ASTVผู้จัดการรายวัน – SCG ระบุปี 53 โอกาสรับเหมาไทยจากโครงการไทยเข้มแข็ง(SP2) คาดเม็ดเงินสะพัด 7 แสนล้าน– เมกะโปรเจกต์รถไฟฟ้า 2 สาย วอนรัฐเร่งเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมแนะรับเหมาไทยเพิ่มประสิทธิภาพรองรับงาน ส่วนภาพรวมอสังหาฯ คาดทั้งปีโต 5%บ้าน 3-5 ล้านบาทยังขายดี ราคาบ้านเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านบาท ชี้เปิดเขตการค้าเสรีวัสดุไทยได้ประโยชน์เหตุเป็นผู้ส่งออกหลัก ห่วงรับเหมารายกลาง-เล็กหวั่นต่างชาติเข้ามาแย่งตลาด
วานนี้ (4 ก.พ.53) สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้จัดงานสัมมนา เรื่อง “ วิกฤตก่อสร้างและทิศทางปี 2010 – ทางรอดของผู้รับเหมา ” โดยนายธีรสิทธิ์ เศวตสิลา ผู้อำนวยการฝ่ายประสานงานและบริการ บริษัท เอสซีจี เน็ตเวิร์ต แมเนจเม้นท์ จำกัด ในเครือ SCG กล่าวว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างในปีนี้มีแนวโน้มดีขึ้นจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะโครงการงบไทยเข้มแข็ง ที่รัฐบาลใส่เม็ดเงินเข้าสู่ระบบสูงถึง 1.43 ล้านล้านบาท โดยให้ความสำคัญกับพัฒนาระบบโลจิสติกส์, แหล่งน้ำ และสร้างโรงพยาบาลเป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีนิเงิน ที่เริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่ผ่านมา รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าปีนี้ไทยจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) เพิ่มขึ้นจาก –2.8% มาอยู่ที่ 3.5% ในปีนี้
อนึ่ง ในวันนี้ (5 ก.พ.) บริษัทผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ CCP จะมีการลงนามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์คอนกรีตและวัสดุก่อสร้าง สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง กับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
“ ประเทศไทยยังมีความเปราะบางจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวดี โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโต แต่ปัญหาการว่างงานยังไม่ลดลง นอกจากนี้ปัญหาการเมืองของไทยยังเป็นปัจจัยลบสำคัญ รวมไปถึงปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำให้นักลงทุนมีความกังวล, ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทแข็งค่าจะทำให้ความสามารถด้านการแข่งขันการส่งออกลดลง ”
นายธีรสิทธิ์ กล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อ GDP อย่างมาก มีสัดส่วนต่อ GDP ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2532-2540 มีสัดส่วนสูงถึง 20% และลดลงในปี 2540 มาอยู่ที่ระดับ 15% แต่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 9% อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงหากมีการพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน จะส่งผลให้ GDP ของประเทศปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
**แนะเอกชนเพิ่มประสิทธิภาพ**
ทั้งนี้ ในปี 53 ถือเป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมก่อสร้าง จากการกระตุ้นของรัฐบาลผ่านโครงการงบไทยเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้เกิดการก่อสร้างและการจ้างงานจำนวนมาก โดยคาดว่าจะมีการจ้างแรงงานสูงถึง 1.5 ล้านคน และมีมูลค่างานก่อสร้างสูงถึง 7 แสนล้านบาท และคาดว่าจะทำให้กำไรของผู้รับเหมาเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยควรปรับตัวเพื่อประสิทธิภาพ และศักยภาพในการแข่งขัน รองรับงานที่จะมีมากในปีนี้และเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งในตลาด
อย่างไรก็ตามโครงการไทยเข้มแข็งเริ่มเมื่อไตรมาส 3 ปี 52 โดยในช่วงสิ้นปีมีการเบิกจ่ายงบประมาณไปเพียง 2% จากงบ 1.43 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าล่าช้า ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งการเบิกจ่ายและการเปิดประมูลงาน เพื่อให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบได้เร็วขึ้น
***ปี 53 งานสร้างคอนโดฯเพียบ
ส่วนภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 53 จะมีงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมแห่งใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ส่วนตลาดแนวราบในปีที่ผ่านมายังไปได้ดี จากมาตรการกระตุ้นของรัฐผ่านมาตรการทางภาษี โดยปี 52 ตลาดอสังหาฯมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2.9% ส่วนปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 5% และคาดว่าจะมีการก่อสร้างบ้าน (แนวราบ) กว่า 5 แสนหลัง โดยบ้านที่ยังขายดีอยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท นอกจากนี้ เริ่มมีโครงการบ้านบีโอไอเข้าสู่ตลาดมากขึ้น รวมไปถึงการแข่งขันปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
อย่างไรก็ดี ในปี 53 ยังมีปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในการต่ออายุมาตรการภาษีอสังหาฯ ภาวะความไม่สงบทางการเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น โดยราคาบ้านเฉลี่ยในปีนี้ 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 52 จำนวน 5% ที่มีราคา 2.8 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนักประมาณ 0.4% จากที่ปี 52 มีอัตราติดลบ เนื่องจากจาราคาเหล็กลดลงไปมาก
***เปิดเสรีการค้าช่วยตลาดไทย
สำหรับการเปิดเขตการค้าเสรี โดยลดภาษีนำเข้า-ส่งออกเหลือ 0% จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยมากกว่าผลเสีย โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่ไทยถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในภูมิภาคเกือบทุกชนิด ยกเว้นสินค้าเซรามิก ผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถขยายตลาดจาก 63 ล้านคนเป็น 600 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ขายผลิตได้มากขึ้น
ส่วนในอุตสาหกรรมก่อสร้างผู้รับเหมารายใหญ่ จะได้ประโยชน์เนื่องจากมีเทคโนโลยีการก่อสร้าง มีประสบการณ์ในการรับงาน ประมูลงาน ซึ่งเชื่อว่าสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ไม่ยาก แต่สำหรับรายกลาง-รายเล็กจะต้องระวังตัวและเตรียมรับมือจากคู่แข่งชาวต่างชาติที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะจากสิงคโปร์
วานนี้ (4 ก.พ.53) สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้จัดงานสัมมนา เรื่อง “ วิกฤตก่อสร้างและทิศทางปี 2010 – ทางรอดของผู้รับเหมา ” โดยนายธีรสิทธิ์ เศวตสิลา ผู้อำนวยการฝ่ายประสานงานและบริการ บริษัท เอสซีจี เน็ตเวิร์ต แมเนจเม้นท์ จำกัด ในเครือ SCG กล่าวว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างในปีนี้มีแนวโน้มดีขึ้นจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะโครงการงบไทยเข้มแข็ง ที่รัฐบาลใส่เม็ดเงินเข้าสู่ระบบสูงถึง 1.43 ล้านล้านบาท โดยให้ความสำคัญกับพัฒนาระบบโลจิสติกส์, แหล่งน้ำ และสร้างโรงพยาบาลเป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีนิเงิน ที่เริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่ผ่านมา รวมไปถึงเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าปีนี้ไทยจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) เพิ่มขึ้นจาก –2.8% มาอยู่ที่ 3.5% ในปีนี้
อนึ่ง ในวันนี้ (5 ก.พ.) บริษัทผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ CCP จะมีการลงนามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์คอนกรีตและวัสดุก่อสร้าง สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง กับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
“ ประเทศไทยยังมีความเปราะบางจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวดี โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโต แต่ปัญหาการว่างงานยังไม่ลดลง นอกจากนี้ปัญหาการเมืองของไทยยังเป็นปัจจัยลบสำคัญ รวมไปถึงปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำให้นักลงทุนมีความกังวล, ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทแข็งค่าจะทำให้ความสามารถด้านการแข่งขันการส่งออกลดลง ”
นายธีรสิทธิ์ กล่าว
สำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อ GDP อย่างมาก มีสัดส่วนต่อ GDP ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2532-2540 มีสัดส่วนสูงถึง 20% และลดลงในปี 2540 มาอยู่ที่ระดับ 15% แต่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 9% อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงหากมีการพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน จะส่งผลให้ GDP ของประเทศปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
**แนะเอกชนเพิ่มประสิทธิภาพ**
ทั้งนี้ ในปี 53 ถือเป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมก่อสร้าง จากการกระตุ้นของรัฐบาลผ่านโครงการงบไทยเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้เกิดการก่อสร้างและการจ้างงานจำนวนมาก โดยคาดว่าจะมีการจ้างแรงงานสูงถึง 1.5 ล้านคน และมีมูลค่างานก่อสร้างสูงถึง 7 แสนล้านบาท และคาดว่าจะทำให้กำไรของผู้รับเหมาเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยควรปรับตัวเพื่อประสิทธิภาพ และศักยภาพในการแข่งขัน รองรับงานที่จะมีมากในปีนี้และเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งในตลาด
อย่างไรก็ตามโครงการไทยเข้มแข็งเริ่มเมื่อไตรมาส 3 ปี 52 โดยในช่วงสิ้นปีมีการเบิกจ่ายงบประมาณไปเพียง 2% จากงบ 1.43 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าล่าช้า ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งการเบิกจ่ายและการเปิดประมูลงาน เพื่อให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบได้เร็วขึ้น
***ปี 53 งานสร้างคอนโดฯเพียบ
ส่วนภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 53 จะมีงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมแห่งใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ส่วนตลาดแนวราบในปีที่ผ่านมายังไปได้ดี จากมาตรการกระตุ้นของรัฐผ่านมาตรการทางภาษี โดยปี 52 ตลาดอสังหาฯมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2.9% ส่วนปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 5% และคาดว่าจะมีการก่อสร้างบ้าน (แนวราบ) กว่า 5 แสนหลัง โดยบ้านที่ยังขายดีอยู่ในระดับราคา 3-5 ล้านบาท นอกจากนี้ เริ่มมีโครงการบ้านบีโอไอเข้าสู่ตลาดมากขึ้น รวมไปถึงการแข่งขันปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
อย่างไรก็ดี ในปี 53 ยังมีปัจจัยลบที่มีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในการต่ออายุมาตรการภาษีอสังหาฯ ภาวะความไม่สงบทางการเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น โดยราคาบ้านเฉลี่ยในปีนี้ 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 52 จำนวน 5% ที่มีราคา 2.8 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้างมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนักประมาณ 0.4% จากที่ปี 52 มีอัตราติดลบ เนื่องจากจาราคาเหล็กลดลงไปมาก
***เปิดเสรีการค้าช่วยตลาดไทย
สำหรับการเปิดเขตการค้าเสรี โดยลดภาษีนำเข้า-ส่งออกเหลือ 0% จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยมากกว่าผลเสีย โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่ไทยถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในภูมิภาคเกือบทุกชนิด ยกเว้นสินค้าเซรามิก ผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถขยายตลาดจาก 63 ล้านคนเป็น 600 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ขายผลิตได้มากขึ้น
ส่วนในอุตสาหกรรมก่อสร้างผู้รับเหมารายใหญ่ จะได้ประโยชน์เนื่องจากมีเทคโนโลยีการก่อสร้าง มีประสบการณ์ในการรับงาน ประมูลงาน ซึ่งเชื่อว่าสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ไม่ยาก แต่สำหรับรายกลาง-รายเล็กจะต้องระวังตัวและเตรียมรับมือจากคู่แข่งชาวต่างชาติที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะจากสิงคโปร์