ASTV ผู้จัดการรายวัน - “บอร์ดการบินไทยอนุมัติแผนลงทุนกว่าแสนล้านบาท จัดหาเครื่องบินใหม่ 15 ลำ ใน 5 ปี แบ่งเป็นซื้อ 7 ลำ วงเงิน 3.1 หมื่นล้าน และเช่าอีก 8 ลำ ระยะเวลา 10-12 ปี วงเงิน 7-8 หมื่นล้านบาท พร้อมปรับกรอบเพิ่มอำนาจฝ่ายบริหารจัดซื้อน้ำมันล่วงหน้าจาก 50% เป็น 20-80 % ตั้ง”ประวิช”นั่งบอร์ดแทน”วัลลภ”ยันคุณสมบัติไม่มีปัญหา
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ ( 8 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบแผนลงทุนเพื่อจัดหาเครื่องบินโดยในช่วง 5 ปีแรก (2553-2557) จำนวน 15 ลำวงเงินลงทุนประมาณ 35,484 ล้านบาท เพื่อทดแทนเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานเกิน 10 ปีซึ่งจะมีการปลดระวางจำนวน 25 ลำเช่น แอร์บัส A 300-600
ทั้งนี้ การจัดหาเครื่องบินใหม่ 15 ลำ แบ่งเป็น การจัดหาเพื่อใช้ในเส้นทางภูมิภาค ขนาดความจุประมาณ 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ วงเงินลงทุนประมาณ 31,259 ล้านบาท ใช้วิธีซื้อ หรือการเช่าทางการเงินหรือซื้อ ( Financial Lease) และการจัดหาเครื่อวบินข้ามทวีป ความจุประมาณ 350 ที่นั่งจำนวน 8 ลำ โดยวิธีการเช่า ดำเนินการ (Operating Lease) ระยะเวลา 10-15 ปี วงเงินรวมประมาณ 70,000 – 80,000 ล้านบาทซึ่งเป็นการจัดหาเพิ่มจากจากที่ก่อนหน้านี้บริษัทได้จัดหาเครื่องบินและมีการส่งมอบแล้วจาก แอร์บัส A 330-300 จำนวน 5 ลำ และ A 380 จำนวน 6 ลำในปี 2555-2556
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบการจัดหาเครื่องยนต์อะไหล่ จำนวน 2 เครื่องยนต์ สำหรับเครื่องบินภูมิภาค ในวงเงินประมาณ 922 ล้านบาท และการจัดหาเครื่องยนต์อะไหล่ 3 เครื่องยนต์ สำหรับเครื่องบินข้ามทวีป วงเงินลงทุนประมาณ 3,303 ล้านบาท
นายอำพน กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ บริษัทมีความจำเป็นต้องมีเครื่องบินใหม่จำนวน 15 ลำ ซึ่งเป็นแผนการจัดหาในช่วง 5 ปี (2553-2557) โดยจะทำให้บริษัทมีฝูงบินรวม 88 ลำ อายุเฉลี่ยใช้งาน 11 ปี และในเฟส 2 (2558-2562 ) จะมีการจัดหาเครื่องบินอีก 32 ลำ ซึ่งจะเป็นเครื่องบินแบบนิวเจนเนอเรชั่น ฝูงบินรวมอยู่ที่ 90 ลำ อายุใช้งานเฉลี่ย 10 ปี และเฟส 3 อีก 5-10ปีต่อไป ฝูงบินรวมจะอยู่ที่ 102 ลำโดยเป็นเรื่องบินแบบนิวเจนเนอเรชั่น 70% อายุใช้งานเฉลี่ย 7-8 ปี โดยจะมีการปลดระวางเครื่องบินเก่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 70 ลำ
“ถ้าไม่มีแผนจัดหาเครื่องบินใหม่และปลดระวางเครื่องเก่า อายุการใช้งานเฉลี่ยจะไปถึง 16 ปี และเพื่อไม่ให้กระทบกับสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่ต้องการให้คงระดับที่ 2 ต่อ 1 จึงแบ่งการจัดหาเครื่องบิน 15 ลำในเฟสแรก เป็นการซื้อ 7 ลำ และเช่า 8 ลำ โดยการจัดซื้อจะใช้เงินจากแผนเพิ่มทุน ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับกระทรวงการคลัง” นายอำพน กล่าว
***เพิ่มอำนาจฝ่ายบริหารซื้อน้ำมันล่วงหน้าประกันความเสี่ยง
นายอำพลกล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุด เพื่อเข้ามาดูแลและรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมัน โดยมีนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นประธาน โดยขยายกรอบอำนาจในการสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้า (heging) จากเดิมไม่เกิน 50% เป็น 20-80 % ของปริมาณการใช้เฉลี่ยต่อเดือนในรอบปีงบประมาณ ซึ่งการปรับกรอบดังกล่าวจะเป็นการลดความผันผวนของราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักกว่า 30% ของต้นทุนดำเนินงานทั้งหมด เพื่อให้ผลประกอบการของบริษัทฯเป็นไปตามเป้าหมาย โดยฝ่ายบริหารจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้า ทั้งแผนธุรกิจ การกำหนดราคาตั๋ว เนื่องจากปัจจุบันการขึ้นลงของราคาน้ำมันไม่ได้ขึ้นกับ Demand และ Supply แต่มีกลไกอื่นๆ ด้วยเช่น ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐหรือยูโร เป็นต้น
***”ตั้ง”ประวิช”นั่งบอร์ดแทน”วัลลภ”
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ มีมติแต่งตั้งให้นายประวิช รัตนเพียร เป็นกรรมการบริษัทฯ แทนนายวัลลภ พุกกะณะสุต ที่ขอลาออกก่อนหน้านี้ ตามที่คณะกรรมกาสรรหา ที่มีนายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ เป็นประธานเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2553 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการสรรหายืนยันคุณสมบัติของนายประวิช ถูกต้องตามข้อกำหนดของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยให้นายประวิชปฎิบัติหน้าที่แทนนายวัลลภ ในคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการประเมินผลการทำงานดีดี
“ยืนยันว่าหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร คือกำกับนโยบาย และกลั่นกรองเรื่องเพื่อนำเสนอบอร์ด ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหารได้และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้าย การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เพราะเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร”นายอำพนกล่าว
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ ( 8 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบแผนลงทุนเพื่อจัดหาเครื่องบินโดยในช่วง 5 ปีแรก (2553-2557) จำนวน 15 ลำวงเงินลงทุนประมาณ 35,484 ล้านบาท เพื่อทดแทนเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานเกิน 10 ปีซึ่งจะมีการปลดระวางจำนวน 25 ลำเช่น แอร์บัส A 300-600
ทั้งนี้ การจัดหาเครื่องบินใหม่ 15 ลำ แบ่งเป็น การจัดหาเพื่อใช้ในเส้นทางภูมิภาค ขนาดความจุประมาณ 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ วงเงินลงทุนประมาณ 31,259 ล้านบาท ใช้วิธีซื้อ หรือการเช่าทางการเงินหรือซื้อ ( Financial Lease) และการจัดหาเครื่อวบินข้ามทวีป ความจุประมาณ 350 ที่นั่งจำนวน 8 ลำ โดยวิธีการเช่า ดำเนินการ (Operating Lease) ระยะเวลา 10-15 ปี วงเงินรวมประมาณ 70,000 – 80,000 ล้านบาทซึ่งเป็นการจัดหาเพิ่มจากจากที่ก่อนหน้านี้บริษัทได้จัดหาเครื่องบินและมีการส่งมอบแล้วจาก แอร์บัส A 330-300 จำนวน 5 ลำ และ A 380 จำนวน 6 ลำในปี 2555-2556
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบการจัดหาเครื่องยนต์อะไหล่ จำนวน 2 เครื่องยนต์ สำหรับเครื่องบินภูมิภาค ในวงเงินประมาณ 922 ล้านบาท และการจัดหาเครื่องยนต์อะไหล่ 3 เครื่องยนต์ สำหรับเครื่องบินข้ามทวีป วงเงินลงทุนประมาณ 3,303 ล้านบาท
นายอำพน กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ บริษัทมีความจำเป็นต้องมีเครื่องบินใหม่จำนวน 15 ลำ ซึ่งเป็นแผนการจัดหาในช่วง 5 ปี (2553-2557) โดยจะทำให้บริษัทมีฝูงบินรวม 88 ลำ อายุเฉลี่ยใช้งาน 11 ปี และในเฟส 2 (2558-2562 ) จะมีการจัดหาเครื่องบินอีก 32 ลำ ซึ่งจะเป็นเครื่องบินแบบนิวเจนเนอเรชั่น ฝูงบินรวมอยู่ที่ 90 ลำ อายุใช้งานเฉลี่ย 10 ปี และเฟส 3 อีก 5-10ปีต่อไป ฝูงบินรวมจะอยู่ที่ 102 ลำโดยเป็นเรื่องบินแบบนิวเจนเนอเรชั่น 70% อายุใช้งานเฉลี่ย 7-8 ปี โดยจะมีการปลดระวางเครื่องบินเก่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 70 ลำ
“ถ้าไม่มีแผนจัดหาเครื่องบินใหม่และปลดระวางเครื่องเก่า อายุการใช้งานเฉลี่ยจะไปถึง 16 ปี และเพื่อไม่ให้กระทบกับสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่ต้องการให้คงระดับที่ 2 ต่อ 1 จึงแบ่งการจัดหาเครื่องบิน 15 ลำในเฟสแรก เป็นการซื้อ 7 ลำ และเช่า 8 ลำ โดยการจัดซื้อจะใช้เงินจากแผนเพิ่มทุน ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับกระทรวงการคลัง” นายอำพน กล่าว
***เพิ่มอำนาจฝ่ายบริหารซื้อน้ำมันล่วงหน้าประกันความเสี่ยง
นายอำพลกล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุด เพื่อเข้ามาดูแลและรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมัน โดยมีนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นประธาน โดยขยายกรอบอำนาจในการสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้า (heging) จากเดิมไม่เกิน 50% เป็น 20-80 % ของปริมาณการใช้เฉลี่ยต่อเดือนในรอบปีงบประมาณ ซึ่งการปรับกรอบดังกล่าวจะเป็นการลดความผันผวนของราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักกว่า 30% ของต้นทุนดำเนินงานทั้งหมด เพื่อให้ผลประกอบการของบริษัทฯเป็นไปตามเป้าหมาย โดยฝ่ายบริหารจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้า ทั้งแผนธุรกิจ การกำหนดราคาตั๋ว เนื่องจากปัจจุบันการขึ้นลงของราคาน้ำมันไม่ได้ขึ้นกับ Demand และ Supply แต่มีกลไกอื่นๆ ด้วยเช่น ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐหรือยูโร เป็นต้น
***”ตั้ง”ประวิช”นั่งบอร์ดแทน”วัลลภ”
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ มีมติแต่งตั้งให้นายประวิช รัตนเพียร เป็นกรรมการบริษัทฯ แทนนายวัลลภ พุกกะณะสุต ที่ขอลาออกก่อนหน้านี้ ตามที่คณะกรรมกาสรรหา ที่มีนายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ เป็นประธานเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2553 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการสรรหายืนยันคุณสมบัติของนายประวิช ถูกต้องตามข้อกำหนดของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยให้นายประวิชปฎิบัติหน้าที่แทนนายวัลลภ ในคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการประเมินผลการทำงานดีดี
“ยืนยันว่าหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร คือกำกับนโยบาย และกลั่นกรองเรื่องเพื่อนำเสนอบอร์ด ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหารได้และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้าย การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เพราะเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร”นายอำพนกล่าว