ASTVผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการคลังเสนอ ครม.ทบทวนมาตรการภาษีอสังหาฯ พร้อมเลิกอุ้มน้ำประปาฟรี วันนี้
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันนี้ (23 ก.พ.) กระทรวงการคลังจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ทบทวนการใช้มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากในปีที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จ แม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ค่อยดี แต่มีการโอนบ้านเพิ่มมากขึ้นแล้ว
"ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาทบทวน เพื่อให้ ครม.ตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร" รมว.คลังกล่าว
ทั้งนี้ มาตรการยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี2551 และต่ออายุมาแล้ว 1 ครั้ง โดยจะสิ้นสุดมาตรการในเดือนมีนาคม 2553 นี้ โดยปัจจุบันค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 0.01% หาก ครม.ไม่ต่ออายุมาตรการฯ ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะกลับไปอยู่ที่ 2% ส่วนค่าธรรมเนียมการจดจำนองจาก 0.01 จะกลับไปอยู่ที่ 1% และภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 0.11 จะกลับไปอยู่ที่ 3.3% คำนวณแล้วผู้ซื้อบ้านจะต้องควักเงินเพิ่มไม่ต่ำกว่า 2%...
นายกรณ์กล่าวด้วยว่า วันเดียวกัน กระทรวงการคลังจะนำเสนอให้ ครม.ทบทวนมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนด้วยเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวกับผู้จัดรายการวิทยุเมื่อ 20 ก.พ. ในรายการ" พบคนคุยข่าววิทยุ" ซึ่งเป็นการบันทึกเทปออกรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์"ว่า ครม.จะพิจารณาต่ออายุมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ในการประชุม ครม. อังคารที่ 23 ก.พ.นี้ และพิจารณาทบทวนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วน โดยยกเลิกมาตรการรับภาระค่าน้ำประปาซึ่งจะสิ้นสุดแค่เดือน มี.ค.2553 นี้ แต่ยังคงมาตรการรับภาระค่ารถเมล์ รถไฟ ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มต่อไปก่อน
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) สำหรับปี 2552 พบว่ามีจำนวนหน่วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ทั้งที่อยู่อาศัย ที่ดินเปล่า และอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย รวมกันประมาณ 220,300 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีก่อนหน้า แบ่งออกได้เป็นอสังหาริมทรัพย์เฉพาะประเภทที่อยู่อาศัยประมาณ 160,600 หน่วยส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่ามากถึง 51,200 แปลง และที่เหลือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่น อาคารเพื่อการพาณิชย์ อาคารเพื่อการอุตสาหกรรม และอื่นๆ.
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันนี้ (23 ก.พ.) กระทรวงการคลังจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ทบทวนการใช้มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากในปีที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จ แม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ค่อยดี แต่มีการโอนบ้านเพิ่มมากขึ้นแล้ว
"ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาทบทวน เพื่อให้ ครม.ตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร" รมว.คลังกล่าว
ทั้งนี้ มาตรการยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี2551 และต่ออายุมาแล้ว 1 ครั้ง โดยจะสิ้นสุดมาตรการในเดือนมีนาคม 2553 นี้ โดยปัจจุบันค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 0.01% หาก ครม.ไม่ต่ออายุมาตรการฯ ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะกลับไปอยู่ที่ 2% ส่วนค่าธรรมเนียมการจดจำนองจาก 0.01 จะกลับไปอยู่ที่ 1% และภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 0.11 จะกลับไปอยู่ที่ 3.3% คำนวณแล้วผู้ซื้อบ้านจะต้องควักเงินเพิ่มไม่ต่ำกว่า 2%...
นายกรณ์กล่าวด้วยว่า วันเดียวกัน กระทรวงการคลังจะนำเสนอให้ ครม.ทบทวนมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนด้วยเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวกับผู้จัดรายการวิทยุเมื่อ 20 ก.พ. ในรายการ" พบคนคุยข่าววิทยุ" ซึ่งเป็นการบันทึกเทปออกรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์"ว่า ครม.จะพิจารณาต่ออายุมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ในการประชุม ครม. อังคารที่ 23 ก.พ.นี้ และพิจารณาทบทวนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วน โดยยกเลิกมาตรการรับภาระค่าน้ำประปาซึ่งจะสิ้นสุดแค่เดือน มี.ค.2553 นี้ แต่ยังคงมาตรการรับภาระค่ารถเมล์ รถไฟ ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มต่อไปก่อน
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) สำหรับปี 2552 พบว่ามีจำนวนหน่วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ทั้งที่อยู่อาศัย ที่ดินเปล่า และอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย รวมกันประมาณ 220,300 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีก่อนหน้า แบ่งออกได้เป็นอสังหาริมทรัพย์เฉพาะประเภทที่อยู่อาศัยประมาณ 160,600 หน่วยส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่ามากถึง 51,200 แปลง และที่เหลือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่น อาคารเพื่อการพาณิชย์ อาคารเพื่อการอุตสาหกรรม และอื่นๆ.