ASTVผู้จัดการรายวัน- เจบิค เผยผลสำรวจนักลงทุนญี่ปุ่นยังสนใจลงทุนในไทย ปี 52 อับดับขยับจาก 5 เป็น 4 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากอัตราค่าจ้างต่ำ-ในเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องการเมือง ด้าน “ภัทรียา” ชี้ปัญหามาบตาพุดอาจเป็นแรงฉุดให้ไทยตกอันดับ หากรัฐบาลแก้ปัญหาล่าช้า-ไม่ชัดเจน ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯ โรดโชว์ญี่ปุ่น 11-12 มี.ค.นี้ สร้างความเชื่อมั่นลงทุนตลาดหุ้นไทย
วานนี้ (23 ก.พ. 2553) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ The Japan Bank for InternationalCooperation – JBIC จัดสัมมนา "The 2009 JBIC Survey Report on Overseas BusinessOperations by Japanese Manufacturing Companies" เพื่อนำเสนอผลการสำรวจและแนวโน้มการลงทุนในประเทศไทย
นายซูสุมุ อุชิดะ เศรษฐกรอาวุโสและหัวหน้าสำนักงานเจบิคประจำประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ผลการสำรวจแนวโน้มการลงทุนในประเทศไทยประจำปี 2552 พบนักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจในการลงทุนประเทศไทยอยู่ที่อันดับที่ 4 รองจาก จีน อินเดีย และเวียดนาม ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่อยู่อันดับ 5 เนื่องจากอัตราค่าจ้างต่ำ และการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญ ทำให้ไทยยังมีศักยภาพในการลงทุน แม้จะมีปัญหาด้านการเมือง แต่นักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลและต้องเร่งแก้ไขปัญหา คือ เรื่องเสถียรภาพทางการเมือง สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในระดับบริหาร
ตลท.ชี้มาบตาพุดอาจฉุดอันดับประเทศไทยลดลง
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศนั้นมีสัดส่วนการลงทุนคงที่ ไม่ขยายตัวเท่ากับจีน และอินเดีย เพราะนักลงทุนต่อปัญหาทางการเมืองตลอดเวลาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อได้เปรียบจากการที่ไทยเป็นฐานการลงส่งออกไปประเทศที่ 3 มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ตลาดมีขนาดใหญ่มีการบริโภคในประเทศที่สูง อย่างไรก็ตามการสำรวจครั้งนี้ทำขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 52 ซึ่งไม่ได้รวมผลกระทบจากปัญหามาบตาพุด
“ปัญหามาบตาพุดจะฉุดอันดับความน่าสนใจลงทุนในไทยจะลดลงจากอันดับที่ 4 หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและมีความชัดเจนมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ปัจจัยการเมืองนั้นนักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลมากขึ้นตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับบล.ไดวา จะเดินทางไปโรดโชว์ที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 11-12 มี.ค. นี้ ซึ่งตรงกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จึงถือโอกาสชี้แจงนักลงทุนพร้อมกัน” นางภัทรียา กล่าว
ญี่ปุ่นเน้นลงทุนประเทศมีเศรษฐกิจโตสูง
นายวิรไทย สันติประภาพ รองผู้จัดการสายงานพัฒนาและวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ปัจจัยในการเลือกการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นจากนี้จะเน้นประเทศที่มีการเติบโตเศรษฐกิจที่สูง จากเดิมนักลงทุนญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนไทยจากใช้เป็นฐานในการผลิตส่งออก ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพ แต่นักลงทุนญี่ปุ่นมีข้อกังวล5 ข้อ คือ บริษัทเอกชนมีการแข่งขันสูง ขาดแคลนแรงงานในด้านการบริหาร เสถียรภาพทางการเมือง ค่าแรงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น และหาแรงงานที่เป็นช่างฝีมือ วิศวกรยากขึ้น
“ปัญหาความรุนแรงทางสังคมและการเมืองขณะนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลเป็นอันดับที่ 3 รองจากปัญหาแรงงานและการแข่งขันกับบริษัทอื่น และมีแนวโน้มกังวลมากขึ้นเรื่องๆ จากเดิมไม่เคยมีความกังวลในเรื่องดังกล่าว ส่วนปัญหาเรื่องมาบตาพุดเอง ได้สร้างความกังวลใจให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นไม่น้อย เนื่องจากก่อนหน้านี้ปัญหาในเรื่องของกฎหมายของไทยที่อนุมัติให้สามารถดำเนินโครงการได้แล้ว ต่อมาถูกระงับนั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ทั้งนี้ก็มองว่าปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาระยะสั้นที่จะสามารถแก้ไขได้เร็วและกลับไปเป็นเหมือนเดิม”
ไทยเป็นประเทศน่าสนใจการลงทุน
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่นักลงทุนมีความสนใจในการเข้ามาลงทุน และบีโอไอจะเดินทางไปโรดโชว์เป็นประจำ ซึ่งในวันที่ 11-13 มีนาคมนี้ จะมีการเดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น และจะจัดตั้งสำนักงานในต่างประเทศหลายแห่ง ขณะที่ในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีบริษัทเข้ามายื่นคำขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับที่ดีและจะช่วยให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปีนี้ที่ 5 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยประมาณเดือนละ 4 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจไฟฟ้า อาหาร และยานยนต์ เป็นต้น
วานนี้ (23 ก.พ. 2553) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ The Japan Bank for InternationalCooperation – JBIC จัดสัมมนา "The 2009 JBIC Survey Report on Overseas BusinessOperations by Japanese Manufacturing Companies" เพื่อนำเสนอผลการสำรวจและแนวโน้มการลงทุนในประเทศไทย
นายซูสุมุ อุชิดะ เศรษฐกรอาวุโสและหัวหน้าสำนักงานเจบิคประจำประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ผลการสำรวจแนวโน้มการลงทุนในประเทศไทยประจำปี 2552 พบนักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจในการลงทุนประเทศไทยอยู่ที่อันดับที่ 4 รองจาก จีน อินเดีย และเวียดนาม ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่อยู่อันดับ 5 เนื่องจากอัตราค่าจ้างต่ำ และการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญ ทำให้ไทยยังมีศักยภาพในการลงทุน แม้จะมีปัญหาด้านการเมือง แต่นักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลและต้องเร่งแก้ไขปัญหา คือ เรื่องเสถียรภาพทางการเมือง สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในระดับบริหาร
ตลท.ชี้มาบตาพุดอาจฉุดอันดับประเทศไทยลดลง
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศนั้นมีสัดส่วนการลงทุนคงที่ ไม่ขยายตัวเท่ากับจีน และอินเดีย เพราะนักลงทุนต่อปัญหาทางการเมืองตลอดเวลาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อได้เปรียบจากการที่ไทยเป็นฐานการลงส่งออกไปประเทศที่ 3 มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ตลาดมีขนาดใหญ่มีการบริโภคในประเทศที่สูง อย่างไรก็ตามการสำรวจครั้งนี้ทำขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 52 ซึ่งไม่ได้รวมผลกระทบจากปัญหามาบตาพุด
“ปัญหามาบตาพุดจะฉุดอันดับความน่าสนใจลงทุนในไทยจะลดลงจากอันดับที่ 4 หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและมีความชัดเจนมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ปัจจัยการเมืองนั้นนักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลมากขึ้นตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับบล.ไดวา จะเดินทางไปโรดโชว์ที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 11-12 มี.ค. นี้ ซึ่งตรงกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จึงถือโอกาสชี้แจงนักลงทุนพร้อมกัน” นางภัทรียา กล่าว
ญี่ปุ่นเน้นลงทุนประเทศมีเศรษฐกิจโตสูง
นายวิรไทย สันติประภาพ รองผู้จัดการสายงานพัฒนาและวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ปัจจัยในการเลือกการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นจากนี้จะเน้นประเทศที่มีการเติบโตเศรษฐกิจที่สูง จากเดิมนักลงทุนญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนไทยจากใช้เป็นฐานในการผลิตส่งออก ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพ แต่นักลงทุนญี่ปุ่นมีข้อกังวล5 ข้อ คือ บริษัทเอกชนมีการแข่งขันสูง ขาดแคลนแรงงานในด้านการบริหาร เสถียรภาพทางการเมือง ค่าแรงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น และหาแรงงานที่เป็นช่างฝีมือ วิศวกรยากขึ้น
“ปัญหาความรุนแรงทางสังคมและการเมืองขณะนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นมีความกังวลเป็นอันดับที่ 3 รองจากปัญหาแรงงานและการแข่งขันกับบริษัทอื่น และมีแนวโน้มกังวลมากขึ้นเรื่องๆ จากเดิมไม่เคยมีความกังวลในเรื่องดังกล่าว ส่วนปัญหาเรื่องมาบตาพุดเอง ได้สร้างความกังวลใจให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นไม่น้อย เนื่องจากก่อนหน้านี้ปัญหาในเรื่องของกฎหมายของไทยที่อนุมัติให้สามารถดำเนินโครงการได้แล้ว ต่อมาถูกระงับนั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ทั้งนี้ก็มองว่าปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาระยะสั้นที่จะสามารถแก้ไขได้เร็วและกลับไปเป็นเหมือนเดิม”
ไทยเป็นประเทศน่าสนใจการลงทุน
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่นักลงทุนมีความสนใจในการเข้ามาลงทุน และบีโอไอจะเดินทางไปโรดโชว์เป็นประจำ ซึ่งในวันที่ 11-13 มีนาคมนี้ จะมีการเดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น และจะจัดตั้งสำนักงานในต่างประเทศหลายแห่ง ขณะที่ในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีบริษัทเข้ามายื่นคำขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับที่ดีและจะช่วยให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปีนี้ที่ 5 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยประมาณเดือนละ 4 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจไฟฟ้า อาหาร และยานยนต์ เป็นต้น