ่มผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวที่สำคัญอันนอกเหนือไปจากทุน อย่างน้อยสามประการ คือ
หนึ่ง การเคลื่อนไหว อพยพของประชากร ทั้งที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การทหาร เชื้อชาติ ภาษา และที่เกิดจากความต้องการหางานทำในส่วนที่ร่ำรวยกว่า
สอง การแสวงหาข่ายการติดต่อทางการผลิต และการค้าขายข้ามประเทศ ทั้งที่เป็นการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
สาม การขยายการติดต่อสื่อสารคมนาคมระหว่างพื้นที่ต่างรัฐที่มีที่ตั้งใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางการแข่งขันด้วยการลดค่าโสหุ้ยทางการขนส่ง
การเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เกิดจาก กฎของการอยู่ใกล้เคียงกัน (law of proximity) และทำให้เราย้อนกลับไปฟื้นฟูหรือยอมรับการติดต่อสัมพันธ์ของพื้นที่ใกล้เคียงตามธรรมชาติก่อนเกิดรัฐประชาชาติสมัยใหม่เมื่อ 100 ปีมาแล้ว ดังนั้นโลกสมัยใหม่ซึ่งอาณาบริเวณของรัฐประชาชาติมีความคงที่แล้ว จึงพลิกกลับไปหาความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมที่เคยมีมาก่อนเกิดการปักปันเขตตามธรรมเนียมของกฎหมายระหว่างประเทศอีก
แม้ในรัฐหนึ่งๆ เราก็เห็นการเคลื่อนไหวของพลังท้องถิ่นชุมชนมากขึ้น พลังนี้จะไม่จำกัดตัวอยู่เฉพาะภายในชาติ และจะข้ามชาติด้วยกระแสกดดันด้านการค้าและการถ่ายเทของทุน การผลิตและแรงงาน “สามเหลี่ยมทางเศรษฐกิจ” ทั้งบนบกและข้ามทะเลมหาสมุทรกำลังเกิดขึ้นไม่เฉพาะระหว่างรัฐ แต่ระหว่างท้องถิ่นภายในรัฐแต่ละรัฐ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย กับสิบสองปันนา-หลวงพระบาง หรือหาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์-สุมาตรา ฯลฯ
ผมคิดว่าในอีกสิบปีหน้าสิ่งที่ผมเรียกว่า การกลับคืนมาของความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ น่าจะเป็นปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคมที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย สามเหลี่ยมการเติบโตทางเศรษฐกิจ น่าจะมีส่วนในการทำให้ความรู้สึกผูกพันเก่าๆ ซึ่งเคยเลือนหายไปเพราะกำเนิดและการขยายตัวของรัฐประชาชาติกลับคืนฟื้นตัวขึ้นมาอีก พลังท้องถิ่นจะข้ามรัฐประชาชาติส่วนกลางไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพลังท้องถิ่นในอีกรัฐประชาชาติหนึ่ง
สำหรับเมืองไทยเรา การเมืองภายในจะมีลักษณะเป็นภูมิภาคนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ รัฐบาลกลางที่เคยแข็งแกร่งจะอ่อนล้าลงเพราะการรวมศูนย์อำนาจที่มีมากเกินไปตั้งแต่อดีตเริ่มจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาหมักหมมของนครใหญ่ที่บ่อนทำลายความสามารถของกลไกทุกๆ ส่วนของสังคมและทางการเมืองที่จะแก้ปัญหา ซึ่งระบบสร้างขึ้นให้กับตัวระบบเอง โครงสร้างเก่าที่ไม่มีเทคโนโลยีช่วยในการติดต่อสัมพันธ์จะตายซาก ส่วนของสังคมและเศรษฐกิจที่จะพอก้าวไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงได้ คือ ส่วนที่ไม่ต้องพึ่งพาโครงสร้างเก่า และมีวิถีการติดต่อสัมพันธ์กันโดยไม่ถูกจำกัดโดยพรมแดนของอำนาจรัฐ อำนาจของรัฐและรัฐบาล จะเริ่มหมดความหมายในสักสิบปีข้างหน้า (อ่านต่อวันจันทร์หน้า)
จะว่าไปแล้ว แต่ก่อนพรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทในการแบกภาระปัญหาของประชาชนร่วมกับรัฐ มาบัดนี้พลพรรคคอมมิวนิสต์ กลายเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยไปหมด คนเหล่านี้เคยมีหน้าที่ในการต่อสู้เพื่อประชาชน ตอนนี้กลายเป็นประชาชนผู้ร่วมพัฒนาชาติ มีสิทธิมากกว่ามีภาระหน้าที่ ภาระหนักจึงตกเป็นของรัฐแต่เพียงถ่ายเดียว พรรคคอมมิวนิสต์ไทยแทนที่จะได้อำนาจแล้วล้มทลายไปเหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก กลับยอมแพ้แล้วถ่ายโอนภารกิจอันหนักหน่วงไปให้แก่รัฐ และรัฐบาล
รัฐ ระบอบ และรัฐบาล จึงต้องรับกับประชาชนที่ตื่นตัวเพราะได้รับประสบการณ์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนานในชนบท ทั้งจากพรรคคอมมิวนิสต์และจากพลังประชาธิปไตย แต่ระบอบประชาธิปไตยยังไม่กล้าแข็ง ระบอบยังไม่ยาวนานพอที่พรรคการเมือง และกระบวนการเลือกตั้งจะคัดคนเลว คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวอย่างหน้าด้านๆ หรือโจรปล้นชาติในคราบของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ออกจากระบบการเมือง ระบอบ และรัฐบาลจึงจะเปราะบาง
เมื่อพูดถึงอนาคตและการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงในอนาคตแล้ว ผมเห็นว่าเราควรจะถามด้วยว่า นอกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเสื่อมทรามทางสังคม-วัฒนธรรมแล้ว มีปัจจัยใดบ้างที่คงที่ คือไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก สิ่งนี้คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ของประเทศไทยเรา อาณาเขตของบ้านเมืองเราเคยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ แต่มีลักษณะคงที่ถาวรเมื่อประมาณ 100 ปีมานี้เอง ความคงที่ถาวรของที่ตั้งรัฐประชาชาตินี้ เป็นเครื่องกำหนดอิสระในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐในระดับหนึ่ง ผมจึงอยากชี้ให้เห็นว่า เราควรนึกถึงการเปลี่ยนแปลงภายใต้กรอบระเบียบโลกใหม่ ควบคู่ไปกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนพลังทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ภายในส่วนย่อยของโลก ภูมิภาค และภายในรัฐ
ระเบียบโลกใหม่ที่มีความเกี่ยวข้องพัวพันทางเศรษฐกิจ ความเป็นสากลของทุนข้ามชาติ การปรับเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาเป็นเศรษฐกิจที่เน้นการปล่อยให้พลังของตลาดเป็นกลไกหลักได้เริ่มผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวที่สำคัญอันนอกเหนือไปจากทุน อย่างน้อยสามประการ คือ
หนึ่ง การเคลื่อนไหว อพยพของประชากร ทั้งที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การทหาร เชื้อชาติ ภาษา และที่เกิดจากความต้องการหางานทำในส่วนที่ร่ำรวยกว่า
สอง การแสวงหาข่ายการติดต่อทางการผลิต และการค้าขายข้ามประเทศ ทั้งที่เป็นการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
สาม การขยายการติดต่อสื่อสารคมนาคมระหว่างพื้นที่ต่างรัฐที่มีที่ตั้งใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางการแข่งขันด้วยการลดค่าโสหุ้ยทางการขนส่ง
การเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เกิดจาก กฎของการอยู่ใกล้เคียงกัน (law of proximity) และทำให้เราย้อนกลับไปฟื้นฟูหรือยอมรับการติดต่อสัมพันธ์ของพื้นที่ใกล้เคียงตามธรรมชาติก่อนเกิดรัฐประชาชาติสมัยใหม่เมื่อ 100 ปีมาแล้ว ดังนั้นโลกสมัยใหม่ซึ่งอาณาบริเวณของรัฐประชาชาติมีความคงที่แล้ว จึงพลิกกลับไปหาความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมที่เคยมีมาก่อนเกิดการปักปันเขตตามธรรมเนียมของกฎหมายระหว่างประเทศอีก
แม้ในรัฐหนึ่งๆ เราก็เห็นการเคลื่อนไหวของพลังท้องถิ่นชุมชนมากขึ้น พลังนี้จะไม่จำกัดตัวอยู่เฉพาะภายในชาติ และจะข้ามชาติด้วยกระแสกดดันด้านการค้าและการถ่ายเทของทุน การผลิตและแรงงาน “สามเหลี่ยมทางเศรษฐกิจ” ทั้งบนบกและข้ามทะเลมหาสมุทรกำลังเกิดขึ้นไม่เฉพาะระหว่างรัฐ แต่ระหว่างท้องถิ่นภายในรัฐแต่ละรัฐ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย กับสิบสองปันนา-หลวงพระบาง หรือหาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์-สุมาตรา ฯลฯ
ผมคิดว่าในอีกสิบปีหน้าสิ่งที่ผมเรียกว่า การกลับคืนมาของความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ น่าจะเป็นปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ทางสังคมที่สำคัญที่สุดของเมืองไทย สามเหลี่ยมการเติบโตทางเศรษฐกิจ น่าจะมีส่วนในการทำให้ความรู้สึกผูกพันเก่าๆ ซึ่งเคยเลือนหายไปเพราะกำเนิดและการขยายตัวของรัฐประชาชาติกลับคืนฟื้นตัวขึ้นมาอีก พลังท้องถิ่นจะข้ามรัฐประชาชาติส่วนกลางไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพลังท้องถิ่นในอีกรัฐประชาชาติหนึ่ง
สำหรับเมืองไทยเรา การเมืองภายในจะมีลักษณะเป็นภูมิภาคนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ รัฐบาลกลางที่เคยแข็งแกร่งจะอ่อนล้าลงเพราะการรวมศูนย์อำนาจที่มีมากเกินไปตั้งแต่อดีตเริ่มจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาหมักหมมของนครใหญ่ที่บ่อนทำลายความสามารถของกลไกทุกๆ ส่วนของสังคมและทางการเมืองที่จะแก้ปัญหา ซึ่งระบบสร้างขึ้นให้กับตัวระบบเอง โครงสร้างเก่าที่ไม่มีเทคโนโลยีช่วยในการติดต่อสัมพันธ์จะตายซาก ส่วนของสังคมและเศรษฐกิจที่จะพอก้าวไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงได้ คือ ส่วนที่ไม่ต้องพึ่งพาโครงสร้างเก่า และมีวิถีการติดต่อสัมพันธ์กันโดยไม่ถูกจำกัดโดยพรมแดนของอำนาจรัฐ อำนาจของรัฐและรัฐบาล จะเริ่มหมดความหมายในสักสิบปีข้างหน้า (อ่านต่อวันจันทร์หน้า)