ASTVผู้จัดการรายวัน-การบินไทยเดินหน้าลงนามทำการบินร่วมกับนกแอร์ 3 เส้นทาง พิษณุโลก อุบลราชธานี และแม่ฮ่องสอน เริ่ม 1 มี.ค.นี้ แทนการยกเลิกบินถาวร สนองการเมืองให้สิทธิประโยชน์ส.ส.เหมือนเดิม
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วานนี้ (23 ก.พ.) การบินไทยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสายการบินนกแอร์ ตามแผนกลยุทธ์ Two-Brand Strategy เพื่อทำการบินร่วม (Codeshare) 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-อุบลราชธานี และเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะให้บริการสัปดาห์ละ 14 เที่ยวบินทั้ง 3 เส้นทาง เริ่มวันที่ 1 มี.ค.2553 เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการบินในประเทศให้มีความแข็งแกร่ง และแก้ปัญหาการบินไทยขาดทุนจากการให้บริการทั้ง 3 เส้นทางประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี
“การทำการบินร่วม (Codeshare) ใน 3 เส้นทางจะทำให้การบินไทยไม่ต้องขาดทุนอีก โดยผู้โดยสารที่ซื้อบัตรโดยสารของนกแอร์จะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เหมือนเดิม เช่น การสะสมไมล์ หรือการเปลี่ยนเที่ยวบินโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่การให้บริการและชั้นที่นั่งจะเป็นไปตามมาตรฐานของนกแอร์ และการบินไทยยังคงการให้บริการเส้นทาง สุวรรณภูมิ-อุบลราชธานี สัปดาห์ละ 7เที่ยวบินต่อไปด้วย เพราะมีอัตราผู้โดยสารอยู่ในระดับน่าพอใจ”นายโชคชัยกล่าว
ทั้งนี้ การบินไทยจะให้นกแอร์เช่าเครื่องบินเพิ่มอีก 3 ลำ เพื่อมาให้บริการใน 3 เส้นทางที่ทำการบินร่วม คือเครื่องบิน โบอิ้งB 737-400 (20 ที่นั่ง) จำนวน 1 ลำ และแบบ ATR จำนวน 2 ลำ ซึ่งเมื่อรวมกับเครื่องบินที่นกแอร์มีอยู่ขณะนี้ คือ โบอิ้งB 737-400 จำนวน 3 ลำที่เช่าจากการบินไทยและเช่าจากผู้ประกอบการรายอื่นอีก 2 ลำ นกแอร์จะมีเครื่องบินให้บริการทั้งหมด 8 ลำ
ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่การบินไทยจะมีรายเพิ่มจากการให้เช่าเครื่องบินและการซ่อมบำรุง
นอกจากนี้ การบินไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 3 เส้นทาง คือ สุราษฏร์ธานี,ขอนแก่น และหาดใหญ่ ว่าจะโอนให้นกแอร์บริการแทนหรือไม่ โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการทำเที่ยวบินร่วมครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ทำเพื่อลดภาระขาดทุน และสร้างความแข็งแกร่งให้กับเส้นทางบินในประเทศ เพราะการบินไทยเป็นสายการบินพรีเมี่ยม มีต้นทุนสูง จึงอยากเน้นตลาดบน หรือเส้นทางระหว่างประเทศ ส่วนตลาดรองจะให้นกแอร์รับไป แต่จะยังคงเส้นทางในประเทศที่มีผู้โดยสารมากหรือเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวไว้เหมือนเดิม เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต สมุย
รายงานข่าวแจ้งว่า การที่การบินไทยต้องใช้วิธีทำเที่ยวบินร่วมใน 3 เส้นทางจากที่ก่อนนี้เคยประกาศว่าจะยก 3 เส้นทางบินให้นกแอร์บริการแทน เพื่อลดการขาดทุน แต่ถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บางรายคัดค้าน เพราะหากใช้บริการนกแอร์ สิทธิพิเศษต่างๆ ก็จะหมดไป และไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้และมีการสั่งการจากนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ให้การบินไทยทบทวน จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีทำเที่ยวบินร่วม เพื่อให้ ส.ส. ได้รับสิทธิพิเศษเหมือนเดิม เป็นการตอบสนองการเมือง
นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด กล่าวว่า มั่นใจว่าจะสามารถทำการตลาดเพื่อเพิ่ม cabin factor ทั้ง 3 เส้นทางให้มากขึ้นถึง 70% ได้ โดยนกแอร์จะทำการตลาดและกิจกรรมการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการเดินทาง ซึ่งการให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-นครพนม และกรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-บุรีรัมย์ ก็สามารถทำกำไรได้ตั้งแต่เริ่มให้บริการเดือนแรก
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (23 ก.พ.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอในการบรรจุเงื่อนไขใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทกรณีเกิดข้อขัดแย้งระหว่างผู้ซื้อหรือผู้ขายในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 6 ลำ มูลค่า 6,200 ล้านบาท ของบริษัทการบินไทย เนื่องจากมติ ครม.วันที่ 28 ก.ค.2552 ระบุว่าการทำสัญญาทุกประเภทที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ไม่ควรผูกมัดสัญญา จึงมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด หากจะใช้ระบบอนุญาโตตุลาการต้องขอ ครม.เป็นครั้งๆ ไป
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอครม.ขออนุมัติให้บริษัทการบินไทยใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทสำหรับการจัดหาเงินกู้เพื่อชำระค่าเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 6 ลำ ให้ทันภายในกำหนดเวลาตามสัญญาจัดหาเงินกู้ระยะยาวของเครื่องบินลำแรก ซึ่งกำหนดเงื่อนเวลาให้ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนับจากวันเบิกรับเงินกู้ (Refinancing Date) คือ ภายในวันที่ 28 ก.พ.2553 โดยหากบริษัทการบินไทยไม่สามารถใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทในสัญญาการจัดหาเงินกู้ระยะยาวได้จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทำธุรกรรมจัดหาเงินกู้ในครั้งนี้และครั้งถัดไป
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วานนี้ (23 ก.พ.) การบินไทยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสายการบินนกแอร์ ตามแผนกลยุทธ์ Two-Brand Strategy เพื่อทำการบินร่วม (Codeshare) 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-อุบลราชธานี และเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะให้บริการสัปดาห์ละ 14 เที่ยวบินทั้ง 3 เส้นทาง เริ่มวันที่ 1 มี.ค.2553 เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการบินในประเทศให้มีความแข็งแกร่ง และแก้ปัญหาการบินไทยขาดทุนจากการให้บริการทั้ง 3 เส้นทางประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี
“การทำการบินร่วม (Codeshare) ใน 3 เส้นทางจะทำให้การบินไทยไม่ต้องขาดทุนอีก โดยผู้โดยสารที่ซื้อบัตรโดยสารของนกแอร์จะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เหมือนเดิม เช่น การสะสมไมล์ หรือการเปลี่ยนเที่ยวบินโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่การให้บริการและชั้นที่นั่งจะเป็นไปตามมาตรฐานของนกแอร์ และการบินไทยยังคงการให้บริการเส้นทาง สุวรรณภูมิ-อุบลราชธานี สัปดาห์ละ 7เที่ยวบินต่อไปด้วย เพราะมีอัตราผู้โดยสารอยู่ในระดับน่าพอใจ”นายโชคชัยกล่าว
ทั้งนี้ การบินไทยจะให้นกแอร์เช่าเครื่องบินเพิ่มอีก 3 ลำ เพื่อมาให้บริการใน 3 เส้นทางที่ทำการบินร่วม คือเครื่องบิน โบอิ้งB 737-400 (20 ที่นั่ง) จำนวน 1 ลำ และแบบ ATR จำนวน 2 ลำ ซึ่งเมื่อรวมกับเครื่องบินที่นกแอร์มีอยู่ขณะนี้ คือ โบอิ้งB 737-400 จำนวน 3 ลำที่เช่าจากการบินไทยและเช่าจากผู้ประกอบการรายอื่นอีก 2 ลำ นกแอร์จะมีเครื่องบินให้บริการทั้งหมด 8 ลำ
ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่การบินไทยจะมีรายเพิ่มจากการให้เช่าเครื่องบินและการซ่อมบำรุง
นอกจากนี้ การบินไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 3 เส้นทาง คือ สุราษฏร์ธานี,ขอนแก่น และหาดใหญ่ ว่าจะโอนให้นกแอร์บริการแทนหรือไม่ โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการทำเที่ยวบินร่วมครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ทำเพื่อลดภาระขาดทุน และสร้างความแข็งแกร่งให้กับเส้นทางบินในประเทศ เพราะการบินไทยเป็นสายการบินพรีเมี่ยม มีต้นทุนสูง จึงอยากเน้นตลาดบน หรือเส้นทางระหว่างประเทศ ส่วนตลาดรองจะให้นกแอร์รับไป แต่จะยังคงเส้นทางในประเทศที่มีผู้โดยสารมากหรือเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวไว้เหมือนเดิม เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต สมุย
รายงานข่าวแจ้งว่า การที่การบินไทยต้องใช้วิธีทำเที่ยวบินร่วมใน 3 เส้นทางจากที่ก่อนนี้เคยประกาศว่าจะยก 3 เส้นทางบินให้นกแอร์บริการแทน เพื่อลดการขาดทุน แต่ถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บางรายคัดค้าน เพราะหากใช้บริการนกแอร์ สิทธิพิเศษต่างๆ ก็จะหมดไป และไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้และมีการสั่งการจากนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ให้การบินไทยทบทวน จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีทำเที่ยวบินร่วม เพื่อให้ ส.ส. ได้รับสิทธิพิเศษเหมือนเดิม เป็นการตอบสนองการเมือง
นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด กล่าวว่า มั่นใจว่าจะสามารถทำการตลาดเพื่อเพิ่ม cabin factor ทั้ง 3 เส้นทางให้มากขึ้นถึง 70% ได้ โดยนกแอร์จะทำการตลาดและกิจกรรมการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการเดินทาง ซึ่งการให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-นครพนม และกรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-บุรีรัมย์ ก็สามารถทำกำไรได้ตั้งแต่เริ่มให้บริการเดือนแรก
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (23 ก.พ.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอในการบรรจุเงื่อนไขใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทกรณีเกิดข้อขัดแย้งระหว่างผู้ซื้อหรือผู้ขายในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 6 ลำ มูลค่า 6,200 ล้านบาท ของบริษัทการบินไทย เนื่องจากมติ ครม.วันที่ 28 ก.ค.2552 ระบุว่าการทำสัญญาทุกประเภทที่หน่วยงานของรัฐทำกับเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ไม่ควรผูกมัดสัญญา จึงมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด หากจะใช้ระบบอนุญาโตตุลาการต้องขอ ครม.เป็นครั้งๆ ไป
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอครม.ขออนุมัติให้บริษัทการบินไทยใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทสำหรับการจัดหาเงินกู้เพื่อชำระค่าเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 6 ลำ ให้ทันภายในกำหนดเวลาตามสัญญาจัดหาเงินกู้ระยะยาวของเครื่องบินลำแรก ซึ่งกำหนดเงื่อนเวลาให้ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนับจากวันเบิกรับเงินกู้ (Refinancing Date) คือ ภายในวันที่ 28 ก.พ.2553 โดยหากบริษัทการบินไทยไม่สามารถใช้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทในสัญญาการจัดหาเงินกู้ระยะยาวได้จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทำธุรกรรมจัดหาเงินกู้ในครั้งนี้และครั้งถัดไป