ASTVผู้จัดการรายวัน-เผยปชป.เปิดเกม ยื้อ”ภูมิใจไทย “ ฮุบบิ๊กโปรเจ็กต์ พัฒนาสุวรรณภูมิ มูลค่ากว่า 7.6 หมื่นล้านบาท ติงแผนใช้ประโยชน์ดอนเมือง-สุวรรณภูมิไม่เคลียร์ ส่งผลให้ต้องชะลอลงทุนทั้งเฟส 2 และ อาคารผู้โดยสารในประเทศ “ซาเล้ง”เร่งทอท.จ้าง ไออาร์ต้า ศึกษาหาความชัดเจนใน 2 เดือน “อภิสิทธิ์” ย้ำต้องใช้ดอนเมืองให้คุ้มค่าและเป็นทางเลือกการเดินทาง ด้าน AOC ชี้ นโยบายไม่ชัดทำลงทุนชะงัก ปัญหาเชื่อมั่นซ้ำรอยมาบตาพุด
จากกรณีที่นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุหลังหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถึงแนวทางการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองว่า จะส่งเสริมด้านทั้งด้านการบินและการพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานควบคู่กันและเปิดให้สายการบินเข้ามาใช้สนามบินดอนเมืองได้ตามความสมัครใจนั้นได้สร้างความสับสนถึงนโยบายการใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะความชัดเจนว่าจะเป็น Single Airport หรือ Multi Airport
โดยแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ให้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในการหาความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว โดยจะมีการว่าจ้าง สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) หรือไออาร์ต้า เข้ามาทำการศึกษาในประเด็นการใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับเที่ยวบินประจำ
ทั้งนี้ เบื้องต้นเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า หากจะใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองสำหรับเที่ยวบินประจำ กรณีมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 10 ล้านคนต่อปี หรือ 20 ล้านคนต่อปี จะเป็นอย่างไร โดยให้ดำเนินการศึกษาและหาข้อสรุปประมาณ 2 เดือน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้เสนอแผนการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองซึ่งมีแผนพัฒนา 6 โครงการโดยเน้นรองรับอุตสาหกรรมการบินและ International Free Trade Zone แต่รัฐบาลเห็นว่าแผนยังขาดรายละเอียด โดยเฉพาะรายละเอียดของเงินลงทุนและกระทรวงคมนาคมเองก็ไม่สามารถตอบคำถามถึงแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ชัดเจนด้วย จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กลับไปจัดทำแผนการพัฒนาศูนย์กลางการบินในภูมิภาคให้ชัดเจน โดยให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานนานาชาติเพียงแห่งเดียว และให้พิจารณาอย่างชัดเจนว่าท่าอากาศยานดอนเมืองจะลงทุนอย่างไร และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเดินหน้าอย่างไร
ซึ่งคณะกรรมการทอท.ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธานได้อนุมัติให้ทอท.ว่าจ้าง องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO ) วงเงิน 30.78 ล้านบาท ให้ขยายการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง ภายใต้แนวคิด Single Airport
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความไม่ชัดเจนของแผนการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมือง ส่งผลทำให้รัฐบาลยังไม่พิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุนรวม 76,504.577 ล้านบาท (2553 – 2559) ซึ่งล่าสุดได้มีการปรับแผนโดยจะลงทุนก่อสร้างงานกลุ่มอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal) วงเงิน 9,133 ล้านบาทก่อน เพื่อช่วยบรรเทาความแออัดในอาคารผู้โดยสารหลักก่อน เพราะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3-4ปี ส่วนเฟส 2 ซึ่งงานหลักคือ การก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรือ มิดฟิลด์คองคอร์ด และงานก่อสร้างทางวิ่ง(รันเวย์) เส้นที่ 3 จะเป็นการลงทุนระยะต่อไป ซึ่งเฟส2 ยังมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมในส่วนของรันเวย์ที่ 3
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้เรื่องการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังอยู่ที่ สศช. ซึ่งได้มีการเสนอแนวคิดให้ใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับเที่ยวบินประจำตามความสมัครใจของสายการบินนั้น จะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไม่ต้องเร่งก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพราะสามารถแบ่งปริมาณจราจรมาใช้ดอนเมืองได้ ในขณะเดียวกันก็มีความเห็นว่าควรลงทุนขยายขีดความสามารถสุวรรณภูมิ ส่วนมิดฟิลด์คองคอร์ดมากกว่าเพราะจะเป็นการรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศซึ่งมีการเติบโตสูงกว่าผู้โดยสารในประเทศ
“ประเด็นดังกล่าวเป็นตัวแปรทำให้แผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องชะลออกไปแน่นอน ซึ่งสืบเนื่องจากความชัดเจนของกระทรวงคมนาคมเองในการพัฒนาดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ซึ่งนายกฯต้องการรายละเอียดและเหตุผลทั้งหมด ก่อนตัดสินใจเรื่องการลงทุนขยายสุวรรณภูมิ ซึ่งใช้เงินถึง76,504.577 ล้านบาท ในขณะที่คมนาคมชี้แจงไม่ได้”แหล่งข่าวกล่าว
”อภิสิทธิ์”ย้ำแยกบริหารดอนเมือง-สุวรรณภูมิ
วานนี้ (14 ก.พ.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ว่า การบริหารสนามบินดอนเมืองนั้น ตนและรมว.คมนาคมเห็นชอบในหลักการว่าจะต้องมีแนวทางที่ชัดเจน ในการใช้ศักยภาพของดอนเมืองได้อย่างเต็มที่ ต้องดูรูปแบบของการแยกระบบการบริหารสนามบินดอนเมือง ออกมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตรงนี้จะทำให้มีแรงกระตุ้นในการที่จะทำให้สนามบินดอนเมืองนั้นสามารถที่จะแข่งขันเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้เดินทางได้ หรืออย่างน้อยก็จะทำให้สนามบินดอนเมืองนั้นใช้ทรัพย์สินต่างๆ ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า มีผลประโยชน์ตอบแทนในเชิงพาณิชย์ที่คุ้มค่ากว่าสภาพที่อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหลายคนก็มองเห็นว่าเป็นทรัพย์สินมากมายมหาศาลที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบจราจร (คจรง) ได้มีการอนุมัติแผนแม่บทเกี่ยวข้องกับขนส่งมวลชน โดย ใหเพิ่มเติมเส้นทาางแอร์พอร์ตลิ้งค์ ซึ่งปัจจุบันจากทางสนามบินสุวรรณภูมิ -พญาไท -มักกะสัน ต่อไปเชื่อมกับสนามบินดอนเมืองด้วย
นอกจากนี้ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติมาตรการสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะติดตามจากการที่ได้เคยตรวจพื้นที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ปัญหาการละเมิดกฎหมายต่างๆ และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการจับกุมผู้โดยสารที่เข้ามาเรื่องของปลอดภาษี และเรื่องอื่นๆ ซึ่งได้มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะจัดตั้งสถานีตำรวจขึ้นภายในสนามบิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวด้วย
AOC ติงนโยบายไม่นิ่งกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน
ด้านนายชัยวัฒน์ นวราช ประธานคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน หรือ AOC กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายเรื่องการใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองเรื่องการมีเที่ยวบินประจำนั้น ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และอาจจะทำให้การลงทุนโครงการต่างๆ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุง หรือ แลนด์ดิ้งเกียร์ ต้องชะงักซึ่งเป็นปัญหาซ้ำรอยจากที่ประเทศไทยขาดความเชื่อมั่นด้านการลงทุนจากกรณีมาบตาพุดอยู่แล้ว
“ในแง่ของสายการบินต่างๆ นั้น มีความชัดเจนอยู่แล้วว่า จะใช้ที่สุวรรณภูมิเป็นหลัก เพราะมีความสะดวกทุกด้าน”นายชัยวัฒน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทอท.ได้ว่าจ้าง บริษัท ดีไซน์ 103 ทำการศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบการลงทุน แผนพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองทั้งหมดซึ่งจะแล้วเสร็จปลายปี 2554 โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ 1. กำหนดกิจกรรมที่เหมาะสม สรุปประมาณกลางปี 2553 เบื้องต้นมี 6 โครงการ คือ โครงการซ่อมบำรุงฐานล้ออากาศยานลำตัวแคบ ,โครงการบริหารจัดการอะไหล่อากาศยาน,โครงการซ่อมบำรุงและดูแลรักษาอากาศยานขนาดกลางและเล็ก ,โครงการศูนย์กลางค้าระหว่างประเทศ ,โครงการศูนย์ฝึกบินจำลอง และโครงการอากาศยานผู้โดยสารสำหรับส่วนบุคคลและเช่าเหมาลำ 2. การลงทุนโครงการที่มูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท สรุปปลายปี 2553 และ 3.การลงทุนโครงการที่มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะสรุปในปี 2554
จากกรณีที่นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุหลังหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถึงแนวทางการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองว่า จะส่งเสริมด้านทั้งด้านการบินและการพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานควบคู่กันและเปิดให้สายการบินเข้ามาใช้สนามบินดอนเมืองได้ตามความสมัครใจนั้นได้สร้างความสับสนถึงนโยบายการใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะความชัดเจนว่าจะเป็น Single Airport หรือ Multi Airport
โดยแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ให้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในการหาความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว โดยจะมีการว่าจ้าง สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) หรือไออาร์ต้า เข้ามาทำการศึกษาในประเด็นการใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับเที่ยวบินประจำ
ทั้งนี้ เบื้องต้นเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า หากจะใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองสำหรับเที่ยวบินประจำ กรณีมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 10 ล้านคนต่อปี หรือ 20 ล้านคนต่อปี จะเป็นอย่างไร โดยให้ดำเนินการศึกษาและหาข้อสรุปประมาณ 2 เดือน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้เสนอแผนการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองซึ่งมีแผนพัฒนา 6 โครงการโดยเน้นรองรับอุตสาหกรรมการบินและ International Free Trade Zone แต่รัฐบาลเห็นว่าแผนยังขาดรายละเอียด โดยเฉพาะรายละเอียดของเงินลงทุนและกระทรวงคมนาคมเองก็ไม่สามารถตอบคำถามถึงแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ชัดเจนด้วย จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กลับไปจัดทำแผนการพัฒนาศูนย์กลางการบินในภูมิภาคให้ชัดเจน โดยให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานนานาชาติเพียงแห่งเดียว และให้พิจารณาอย่างชัดเจนว่าท่าอากาศยานดอนเมืองจะลงทุนอย่างไร และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเดินหน้าอย่างไร
ซึ่งคณะกรรมการทอท.ที่มีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธานได้อนุมัติให้ทอท.ว่าจ้าง องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO ) วงเงิน 30.78 ล้านบาท ให้ขยายการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง ภายใต้แนวคิด Single Airport
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความไม่ชัดเจนของแผนการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมือง ส่งผลทำให้รัฐบาลยังไม่พิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุนรวม 76,504.577 ล้านบาท (2553 – 2559) ซึ่งล่าสุดได้มีการปรับแผนโดยจะลงทุนก่อสร้างงานกลุ่มอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic Terminal) วงเงิน 9,133 ล้านบาทก่อน เพื่อช่วยบรรเทาความแออัดในอาคารผู้โดยสารหลักก่อน เพราะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3-4ปี ส่วนเฟส 2 ซึ่งงานหลักคือ การก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรือ มิดฟิลด์คองคอร์ด และงานก่อสร้างทางวิ่ง(รันเวย์) เส้นที่ 3 จะเป็นการลงทุนระยะต่อไป ซึ่งเฟส2 ยังมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมในส่วนของรันเวย์ที่ 3
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้เรื่องการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังอยู่ที่ สศช. ซึ่งได้มีการเสนอแนวคิดให้ใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับเที่ยวบินประจำตามความสมัครใจของสายการบินนั้น จะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไม่ต้องเร่งก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพราะสามารถแบ่งปริมาณจราจรมาใช้ดอนเมืองได้ ในขณะเดียวกันก็มีความเห็นว่าควรลงทุนขยายขีดความสามารถสุวรรณภูมิ ส่วนมิดฟิลด์คองคอร์ดมากกว่าเพราะจะเป็นการรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศซึ่งมีการเติบโตสูงกว่าผู้โดยสารในประเทศ
“ประเด็นดังกล่าวเป็นตัวแปรทำให้แผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องชะลออกไปแน่นอน ซึ่งสืบเนื่องจากความชัดเจนของกระทรวงคมนาคมเองในการพัฒนาดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ซึ่งนายกฯต้องการรายละเอียดและเหตุผลทั้งหมด ก่อนตัดสินใจเรื่องการลงทุนขยายสุวรรณภูมิ ซึ่งใช้เงินถึง76,504.577 ล้านบาท ในขณะที่คมนาคมชี้แจงไม่ได้”แหล่งข่าวกล่าว
”อภิสิทธิ์”ย้ำแยกบริหารดอนเมือง-สุวรรณภูมิ
วานนี้ (14 ก.พ.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ว่า การบริหารสนามบินดอนเมืองนั้น ตนและรมว.คมนาคมเห็นชอบในหลักการว่าจะต้องมีแนวทางที่ชัดเจน ในการใช้ศักยภาพของดอนเมืองได้อย่างเต็มที่ ต้องดูรูปแบบของการแยกระบบการบริหารสนามบินดอนเมือง ออกมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตรงนี้จะทำให้มีแรงกระตุ้นในการที่จะทำให้สนามบินดอนเมืองนั้นสามารถที่จะแข่งขันเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้เดินทางได้ หรืออย่างน้อยก็จะทำให้สนามบินดอนเมืองนั้นใช้ทรัพย์สินต่างๆ ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า มีผลประโยชน์ตอบแทนในเชิงพาณิชย์ที่คุ้มค่ากว่าสภาพที่อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหลายคนก็มองเห็นว่าเป็นทรัพย์สินมากมายมหาศาลที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบจราจร (คจรง) ได้มีการอนุมัติแผนแม่บทเกี่ยวข้องกับขนส่งมวลชน โดย ใหเพิ่มเติมเส้นทาางแอร์พอร์ตลิ้งค์ ซึ่งปัจจุบันจากทางสนามบินสุวรรณภูมิ -พญาไท -มักกะสัน ต่อไปเชื่อมกับสนามบินดอนเมืองด้วย
นอกจากนี้ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติมาตรการสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะติดตามจากการที่ได้เคยตรวจพื้นที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ปัญหาการละเมิดกฎหมายต่างๆ และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการจับกุมผู้โดยสารที่เข้ามาเรื่องของปลอดภาษี และเรื่องอื่นๆ ซึ่งได้มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะจัดตั้งสถานีตำรวจขึ้นภายในสนามบิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวด้วย
AOC ติงนโยบายไม่นิ่งกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน
ด้านนายชัยวัฒน์ นวราช ประธานคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน หรือ AOC กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายเรื่องการใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองเรื่องการมีเที่ยวบินประจำนั้น ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และอาจจะทำให้การลงทุนโครงการต่างๆ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุง หรือ แลนด์ดิ้งเกียร์ ต้องชะงักซึ่งเป็นปัญหาซ้ำรอยจากที่ประเทศไทยขาดความเชื่อมั่นด้านการลงทุนจากกรณีมาบตาพุดอยู่แล้ว
“ในแง่ของสายการบินต่างๆ นั้น มีความชัดเจนอยู่แล้วว่า จะใช้ที่สุวรรณภูมิเป็นหลัก เพราะมีความสะดวกทุกด้าน”นายชัยวัฒน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทอท.ได้ว่าจ้าง บริษัท ดีไซน์ 103 ทำการศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบการลงทุน แผนพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองทั้งหมดซึ่งจะแล้วเสร็จปลายปี 2554 โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ 1. กำหนดกิจกรรมที่เหมาะสม สรุปประมาณกลางปี 2553 เบื้องต้นมี 6 โครงการ คือ โครงการซ่อมบำรุงฐานล้ออากาศยานลำตัวแคบ ,โครงการบริหารจัดการอะไหล่อากาศยาน,โครงการซ่อมบำรุงและดูแลรักษาอากาศยานขนาดกลางและเล็ก ,โครงการศูนย์กลางค้าระหว่างประเทศ ,โครงการศูนย์ฝึกบินจำลอง และโครงการอากาศยานผู้โดยสารสำหรับส่วนบุคคลและเช่าเหมาลำ 2. การลงทุนโครงการที่มูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท สรุปปลายปี 2553 และ 3.การลงทุนโครงการที่มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะสรุปในปี 2554