ก็น่าหรอกที่นายเสนาะ เทียนทอง นักการเมืองรุ่นเก๋าจะเก็บอาการไม่อยู่ โกรธเป็นฟืนเป็นไฟต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.โกรธพรรคประชาธิปัตย์ชนิดชาตินี้ไม่ต้องเผาผีกัน
เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพิ่งจะมีมติว่านายเสนาะ เทียนทอง ผิด กรณีที่ซื้อที่ดินธรณีสงฆ์เอามาทำสนามกอล์ฟอัลไพน์ ในที่สุดก็ขายให้ ทักษิณ ชินวัตร และเพราะเชื่อว่านี่เป็นฝีมือของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ตั้งอกตั้งใจที่จะเล่นงานนายเสนาะ เทียนทอง โดยเฉพาะ นับตั้งแต่ปี 2545 ที่มีการนำเรื่องนี้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กระทบกระแทกแดกดันนายเสนาะ เทียนทอง ไม่ได้หยุดหย่อน จนกระทั่งจากการเป็นฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ได้มาเป็นรัฐบาล นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หยิบเรื่องนี้มาพูด รวมทั้งเร่งสั่งการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติตามตัวบทกฎหมายในเรื่องนี้
เท่านั้นยังไม่พอ นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยังยื่นเรื่องการซื้อขายที่ธรณีสงฆ์นี้ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาเอาผิดนายเสนาะ เทียนทอง เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีก 6 คน อันได้แก่
1. นายจรูญ ดวงจิโน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี
2. นายบุญธรรม กลับน่วม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานที่ดินปทุมธานี สาขาธัญบุรี
3. นายอุดม วัฒนะคีรี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองธิบดีกรมที่ดิน
4. นายอารีย์ วงศ์อารยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย)
5. นายประวิทย์ สีห์โสภณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรมที่ดิน
6. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย)
คณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบให้นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน เมื่อไต่สวนเสร็จก็ส่งผลการไต่สวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 20 และ 1446 อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี รวมเนื้อที่ 924-2 78 ไร่ ให้แก่วัดธรรมมิการามวรวิหาร โดยพินัยกรรมได้แต่งตั้งให้เจ้าอาวาสวัดธรรมมิการามวรวิหาร หรือผู้แทน และผู้จัดการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ เป็นผู้จัดการมรดก
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2514 นางเนื่อมได้ถึงแก่กรรม และในปี 2515 มีการจดทะเบียนใส่ชื่อผู้จัดการมรดก แต่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่วัดธรรมมิการามวรวิหาร
ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ประกอบมาตรา 1603 และตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2) ถือว่าที่ดินแปลงนี้ตกเป็นธรณีสงฆ์แล้ว
การโอนที่ธรณีสงฆ์จะต้องตราเป็น พ.ร.บ.เท่านั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 34 แห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา)
ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2531 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2534 นายเสนาะ เทียนทอง ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กำกับดูแลกรมที่ดิน มีอำนาจในการอนุญาตการได้มาซึ่งที่ดินของวัดวาอารามฯ
นายเสนาะได้รับหนังสือจากวัดธรรมมิการามวรวิหารลงวันที่ 19 กันยายน 2531 เพื่อขอให้พิจารณาการได้มาซึ่งพินัยกรรมของนางเนื่อม โดยวัดไม่มีความประสงค์รับโอนที่ดิน แต่ต้องการขายที่ดินนำเงินมาจัดตั้งมูลนิธิเพื่อนำเงินมาบำรุงวัด
นายจรูญ ดวงจิโน เจ้าพนักงานที่ดินปทุมธานี เร่งรัดการสอบสวนเสนอความเห็นไปยังนายเสนาะ ตามคำขอของนายวิเชียร รัตนะพีระพงศ์ เลขานุการกรมที่ดิน เสนอความเห็นว่า เห็นควรไม่อนุญาตให้วัดธรรมมิการามวรวิหารได้มาซึ่งที่ดิน นายเสนาะ สั่งการไม่ให้วัดธรรมมิการามวรวิหารได้มาซึ่งที่ดินทั้งสองแปลง และให้เจ้าอาวาสปฏิบัติตามข้อ 4 ของพินัยกรรม คือให้มอบอสังหาริมทรัพย์และเงิน (ถ้ามี) ให้แก่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยช่วยจัดทำผลประโยชน์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533
วันรุ่งขึ้น 13 กุมภาพันธ์ 2533 เลขาของนายเสนาะ มีหนังสือถึงนายแพทย์วิรัช มรรคดวงแก้ว ผู้จัดการมรดกนางเนื่อมถึงวัดธรรมมิการามวรวิหาร และถึงมหามกุฏราชวิทยาลัยขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งนายเสนาะ
และต่อมาวันที่ 21 สิงหาคม ได้มีการดำเนินการให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำการโอนที่ดินมรดกของนางเนื่อมที่มอบให้วัดให้บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัท อัลไพน์ แอนด์ กอล์ฟ สปอร์ตคลับ จำกัด ในราคา 142 ล้านบาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าการสั่งการของนายเสนาะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 และมาตรา 157 แต่เนื่องจากความผิดตามมาตรา 157 หมดอายุความไปแล้ว จึงมีมติส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนิการส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะความผิดตามมาตรา 148
จะไม่ให้นายเสนาะโกรธเป็นฟืนไปไฟอย่างไรเล่าครับ ในเมื่อในใจของนายเสนาะมีแต่ความเชื่อว่าที่สั่งการไม่ให้วัดธรรมมิการามวรวิหารได้มาซึ่งที่ดินที่นางเนื่อมยกให้นั้น เป็นไปด้วยความปรารถนาดีต่อวัด อยากให้วัดได้เงิน 142 ล้านบาทจากบริษัทอัลไพน์ไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ที่ดินที่นางเนื่อมยกให้นั้นเกิน 50 ไร่ เกินกำลังของวัดที่จะรับเอาไว้ได้ วัดไม่มีเงินจ่ายค่าโอน ฯลฯ
ฟังเหตุผลของนายเสนาะ เทียนทอง แล้วก็ต้องชื่นชม ท่านช่างเป็นพุทธศาสนิกชนผู้ล้ำเลิศอะไรเช่นนี้
แต่จะชื่มชมลงคอหรือ เมื่อความจริงปรากฏว่า บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท, บริษัท อัลไพน์กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ นั้นเป็นของนายเสนาะ เทียนทอง ก่อนที่จะมาขายให้ทักษิณ ชินวัตร
จะชื่มชมลงคอหรือ เมื่อความจริงปรากฏว่าวันที่ซื้อที่ดินดังกล่าว 142 ล้านบาทนั้น บริษัทอัลไพน์เอาที่ดินไปจำนองกับธนาคารได้มากกว่า 142 ล้านบาท
เรียกว่าการค้าครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องควักทุนเลยสักบาท
เรื่องนี้ไม่มีประเด็นทางการเมือง เพราะถ้าถึงที่สุดแล้วนายเสนาะ เทียนทอง ไม่ขายที่ ไม่ขายสนามกอล์ฟอัลไพน์ให้ทักษิณ ชินวัตร แต่เอาไปขายให้นาย ก. นาย ข. ผู้คนในสังคมนี้เขาก็ดูออก อ่านออกว่า นายเสนาะใช้ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยแสวงหาประโยชน์ให้ตัวเอง
น่าเกลียด น่าอาย และที่สำคัญทำกันอย่างหน้าด้านๆ
เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพิ่งจะมีมติว่านายเสนาะ เทียนทอง ผิด กรณีที่ซื้อที่ดินธรณีสงฆ์เอามาทำสนามกอล์ฟอัลไพน์ ในที่สุดก็ขายให้ ทักษิณ ชินวัตร และเพราะเชื่อว่านี่เป็นฝีมือของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ตั้งอกตั้งใจที่จะเล่นงานนายเสนาะ เทียนทอง โดยเฉพาะ นับตั้งแต่ปี 2545 ที่มีการนำเรื่องนี้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กระทบกระแทกแดกดันนายเสนาะ เทียนทอง ไม่ได้หยุดหย่อน จนกระทั่งจากการเป็นฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ได้มาเป็นรัฐบาล นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หยิบเรื่องนี้มาพูด รวมทั้งเร่งสั่งการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติตามตัวบทกฎหมายในเรื่องนี้
เท่านั้นยังไม่พอ นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยังยื่นเรื่องการซื้อขายที่ธรณีสงฆ์นี้ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาเอาผิดนายเสนาะ เทียนทอง เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีก 6 คน อันได้แก่
1. นายจรูญ ดวงจิโน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี
2. นายบุญธรรม กลับน่วม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานที่ดินปทุมธานี สาขาธัญบุรี
3. นายอุดม วัฒนะคีรี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองธิบดีกรมที่ดิน
4. นายอารีย์ วงศ์อารยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย)
5. นายประวิทย์ สีห์โสภณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรมที่ดิน
6. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย)
คณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบให้นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน เมื่อไต่สวนเสร็จก็ส่งผลการไต่สวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.
คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 20 และ 1446 อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี รวมเนื้อที่ 924-2 78 ไร่ ให้แก่วัดธรรมมิการามวรวิหาร โดยพินัยกรรมได้แต่งตั้งให้เจ้าอาวาสวัดธรรมมิการามวรวิหาร หรือผู้แทน และผู้จัดการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ เป็นผู้จัดการมรดก
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2514 นางเนื่อมได้ถึงแก่กรรม และในปี 2515 มีการจดทะเบียนใส่ชื่อผู้จัดการมรดก แต่ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่วัดธรรมมิการามวรวิหาร
ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ประกอบมาตรา 1603 และตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2) ถือว่าที่ดินแปลงนี้ตกเป็นธรณีสงฆ์แล้ว
การโอนที่ธรณีสงฆ์จะต้องตราเป็น พ.ร.บ.เท่านั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 34 แห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา)
ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2531 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2534 นายเสนาะ เทียนทอง ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กำกับดูแลกรมที่ดิน มีอำนาจในการอนุญาตการได้มาซึ่งที่ดินของวัดวาอารามฯ
นายเสนาะได้รับหนังสือจากวัดธรรมมิการามวรวิหารลงวันที่ 19 กันยายน 2531 เพื่อขอให้พิจารณาการได้มาซึ่งพินัยกรรมของนางเนื่อม โดยวัดไม่มีความประสงค์รับโอนที่ดิน แต่ต้องการขายที่ดินนำเงินมาจัดตั้งมูลนิธิเพื่อนำเงินมาบำรุงวัด
นายจรูญ ดวงจิโน เจ้าพนักงานที่ดินปทุมธานี เร่งรัดการสอบสวนเสนอความเห็นไปยังนายเสนาะ ตามคำขอของนายวิเชียร รัตนะพีระพงศ์ เลขานุการกรมที่ดิน เสนอความเห็นว่า เห็นควรไม่อนุญาตให้วัดธรรมมิการามวรวิหารได้มาซึ่งที่ดิน นายเสนาะ สั่งการไม่ให้วัดธรรมมิการามวรวิหารได้มาซึ่งที่ดินทั้งสองแปลง และให้เจ้าอาวาสปฏิบัติตามข้อ 4 ของพินัยกรรม คือให้มอบอสังหาริมทรัพย์และเงิน (ถ้ามี) ให้แก่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยช่วยจัดทำผลประโยชน์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533
วันรุ่งขึ้น 13 กุมภาพันธ์ 2533 เลขาของนายเสนาะ มีหนังสือถึงนายแพทย์วิรัช มรรคดวงแก้ว ผู้จัดการมรดกนางเนื่อมถึงวัดธรรมมิการามวรวิหาร และถึงมหามกุฏราชวิทยาลัยขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งนายเสนาะ
และต่อมาวันที่ 21 สิงหาคม ได้มีการดำเนินการให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ทำการโอนที่ดินมรดกของนางเนื่อมที่มอบให้วัดให้บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัท อัลไพน์ แอนด์ กอล์ฟ สปอร์ตคลับ จำกัด ในราคา 142 ล้านบาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าการสั่งการของนายเสนาะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 และมาตรา 157 แต่เนื่องจากความผิดตามมาตรา 157 หมดอายุความไปแล้ว จึงมีมติส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนิการส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะความผิดตามมาตรา 148
จะไม่ให้นายเสนาะโกรธเป็นฟืนไปไฟอย่างไรเล่าครับ ในเมื่อในใจของนายเสนาะมีแต่ความเชื่อว่าที่สั่งการไม่ให้วัดธรรมมิการามวรวิหารได้มาซึ่งที่ดินที่นางเนื่อมยกให้นั้น เป็นไปด้วยความปรารถนาดีต่อวัด อยากให้วัดได้เงิน 142 ล้านบาทจากบริษัทอัลไพน์ไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ที่ดินที่นางเนื่อมยกให้นั้นเกิน 50 ไร่ เกินกำลังของวัดที่จะรับเอาไว้ได้ วัดไม่มีเงินจ่ายค่าโอน ฯลฯ
ฟังเหตุผลของนายเสนาะ เทียนทอง แล้วก็ต้องชื่นชม ท่านช่างเป็นพุทธศาสนิกชนผู้ล้ำเลิศอะไรเช่นนี้
แต่จะชื่มชมลงคอหรือ เมื่อความจริงปรากฏว่า บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท, บริษัท อัลไพน์กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ นั้นเป็นของนายเสนาะ เทียนทอง ก่อนที่จะมาขายให้ทักษิณ ชินวัตร
จะชื่มชมลงคอหรือ เมื่อความจริงปรากฏว่าวันที่ซื้อที่ดินดังกล่าว 142 ล้านบาทนั้น บริษัทอัลไพน์เอาที่ดินไปจำนองกับธนาคารได้มากกว่า 142 ล้านบาท
เรียกว่าการค้าครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องควักทุนเลยสักบาท
เรื่องนี้ไม่มีประเด็นทางการเมือง เพราะถ้าถึงที่สุดแล้วนายเสนาะ เทียนทอง ไม่ขายที่ ไม่ขายสนามกอล์ฟอัลไพน์ให้ทักษิณ ชินวัตร แต่เอาไปขายให้นาย ก. นาย ข. ผู้คนในสังคมนี้เขาก็ดูออก อ่านออกว่า นายเสนาะใช้ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยแสวงหาประโยชน์ให้ตัวเอง
น่าเกลียด น่าอาย และที่สำคัญทำกันอย่างหน้าด้านๆ