ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงบ่ายของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วานนี้ (4 ก.พ.) ซึ่งมี พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธาน หลังเสร็จสิ้นการพิจารณากระทู้ถามสดแล้ว ปรากฏว่า บรรยากาศที่ประชุมคึกคักเมื่อ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ได้เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้สภาพิจารณาหามาตรการเพื่อป้องกันการปฎิวัติรัฐประหาร โดยระบุว่าบัดนี้กระแสข่าวการปฏิวัติรัฐประหารเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ที่ตื่นตระหนกโดยเฉพาะเมื่อมีกระแสข่าวระหว่างวันที่ 23-25 ม.ค.ที่ผ่านมาจนทำให้หุ้นตกกระทบต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชน ขณะที่คนเสื้อแดง ก็ได้เตรียมต่อต้านการปฏิวัติแล้ว วันนี้ทุกจังหวัดมีการรวมตัวหน้าหน่วยทหาร ของคนเสื้อแดงไปชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ทั้งนี้ แม้ว่าจะอยู่สีอะไร เชื่อว่าไม่มีใคร ชอบการปฏิวัติยกเว้นผู้ที่มีผลประโยชน์กับการปฏิวัติ
ถ้ามีการยึดอำนาจเคลื่อนกำลังพลทำรัฐประหาร จะกระทบเสรีภาพของประชาชน ทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง จึงจำเป็นต้องเสนอเป็นญัตติด่วน ให้สภาพิจารณาเป็นมติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร ถ้ามาตรการสามารถป้องกันต่อต้านการปฎิวัติได้ ก็ยังดีที่สามารถใช้ระบบรัฐสภาได้ จึงควรใช้เวลาสภาหารือ เพื่อมีข้อเสนอเป็นมาตรการต่อไป
ขณะที่ นายธนา ชีรวนิจ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยในการเสนอญัตติด่วนดังกล่าวโดยเชื่อว่าส.ส.ในสภาฯและประชาชนไม่ต้องการให้เกิดปฎิวัติซึ่งเราจะต้องทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเดินหน้าต่อไปได้ แต่การเสนอญัตตินำมาจากข่าวลือและการวิตกว่าจะมีการทำรัฐประหาร ทั้งที่ข่าวสาร ทางกองทัพได้ยืนยันไม่ปฎิวัติ ประชาชนไม่ได้วิตกกังวลตามข่าวแต่อย่างใด จึงไม่ควร พิจารณาแต่ควรเสนอเรื่องให้ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐของสภาฯ ไปพิจารณาศึกษาเพราะสภายังมีเรื่องร้องเรียนในการแก้ปัญหาอีกมาก จึงไม่อยากให้เสียเวลากับการหวาดวิตกกับข่าวลือดังกล่าว
ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวคัดค้าน เช่นกันว่าเรื่องนี้เป็นเพียงกระแสข่าวลือเพื่อเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การชุมนุมแทบทั้งสิ้น พยายามสร้างกระแสให้ประชาชนเกลียดชังทหารและใส่ร้ายว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนเผด็จการซึ่งขอย้ำว่าทุกคนไม่ต้องการเผด็จการแต่หากเกิดปฎิวัติใครจะได้ประโยชน์ซึ่งอาจจะเข้าทางบางคนบางกลุ่มได้
หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายแสดงความเห็นสนับสนุนทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน พอสมควร นายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ปิดการ อภิปรายเพื่อลงมติว่าสภาฯจะอนุมัติให้พิจารณาญัตตินี้หรือไม่ แต่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยเสนอขอให้เปิดอภิปรายต่อไป จากนั้นมีการถกเถียงกันอีก แม้ พ.อ.อภิวันท์พยายามเสนอให้ประธานวิปรัฐบาล และประธานวิปฝ่ายค้านไปหารือกันก่อนแต่เมื่อหาข้อยุติไม่ได้
ในที่สุด พ.อ.อภิวันท์ ได้ขอมติที่ประชุมว่าจะเปิดหรือปิดอภิปรายต่อไป โดยกดออดเรียกสมาชิกนานอยู่หลายรอบ และให้เวลา ส.ส.อยู่นานกว่า10 นาที ปรากฏว่ามี ส.ส.อยู่ในห้องประชุมเพียงแค่169 คนถือว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมคือ 238 คน ทำให้ พ.อ.อภิวันท์ จึงสั่งเลื่อนการพิจารณาออกไปพร้อมสั่งปิดการประชุมทันทีในเวลา15.19น.ถือว่าองค์ประชุมต้องล่มซ้ำซากเป็นครั้งที่สองภายในสัปดาห์เดียวหลังเปิดประชุมมาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลทั้งในและนอกสภา โดยเฉพาะการปลุกผีปฏิวัติขึ้นมาแล้วใช้มวลชนคนเสื้อแดงดาวกระจายไปยั่วยุ หน้าค่ายทหารโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆ เพื่อใช้เป็นใบเสร็จไปเบิกค่าใช้จ่าย จากนายใหญ่ ขณะที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็เคลื่อนไหวเสนอญัตติปากเปล่าขึ้นในสภาฯ เพื่อสร้าง ความปั่นป่วนทางการเมืองทั้งในและนอกสภาตามแผนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กำหนดไว้
แต่น่าเสียดายที่แผนดังกล่าวถูกฝ่ายรัฐบาลจับได้ไล่ทัน ตั้งแต่การเปิดอภิปรายสนับสนุนญัตติ โดยอาศัยเวลาในสภาฯอภิปรายหลอกด่ารัฐบาลและกองทัพ เมื่อฝ่ายรัฐบาลเสนอปิดอภิปรายก็ต้องมีการการลงมติ โดยการนับองค์ประชุม แต่ฝ่ายค้านกลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยการแสดงตนในที่ประชุม ทั้งๆ ที่ เป็นญัตติของตัวเอง จึงไม่ทราบว่าฝ่ายค้านต้องการเล่นเกมเพื่ออภิปรายโจมตีรัฐบาลหรือต้องการเล่นเกมให้สภาล่ม แต่การที่สภาล่มสองวันติดต่อกัน ก็แสดง ให้เห็นถึงความรับผิดชอบสมาชิกรัฐสภา ไม่ใช่เป็นของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลฝ่ายเดียว ญัตติการพิจารณาเรื่องการต่อต้านการปฏิวัติก็เป็นญัตติของ ส.ส.ฝ่ายค้าน แต่ก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบ จะมาโทษรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
นายเทพไท กล่าวว่า ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนก็เป็นการประจานการทำงาน ของ ส.ส.ฝ่ายค้านที่ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง ทั้ๆ ที่ญัตติทั้งสองเป็นเรื่องของสมาชิกสภาทุกคน แต่ถ้าเป็นกฎหมายของรัฐบาล ทำให้สภาล่มก็เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยังมึน ๆ อยู่เลยว่า เกิดอะไรขึ้น และผู้ใหญ่ของพรรคยังประเมินไม่ชัดเจนว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะหักหลัง อย่างเหตุการณ์สภาล่มเมื่อวันที่ 3 ก.พ.มี ส.ส.เข้าประชุมครบองค์ประชุม แต่ประธานในที่ประชุมรีบปิดประชุมไปก่อน แต่ในครั้งนี้ยอมรับว่า มีส.ส.หายไปมาก เพราะอาจคิดว่าไม่มีวาระสำคัญ ปัญหาอยู่ที่ฝ่ายค้านไม่ได้ยึดประชาชน ต้องการเล่นเกมอย่างเดียว
ส่วนจะเป็นเพราะพรรคร่วมต้องการสอนบทเรียนให้กับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่นั้น นายประมวล กล่าวว่าไม่ต้องมาสอน พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำดีที่สุด สำหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้พรรคร่วมรัฐบาลต้องมานั่งคุยกันอย่างจริงจัง หามาตรการจัดการส.ส.ที่ไม่เข้าประชุม โดยให้ประจานชื่อไปเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนมติพรรคกลับไปหนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ส.ส.ชลบุรี ตอบกว่า ไม่มีเด็ดขาด หลักการเป็น อย่างไรก็อย่างนั้น สถานการณ์อย่างนี้ต้องแก้ปัญหาให้ประชาชน ไม่ใช่มาแก้รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เกรงหรือไม่ว่าหากแก้ปัญหาไม่ได้อาจนำสู่การยุบสภา นายประมวล กล่าวว่า เราไม่กลัวอยู่แล้ว จะยุบก็ยุบ เราไม่ยึดติด แต่มั่นใจว่าการทำงาน ของสภาฯ สามารถเดินหน้าได้อยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ส.ส.สำนึกว่าอาสาประชาชนมาทำงาน เมื่อไม่ให้ความร่วมมือ ต้องมาคิดกันว่าต้องละทิ้งเรื่องส่วนตัว จะรับใช้ใครในเรื่องส่วนตัวต้องเก็บไว้ ต้องทำเพื่อบ้านเมือง
นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ที่สภาล่มไม่ได้เป็นการส่งสัญญาณอะไรของพรรคร่วมรัฐบาล หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าหลายคนต้องการที่จะลงพื้นที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้าวิปรัฐบาลจะต้องมีการปรับยุทธวิธีการใหม่ เพราะส.ส.อาจจะปรับท่าทีไม่ทัน
ขณะนี้ผมไม่ได้เป็นวิปแล้ว เพราะพรรคได้มอบหมายให้นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแกน พรรคภูมิใจไทยทำหน้าที่แทน แต่เห็นว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนท่าทีในการประชุมสัปดาห์หน้า ซึ่งควรจะมีการประกบ 1 ต่อ 5 หรือ 1 ต่อ 10 เพื่อให้ส.ส.อยู่ในที่ประชุมมากที่สุด
ขณะที่ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. นาย ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายวิชาญ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่ 2 ที่มีการเปลี่ยนเวลาการประชุม แต่ก็เกิดสภาล่ม ด้วยองค์ประชุมเพียง 169 คนเท่านั้น ซึ่งต้องยอมรับว่ามีผลมาจากฝ่ายรัฐบาลที่เป็นผู้กำหนด เงื่อนเวลาในการประชุม และเรื่ององค์ประชุมก็เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาล รวมถึงองค์ประชุมในส่วนของพรรคร่วมเองเริ่มแตกกัน ไม่มีความสามัคคี มีการต่อรองอะไรกัน ตนก็ไม่ทราบ เป็นการเล่นเกมให้องค์ประชุมไม่ครบ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล มีปัญหาแน่นอน
นายชลน่าน กล่าวว่า ฝ่ายค้านได้เสนอ ญัตติด่วนขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาและมาตรการป้องกันการปฏิวัติ ด้วยวาจาไม่สามารถเสนอเป็นหนังสือตามข้อบังคับ เพราะหากเสอนเป็นหนังสือก็จะมีปัญหาเนื่องจากกลไลการบรรจุ เข้าสู่วาระการประชุมของสภา ดังนั้นจึงมีความเป็นที่ต้องเสนอด้วยวาจา ซึ่งได้มีการอภิปรายไปเพียง 2 คน ทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้เสนอปิดอภิปราย แต่ฝ่ายค้าน ก็ขอเสนอให้เปิดอภิปรายต่อ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตัดสินด้วยการลงมติ ซึ่งฝ่ายรัฐบาล ก็คุมเสียงอยู่แล้วทางเราสู้ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงไม่ขอนับองค์ประชุม แต่สุดท้ายองค์ประชุมก็ไม่ครบ เชื่อว่าหากรัฐบาลมีองค์ประชุมครบก็ไม่รับญัตติดังกล่าวอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ญัตติดังกล่าวยังคงค้างอยู่ในวาระการประชุมในสัปดาห์หน้าก็จะมีการพิจารณาต่อ ถ้ามีการเปลี่ยนวิธีการนับองค์ประชุมจากการเสียบบัตรเป็นการนับจำนวนด้วยมือ เราก็จะเดินออก เพราะเป็นการแก้เกมของเราเพื่อให้ญัตติยังคงอยู่
ถ้ามีการยึดอำนาจเคลื่อนกำลังพลทำรัฐประหาร จะกระทบเสรีภาพของประชาชน ทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง จึงจำเป็นต้องเสนอเป็นญัตติด่วน ให้สภาพิจารณาเป็นมติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร ถ้ามาตรการสามารถป้องกันต่อต้านการปฎิวัติได้ ก็ยังดีที่สามารถใช้ระบบรัฐสภาได้ จึงควรใช้เวลาสภาหารือ เพื่อมีข้อเสนอเป็นมาตรการต่อไป
ขณะที่ นายธนา ชีรวนิจ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยในการเสนอญัตติด่วนดังกล่าวโดยเชื่อว่าส.ส.ในสภาฯและประชาชนไม่ต้องการให้เกิดปฎิวัติซึ่งเราจะต้องทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเดินหน้าต่อไปได้ แต่การเสนอญัตตินำมาจากข่าวลือและการวิตกว่าจะมีการทำรัฐประหาร ทั้งที่ข่าวสาร ทางกองทัพได้ยืนยันไม่ปฎิวัติ ประชาชนไม่ได้วิตกกังวลตามข่าวแต่อย่างใด จึงไม่ควร พิจารณาแต่ควรเสนอเรื่องให้ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐของสภาฯ ไปพิจารณาศึกษาเพราะสภายังมีเรื่องร้องเรียนในการแก้ปัญหาอีกมาก จึงไม่อยากให้เสียเวลากับการหวาดวิตกกับข่าวลือดังกล่าว
ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวคัดค้าน เช่นกันว่าเรื่องนี้เป็นเพียงกระแสข่าวลือเพื่อเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การชุมนุมแทบทั้งสิ้น พยายามสร้างกระแสให้ประชาชนเกลียดชังทหารและใส่ร้ายว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนเผด็จการซึ่งขอย้ำว่าทุกคนไม่ต้องการเผด็จการแต่หากเกิดปฎิวัติใครจะได้ประโยชน์ซึ่งอาจจะเข้าทางบางคนบางกลุ่มได้
หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายแสดงความเห็นสนับสนุนทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน พอสมควร นายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ปิดการ อภิปรายเพื่อลงมติว่าสภาฯจะอนุมัติให้พิจารณาญัตตินี้หรือไม่ แต่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยเสนอขอให้เปิดอภิปรายต่อไป จากนั้นมีการถกเถียงกันอีก แม้ พ.อ.อภิวันท์พยายามเสนอให้ประธานวิปรัฐบาล และประธานวิปฝ่ายค้านไปหารือกันก่อนแต่เมื่อหาข้อยุติไม่ได้
ในที่สุด พ.อ.อภิวันท์ ได้ขอมติที่ประชุมว่าจะเปิดหรือปิดอภิปรายต่อไป โดยกดออดเรียกสมาชิกนานอยู่หลายรอบ และให้เวลา ส.ส.อยู่นานกว่า10 นาที ปรากฏว่ามี ส.ส.อยู่ในห้องประชุมเพียงแค่169 คนถือว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมคือ 238 คน ทำให้ พ.อ.อภิวันท์ จึงสั่งเลื่อนการพิจารณาออกไปพร้อมสั่งปิดการประชุมทันทีในเวลา15.19น.ถือว่าองค์ประชุมต้องล่มซ้ำซากเป็นครั้งที่สองภายในสัปดาห์เดียวหลังเปิดประชุมมาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลทั้งในและนอกสภา โดยเฉพาะการปลุกผีปฏิวัติขึ้นมาแล้วใช้มวลชนคนเสื้อแดงดาวกระจายไปยั่วยุ หน้าค่ายทหารโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆ เพื่อใช้เป็นใบเสร็จไปเบิกค่าใช้จ่าย จากนายใหญ่ ขณะที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็เคลื่อนไหวเสนอญัตติปากเปล่าขึ้นในสภาฯ เพื่อสร้าง ความปั่นป่วนทางการเมืองทั้งในและนอกสภาตามแผนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กำหนดไว้
แต่น่าเสียดายที่แผนดังกล่าวถูกฝ่ายรัฐบาลจับได้ไล่ทัน ตั้งแต่การเปิดอภิปรายสนับสนุนญัตติ โดยอาศัยเวลาในสภาฯอภิปรายหลอกด่ารัฐบาลและกองทัพ เมื่อฝ่ายรัฐบาลเสนอปิดอภิปรายก็ต้องมีการการลงมติ โดยการนับองค์ประชุม แต่ฝ่ายค้านกลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยการแสดงตนในที่ประชุม ทั้งๆ ที่ เป็นญัตติของตัวเอง จึงไม่ทราบว่าฝ่ายค้านต้องการเล่นเกมเพื่ออภิปรายโจมตีรัฐบาลหรือต้องการเล่นเกมให้สภาล่ม แต่การที่สภาล่มสองวันติดต่อกัน ก็แสดง ให้เห็นถึงความรับผิดชอบสมาชิกรัฐสภา ไม่ใช่เป็นของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลฝ่ายเดียว ญัตติการพิจารณาเรื่องการต่อต้านการปฏิวัติก็เป็นญัตติของ ส.ส.ฝ่ายค้าน แต่ก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบ จะมาโทษรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
นายเทพไท กล่าวว่า ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนก็เป็นการประจานการทำงาน ของ ส.ส.ฝ่ายค้านที่ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง ทั้ๆ ที่ญัตติทั้งสองเป็นเรื่องของสมาชิกสภาทุกคน แต่ถ้าเป็นกฎหมายของรัฐบาล ทำให้สภาล่มก็เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยังมึน ๆ อยู่เลยว่า เกิดอะไรขึ้น และผู้ใหญ่ของพรรคยังประเมินไม่ชัดเจนว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะหักหลัง อย่างเหตุการณ์สภาล่มเมื่อวันที่ 3 ก.พ.มี ส.ส.เข้าประชุมครบองค์ประชุม แต่ประธานในที่ประชุมรีบปิดประชุมไปก่อน แต่ในครั้งนี้ยอมรับว่า มีส.ส.หายไปมาก เพราะอาจคิดว่าไม่มีวาระสำคัญ ปัญหาอยู่ที่ฝ่ายค้านไม่ได้ยึดประชาชน ต้องการเล่นเกมอย่างเดียว
ส่วนจะเป็นเพราะพรรคร่วมต้องการสอนบทเรียนให้กับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่นั้น นายประมวล กล่าวว่าไม่ต้องมาสอน พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำดีที่สุด สำหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้พรรคร่วมรัฐบาลต้องมานั่งคุยกันอย่างจริงจัง หามาตรการจัดการส.ส.ที่ไม่เข้าประชุม โดยให้ประจานชื่อไปเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนมติพรรคกลับไปหนุนให้มีการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ส.ส.ชลบุรี ตอบกว่า ไม่มีเด็ดขาด หลักการเป็น อย่างไรก็อย่างนั้น สถานการณ์อย่างนี้ต้องแก้ปัญหาให้ประชาชน ไม่ใช่มาแก้รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เกรงหรือไม่ว่าหากแก้ปัญหาไม่ได้อาจนำสู่การยุบสภา นายประมวล กล่าวว่า เราไม่กลัวอยู่แล้ว จะยุบก็ยุบ เราไม่ยึดติด แต่มั่นใจว่าการทำงาน ของสภาฯ สามารถเดินหน้าได้อยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ส.ส.สำนึกว่าอาสาประชาชนมาทำงาน เมื่อไม่ให้ความร่วมมือ ต้องมาคิดกันว่าต้องละทิ้งเรื่องส่วนตัว จะรับใช้ใครในเรื่องส่วนตัวต้องเก็บไว้ ต้องทำเพื่อบ้านเมือง
นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ที่สภาล่มไม่ได้เป็นการส่งสัญญาณอะไรของพรรคร่วมรัฐบาล หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าหลายคนต้องการที่จะลงพื้นที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้าวิปรัฐบาลจะต้องมีการปรับยุทธวิธีการใหม่ เพราะส.ส.อาจจะปรับท่าทีไม่ทัน
ขณะนี้ผมไม่ได้เป็นวิปแล้ว เพราะพรรคได้มอบหมายให้นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแกน พรรคภูมิใจไทยทำหน้าที่แทน แต่เห็นว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนท่าทีในการประชุมสัปดาห์หน้า ซึ่งควรจะมีการประกบ 1 ต่อ 5 หรือ 1 ต่อ 10 เพื่อให้ส.ส.อยู่ในที่ประชุมมากที่สุด
ขณะที่ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. นาย ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายวิชาญ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่ 2 ที่มีการเปลี่ยนเวลาการประชุม แต่ก็เกิดสภาล่ม ด้วยองค์ประชุมเพียง 169 คนเท่านั้น ซึ่งต้องยอมรับว่ามีผลมาจากฝ่ายรัฐบาลที่เป็นผู้กำหนด เงื่อนเวลาในการประชุม และเรื่ององค์ประชุมก็เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาล รวมถึงองค์ประชุมในส่วนของพรรคร่วมเองเริ่มแตกกัน ไม่มีความสามัคคี มีการต่อรองอะไรกัน ตนก็ไม่ทราบ เป็นการเล่นเกมให้องค์ประชุมไม่ครบ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล มีปัญหาแน่นอน
นายชลน่าน กล่าวว่า ฝ่ายค้านได้เสนอ ญัตติด่วนขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาและมาตรการป้องกันการปฏิวัติ ด้วยวาจาไม่สามารถเสนอเป็นหนังสือตามข้อบังคับ เพราะหากเสอนเป็นหนังสือก็จะมีปัญหาเนื่องจากกลไลการบรรจุ เข้าสู่วาระการประชุมของสภา ดังนั้นจึงมีความเป็นที่ต้องเสนอด้วยวาจา ซึ่งได้มีการอภิปรายไปเพียง 2 คน ทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้เสนอปิดอภิปราย แต่ฝ่ายค้าน ก็ขอเสนอให้เปิดอภิปรายต่อ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตัดสินด้วยการลงมติ ซึ่งฝ่ายรัฐบาล ก็คุมเสียงอยู่แล้วทางเราสู้ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงไม่ขอนับองค์ประชุม แต่สุดท้ายองค์ประชุมก็ไม่ครบ เชื่อว่าหากรัฐบาลมีองค์ประชุมครบก็ไม่รับญัตติดังกล่าวอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ญัตติดังกล่าวยังคงค้างอยู่ในวาระการประชุมในสัปดาห์หน้าก็จะมีการพิจารณาต่อ ถ้ามีการเปลี่ยนวิธีการนับองค์ประชุมจากการเสียบบัตรเป็นการนับจำนวนด้วยมือ เราก็จะเดินออก เพราะเป็นการแก้เกมของเราเพื่อให้ญัตติยังคงอยู่