ASTVผู้จัดการรายวัน-การบินไทยแจง ไม่จำเป็นต้องขอคลังค้ำประกันเงินกู้จ่ายค่าเครื่องบินแอร์บัส A 330-300 ยันเป็นเรื่องเดิมเสนอไปนานแล้วแต่ไม่ได้ถอนเรื่องคืน “อำพน”ยันฐานะการเงินบริษัทฟื้นตัวแล้ว มีเงินสดในมือถึง 7-8 พันล้านบาท สั่งฝ่ายบริหารชี้แจงด่วนเพื่อไม่ให้สับสนหวั่นกระทบความเชื่อมั่น พร้อมกำชับติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันและการหมุนเวียนการใช้เครื่องบิน
ให้ทันการเปลี่ยนแปลง เหตุยุโรปอากาศแปรปรวน ยันผลสอบกระเป๋าน้ำหนักเกิน ต้องมีผู้รับผิดชอบ ด้าน”ปิยสวัสดิ์”ชี้เสนอคลังเป็นแผนสำรอง เผยซื้อฝูงบินใหม่ช้า 2 เดือน
นายอำพน กิติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกำกับหนี้สาธารณะ (สบน.) ไม่อนุมัติตามที่บริษัท การบินไทย เสนอขอให้กระทรวงการคลังกู้เงินให้จำนวน 7,300 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าเครื่องบินแอร์บัส A 330-300
นั้น เป็นความผิดพลาดที่การบินไทยไม่ได้ถอนเรื่องออก ซึ่งกรณีการจัดซื้อเครื่องบิน A330-300 บริษัท ได้ดำเนินการจัดหาเดครดิตไลน์ได้เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้หรือค้ำประกันให้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ ได้ชี้แจงนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เข้าใจแล้ว พร้อมกันนี้ ฝ่ายบริหารบริษัทยังได้ดำเนินการชี้แจงเพื่อไม่ให้เกิดผลประทบต่อนักลงทุน เนื่องจากขณะนี้สภาพคล่องและฐานะการเงินของบริษัทฟื้นกลับมาอยู่ในภาวะที่ดีกว่าช่วงก่อนหน้านี้มาก โดยยืนยันว่าขณะนี้ บริษัทการบินไทยไม่มีปัญหาทางการเงิน โดยปัจจุบันมีกระแสเงินสด (Cash Flow) ประมาณ 7,000-8,000 ล้าน
“เรื่องนี้ต้องบอกว่าฝ่ายบริหารการบินไทยผิดเองที่ไม่ได้ตามเรื่อง จึงต้องออกมาชี้แจงเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและตีความได้ว่า บริษัทยังมีปัญหาทางการเงินอยู่ถึงยังต้องขอให้คลังช่วยค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งการขอให้คลังช่วยค้ำประกันเป็นเรื่องเดิมที่ไม่ได้ถอนเรื่องกลับมา และความจริงการซื้อเครื่องบิน A330 บริษัทดำเนินการไปแล้ว ยืนยันว่าขณะนี้บริษัทไม่มีปัญหาทางการเงินแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับกลยุทธ์ในช่วงปีที่ผ่านมา จนสามารถฝ่าฟันวิกฤติหลายเรื่องได้ ทั้ง ไข้หวัด 2009 , วิกฤติการเงินโลก เป็นต้น จนทำให้ผลประกอบการในปี 2552 มีกำไรแน่นอน จากปีก่อนที่ขาดทุนถึง 20,000 ล้านบาท” นายอำพนกล่าว
นายอำพนกล่าวว่า เรื่องที่บริษัทจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในขณะนี้ คือ ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการด้านการซ่อมบำรุงของฝ่ายช่าง เพื่อให้การหมุนเวียนการใช้เครื่องบินได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น ในเส้นทางยุโรป ที่กำลังประสบปัญหาอากาศหนาวเย็นและมีการแจ้งหยุดบินอย่างกระทันหัน ก็สามารถปรับเปลี่ยนและนำเครื่องบินมาใช้ในเส้นทางที่ไม่มีปัญหาและมีความต้องการเดินทางได้ทัน ซึ่งเป็นเพราะมีการติดตามสถานการณ์ตลอดเวลาเพื่อประเมินผลและสามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยน ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวน้อยมาก
ฟันผู้เกี่ยวข้องกระบวนการขนกระเป๋า40ใบ
นายอำพนกล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ในวันที่ 15 ม.ค. 2552 นี้ จะมีการพิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายวัลลภ พุกกะณะสุต ประธานกรรมการบริหารการบินไทย ขนสัมภาระเกินพิกัดน้ำหนักตามสิทธิของผู้โดยสาร ในเที่ยวบินTG 677 ซึ่งเดินทางจากญี่ปุ่นมายังกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2552 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มีนายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธาน ได้สรุปแล้ว โดยเรื่องที่เกิดขึ้นนี้มีผู้รับผิดชอบแน่นอน รวมถึงกรณีที่ทำให้บริษัทเกิดความเสียหายที่ต้องสูญเสียรายได้ โดยผลตรวจสอบได้มีการชี้มูลเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะให้ฝ่ายบริหารดำเนินการสอบสวนตามระเบียบของบริษัทต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่นายวัลลภ รับผิดต่อเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากทุกตำแหน่งของการบินไทย ถือว่าเป็นการวางมาตรฐานใหม่ให้บริษัท
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มีนายคณิศ เป็นประธานได้สรุปผลตรวจสอบข้เท็จจริงเบื้องต้น พบว่า บริษัทสูญเสียรายได้ประมาณ 200,000 บาท จากน้ำหนักสัมภาระที่เกิน โดยตามสิทธิ์จะมีสัมภาระน้ำหนัก 170 กิโลกรัม แต่พบน้ำหนักจริงถึง 398 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งที่ร่วมเดินทางกับนายวัลลภ และเจ้าหน้าที่ประจำสถานีที่โตเกียว รวมถึง นายเล็ก กลิ่นวิบูลย์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าภาคพื้น ซึ่งเป็นผู้รับรอง, นายพฤทธิ์ บุปผาคำรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการพาณิชย์ ด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ได้ชี้ความผิดออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าที่ประชุมบอร์ด วันที่ 15 ม.ค.2552 จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาอีกชุด
”ปิยสวัสดิ์” เผยซื้อฝูงบินใหม่ช้า 2 เดือน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กล่าวว่า กรณีที่คลัง สั่งให้บริษัทกลับไปทบทวนแผนการที่จะให้กระทรวงการคลังกู้เงินจำนวน 7.3 พันล้านบาท เพื่อซื้อฝูงบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 3 ลำนั้น ไม่น่าจะกระทบต่อแผนการดำเนินงานของบริษัทในปี 2553 แต่จะส่งผลให้แผนการซื้อเครื่องบินแอร์บัสฝูงใหม่ ที่เตรียมการที่จะซื้อในเร็วๆ นี้
เพื่อทดแทนเครื่องบินที่กำลังจะปลดระวางในปี 2553 ล่าช้าออกไปประมาณ 2 เดือน หรือในเดือนมี.ค. 2553 เท่านั้น ซึ่งถือว่า ไม่มีปัญหาต่อระบบการดำเนินงานแต่อย่างใด
“ยืนยันว่า กรณีของกระทรวงการคลังไม่อนุมัติเงินกู้จำนวนดังกล่าว ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะกระทบต่อแผนการดำเนินงาน พร้อมให้เหตุผลว่า ในส่วนของแผนที่เสนอต่อกระทรวงการคลัง เป็นแค่การเตรียมเอาไว้เป็นแผนสำรองเท่านั้น เพราะกลัวว่า หากแผนการหาเงินแผน 1 จะล่าช้า ซึ่งมีผลกระทบแค่ทำให้แผนการซื้อเครื่องบินล่าช้าออกไปเท่านั้น โดยการบินไทย ยังมีศักยภาพในการหาเงินในการซื้อเครื่องบินฝูงใหม่ และมั่นใจว่า บริษัทจะหาแนวทางหาเงินจนได้ตามแผนที่ 1 ได้แน่นอน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเร็วที่สุด เพื่อซื้อเครื่องบินตามแผน”
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า ในปี 2553 มีสัญญาณการฟื้นตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปีก่อน เนื่องจากการมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากคาดว่านักท่องเที่ยวน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงกลางปี 2553 ส่วนปี 2552 คาดการณ์ว่า EBITDA จะเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 2.4 หมื่นล้านบาท โดยดูจากตัวเลขไตรมาส 3 ปี 2552 รวมถึงตัวเลขในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยกำไรสุทธิได้จนกว่าจะแถลงเป็นทางการในเดือนก.พ.2553
ให้ทันการเปลี่ยนแปลง เหตุยุโรปอากาศแปรปรวน ยันผลสอบกระเป๋าน้ำหนักเกิน ต้องมีผู้รับผิดชอบ ด้าน”ปิยสวัสดิ์”ชี้เสนอคลังเป็นแผนสำรอง เผยซื้อฝูงบินใหม่ช้า 2 เดือน
นายอำพน กิติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กรณีที่ประชุมคณะกรรมการกำกับหนี้สาธารณะ (สบน.) ไม่อนุมัติตามที่บริษัท การบินไทย เสนอขอให้กระทรวงการคลังกู้เงินให้จำนวน 7,300 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าเครื่องบินแอร์บัส A 330-300
นั้น เป็นความผิดพลาดที่การบินไทยไม่ได้ถอนเรื่องออก ซึ่งกรณีการจัดซื้อเครื่องบิน A330-300 บริษัท ได้ดำเนินการจัดหาเดครดิตไลน์ได้เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ต้องให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้หรือค้ำประกันให้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ ได้ชี้แจงนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เข้าใจแล้ว พร้อมกันนี้ ฝ่ายบริหารบริษัทยังได้ดำเนินการชี้แจงเพื่อไม่ให้เกิดผลประทบต่อนักลงทุน เนื่องจากขณะนี้สภาพคล่องและฐานะการเงินของบริษัทฟื้นกลับมาอยู่ในภาวะที่ดีกว่าช่วงก่อนหน้านี้มาก โดยยืนยันว่าขณะนี้ บริษัทการบินไทยไม่มีปัญหาทางการเงิน โดยปัจจุบันมีกระแสเงินสด (Cash Flow) ประมาณ 7,000-8,000 ล้าน
“เรื่องนี้ต้องบอกว่าฝ่ายบริหารการบินไทยผิดเองที่ไม่ได้ตามเรื่อง จึงต้องออกมาชี้แจงเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและตีความได้ว่า บริษัทยังมีปัญหาทางการเงินอยู่ถึงยังต้องขอให้คลังช่วยค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งการขอให้คลังช่วยค้ำประกันเป็นเรื่องเดิมที่ไม่ได้ถอนเรื่องกลับมา และความจริงการซื้อเครื่องบิน A330 บริษัทดำเนินการไปแล้ว ยืนยันว่าขณะนี้บริษัทไม่มีปัญหาทางการเงินแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับกลยุทธ์ในช่วงปีที่ผ่านมา จนสามารถฝ่าฟันวิกฤติหลายเรื่องได้ ทั้ง ไข้หวัด 2009 , วิกฤติการเงินโลก เป็นต้น จนทำให้ผลประกอบการในปี 2552 มีกำไรแน่นอน จากปีก่อนที่ขาดทุนถึง 20,000 ล้านบาท” นายอำพนกล่าว
นายอำพนกล่าวว่า เรื่องที่บริษัทจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในขณะนี้ คือ ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการด้านการซ่อมบำรุงของฝ่ายช่าง เพื่อให้การหมุนเวียนการใช้เครื่องบินได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น ในเส้นทางยุโรป ที่กำลังประสบปัญหาอากาศหนาวเย็นและมีการแจ้งหยุดบินอย่างกระทันหัน ก็สามารถปรับเปลี่ยนและนำเครื่องบินมาใช้ในเส้นทางที่ไม่มีปัญหาและมีความต้องการเดินทางได้ทัน ซึ่งเป็นเพราะมีการติดตามสถานการณ์ตลอดเวลาเพื่อประเมินผลและสามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยน ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวน้อยมาก
ฟันผู้เกี่ยวข้องกระบวนการขนกระเป๋า40ใบ
นายอำพนกล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ในวันที่ 15 ม.ค. 2552 นี้ จะมีการพิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายวัลลภ พุกกะณะสุต ประธานกรรมการบริหารการบินไทย ขนสัมภาระเกินพิกัดน้ำหนักตามสิทธิของผู้โดยสาร ในเที่ยวบินTG 677 ซึ่งเดินทางจากญี่ปุ่นมายังกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2552 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มีนายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธาน ได้สรุปแล้ว โดยเรื่องที่เกิดขึ้นนี้มีผู้รับผิดชอบแน่นอน รวมถึงกรณีที่ทำให้บริษัทเกิดความเสียหายที่ต้องสูญเสียรายได้ โดยผลตรวจสอบได้มีการชี้มูลเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะให้ฝ่ายบริหารดำเนินการสอบสวนตามระเบียบของบริษัทต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่นายวัลลภ รับผิดต่อเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากทุกตำแหน่งของการบินไทย ถือว่าเป็นการวางมาตรฐานใหม่ให้บริษัท
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มีนายคณิศ เป็นประธานได้สรุปผลตรวจสอบข้เท็จจริงเบื้องต้น พบว่า บริษัทสูญเสียรายได้ประมาณ 200,000 บาท จากน้ำหนักสัมภาระที่เกิน โดยตามสิทธิ์จะมีสัมภาระน้ำหนัก 170 กิโลกรัม แต่พบน้ำหนักจริงถึง 398 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งที่ร่วมเดินทางกับนายวัลลภ และเจ้าหน้าที่ประจำสถานีที่โตเกียว รวมถึง นายเล็ก กลิ่นวิบูลย์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าภาคพื้น ซึ่งเป็นผู้รับรอง, นายพฤทธิ์ บุปผาคำรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการพาณิชย์ ด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ได้ชี้ความผิดออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าที่ประชุมบอร์ด วันที่ 15 ม.ค.2552 จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาอีกชุด
”ปิยสวัสดิ์” เผยซื้อฝูงบินใหม่ช้า 2 เดือน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กล่าวว่า กรณีที่คลัง สั่งให้บริษัทกลับไปทบทวนแผนการที่จะให้กระทรวงการคลังกู้เงินจำนวน 7.3 พันล้านบาท เพื่อซื้อฝูงบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 3 ลำนั้น ไม่น่าจะกระทบต่อแผนการดำเนินงานของบริษัทในปี 2553 แต่จะส่งผลให้แผนการซื้อเครื่องบินแอร์บัสฝูงใหม่ ที่เตรียมการที่จะซื้อในเร็วๆ นี้
เพื่อทดแทนเครื่องบินที่กำลังจะปลดระวางในปี 2553 ล่าช้าออกไปประมาณ 2 เดือน หรือในเดือนมี.ค. 2553 เท่านั้น ซึ่งถือว่า ไม่มีปัญหาต่อระบบการดำเนินงานแต่อย่างใด
“ยืนยันว่า กรณีของกระทรวงการคลังไม่อนุมัติเงินกู้จำนวนดังกล่าว ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะกระทบต่อแผนการดำเนินงาน พร้อมให้เหตุผลว่า ในส่วนของแผนที่เสนอต่อกระทรวงการคลัง เป็นแค่การเตรียมเอาไว้เป็นแผนสำรองเท่านั้น เพราะกลัวว่า หากแผนการหาเงินแผน 1 จะล่าช้า ซึ่งมีผลกระทบแค่ทำให้แผนการซื้อเครื่องบินล่าช้าออกไปเท่านั้น โดยการบินไทย ยังมีศักยภาพในการหาเงินในการซื้อเครื่องบินฝูงใหม่ และมั่นใจว่า บริษัทจะหาแนวทางหาเงินจนได้ตามแผนที่ 1 ได้แน่นอน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเร็วที่สุด เพื่อซื้อเครื่องบินตามแผน”
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า ในปี 2553 มีสัญญาณการฟื้นตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปีก่อน เนื่องจากการมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากคาดว่านักท่องเที่ยวน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงกลางปี 2553 ส่วนปี 2552 คาดการณ์ว่า EBITDA จะเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 2.4 หมื่นล้านบาท โดยดูจากตัวเลขไตรมาส 3 ปี 2552 รวมถึงตัวเลขในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยกำไรสุทธิได้จนกว่าจะแถลงเป็นทางการในเดือนก.พ.2553