ASTV ผู้จัดการรายวัน - กูรูยืนยันการทยอยปล่อยขายทองคำล็อตที่เหลือของ ไอเอ็มเอฟ อีก 191.3 ตันภายในปีนี้ จะไม่มีผลต่อการปรับลดราคาทองคำมากนัก แนะนักลงทุนจับตาดูการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอขงกรีซ และการช่วยเหลือของอียู หากมีความชัดเจนทุกอย่างจะดูดีขึ้น ส่วน 26 ก.พ.นี้คาดหากเกิดความร้ายแรงจะฉุดให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง หลังนักลงทุนต่างชาติไม่มีความมั่นใจ โยกไปถือดอลลาร์แทน เชื่อ 2 สัปดาห์จากนี้ราคาทองอยู่ที่ประมาณ 1,133 เหรียญ/ออนซ์
นายสัญญา หาญพัฒนกิจพานิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ทีมพัฒนาธุรกิจตลาดอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก จำกัดเปิดเผยถึงกรณีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะนำทองคำน้ำหนัก 191.3 เมตริกตันออกขายในตลาดเปิดเร็วๆนี้ว่า เรื่องดังกล่าวมีผลต่อราคาทองคำน้อยมาก ถ้าจะมีก็เฉพาะในด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุน เพราะการขายทองคำในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายเมื่อปี 2551 ที่ไอเอ็มเอฟ ได้ระบุไว้แล้วว่าจะขายทองคำที่มีอยู่ออกไปจำนวน 403.3 ต้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาก็ทำการขายทองคำออกไป 212 ตัน จึงเหลือ 191.3 ตัน ซึ่งล่าสุดได้ออกมาระบุว่าจะนำออกมาขายภายในปีนี้เท่านั้น
“การขายทองคำครั้งนี้ เป็นไปตามภายใต้ข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนเพื่อเพิ่มสำรองในการปล่อยกู้ให้กับประเทศต่างๆที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน จึงไม่มีผลต่อการร่วงลงของราคมมากนัก ถ้าจะมีก็ผลแค่ด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งคนที่จะวิตกมากคือพวกนิยมเก็งกำไรจากทองคำมากว่า”
ขณะเดียวกัน สิ่งที่นักลงทุนควรเฝ้าจับตา คือ การปรับตัวขึ้นอขงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจมีความร้อนแรงมากจนเกินไป จึงต้องมีการควบคุม ซึ่งหากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นจริง อาจส่งผลต่อเงินที่ลงทุนในสินทรัพย์ๆ เช่นทองคำ หุ้น คอมมอดิตี้ มีการเปลี่ยนแปลงตามการโยกย้ายทรัพย์สิน หันกลับไปหาการลงทุนในค่าเงินดอลลาร์หสรัฐมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อราคาทองคำให้มีโอกาสปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ นักลงทุนควรจับตาดูเศรษฐกิจในฟากประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะ กรีซ ว่าจะดำเนินงานการกับปัญหางบขาดดุลและหนี้สินของประเทศได้อย่างไร รวมถึงมาตรการหรือแผนการช่วยเหลือของกลุ่มสหภาพยุโรปด้วยว่าจะมีความชัดเจนเพียงใด โดยหากมีความชัดเจนจะช่วยให้ค่าเงินยูโรมีการแข็งค่าขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนตัวลง จนผลักดันราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ แต่กลับกันหากไม่มีความชัดเจนออกมา นักลงทุนก็จะยังไม่มีความเขื่อมั่นในค่าเงินยูโร ซึ่งจะมีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งค่า ราคาทองคำก็ยังจะอยู่ในแนวโน้มขาลงต่อไป
ทั้งนี้เมื่อประเมิน แนวโน้มทางเทคนิคภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ ราคาทองคำมีแนวรับสำคัญที่ 1,089 เหรียญ/ออนซ์ โดยมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปได้ไม่เกิน 1,133 เหรียญ/ออนซ์
ส่วน เหตุการณ์การตัดสินคดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ประเมินว่า เรื่องดังกล่าวไม่น่าจะมีผลต่อราคาทองคำมากนัก แต่จะมีผลกับค่าเงินบาทมากกว่า เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติจะไม่มีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของประเทศ และผู้ที่ถือเงินบาทอยู่อาจเปลี่ยนไปถือเงินสกุลอื่นแทน โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะทำงห้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง แม้จะมีให้ราคาทองคปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ในแง่ที่ดีต่อประเทศเท่าที่ควร
นายธิติ ธาราสุข ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท ชาร์ตมาสเตอร์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดอบรมสัมมนากลยุทธ์การลงทุนในตลาดล่วงหน้า ให้ความเห็นต่อราคาทองคำในช่วงนี้ว่า ทางเทคนิคแล้วราคาทองคำยังอยู่ในช่วงขาลงต่อเนื่อง จากตอนนี้ที่อยู่ประมาณ 1,108 เหรียญ/ออนซ์ อาจลดลงไปถึง 1,020 เหรียญ/ออนซ์ ประมาณในช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่เริ่มสนใจเข้ามาลงทุนในเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว เพราะมีต้นทุนลในการลงทุนที่ต่ำลง ส่วนกรณี การขายทองคำที่เหลือ ไอเอ็มเอฟ ประเมินว่าจะมีด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนได้ในระยะกลาง – สั้นเท่านั้น
นักวิเคราะห์ บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ส กล่าวว่า ช่วงนี้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยทะลุแนวต้านเดิมที่ระดับ 1,120 เหรียญ เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา(18ก.พ.) โดยมีปริมาณการซื้อขายตามค่อนข้างหนาแน่น แต่เมื่อมีข่าวร้ายเรื่องการเพิ่ม Discount Rate ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง แต่ยังสามารถทรงตัวได้เหนือระดับ 1,100 เหรียญ
โดยในเชิงเทคนิคราคาทองคำเข้าสู่ภาวะกดดันต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีแนวรับสำคัญ ที่ระดับ 1,100 เหรียญ แนวต้านด้านบน 1,110 เหรียญ Oscillator ในระยะสั้นโดยทั่วไปปรับตัวลดลง เป็นสัญญาณขายในระยะสั้นรายชั่วโมง ในขณะที่ในระยะรายวัน Oscillator ยังเป็นลักษณะไม่ชัดเจนในทิศทาง เรียกว่าในเชิงเทคนิคราคาจะเข้าสู่ภาวะไร้ทิศทางอีกครั้งหนึ่ง จากภาวะของราคาทองคำ คงต้องดูผลตอบรับของตลาดทั้งวัน คาดว่าเชิงเทคนิคราคาจะเคลื่อนไหว ในทิศทาง sideway จากผลกระทบ ของ Discount Rate ที่ปรับตัวสูงขึ้น และจะเห็นได้ว่า ผลกระทบจากข่าว IMF ก็หมดไปเพียงใน 1 วันเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ้าไม่มีผลกระทบจากการ เพิ่ม Discount Rate ราคาทองคำดูค่อนข้างจะสดใส
ก่อนหน้านี้ ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า การขายทองในครั้งนี้จะแบ่งเป็นขั้นตอนและจะใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะผันผวนในตลาดทอง โดยไอเอ็มเอฟยังคงอนุญาตให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆเข้าซื้อทองคำโดยตรงได้จากไอเอ็มเอฟ เพราะภายใต้ข้อตกลงของไอเอ็มเอฟนั้น ทองคำทั้งหมดที่นำออกขายจะต้องอิงราคาพื้นฐานตลาด และดำเนินการอย่างสอดคล้องกับมติที่ประชุมสุดยอดกลุ่ม G20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเม.ย.ปี 2552 ซึ่งเป้าหมายของการนำทองคำออกขายก็เพื่อระดมทุนช่วยเหลือประเทศยากจน
สำหรับ ไอเอ็มเอฟเป็นผู้ถือครองทองคำรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐและเยอรมนี โดยนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าวว่า ไอเอ็มเอฟนำทองคำสำรองออกขายเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลาอีก 4 ปีข้างหน้า
โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ปี 2552 คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟอนุมัติให้นำทองคำ 403.3 เมตริคตันออกขาย โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนเพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มประเทศยากจน ซึ่งการนำทองคำออกขายในครั้งนี้คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 8 ของปริมาณทองคำสำรองของไอเอ็มเอฟ ซึ่งธนาคารกลางหลายแห่งของโลกเข้าซื้อทองคำจำนวนมากจากไอเอ็มเอฟในปีที่แล้ว โดยธนาคารกลางศรีลังกาเข้าซื้อทองคำน้ำหนัก 10 เมตริกตันจากไอเอ็มเอฟ คิดเป็นมูลค่า 375 ล้านดอลลาร์ ธนาคารกลางอินเดียเข้าซื้อ 200 เมตริกตัน มูลค่า 6.7 พันล้านดอลลาร์ และธนาคารกลางมอริเชียสซื้อทองคำน้ำหนัก 2 เมตริกตัน มูลค่าประมาณ 71.7 ล้านดอลลาร์
นายสัญญา หาญพัฒนกิจพานิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ทีมพัฒนาธุรกิจตลาดอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก จำกัดเปิดเผยถึงกรณีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะนำทองคำน้ำหนัก 191.3 เมตริกตันออกขายในตลาดเปิดเร็วๆนี้ว่า เรื่องดังกล่าวมีผลต่อราคาทองคำน้อยมาก ถ้าจะมีก็เฉพาะในด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุน เพราะการขายทองคำในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายเมื่อปี 2551 ที่ไอเอ็มเอฟ ได้ระบุไว้แล้วว่าจะขายทองคำที่มีอยู่ออกไปจำนวน 403.3 ต้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาก็ทำการขายทองคำออกไป 212 ตัน จึงเหลือ 191.3 ตัน ซึ่งล่าสุดได้ออกมาระบุว่าจะนำออกมาขายภายในปีนี้เท่านั้น
“การขายทองคำครั้งนี้ เป็นไปตามภายใต้ข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนเพื่อเพิ่มสำรองในการปล่อยกู้ให้กับประเทศต่างๆที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน จึงไม่มีผลต่อการร่วงลงของราคมมากนัก ถ้าจะมีก็ผลแค่ด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งคนที่จะวิตกมากคือพวกนิยมเก็งกำไรจากทองคำมากว่า”
ขณะเดียวกัน สิ่งที่นักลงทุนควรเฝ้าจับตา คือ การปรับตัวขึ้นอขงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจมีความร้อนแรงมากจนเกินไป จึงต้องมีการควบคุม ซึ่งหากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นจริง อาจส่งผลต่อเงินที่ลงทุนในสินทรัพย์ๆ เช่นทองคำ หุ้น คอมมอดิตี้ มีการเปลี่ยนแปลงตามการโยกย้ายทรัพย์สิน หันกลับไปหาการลงทุนในค่าเงินดอลลาร์หสรัฐมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อราคาทองคำให้มีโอกาสปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ นักลงทุนควรจับตาดูเศรษฐกิจในฟากประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะ กรีซ ว่าจะดำเนินงานการกับปัญหางบขาดดุลและหนี้สินของประเทศได้อย่างไร รวมถึงมาตรการหรือแผนการช่วยเหลือของกลุ่มสหภาพยุโรปด้วยว่าจะมีความชัดเจนเพียงใด โดยหากมีความชัดเจนจะช่วยให้ค่าเงินยูโรมีการแข็งค่าขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนตัวลง จนผลักดันราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ แต่กลับกันหากไม่มีความชัดเจนออกมา นักลงทุนก็จะยังไม่มีความเขื่อมั่นในค่าเงินยูโร ซึ่งจะมีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งค่า ราคาทองคำก็ยังจะอยู่ในแนวโน้มขาลงต่อไป
ทั้งนี้เมื่อประเมิน แนวโน้มทางเทคนิคภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ ราคาทองคำมีแนวรับสำคัญที่ 1,089 เหรียญ/ออนซ์ โดยมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปได้ไม่เกิน 1,133 เหรียญ/ออนซ์
ส่วน เหตุการณ์การตัดสินคดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ประเมินว่า เรื่องดังกล่าวไม่น่าจะมีผลต่อราคาทองคำมากนัก แต่จะมีผลกับค่าเงินบาทมากกว่า เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติจะไม่มีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของประเทศ และผู้ที่ถือเงินบาทอยู่อาจเปลี่ยนไปถือเงินสกุลอื่นแทน โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะทำงห้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง แม้จะมีให้ราคาทองคปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ในแง่ที่ดีต่อประเทศเท่าที่ควร
นายธิติ ธาราสุข ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท ชาร์ตมาสเตอร์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดอบรมสัมมนากลยุทธ์การลงทุนในตลาดล่วงหน้า ให้ความเห็นต่อราคาทองคำในช่วงนี้ว่า ทางเทคนิคแล้วราคาทองคำยังอยู่ในช่วงขาลงต่อเนื่อง จากตอนนี้ที่อยู่ประมาณ 1,108 เหรียญ/ออนซ์ อาจลดลงไปถึง 1,020 เหรียญ/ออนซ์ ประมาณในช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่เริ่มสนใจเข้ามาลงทุนในเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว เพราะมีต้นทุนลในการลงทุนที่ต่ำลง ส่วนกรณี การขายทองคำที่เหลือ ไอเอ็มเอฟ ประเมินว่าจะมีด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนได้ในระยะกลาง – สั้นเท่านั้น
นักวิเคราะห์ บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ส กล่าวว่า ช่วงนี้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยทะลุแนวต้านเดิมที่ระดับ 1,120 เหรียญ เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา(18ก.พ.) โดยมีปริมาณการซื้อขายตามค่อนข้างหนาแน่น แต่เมื่อมีข่าวร้ายเรื่องการเพิ่ม Discount Rate ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง แต่ยังสามารถทรงตัวได้เหนือระดับ 1,100 เหรียญ
โดยในเชิงเทคนิคราคาทองคำเข้าสู่ภาวะกดดันต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีแนวรับสำคัญ ที่ระดับ 1,100 เหรียญ แนวต้านด้านบน 1,110 เหรียญ Oscillator ในระยะสั้นโดยทั่วไปปรับตัวลดลง เป็นสัญญาณขายในระยะสั้นรายชั่วโมง ในขณะที่ในระยะรายวัน Oscillator ยังเป็นลักษณะไม่ชัดเจนในทิศทาง เรียกว่าในเชิงเทคนิคราคาจะเข้าสู่ภาวะไร้ทิศทางอีกครั้งหนึ่ง จากภาวะของราคาทองคำ คงต้องดูผลตอบรับของตลาดทั้งวัน คาดว่าเชิงเทคนิคราคาจะเคลื่อนไหว ในทิศทาง sideway จากผลกระทบ ของ Discount Rate ที่ปรับตัวสูงขึ้น และจะเห็นได้ว่า ผลกระทบจากข่าว IMF ก็หมดไปเพียงใน 1 วันเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ้าไม่มีผลกระทบจากการ เพิ่ม Discount Rate ราคาทองคำดูค่อนข้างจะสดใส
ก่อนหน้านี้ ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า การขายทองในครั้งนี้จะแบ่งเป็นขั้นตอนและจะใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะผันผวนในตลาดทอง โดยไอเอ็มเอฟยังคงอนุญาตให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆเข้าซื้อทองคำโดยตรงได้จากไอเอ็มเอฟ เพราะภายใต้ข้อตกลงของไอเอ็มเอฟนั้น ทองคำทั้งหมดที่นำออกขายจะต้องอิงราคาพื้นฐานตลาด และดำเนินการอย่างสอดคล้องกับมติที่ประชุมสุดยอดกลุ่ม G20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเม.ย.ปี 2552 ซึ่งเป้าหมายของการนำทองคำออกขายก็เพื่อระดมทุนช่วยเหลือประเทศยากจน
สำหรับ ไอเอ็มเอฟเป็นผู้ถือครองทองคำรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐและเยอรมนี โดยนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าวว่า ไอเอ็มเอฟนำทองคำสำรองออกขายเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลาอีก 4 ปีข้างหน้า
โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ปี 2552 คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟอนุมัติให้นำทองคำ 403.3 เมตริคตันออกขาย โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนเพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มประเทศยากจน ซึ่งการนำทองคำออกขายในครั้งนี้คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 8 ของปริมาณทองคำสำรองของไอเอ็มเอฟ ซึ่งธนาคารกลางหลายแห่งของโลกเข้าซื้อทองคำจำนวนมากจากไอเอ็มเอฟในปีที่แล้ว โดยธนาคารกลางศรีลังกาเข้าซื้อทองคำน้ำหนัก 10 เมตริกตันจากไอเอ็มเอฟ คิดเป็นมูลค่า 375 ล้านดอลลาร์ ธนาคารกลางอินเดียเข้าซื้อ 200 เมตริกตัน มูลค่า 6.7 พันล้านดอลลาร์ และธนาคารกลางมอริเชียสซื้อทองคำน้ำหนัก 2 เมตริกตัน มูลค่าประมาณ 71.7 ล้านดอลลาร์