วันนี้ (5 ก.พ.) หุ้นของ บริษัท อินโดรามาเวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก โดยบริษัทได้เสนอขายหุ้น IVL ครั้งนี้ทั้งสิ้น 1,000 ล้านหุ้น ในราคา 10.20 บาทต่อหุ้น ซึ่ง IVL คาดว่าจะระดมทุนได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยมาจากส่วนของการขายหุ้นประชาชนครั้งแรก ( IPO ) จำนวน 400 ล้านหุ้น
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด เปิดเผยว่าการเข้าเทรดของหุ้น IVL วันแรกประเมินยากว่าราคาจะไปได้ที่เท่าใด แต่ และนักวิเคราะห์หลายแห่งได้กำหนดช่วงราคาระหว่าง 12-18 บาท ถือเป็นช่วงราคาที่ห่างมากและถือว่าผันผวน แต่ต้องยอมรับว่าหุ้นบริษัทนี้เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีตัวหนึ่ง และขนาดใหญ่ของบริษัทใหญ่มาก เปรียบเทียบมาร์เก็ตแคปใหญ่หรือมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท ใหญ่กว่า IRP หรือ บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) ถึง 3 เท่า ทำให้หลังจากเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะนำเข้าคำนวณใน SET 100 ด้วย
" ก็คงเป็นที่สนใจของนักลงทุนไม่น้อย และยังจะถูกดึงเข้าไปเทรดใน SET 50 ด้วย แต่ต้องรอตลาดหลักทรัพย์ประกาศออกมาก่อน ขณะนี้เรายังไม่ได้ประเมินอะไรมากเพราะภาวะตลาดยังยังผันผวน ก็ประเมินยากแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานแกร่ง เบื้องต้นขณะนี้เราให้ช่วงราคาเหมาะสมที่ 13-16 บาท "
นายศักดิ์นรินทร์ ศศานนท์ นักกวิเคราะห์กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การปรับโครงสร้างการถือหุ้นของ IVL หลังซื้อธุรกิจของ IRP โดย IVL ได้เปิดทำคำเสนอซื้อหุ้น IRP คืน ด้วยการแลกกับหุ้น IVL ซึ่งจะทำให้ IVL ทำธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจรและส่งผลดีต่อกำไรสุทธิปีนี้ที่จะเพิ่มขึ้นจากปี 52 ถึง 16% แต่ผลจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จะทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงเหลือ 1.10 บาทต่อหุ้น
" แต่เชื่อว่า IVL ยังมีโอกาสจากการซื้อกิจการหรือสร้างโรงงานใหม่ในต่างประเทศ รวมทั้งแผนซื้อโรงไฟฟ้ายุโรปเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของบริษัท เราจึงประเมินมูลค่าเหมาะสม IVL ในปีนี้เท่ากับ 11 บาท "
อย่างไรก็ดี ยูโอบีฯ ยังมองถึงความเสี่ยงของหุ้น IVL ว่าหลังมีการรวมสายการผลิตทั้งหมด โดยมีธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้าที่เป็นพลาสติกโพลีเมอร์ ที่จะสนับสนุนการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินจนต้องส่งออกขายต่างประเทศสัดส่วน 55% ของกำลังการผลิตรวม แต่เจอแรงกดดันราคาตลาดโลกผันผวน อย่างไรก็ตาม IVL มี IRP เป็นบริษัทลูก ซึ่งประเมินว่าปีนี้จะมีรายได้ 57,357 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% กำไรสุทธิ 6,707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากการที่ IRP จะเปิดดำเนินการโรงงานอัลฟ่าเพ็ท ขนาด 4.32 แสนตันต่อปีในไตรมาส 3 นี้ ทำให้กำลังการผลิตของทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 45% ซึ่งจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการ IVL
อนึ่ง การขายหุ้นดังกล่าวเกิดจากหลังการปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่าง บมจ. อินโดรามา โพลีเมอร์ส หรือ IRP และ IVL ซึ่งตลาดหลักทรัพยฯ จะรับ IVL เข้าจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป และนำ IVL เข้ารวมในการคำนวณดัชนี SET 100 ตั้งแต่สิ้นวันที่เข้าซื้อขายเป็นวันแรก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี ขณะที่ IRP ซึ่งจะพ้นสภาพจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 53 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงนำ IRP ออกจากการเป็นหลักทรัพย์รวมคำนวณดัชนี SET100 ตั้งแต่สิ้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 53 เป็นต้นไปเช่นกัน
โดยการขายหุ้นครั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะได้รับเงินสดประมาณ 4,000 ล้านบาท และส่วนของการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูออปชั่น) 60 ล้านหุ้น และอีก 600 ล้านหุ้นที่รองรับการสวอปหุ้น IRP ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้เพื่อใช้โครงการขยายธุรกิจในอนาคตและชำระหนี้ระยะสั้น ทั้งนี้ IVL ตั้งเป้ารายได้เติบโต 20% จากปี 52 ล่าสุดผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 52 ของบริษัท มีรายได้รวม 5.9 หมื่นล้านบาท ซึ่ง การขายหุ้นครั้งนี้ มีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น และผู้ร่วมรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น 7 ราย และมอบหมายให้แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอริลลินช์ และมอร์แกน สแตนลีย์ เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นสำหรับนักลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการทำ IPO ครั้งแรกของตลาดทุนไทยในปี 53 และคาดว่าจะเป็น IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในรอบหลายปีในตลาดทุนไทยด้วย
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด เปิดเผยว่าการเข้าเทรดของหุ้น IVL วันแรกประเมินยากว่าราคาจะไปได้ที่เท่าใด แต่ และนักวิเคราะห์หลายแห่งได้กำหนดช่วงราคาระหว่าง 12-18 บาท ถือเป็นช่วงราคาที่ห่างมากและถือว่าผันผวน แต่ต้องยอมรับว่าหุ้นบริษัทนี้เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีตัวหนึ่ง และขนาดใหญ่ของบริษัทใหญ่มาก เปรียบเทียบมาร์เก็ตแคปใหญ่หรือมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท ใหญ่กว่า IRP หรือ บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) ถึง 3 เท่า ทำให้หลังจากเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะนำเข้าคำนวณใน SET 100 ด้วย
" ก็คงเป็นที่สนใจของนักลงทุนไม่น้อย และยังจะถูกดึงเข้าไปเทรดใน SET 50 ด้วย แต่ต้องรอตลาดหลักทรัพย์ประกาศออกมาก่อน ขณะนี้เรายังไม่ได้ประเมินอะไรมากเพราะภาวะตลาดยังยังผันผวน ก็ประเมินยากแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานแกร่ง เบื้องต้นขณะนี้เราให้ช่วงราคาเหมาะสมที่ 13-16 บาท "
นายศักดิ์นรินทร์ ศศานนท์ นักกวิเคราะห์กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การปรับโครงสร้างการถือหุ้นของ IVL หลังซื้อธุรกิจของ IRP โดย IVL ได้เปิดทำคำเสนอซื้อหุ้น IRP คืน ด้วยการแลกกับหุ้น IVL ซึ่งจะทำให้ IVL ทำธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจรและส่งผลดีต่อกำไรสุทธิปีนี้ที่จะเพิ่มขึ้นจากปี 52 ถึง 16% แต่ผลจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จะทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงเหลือ 1.10 บาทต่อหุ้น
" แต่เชื่อว่า IVL ยังมีโอกาสจากการซื้อกิจการหรือสร้างโรงงานใหม่ในต่างประเทศ รวมทั้งแผนซื้อโรงไฟฟ้ายุโรปเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของบริษัท เราจึงประเมินมูลค่าเหมาะสม IVL ในปีนี้เท่ากับ 11 บาท "
อย่างไรก็ดี ยูโอบีฯ ยังมองถึงความเสี่ยงของหุ้น IVL ว่าหลังมีการรวมสายการผลิตทั้งหมด โดยมีธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้าที่เป็นพลาสติกโพลีเมอร์ ที่จะสนับสนุนการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินจนต้องส่งออกขายต่างประเทศสัดส่วน 55% ของกำลังการผลิตรวม แต่เจอแรงกดดันราคาตลาดโลกผันผวน อย่างไรก็ตาม IVL มี IRP เป็นบริษัทลูก ซึ่งประเมินว่าปีนี้จะมีรายได้ 57,357 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% กำไรสุทธิ 6,707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากการที่ IRP จะเปิดดำเนินการโรงงานอัลฟ่าเพ็ท ขนาด 4.32 แสนตันต่อปีในไตรมาส 3 นี้ ทำให้กำลังการผลิตของทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 45% ซึ่งจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการ IVL
อนึ่ง การขายหุ้นดังกล่าวเกิดจากหลังการปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ตามแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่าง บมจ. อินโดรามา โพลีเมอร์ส หรือ IRP และ IVL ซึ่งตลาดหลักทรัพยฯ จะรับ IVL เข้าจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป และนำ IVL เข้ารวมในการคำนวณดัชนี SET 100 ตั้งแต่สิ้นวันที่เข้าซื้อขายเป็นวันแรก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี ขณะที่ IRP ซึ่งจะพ้นสภาพจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 53 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงนำ IRP ออกจากการเป็นหลักทรัพย์รวมคำนวณดัชนี SET100 ตั้งแต่สิ้นวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 53 เป็นต้นไปเช่นกัน
โดยการขายหุ้นครั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะได้รับเงินสดประมาณ 4,000 ล้านบาท และส่วนของการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูออปชั่น) 60 ล้านหุ้น และอีก 600 ล้านหุ้นที่รองรับการสวอปหุ้น IRP ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้เพื่อใช้โครงการขยายธุรกิจในอนาคตและชำระหนี้ระยะสั้น ทั้งนี้ IVL ตั้งเป้ารายได้เติบโต 20% จากปี 52 ล่าสุดผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 52 ของบริษัท มีรายได้รวม 5.9 หมื่นล้านบาท ซึ่ง การขายหุ้นครั้งนี้ มีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น และผู้ร่วมรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น 7 ราย และมอบหมายให้แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอริลลินช์ และมอร์แกน สแตนลีย์ เป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นสำหรับนักลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการทำ IPO ครั้งแรกของตลาดทุนไทยในปี 53 และคาดว่าจะเป็น IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในรอบหลายปีในตลาดทุนไทยด้วย