แพร่ – กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอยเมืองแพร่ ร่อนแถลงการณ์ต้านต่ออายุอาชญาบัตรสำรวจแร่เขตอำเภอวังชิ้น ฮุบสายแร่ทองคำ 1 ใน 6 แหล่งของไทย
รายงานข่าวจากจังหวัดแพร่ แจ้งว่า กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย จังหวัดแพร่ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ ยุติเหมืองแร่ทองคำ ยุติการทำลายสิ่งแวดล้อมต้นน้ำยม เผยแพร่ผ่านสื่อแขนงต่างๆ โดยระบุว่าลำห้วยสรอยเป็นลำห้วยสาขาหนึ่งของแม่น้ำยมที่ไหลมาจากเทือกเขาบริเวณอุทยานแห่งชาติศรีสัชชนาลัย
ต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านปางงุ้น ต.สรอย อ.วังชิ้น ซึ่งอยู่เขตติดต่อกับ อ.เถิน จ.ลำปาง จากนั้นไหลผ่านหมู่บ้านต่างๆในเขต ต.สรอย ต.ป่าสัก และ ต.แม่พุง แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำยมที่หมู่บ้านปางมะโอ ต.แม่พุง รวมไหลผ่าน 17 หมู่บ้าน ระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร และในเขตลุ่มน้ำสรอยเคยเกิดภัยพิบัติน้ำป่าไหลหลาก โคลนถล่ม พัดบ้านเรือนตลอดแนวลุ่มน้ำสรอยเสียหายและตายกว่า 40 ศพมาแล้วเมื่อปี 2544
ดังนั้น เมื่อบริษัท ณ ภัทรไมนิ่ง ได้ยื่นขออาชญาบัตรสำรวจแร่เหล็กในพื้นที่ อ.วังชิ้น จดทะเบียนคำขอวันที่ 16/2550 ลงวันที่ 11 กันยายน 2550 และได้รับการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ที่ 12/2551 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 - 27 กรกฎาคม 2552 จำนวน 2 แปลงนั้น ทางกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย ซึ่งประกอบไปด้วย ประชาชนในลุ่มน้ำที่ไม่เห็นชอบกับการสำรวจแร่เหล็กเพื่อทำเหมืองแร่ต่อไป จึงขอคัดค้านการอนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจแร่เหล็กที่จะมีการยื่นคำขอในปีต่อไป ของบริษัท ณ ภัทรไมนิ่ง หรือบริษัทเอกชนอื่นๆที่จะเข้ามาดำเนินการ
ทั้งนี้ เนื่องจาก 1.ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสรอย ต้องการอยู่บนผืนแผ่นดินของบรรพบุรุษต่อไป โดยไม่ต้องการได้รับผลกระทบ ที่จะเกิดจากการสำรวจแร่เหล็ก ทั้งในด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ชุมชนและวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงที่อยู่อาศัย
2.จากข้อมูลเบื้องต้นพื้นที่อำเภอวังชิ้น เป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งแร่ทองคำที่สำคัญ 1 ใน 6 แห่งของประเทศไทย คือ แหล่งแร่ทองคำพื้นที่จังหวัดลำปาง แพร่ และสุโขทัย ซึ่งได้รับข้อมูลดังกล่าวจากโครงการส่งเสริมและพัฒนาการทำเหมืองแร่ทองคำ ประจำปีงบประมาณ 2551 ที่เสนอต่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม
3.กระบวนการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ปี 2551 ที่ผ่านมาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความไม่โปร่งใสในการออกเอกสารให้อนุญาตสำรวจแร่เหล็กในพื้นที่
ดังนั้น กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย และชาวบ้านในพื้นที่ร้อยละ 80 จึงขอคัดค้านบริษัทเอกชนทุกบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการขออนุญาตเปิดพื้นที่สำรวจเหมืองเหล็กดังกล่าวในทุกกรณี
พร้อมกับขอเรียกร้องให้ให้คณะกรรมการเหมืองแร่ระดับจังหวัด หรือระดับต่างๆ เห็นความสำคัญของวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนที่ต้องการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข และทบทวนการยื่นคำขออนุญาตขออนุญาตของบริษัทเอกชนทุกกรณีในปีต่อไปด้วย
รายงานข่าวจากจังหวัดแพร่ แจ้งว่า กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย จังหวัดแพร่ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ ยุติเหมืองแร่ทองคำ ยุติการทำลายสิ่งแวดล้อมต้นน้ำยม เผยแพร่ผ่านสื่อแขนงต่างๆ โดยระบุว่าลำห้วยสรอยเป็นลำห้วยสาขาหนึ่งของแม่น้ำยมที่ไหลมาจากเทือกเขาบริเวณอุทยานแห่งชาติศรีสัชชนาลัย
ต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านปางงุ้น ต.สรอย อ.วังชิ้น ซึ่งอยู่เขตติดต่อกับ อ.เถิน จ.ลำปาง จากนั้นไหลผ่านหมู่บ้านต่างๆในเขต ต.สรอย ต.ป่าสัก และ ต.แม่พุง แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำยมที่หมู่บ้านปางมะโอ ต.แม่พุง รวมไหลผ่าน 17 หมู่บ้าน ระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร และในเขตลุ่มน้ำสรอยเคยเกิดภัยพิบัติน้ำป่าไหลหลาก โคลนถล่ม พัดบ้านเรือนตลอดแนวลุ่มน้ำสรอยเสียหายและตายกว่า 40 ศพมาแล้วเมื่อปี 2544
ดังนั้น เมื่อบริษัท ณ ภัทรไมนิ่ง ได้ยื่นขออาชญาบัตรสำรวจแร่เหล็กในพื้นที่ อ.วังชิ้น จดทะเบียนคำขอวันที่ 16/2550 ลงวันที่ 11 กันยายน 2550 และได้รับการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ที่ 12/2551 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 - 27 กรกฎาคม 2552 จำนวน 2 แปลงนั้น ทางกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย ซึ่งประกอบไปด้วย ประชาชนในลุ่มน้ำที่ไม่เห็นชอบกับการสำรวจแร่เหล็กเพื่อทำเหมืองแร่ต่อไป จึงขอคัดค้านการอนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจแร่เหล็กที่จะมีการยื่นคำขอในปีต่อไป ของบริษัท ณ ภัทรไมนิ่ง หรือบริษัทเอกชนอื่นๆที่จะเข้ามาดำเนินการ
ทั้งนี้ เนื่องจาก 1.ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสรอย ต้องการอยู่บนผืนแผ่นดินของบรรพบุรุษต่อไป โดยไม่ต้องการได้รับผลกระทบ ที่จะเกิดจากการสำรวจแร่เหล็ก ทั้งในด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ชุมชนและวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงที่อยู่อาศัย
2.จากข้อมูลเบื้องต้นพื้นที่อำเภอวังชิ้น เป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งแร่ทองคำที่สำคัญ 1 ใน 6 แห่งของประเทศไทย คือ แหล่งแร่ทองคำพื้นที่จังหวัดลำปาง แพร่ และสุโขทัย ซึ่งได้รับข้อมูลดังกล่าวจากโครงการส่งเสริมและพัฒนาการทำเหมืองแร่ทองคำ ประจำปีงบประมาณ 2551 ที่เสนอต่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม
3.กระบวนการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ปี 2551 ที่ผ่านมาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความไม่โปร่งใสในการออกเอกสารให้อนุญาตสำรวจแร่เหล็กในพื้นที่
ดังนั้น กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย และชาวบ้านในพื้นที่ร้อยละ 80 จึงขอคัดค้านบริษัทเอกชนทุกบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการขออนุญาตเปิดพื้นที่สำรวจเหมืองเหล็กดังกล่าวในทุกกรณี
พร้อมกับขอเรียกร้องให้ให้คณะกรรมการเหมืองแร่ระดับจังหวัด หรือระดับต่างๆ เห็นความสำคัญของวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนที่ต้องการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข และทบทวนการยื่นคำขออนุญาตขออนุญาตของบริษัทเอกชนทุกกรณีในปีต่อไปด้วย