SCRI ประเมินว่า " ปัญหาวิกฤติหนี้กรีซ " คือ "ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป" ซึ่งส่งผลสะท้อนโดยตรง มายังความเชื่อมั่นต่อการจัดการของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร (Euro Zone) ไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยต้นเหตุของปัญหาวิกฤติหนี้กรีซนั้น เริ่มมาจากการประกาศหยุดพักชำระหนี้ของบริษัท Dubai World ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐดูไบ การขอความช่วยเหลือจาก IMF ของประเทศไอซ์แลนด์ ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ตลาดหรือชุมชนการเงินระหว่างประเทศเริ่มประเมินความเสี่ยงของหนี้ภาครัฐของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และในที่สุดสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency) 2 แห่งคือ S&P และ Fitch ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือพันบัตรรัฐบาลกรีซจากอันดับ A - ลงมาเป็น BBB+
SCRI ประเมินว่า กรณีวิกฤติหนี้ระยะสั้นของกรีซ ซึ่งคาดว่าจะต้อง Refinance เงินจำนวน 20,000 ล้านยูโรภายในเดือน เม.ย. และพ.ค. 2553 จะได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป ซึ่งในวันนี้ (11 ก.พ. 2553) กำลังมีการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป ซึ่งรายละเอียดอย่างเป็นทางการ จะมีแถลงการณ์ในเวลา 16.45 น. ตามเวลาของกรุงบรัซเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งจะตรงกับเวลาประมาณ 22.45 น. ของวันนี้ตามเวลาในประเทศไทย โดยข่าวล่าสุด ระบุว่า** เยอรมันจะเป็นแกนหลักในการเข้าไปช่วยเหลือกรีซ **โดยแนวทางที่เป็นไปได้เป็นทั้งการร่วมกันปล่อยเงินกู้หรือการค้ำประกันเงินกู้ของกรีซ ซึ่งคาดว่ เยอรมันจะเป็นแกนหลักในการให้ความช่วยเหลือ เพราะความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเหนือกว่าฝรั่งเศสและอิตาลีมาก
SCRI คาดว่าการช่วยเหลือ "กรีซ" จะมีเงื่อนไขให้รัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการคลังและทางการเงินอย่างเคร่งครัด โดยคาดว่า สาระสำคัญของเงื่อนไขที่กรีซจะต้องปฏิบัติตามคือ **เร่งลดการขาดดุลการคลังให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานยุโรปคือไม่เกิน 3% ต่อ GDP **ในปี พ.ศ. 2555 ด้วยการเพิ่มภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ภาครัฐ ลดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐลง ซึ่งจะช่วยให้ลดการขาดดุลการคลังอย่างรวดเร็ว
SCRI มีความเห็นว่าการช่วยเหลือกรีซและเงื่อนไขโดยสหภาพยุโรปจะลดความกังวลเฉพาะหน้าของตลาดการเงินระหว่างประเทศที่กังวลต่อสถานะการคลังกรีซและความน่าเชื่อถือของเงินยูโร ซึ่ง SCRI ประเมินว่า การใช้มาตรฐานความเข้มงวดทางการคลังสำหรับประเทศที่ขอรับความช่วยเหลือนั้นถ้าเป็นเฉพาะประเทศกรีซ ประเทศเดียวนั้นจะมีผลกระทบในระดับต่ำต่อเพราะขนาดของ GDP กรีซ ต่อ GDP โดยรวมของประเทศสมาชิก Euro Zone 16 ประเทศ อยู่ที่ประมาณ 2.6%
SCRI ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางยุโรป ( ECB ) จะช่วยกรีซและประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาการคลัง ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำในอัตรา 1% ยาวนานกว่าที่คาดเพื่อลดต้นทุนการออกพันธบัตร ในขณะที่สหรัฐฯอาจจะดำเนินมาตรการถอนตัวออกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Exit Strategy) ก่อนยุโรปและญี่ปุ่น ผลคือ ค่าเงินยูโรจะได้รับแรงกดดันให้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
แม้ว่า "โปรตุเกส " จะมีความเสี่ยงต่ำที่จะเผชิญปัญหาในลักษณะเดียวกันกับกรีซ แต่ต้องจับตาโปรตุเกส เพราะโปรตุเกสมีหนี้ระยะสั้นที่ครบกำหนดใน 3 เดือนในวงเงินประมาณ 9,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอีก 6 เดือนต่อมาและ 9 เดือนต่อมาในวงเงินประมาณ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 12,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ และถ้ารวมยอดหนี้ระยะสั้นที่ต้องชำระในภายใน 1 ปี พบว่าโปรตุเกสมีพันธะที่จะต้อง Refinance คิดเป็นประมาณ 32,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 17.4 % ของหนี้คงค้างทั้งหมดของโปรตุเกส แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหนี้ระยะสั้นของกรีซในปีนี้ซึ่งมีวงเงินประมาณ 95,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่าหนี้ระยะสั้นของโปรตุเกสต่ำกว่ากรีซประมาณ 2.9 เท่า
SCRI ประเมินว่ากรณีเลวร้ายที่สุดคือ **ความเสี่ยงของหนี้ภาครัฐนั้น (Sovereign Risk) ลุกลามไปยังกลุ่มประเทศ "PIGS " ที่เหลือ ** ซึ่งประกอบไปด้วย โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และสเปน และมีสัดส่วนของ GDP รวมกัน 4 ประเทศรวมกรีซด้วยประมาณ 16% ของ Euro Zone ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจยุโรปที่แม้ว่าไม่มีวิกฤติกรีซมีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำอยู่แล้ว ถ้าเผชิญกับกรณีเลวร้ายที่สุด เศรษฐกิจยุโรปอาจจะกลับมาถดถอยอีกครั้งได้
แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า
SCRI ประเมินว่า กรณีวิกฤติหนี้ระยะสั้นของกรีซ ซึ่งคาดว่าจะต้อง Refinance เงินจำนวน 20,000 ล้านยูโรภายในเดือน เม.ย. และพ.ค. 2553 จะได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป ซึ่งในวันนี้ (11 ก.พ. 2553) กำลังมีการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป ซึ่งรายละเอียดอย่างเป็นทางการ จะมีแถลงการณ์ในเวลา 16.45 น. ตามเวลาของกรุงบรัซเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งจะตรงกับเวลาประมาณ 22.45 น. ของวันนี้ตามเวลาในประเทศไทย โดยข่าวล่าสุด ระบุว่า** เยอรมันจะเป็นแกนหลักในการเข้าไปช่วยเหลือกรีซ **โดยแนวทางที่เป็นไปได้เป็นทั้งการร่วมกันปล่อยเงินกู้หรือการค้ำประกันเงินกู้ของกรีซ ซึ่งคาดว่ เยอรมันจะเป็นแกนหลักในการให้ความช่วยเหลือ เพราะความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเหนือกว่าฝรั่งเศสและอิตาลีมาก
SCRI คาดว่าการช่วยเหลือ "กรีซ" จะมีเงื่อนไขให้รัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการคลังและทางการเงินอย่างเคร่งครัด โดยคาดว่า สาระสำคัญของเงื่อนไขที่กรีซจะต้องปฏิบัติตามคือ **เร่งลดการขาดดุลการคลังให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานยุโรปคือไม่เกิน 3% ต่อ GDP **ในปี พ.ศ. 2555 ด้วยการเพิ่มภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ภาครัฐ ลดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐลง ซึ่งจะช่วยให้ลดการขาดดุลการคลังอย่างรวดเร็ว
SCRI มีความเห็นว่าการช่วยเหลือกรีซและเงื่อนไขโดยสหภาพยุโรปจะลดความกังวลเฉพาะหน้าของตลาดการเงินระหว่างประเทศที่กังวลต่อสถานะการคลังกรีซและความน่าเชื่อถือของเงินยูโร ซึ่ง SCRI ประเมินว่า การใช้มาตรฐานความเข้มงวดทางการคลังสำหรับประเทศที่ขอรับความช่วยเหลือนั้นถ้าเป็นเฉพาะประเทศกรีซ ประเทศเดียวนั้นจะมีผลกระทบในระดับต่ำต่อเพราะขนาดของ GDP กรีซ ต่อ GDP โดยรวมของประเทศสมาชิก Euro Zone 16 ประเทศ อยู่ที่ประมาณ 2.6%
SCRI ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางยุโรป ( ECB ) จะช่วยกรีซและประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาการคลัง ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำในอัตรา 1% ยาวนานกว่าที่คาดเพื่อลดต้นทุนการออกพันธบัตร ในขณะที่สหรัฐฯอาจจะดำเนินมาตรการถอนตัวออกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Exit Strategy) ก่อนยุโรปและญี่ปุ่น ผลคือ ค่าเงินยูโรจะได้รับแรงกดดันให้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
แม้ว่า "โปรตุเกส " จะมีความเสี่ยงต่ำที่จะเผชิญปัญหาในลักษณะเดียวกันกับกรีซ แต่ต้องจับตาโปรตุเกส เพราะโปรตุเกสมีหนี้ระยะสั้นที่ครบกำหนดใน 3 เดือนในวงเงินประมาณ 9,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอีก 6 เดือนต่อมาและ 9 เดือนต่อมาในวงเงินประมาณ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 12,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ และถ้ารวมยอดหนี้ระยะสั้นที่ต้องชำระในภายใน 1 ปี พบว่าโปรตุเกสมีพันธะที่จะต้อง Refinance คิดเป็นประมาณ 32,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 17.4 % ของหนี้คงค้างทั้งหมดของโปรตุเกส แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหนี้ระยะสั้นของกรีซในปีนี้ซึ่งมีวงเงินประมาณ 95,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่าหนี้ระยะสั้นของโปรตุเกสต่ำกว่ากรีซประมาณ 2.9 เท่า
SCRI ประเมินว่ากรณีเลวร้ายที่สุดคือ **ความเสี่ยงของหนี้ภาครัฐนั้น (Sovereign Risk) ลุกลามไปยังกลุ่มประเทศ "PIGS " ที่เหลือ ** ซึ่งประกอบไปด้วย โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และสเปน และมีสัดส่วนของ GDP รวมกัน 4 ประเทศรวมกรีซด้วยประมาณ 16% ของ Euro Zone ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจยุโรปที่แม้ว่าไม่มีวิกฤติกรีซมีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำอยู่แล้ว ถ้าเผชิญกับกรณีเลวร้ายที่สุด เศรษฐกิจยุโรปอาจจะกลับมาถดถอยอีกครั้งได้
แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า