ASTVผู้จัดการรายวัน - อินโดรามา ฯ เทรดวันแรกวันนี้ประเมินราคายาก โบรกเชียร์ " ซื้อ " เชื่อปัจจัยพื้นฐานแกร่ง ให้ราคาสูงกว่าจอง "ไซรัส" ให้ราคาเหมาะสม 13-16 บาท ด้าน ยูโอบีฯ ให้ราคาเหมาะสมปีนี้ 11 บาท เหตุการแลกหุ้นกับ IRP ทำให้ธุรกิจครบวงจรดันกำไรปีนี้ขยับเพิ่ม 16% ขณะการเพิ่มทุนส่งผลกำไรสุทธิลด
วันนี้ (5 ก.พ.) หุ้นของ บริษัท อินโดรามาเวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก โดยบริษัทได้เสนอขายหุ้น IVL ครั้งนี้ทั้งสิ้น 1,000 ล้านหุ้น ในราคา 10.20 บาทต่อหุ้น ซึ่ง IVL คาดว่าจะระดมทุนได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยมาจากส่วนของการขายหุ้นประชาชนครั้งแรก ( IPO ) จำนวน 400 ล้านหุ้น
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด เปิดเผยว่าการเข้าเทรดของหุ้น IVL วันแรกประเมินยากว่าราคาจะไปได้ที่เท่าใด แต่ และนักวิเคราะห์หลายแห่งได้กำหนดช่วงราคาระหว่าง 12-18 บาท ถือเป็นช่วงราคาที่ห่างมากและถือว่าผันผวน แต่ต้องยอมรับว่าหุ้นบริษัทนี้เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีตัวหนึ่ง และขนาดใหญ่ของบริษัทใหญ่มาก เปรียบเทียบมาร์เก็ตแคปใหญ่หรือมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท ใหญ่กว่า IRP หรือ บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) ถึง 3 เท่า ทำให้หลังจากเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะนำเข้าคำนวณใน SET 100 ด้วย
" ก็คงเป็นที่สนใจของนักลงทุนไม่น้อย และยังจะถูกดึงเข้าไปเทรดใน SET 50 ด้วย แต่ต้องรอตลาดหลักทรัพย์ประกาศออกมาก่อน ขณะนี้เรายังไม่ได้ประเมินอะไรมากเพราะภาวะตลาดยังยังผันผวน ก็ประเมินยากแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานแกร่ง เบื้องต้นขณะนี้เราให้ช่วงราคาเหมาะสมที่ 13-16 บาท "
นายศักดิ์นรินทร์ ศศานนท์ นักกวิเคราะห์กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การปรับโครงสร้างการถือหุ้นของ IVL หลังซื้อธุรกิจของ IRP โดย IVL ได้เปิดทำคำเสนอซื้อหุ้น IRP คืน ด้วยการแลกกับหุ้น IVL ซึ่งจะทำให้ IVL ทำธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจรและส่งผลดีต่อกำไรสุทธิปีนี้ที่จะเพิ่มขึ้นจากปี 52 ถึง 16% แต่ผลจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จะทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงเหลือ 1.10 บาทต่อหุ้น
" แต่เชื่อว่า IVL ยังมีโอกาสจากการซื้อกิจการหรือสร้างโรงงานใหม่ในต่างประเทศ รวมทั้งแผนซื้อโรงไฟฟ้ายุโรปเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของบริษัท เราจึงประเมินมูลค่าเหมาะสม IVL ในปีนี้เท่ากับ 11 บาท "
อย่างไรก็ดี ยูโอบีฯ ยังมองถึงความเสี่ยงของหุ้น IVL ว่าหลังมีการรวมสายการผลิตทั้งหมด โดยมีธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้าที่เป็นพลาสติกโพลีเมอร์ ที่จะสนับสนุนการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินจนต้องส่งออกขายต่างประเทศสัดส่วน 55% ของกำลังการผลิตรวม แต่เจอแรงกดดันราคาตลาดโลกผันผวน อย่างไรก็ตาม IVL มี IRP เป็นบริษัทลูก ซึ่งประเมินว่าปีนี้จะมีรายได้ 57,357 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% กำไรสุทธิ 6,707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากการที่ IRP จะเปิดดำเนินการโรงงานอัลฟ่าเพ็ท ขนาด 4.32 แสนตันต่อปีในไตรมาส 3 นี้ ทำให้กำลังการผลิตของทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 45% ซึ่งจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการ IVL
อนึ่ง การขายหุ้นดังกล่าวเกิดจากหลังการปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่าง บมจ. อินโดรามา โพลีเมอร์ส หรือ IRP และ IVL ซึ่งตลาดหลักทรัพยฯ จะรับ IVL เข้าจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป และนำ IVL เข้ารวมในการคำนวณดัชนี SET 100 ตั้งแต่สิ้นวันที่เข้าซื้อขายเป็นวันแรก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี ขณะที่ IRP ซึ่งจะพ้นสภาพจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 53 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงนำ IRP ออกจากการเป็นหลักทรัพย์รวมคำนวณดัชนี SET100 ตั้งแต่สิ้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 53 เป็นต้นไปเช่นกัน
โดยการขายหุ้นครั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะได้รับเงินสดประมาณ 4,000 ล้านบาท และส่วนของการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูออปชั่น) 60 ล้านหุ้น และอีก 600 ล้านหุ้นที่รองรับการสวอปหุ้น IRP ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้เพื่อใช้โครงการขยายธุรกิจในอนาคตและชำระหนี้ระยะสั้น ทั้งนี้ IVL ตั้งเป้ารายได้เติบโต 20% จากปี 52 ล่าสุดผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 52 ของบริษัท มีรายได้รวม 5.9 หมื่นล้านบาท ซึ่ง การขายหุ้นครั้งนี้ มีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น และผู้ร่วมรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น 7 ราย และมอบหมายให้แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอริลลินช์ และมอร์แกน สแตนลีย์ เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นสำหรับนักลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการทำ IPO ครั้งแรกของตลาดทุนไทยในปี 53 และคาดว่าจะเป็น IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในรอบหลายปีในตลาดทุนไทยด้วย
วันนี้ (5 ก.พ.) หุ้นของ บริษัท อินโดรามาเวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก โดยบริษัทได้เสนอขายหุ้น IVL ครั้งนี้ทั้งสิ้น 1,000 ล้านหุ้น ในราคา 10.20 บาทต่อหุ้น ซึ่ง IVL คาดว่าจะระดมทุนได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยมาจากส่วนของการขายหุ้นประชาชนครั้งแรก ( IPO ) จำนวน 400 ล้านหุ้น
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด เปิดเผยว่าการเข้าเทรดของหุ้น IVL วันแรกประเมินยากว่าราคาจะไปได้ที่เท่าใด แต่ และนักวิเคราะห์หลายแห่งได้กำหนดช่วงราคาระหว่าง 12-18 บาท ถือเป็นช่วงราคาที่ห่างมากและถือว่าผันผวน แต่ต้องยอมรับว่าหุ้นบริษัทนี้เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีตัวหนึ่ง และขนาดใหญ่ของบริษัทใหญ่มาก เปรียบเทียบมาร์เก็ตแคปใหญ่หรือมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท ใหญ่กว่า IRP หรือ บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) ถึง 3 เท่า ทำให้หลังจากเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะนำเข้าคำนวณใน SET 100 ด้วย
" ก็คงเป็นที่สนใจของนักลงทุนไม่น้อย และยังจะถูกดึงเข้าไปเทรดใน SET 50 ด้วย แต่ต้องรอตลาดหลักทรัพย์ประกาศออกมาก่อน ขณะนี้เรายังไม่ได้ประเมินอะไรมากเพราะภาวะตลาดยังยังผันผวน ก็ประเมินยากแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานแกร่ง เบื้องต้นขณะนี้เราให้ช่วงราคาเหมาะสมที่ 13-16 บาท "
นายศักดิ์นรินทร์ ศศานนท์ นักกวิเคราะห์กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การปรับโครงสร้างการถือหุ้นของ IVL หลังซื้อธุรกิจของ IRP โดย IVL ได้เปิดทำคำเสนอซื้อหุ้น IRP คืน ด้วยการแลกกับหุ้น IVL ซึ่งจะทำให้ IVL ทำธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจรและส่งผลดีต่อกำไรสุทธิปีนี้ที่จะเพิ่มขึ้นจากปี 52 ถึง 16% แต่ผลจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จะทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงเหลือ 1.10 บาทต่อหุ้น
" แต่เชื่อว่า IVL ยังมีโอกาสจากการซื้อกิจการหรือสร้างโรงงานใหม่ในต่างประเทศ รวมทั้งแผนซื้อโรงไฟฟ้ายุโรปเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของบริษัท เราจึงประเมินมูลค่าเหมาะสม IVL ในปีนี้เท่ากับ 11 บาท "
อย่างไรก็ดี ยูโอบีฯ ยังมองถึงความเสี่ยงของหุ้น IVL ว่าหลังมีการรวมสายการผลิตทั้งหมด โดยมีธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้าที่เป็นพลาสติกโพลีเมอร์ ที่จะสนับสนุนการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินจนต้องส่งออกขายต่างประเทศสัดส่วน 55% ของกำลังการผลิตรวม แต่เจอแรงกดดันราคาตลาดโลกผันผวน อย่างไรก็ตาม IVL มี IRP เป็นบริษัทลูก ซึ่งประเมินว่าปีนี้จะมีรายได้ 57,357 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% กำไรสุทธิ 6,707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากการที่ IRP จะเปิดดำเนินการโรงงานอัลฟ่าเพ็ท ขนาด 4.32 แสนตันต่อปีในไตรมาส 3 นี้ ทำให้กำลังการผลิตของทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 45% ซึ่งจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการ IVL
อนึ่ง การขายหุ้นดังกล่าวเกิดจากหลังการปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่าง บมจ. อินโดรามา โพลีเมอร์ส หรือ IRP และ IVL ซึ่งตลาดหลักทรัพยฯ จะรับ IVL เข้าจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป และนำ IVL เข้ารวมในการคำนวณดัชนี SET 100 ตั้งแต่สิ้นวันที่เข้าซื้อขายเป็นวันแรก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี ขณะที่ IRP ซึ่งจะพ้นสภาพจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 53 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงนำ IRP ออกจากการเป็นหลักทรัพย์รวมคำนวณดัชนี SET100 ตั้งแต่สิ้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 53 เป็นต้นไปเช่นกัน
โดยการขายหุ้นครั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะได้รับเงินสดประมาณ 4,000 ล้านบาท และส่วนของการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูออปชั่น) 60 ล้านหุ้น และอีก 600 ล้านหุ้นที่รองรับการสวอปหุ้น IRP ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้เพื่อใช้โครงการขยายธุรกิจในอนาคตและชำระหนี้ระยะสั้น ทั้งนี้ IVL ตั้งเป้ารายได้เติบโต 20% จากปี 52 ล่าสุดผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 52 ของบริษัท มีรายได้รวม 5.9 หมื่นล้านบาท ซึ่ง การขายหุ้นครั้งนี้ มีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น และผู้ร่วมรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น 7 ราย และมอบหมายให้แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอริลลินช์ และมอร์แกน สแตนลีย์ เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นสำหรับนักลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการทำ IPO ครั้งแรกของตลาดทุนไทยในปี 53 และคาดว่าจะเป็น IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในรอบหลายปีในตลาดทุนไทยด้วย