(ในตอนแรกซึ่งตีพิมพ์ใน ASTVผู้จัดการรายวันฉบับเมื่อวานนี้ ดร.วิลลี ลัม ชี้ให้เห็นว่า คณะผู้นำจีนกำลังทุ่มเทเร่งพัฒนาสมรรถนะในการทำสงครามที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นพื้นฐาน เนื่องจากใช้ข้อพิจารณา 2 ประการ คือ ต้องการที่จะลดช่วงห่างที่ยังล้าหลังสหรัฐฯ และต้องการที่จะพิทักษ์คุ้มครอง “อธิปไตยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ”ของจีน ขอเชิญติดตามอ่านตอนจบ ซึ่ง ดร.ลัมยกตัวอย่างรูปธรรมการเพิ่มสมรรถนะด้านนี้ของแดนมังกร...)
ขณะที่เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงภายในและข่าวกรองในประเทศจีน ยังคงถูกเก็บงำเป็นความลับอันซ่อนซุกไว้เร้นลึก แต่เราก็ยังสามารถติดตามรูปร่างลักษณะกว้างๆ เกี่ยวกับแผนการของปักกิ่งและมองเห็นได้ชัดเจนถึงการส่งเสริมเพิ่มพูนสมรรถนะในด้านการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อต้นปี 2009 หน่วยงานรับผิดชอบของพรรค(คอมมิวนิสต์จีน)และรัฐ ได้ใช้งบประมาณสูงขึ้นอย่างมากมาย เพื่อระดมหาคนจีนสำเร็จมหาวิทยาลัยในหลายๆ สาขาวิชาที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมให้มาทำงานทางด้านนี้ เป็นต้นว่า สาขาคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์, และภาษาต่างประเทศ
พวกหน่วยงานวิจัยที่อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (กมร) และกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ (กมส) มักออกโฆษณาตามเว็บไซต์ทั้งของทางการและของภาคเอกชนอยู่เรื่อยๆ ว่าต้องการรับสมัครวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ และผู้ชำนาญพิเศษเรื่องความปลอดภัยทางไอที ตัวอย่างเช่น สถาบันวิจัยที่หนึ่ง ของกระทรวง กมส ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 1,200 คนอยู่แล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดรายการระดมรับสมัครงานอย่างใหญ่โต ยิ่งกว่านั้น สำนักงานทางการทูตของจีนในสหรัฐฯและในประเทศอื่นๆ ในระยะหนึ่งปีที่ผ่านมาก็ได้ฉวยประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในโลกตะวันตก ออกระดมรับสมัครคนจีนที่สำเร็จการศึกษาจากพวกภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นเยี่ยมในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของโลกตะวันตก ผู้มีความรู้ความสามารถด้านไอทีเหล่านี้มักได้รับการเสนอเงินเดือนผลตอบแทนในระดับที่สามารถแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศได้ นอกเหนือจากลู่ทางอันสดใสที่จะได้เลื่อนฐานะเลื่อนตำแหน่งต่อไปในอนาคต
ยังมีหลักฐานด้วยว่า หน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงทบวงกรมด้านความมั่นคงสาธารณะและข่าวกรองทหาร กำลังหาพวกแฮกเกอร์มาทำงานด้วย ในฐานะเป็นวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
ปีที่แล้ว ปักกิ่งได้ทบทวนแก้ไขกฏหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งทำให้พฤติการณ์ลักลอบเจาะเข้าระบบไอที กลายเป็นความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุก 7 ปี กระนั้นก็ตาม ตามเว็บไซต์จัดหางานของจีนก็จะพบเห็นโฆษณารับสมัครแฮกเกอร์ผู้ประสบความสำเร็จและ “เชื่อถือได้” กันอยู่บ่อยๆ ยิ่งกว่านั้นภายในประชาคมไอทีของจีน จะมีเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเล่าขานกันเกี่ยวกับ “แฮกเกอร์ผู้รักชาติ” ซึ่งกำลังได้รับการว่าจ้างจากกองทัพหรือหน่วยงานความมั่นคงแห่งรัฐ
จีนอธิบายการเร่งรัดเพิ่มพูนสมรรถนะทางด้านนี้ของตน โดยชี้นิ้วไปที่สหรัฐฯ เป็นต้นว่า หนังสือพิมพ์เจ่ฟ่างจวิ้นเป้า ซึ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์รายวันของกองทัพจีน ได้เสนอรายงานข่าวที่อ้างผู้เชี่ยวชาญหลายต่อหลายคนซึ่งระบุว่า อเมริกันนั้นมีบุคลากรด้านไอทีจำนวนประมาณ 88,000 คน ในจำนวนนี้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงอาจจะมีถึง 5,000 คน กำลังทำงานอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกองบัญชาการที่ดูแลด้านไซเบอร์ ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
เป็นที่เข้าใจกันว่า พวกหน่วยงานทางทหารและทางด้านความมั่นคงแห่งรัฐของจีนนั้น ได้อาศัยแบบจำลองของอเมริกันเป็นบางส่วน ในเวลาที่พวกเขากำลังเพิ่มพูนยกระดับสมรรถนะด้านความมั่นคงและการทำสงครามที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตของประเทศตน
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง Beijing beefs up cyber-warfare capacity โดย Dr. Willy Wo-Lap Lam นักวิจัยอาวุโสแห่งมูลนิธิ Jamestown Foundation)
ขณะที่เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงภายในและข่าวกรองในประเทศจีน ยังคงถูกเก็บงำเป็นความลับอันซ่อนซุกไว้เร้นลึก แต่เราก็ยังสามารถติดตามรูปร่างลักษณะกว้างๆ เกี่ยวกับแผนการของปักกิ่งและมองเห็นได้ชัดเจนถึงการส่งเสริมเพิ่มพูนสมรรถนะในด้านการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อต้นปี 2009 หน่วยงานรับผิดชอบของพรรค(คอมมิวนิสต์จีน)และรัฐ ได้ใช้งบประมาณสูงขึ้นอย่างมากมาย เพื่อระดมหาคนจีนสำเร็จมหาวิทยาลัยในหลายๆ สาขาวิชาที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมให้มาทำงานทางด้านนี้ เป็นต้นว่า สาขาคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์, และภาษาต่างประเทศ
พวกหน่วยงานวิจัยที่อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (กมร) และกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ (กมส) มักออกโฆษณาตามเว็บไซต์ทั้งของทางการและของภาคเอกชนอยู่เรื่อยๆ ว่าต้องการรับสมัครวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ และผู้ชำนาญพิเศษเรื่องความปลอดภัยทางไอที ตัวอย่างเช่น สถาบันวิจัยที่หนึ่ง ของกระทรวง กมส ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 1,200 คนอยู่แล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดรายการระดมรับสมัครงานอย่างใหญ่โต ยิ่งกว่านั้น สำนักงานทางการทูตของจีนในสหรัฐฯและในประเทศอื่นๆ ในระยะหนึ่งปีที่ผ่านมาก็ได้ฉวยประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในโลกตะวันตก ออกระดมรับสมัครคนจีนที่สำเร็จการศึกษาจากพวกภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นเยี่ยมในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของโลกตะวันตก ผู้มีความรู้ความสามารถด้านไอทีเหล่านี้มักได้รับการเสนอเงินเดือนผลตอบแทนในระดับที่สามารถแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศได้ นอกเหนือจากลู่ทางอันสดใสที่จะได้เลื่อนฐานะเลื่อนตำแหน่งต่อไปในอนาคต
ยังมีหลักฐานด้วยว่า หน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงทบวงกรมด้านความมั่นคงสาธารณะและข่าวกรองทหาร กำลังหาพวกแฮกเกอร์มาทำงานด้วย ในฐานะเป็นวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
ปีที่แล้ว ปักกิ่งได้ทบทวนแก้ไขกฏหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งทำให้พฤติการณ์ลักลอบเจาะเข้าระบบไอที กลายเป็นความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุก 7 ปี กระนั้นก็ตาม ตามเว็บไซต์จัดหางานของจีนก็จะพบเห็นโฆษณารับสมัครแฮกเกอร์ผู้ประสบความสำเร็จและ “เชื่อถือได้” กันอยู่บ่อยๆ ยิ่งกว่านั้นภายในประชาคมไอทีของจีน จะมีเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเล่าขานกันเกี่ยวกับ “แฮกเกอร์ผู้รักชาติ” ซึ่งกำลังได้รับการว่าจ้างจากกองทัพหรือหน่วยงานความมั่นคงแห่งรัฐ
จีนอธิบายการเร่งรัดเพิ่มพูนสมรรถนะทางด้านนี้ของตน โดยชี้นิ้วไปที่สหรัฐฯ เป็นต้นว่า หนังสือพิมพ์เจ่ฟ่างจวิ้นเป้า ซึ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์รายวันของกองทัพจีน ได้เสนอรายงานข่าวที่อ้างผู้เชี่ยวชาญหลายต่อหลายคนซึ่งระบุว่า อเมริกันนั้นมีบุคลากรด้านไอทีจำนวนประมาณ 88,000 คน ในจำนวนนี้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงอาจจะมีถึง 5,000 คน กำลังทำงานอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกองบัญชาการที่ดูแลด้านไซเบอร์ ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
เป็นที่เข้าใจกันว่า พวกหน่วยงานทางทหารและทางด้านความมั่นคงแห่งรัฐของจีนนั้น ได้อาศัยแบบจำลองของอเมริกันเป็นบางส่วน ในเวลาที่พวกเขากำลังเพิ่มพูนยกระดับสมรรถนะด้านความมั่นคงและการทำสงครามที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตของประเทศตน
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง Beijing beefs up cyber-warfare capacity โดย Dr. Willy Wo-Lap Lam นักวิจัยอาวุโสแห่งมูลนิธิ Jamestown Foundation)