ASTVผู้จัดการรายวัน – สศค.แนะรัฐบาลยังไม่ควรถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะนี้ หลังพบสัญญาณฟื้นตัวประเทศคู่ค้าเป็นแค่ระยะสั้นอาจฟุบอีกครั้งช่วงกลางปี ระบุปีนี้ต้องเฝ้าระวังภาระการคลังปฏิรูปโครงสร้างรายได้ผ่านกฎหมายภาษีและบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ควรถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ (exit strategy)เช่นที่หลายประเทศในโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ได้ดำเนินการมาก่อนหน้า เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในด้านการลงทุนของภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากรอคำสั่งซื้อสินค้าจากคู่ค้าภายนอกและในประเทศ
อีกทั้งภาคเอกชนยังขาดความมั่นใจจากสถานการณ์การเมืองที่มีปัญหาต่อเนื่องด้วย ขณะที่การบริโภคภายในประเทศแม้มีสัญญาณดีขึ้น แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีและมาตรการกระตุ้นระยะสั้นของรัฐบาลเอง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรดีจนเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การบริโภคกลับไม่ขยายตัวดีเท่าที่ควรเนื่องจากไม่มั่นใจในปัญหาการเมืองเช่นเดียวกัน
"การถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับประเทศอื่นอาจเหมาะสมเพราะที่ผ่านมาทั้งสหรัฐและจีนใช้มาตรการกระตุ้นเข้มข้นมากโดยเฉพาะมาตรการด้านการเงินที่ใช้ธนาคารของรัฐเป็นเครื่องมือในการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจของเขาก็ฟื้นตัวค่อนข้างดีโดยเฉพาะจีน แต่สำหรับไทยหากจะถอนตอนนี้คิดว่าเร็วเกินไปการฟื้นตัวหลายด้านของเรายังไม่พร้อม" นายเอกนิติกล่าว
นอกจากนี้ที่น่ากังวลคือการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าของไทยที่จะยาวนานแค่ไหน หรือจะเป็นแค่ระยะสั้นๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วภาคเอกชนไทยยังไม่ฟื้นตัวหรือขยับขยายการลงทุนได้ทัน ก็อาจส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจไทยซบเซาลงได้อีกครั้ง และคาดว่าอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงกลางปีนี้ อย่างไรก็ตามสัญญาณที่ชัดเจนยังไม่เห็นในปัจจุบัน แต่ก็ต้องเฝ้าระวังเพราะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวได้นั้นส่วนหนึ่งนอกจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลเองแล้ว ก็มาจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งจีนมีอิทธิพลหลักและขณะนี้จีนเริ่มจำกัดการให้สินเชื่อผ่านมาตรการต่างๆแล้ว
นายเอกนิติ กล่าวว่า สำหรับการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2553 ยังอยู่ที่ 3.5% โดยยังต้องเฝ้าระมัดระวังภาระการคลังเป็นพิเศษ และสิ่งที่สามารถทำได้คือรัฐบาลต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างรายได้ผ่านกฎหมายภาษี ควบคุมรายจ่ายให้รัดกุม บริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความร่วมมือจัดการด้านภาระดอกเบี้ยที่ปีนี้มีมากถึง 2 แสนล้านบาท โดย 7 หมื่นล้านบาทเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งในปี 2552 ก็มีกำไรให้เห็นก็สามารถช่วยนำมาชำระเพื่อลดภาระหนี้ได้บ้าง เนื่องจากยอดเงินดอกเบี้ยหากลดลงได้ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโครงการอื่นอีกมาก
นอกจากนี้รัฐบาลควรที่จะเร่งการลงทุนเนื่องจากเป็นโอกาสสุดท้ายที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการลงทุน ทั้งจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ถูก ราคาสินค้า น้ำมันและสินค้าทุนทุกอย่างอยู่ในระดับต่ำมากจึงถือเป็นจังหวะที่ดีที่ต้องรีบลงทุน แต่หากปล่อยให้การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐล่าช้าออกไปถือเป็นการพลาดโอกาสที่ดีที่สุดในการลงทุนของประเทศ.
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ควรถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ (exit strategy)เช่นที่หลายประเทศในโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ได้ดำเนินการมาก่อนหน้า เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในด้านการลงทุนของภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากรอคำสั่งซื้อสินค้าจากคู่ค้าภายนอกและในประเทศ
อีกทั้งภาคเอกชนยังขาดความมั่นใจจากสถานการณ์การเมืองที่มีปัญหาต่อเนื่องด้วย ขณะที่การบริโภคภายในประเทศแม้มีสัญญาณดีขึ้น แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีและมาตรการกระตุ้นระยะสั้นของรัฐบาลเอง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรดีจนเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การบริโภคกลับไม่ขยายตัวดีเท่าที่ควรเนื่องจากไม่มั่นใจในปัญหาการเมืองเช่นเดียวกัน
"การถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับประเทศอื่นอาจเหมาะสมเพราะที่ผ่านมาทั้งสหรัฐและจีนใช้มาตรการกระตุ้นเข้มข้นมากโดยเฉพาะมาตรการด้านการเงินที่ใช้ธนาคารของรัฐเป็นเครื่องมือในการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจของเขาก็ฟื้นตัวค่อนข้างดีโดยเฉพาะจีน แต่สำหรับไทยหากจะถอนตอนนี้คิดว่าเร็วเกินไปการฟื้นตัวหลายด้านของเรายังไม่พร้อม" นายเอกนิติกล่าว
นอกจากนี้ที่น่ากังวลคือการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าของไทยที่จะยาวนานแค่ไหน หรือจะเป็นแค่ระยะสั้นๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วภาคเอกชนไทยยังไม่ฟื้นตัวหรือขยับขยายการลงทุนได้ทัน ก็อาจส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจไทยซบเซาลงได้อีกครั้ง และคาดว่าอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงกลางปีนี้ อย่างไรก็ตามสัญญาณที่ชัดเจนยังไม่เห็นในปัจจุบัน แต่ก็ต้องเฝ้าระวังเพราะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวได้นั้นส่วนหนึ่งนอกจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลเองแล้ว ก็มาจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งจีนมีอิทธิพลหลักและขณะนี้จีนเริ่มจำกัดการให้สินเชื่อผ่านมาตรการต่างๆแล้ว
นายเอกนิติ กล่าวว่า สำหรับการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2553 ยังอยู่ที่ 3.5% โดยยังต้องเฝ้าระมัดระวังภาระการคลังเป็นพิเศษ และสิ่งที่สามารถทำได้คือรัฐบาลต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างรายได้ผ่านกฎหมายภาษี ควบคุมรายจ่ายให้รัดกุม บริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความร่วมมือจัดการด้านภาระดอกเบี้ยที่ปีนี้มีมากถึง 2 แสนล้านบาท โดย 7 หมื่นล้านบาทเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งในปี 2552 ก็มีกำไรให้เห็นก็สามารถช่วยนำมาชำระเพื่อลดภาระหนี้ได้บ้าง เนื่องจากยอดเงินดอกเบี้ยหากลดลงได้ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโครงการอื่นอีกมาก
นอกจากนี้รัฐบาลควรที่จะเร่งการลงทุนเนื่องจากเป็นโอกาสสุดท้ายที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการลงทุน ทั้งจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ถูก ราคาสินค้า น้ำมันและสินค้าทุนทุกอย่างอยู่ในระดับต่ำมากจึงถือเป็นจังหวะที่ดีที่ต้องรีบลงทุน แต่หากปล่อยให้การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐล่าช้าออกไปถือเป็นการพลาดโอกาสที่ดีที่สุดในการลงทุนของประเทศ.