นักวิชาการ จวกซ้ำ ข้าวปนเปื้อนแคดเมียมพบข้อมูลมั่วหลายจุด ถามกลับปัญหาจิ๊บจ๊อยแต่ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ มีเป้าหมายทุบราคาข้าว หรือแค่การทำประชาสัมพันธ์แบบใช้จินตนาการ “ผาแดง” เผย พื้นที่ปลูกข้าวปนเปื้อนเหลือน้อยลง หลังตั้งโรงงานผลิตเอทานอลที่ตาก ส่งเสริมให้คนในพื้นที่หันมาปลูกอ้อยแทน
นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายธนพร ศรียากูล ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ ออกมาให้ข่าวผ่านสื่อมวลชนถึงการตรวจพบข้าวปนเปื้อนสารแคดเมียมเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด พื้นที่แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ว่า ข้าวที่ผลิตในไทยมีพื้นที่ถึง 60 ล้านไร่ แต่พื้นที่ที่ปลูกใน อ.แม่สอด จ.ตาก นั้น มีเพียงหมื่นไร่ผลิตได้ 4,000-5,000 ตัน เท่านั้น และที่อยู่ใกล้การทำเหมืองแร่สังกะสีและแร่เหล็กจริงๆ ยิ่งมีน้อยกว่านั้น และส่วนใหญ่ทำเพื่อการบริโภคไม่ให้มีการจำหน่ายออกสู่ตลาด ขณะที่ข้าวที่ไทยผลิตเพื่อส่งออกที่มีมากถึง 10 ล้านตัน จึงเท่ากับเป็นการทำลายชื่อเสียงการส่งออกข้าวไทย และเกษตรกรไทย
“การออกมาระบุปัญหาดังกล่าว โดยไม่วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อภาคการส่งออกข้าวไทย ถือเป็นการกระทำที่มีเจตนาในการทุบราคาข้าวของไทยหรือไม่ หรือเป็นเพียงการทำงานแบบใช้การจินตนาการไปเอง โดยไม่มีการศึกษาให้ถ่องแท้ ขอเพียงแค่จะทำการประชาสัมพันธ์ ซึ่งการออกมาพูดก็ไม่ชัดว่า เป็นข้าวหอมมะลิที่ปนเปื้อนก็ยังไม่แน่ใจ เพราะที่ทราบ จ.ตาก เป็นพื้นที่ทำนาปีผลผลิตจะออกมาอีกครั้งก็ พ.ย.-ธ.ค.จึงไม่แน่ใจว่าเป็นข้าวฤดูการผลิตปีไหนที่พบ” นายอนันต์ กล่าว
ทั้งนี้ หากพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐานจริง ก็ควรจะวิเคราะห์ลงลึกแล้วร่วมมือกันแก้ไข โดยเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน ซึ่งเคยมีการศึกษาว่าควรจะส่งเสริมการปลูกพืชอื่น โดยเฉพาะอ้อยแต่จะต้องนำไปผลิตเป็นเอทานอลเท่านั้น ซึ่งทราบว่ามีการดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่มองปัญหาภาพรวมทุกพื้นที่ในการจัดสรรการปลูกพืชเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่
***ชี้การปนเปื้อนควรพิสูจน์ให้ชัดก่อน
แหล่งข่าวจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า พื้นที่การทำเหมืองในบริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก มีเพียงธุรกิจเหมืองสังกะสีที่มีการออกประทานบัตรการทำเหมืองให้ไป 2 บริษัท คือ บริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ตากไมนิ่ง จำกัด แต่ปัจจุบันมีเพียงผาแดงที่ทำการผลิต ขณะที่บริษัท ตากไมนิ่ง ปิดการดำเนินการไปนานแล้ว
“ที่ผ่านมา มีการต่ออายุประทานบัตรให้แก่ผาแดงในการทำเหมือง และมีข้อกำหนดในการดูแลปัญหาดังกล่าวชัดเจน และทำให้บริษัทมีการทำรายงานผลกระทบอย่างเข้มข้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะแผนการจัดการด้านสารปนเปื้อนที่กระทบกับข้าวที่เกิดปัญหาในช่วงปี 2545-2546 และมีการควบคุมมาต่อเนื่อง ด้วยการดำเนินการคุมการปลูกที่ผลิตออกมาไม่ให้สู่ตลาด แต่เป็นแค่การบริโภคในครัวเรือนและส่งเสริมให้ปลูกข้าวแทนอ้อยไปผลิตเอทานอลไม่ให้นำมาผลิตเป็นน้ำตาล เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ข่าวที่ออกมาสร้างความรู้สึกแปลกใจพอสมควร เพราะปัญหาดังกล่าวหากเกิดขึ้นจริง ข้อมูลก็น่าจะมีการหารือกันภายในก่อน เพื่อร่วมกันแก้ไข ไม่ใช่ไปปล่อยข่าวกลายเป็นผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากควรพิสูจน์ให้ชัดเจน เพราะการปนเปื้อนนั้นหากพื้นที่ใดมีปริมาณแร่ที่หนาแน่น ก็สามารถเกิดการปนเปื้อนโดยธรรมชาติได้ทั้งสิ้น และการทำเหมืองเองก็อาจจะเกิดจากกระบวนการชะล้างหรือไม่ก็ควรจะต้องพิสูจน์ก่อน
*** ผาแดง ชี้ พท.ปลูกข้าวปนเปื้อนลดลง
แหล่งข่าวจากบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจเหมืองแร่สังกะสี อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า ปัญหาข้าวปนเปื้อนแคดเมียม มีมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งบริษัทได้ร่วมมือกับหน่วยงานราชการจังหวัดตาก และชุมชนในพื้นที่ร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนปัจจุบันพื้นที่ที่เคยเพาะปลูกได้ข้าวปนเปื้อนแคดเมียมลดลงจาก 1.3 หมื่นไร่ เหลือเพียง 1.5 พันไร่ โดยทางจังหวัดได้ขอให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่ข้าวแทน เช่น สัก ยาง และ อ้อย จนขณะนี้มีเกษตรกรหันมาปลูกพืชอื่นแทนแล้ว 7 พันไร่ คงเหลือพื้นที่ปลูกข้าวอยู่ 5 พันไร่ ซึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วมีการตรวจสอบผลผลิตข้าวในพื้นที่ดังกล่าวพบว่ามีข้าวปนเปื้อนสารแคดเมียมเกินมาตรฐานอยู่ 1.5 พันไร่เท่านั้น
ดังนั้น ทาง จ.ตาก จึงได้ดูแลพื้นที่ดังกล่าวที่เหลือเป็นพิเศษ โดยขอให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งรับซื้อข้าวที่มีการปนเปื้อนสูงจากเกษตรกรเพื่อทำลาย แต่เกษตรกรบางรายก็ไม่ขาย เพราะต้องการเก็บไว้กินเอง ซึ่งปีที่แล้วปริมาณข้าวที่เพาะปลูกได้ในพื้นที่น้อย แทบจะไม่เพียงพอที่จะรับประทาน ทำให้ต้องซื้อข้าวจากจังหวัดอื่นมาเพิ่มเติม จึงเชื่อว่าไม่มีปัญหาข้าวปนเปื้อนแคดเมียมในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐ หรือปัญหาการส่งออก
“ไม่เข้าใจเหตุผลที่กระทรวงพาณิชย์ออกมาปล่อยข่าวแบบนนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย โดยต้นปีนี้ก็มีตัวแทนจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงญี่ปุ่นเข้ามาดูข้อมูลและซักถามในพื้นที่แล้ว ซึ่งก็มีความเข้าใจที่ดีถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากทุกฝ่าย”
แหล่งข่าวจากผาแดง กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมมือกับกลุ่มน้ำตาลมิตรผล และ ไทยออยล์ ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในตาก ที่ได้เปิดดำเนินการเมื่อต้นปี 2552 โดยโรงงานดังกล่าวจะรับซื้ออ้อยในพื้นที่มาเป็นวัตถุดิบ โดยผาแดงฯได้ส่งเสริมการปลูกอ้อยโดยดูแลปัจจัยการผลิต เช่น การไถปรับที่ดิน ให้ท่อนพันธุ์อ้อย ปุ๋ย และ ยา ขณะที่เกษตรกรออกแรงเพาะปลูก ขณะที่ราคาขายอ้อยก็จะอิงตามคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กำหนดไว้ เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีเกษตรกรหันมาปลูกอ้อยแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาข้าวปนเปื้อนสารแคดเมียมต่อไปได้
ที่ผ่านมา ผาแดง ได้มีการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลในการทำธุรกิจเหมืองแร่และผลิตสังกะสี
ก่อนที่ นายธนพร ศรียากูล จะก้าวมาเป็นที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เคยเป็นหน้าห้องนักการเมืองท่านหนึ่งในกระทรวงทรัพยากรฯมาก่อน ในช่วงนั้นได้รับการกล่าวขวัญ ว่า มีการเตะถ่วงการอนุมัติผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จะด้วยเหตุผลใดสุดจะคาดเดา ซึ่งหนึ่งในมีเหมืองผาแดง คั่งค้างอยู่ด้วย
นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายธนพร ศรียากูล ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ ออกมาให้ข่าวผ่านสื่อมวลชนถึงการตรวจพบข้าวปนเปื้อนสารแคดเมียมเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด พื้นที่แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ว่า ข้าวที่ผลิตในไทยมีพื้นที่ถึง 60 ล้านไร่ แต่พื้นที่ที่ปลูกใน อ.แม่สอด จ.ตาก นั้น มีเพียงหมื่นไร่ผลิตได้ 4,000-5,000 ตัน เท่านั้น และที่อยู่ใกล้การทำเหมืองแร่สังกะสีและแร่เหล็กจริงๆ ยิ่งมีน้อยกว่านั้น และส่วนใหญ่ทำเพื่อการบริโภคไม่ให้มีการจำหน่ายออกสู่ตลาด ขณะที่ข้าวที่ไทยผลิตเพื่อส่งออกที่มีมากถึง 10 ล้านตัน จึงเท่ากับเป็นการทำลายชื่อเสียงการส่งออกข้าวไทย และเกษตรกรไทย
“การออกมาระบุปัญหาดังกล่าว โดยไม่วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อภาคการส่งออกข้าวไทย ถือเป็นการกระทำที่มีเจตนาในการทุบราคาข้าวของไทยหรือไม่ หรือเป็นเพียงการทำงานแบบใช้การจินตนาการไปเอง โดยไม่มีการศึกษาให้ถ่องแท้ ขอเพียงแค่จะทำการประชาสัมพันธ์ ซึ่งการออกมาพูดก็ไม่ชัดว่า เป็นข้าวหอมมะลิที่ปนเปื้อนก็ยังไม่แน่ใจ เพราะที่ทราบ จ.ตาก เป็นพื้นที่ทำนาปีผลผลิตจะออกมาอีกครั้งก็ พ.ย.-ธ.ค.จึงไม่แน่ใจว่าเป็นข้าวฤดูการผลิตปีไหนที่พบ” นายอนันต์ กล่าว
ทั้งนี้ หากพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐานจริง ก็ควรจะวิเคราะห์ลงลึกแล้วร่วมมือกันแก้ไข โดยเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน ซึ่งเคยมีการศึกษาว่าควรจะส่งเสริมการปลูกพืชอื่น โดยเฉพาะอ้อยแต่จะต้องนำไปผลิตเป็นเอทานอลเท่านั้น ซึ่งทราบว่ามีการดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่มองปัญหาภาพรวมทุกพื้นที่ในการจัดสรรการปลูกพืชเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่
***ชี้การปนเปื้อนควรพิสูจน์ให้ชัดก่อน
แหล่งข่าวจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า พื้นที่การทำเหมืองในบริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก มีเพียงธุรกิจเหมืองสังกะสีที่มีการออกประทานบัตรการทำเหมืองให้ไป 2 บริษัท คือ บริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ตากไมนิ่ง จำกัด แต่ปัจจุบันมีเพียงผาแดงที่ทำการผลิต ขณะที่บริษัท ตากไมนิ่ง ปิดการดำเนินการไปนานแล้ว
“ที่ผ่านมา มีการต่ออายุประทานบัตรให้แก่ผาแดงในการทำเหมือง และมีข้อกำหนดในการดูแลปัญหาดังกล่าวชัดเจน และทำให้บริษัทมีการทำรายงานผลกระทบอย่างเข้มข้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะแผนการจัดการด้านสารปนเปื้อนที่กระทบกับข้าวที่เกิดปัญหาในช่วงปี 2545-2546 และมีการควบคุมมาต่อเนื่อง ด้วยการดำเนินการคุมการปลูกที่ผลิตออกมาไม่ให้สู่ตลาด แต่เป็นแค่การบริโภคในครัวเรือนและส่งเสริมให้ปลูกข้าวแทนอ้อยไปผลิตเอทานอลไม่ให้นำมาผลิตเป็นน้ำตาล เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ข่าวที่ออกมาสร้างความรู้สึกแปลกใจพอสมควร เพราะปัญหาดังกล่าวหากเกิดขึ้นจริง ข้อมูลก็น่าจะมีการหารือกันภายในก่อน เพื่อร่วมกันแก้ไข ไม่ใช่ไปปล่อยข่าวกลายเป็นผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากควรพิสูจน์ให้ชัดเจน เพราะการปนเปื้อนนั้นหากพื้นที่ใดมีปริมาณแร่ที่หนาแน่น ก็สามารถเกิดการปนเปื้อนโดยธรรมชาติได้ทั้งสิ้น และการทำเหมืองเองก็อาจจะเกิดจากกระบวนการชะล้างหรือไม่ก็ควรจะต้องพิสูจน์ก่อน
*** ผาแดง ชี้ พท.ปลูกข้าวปนเปื้อนลดลง
แหล่งข่าวจากบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจเหมืองแร่สังกะสี อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวว่า ปัญหาข้าวปนเปื้อนแคดเมียม มีมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งบริษัทได้ร่วมมือกับหน่วยงานราชการจังหวัดตาก และชุมชนในพื้นที่ร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนปัจจุบันพื้นที่ที่เคยเพาะปลูกได้ข้าวปนเปื้อนแคดเมียมลดลงจาก 1.3 หมื่นไร่ เหลือเพียง 1.5 พันไร่ โดยทางจังหวัดได้ขอให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่ข้าวแทน เช่น สัก ยาง และ อ้อย จนขณะนี้มีเกษตรกรหันมาปลูกพืชอื่นแทนแล้ว 7 พันไร่ คงเหลือพื้นที่ปลูกข้าวอยู่ 5 พันไร่ ซึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วมีการตรวจสอบผลผลิตข้าวในพื้นที่ดังกล่าวพบว่ามีข้าวปนเปื้อนสารแคดเมียมเกินมาตรฐานอยู่ 1.5 พันไร่เท่านั้น
ดังนั้น ทาง จ.ตาก จึงได้ดูแลพื้นที่ดังกล่าวที่เหลือเป็นพิเศษ โดยขอให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งรับซื้อข้าวที่มีการปนเปื้อนสูงจากเกษตรกรเพื่อทำลาย แต่เกษตรกรบางรายก็ไม่ขาย เพราะต้องการเก็บไว้กินเอง ซึ่งปีที่แล้วปริมาณข้าวที่เพาะปลูกได้ในพื้นที่น้อย แทบจะไม่เพียงพอที่จะรับประทาน ทำให้ต้องซื้อข้าวจากจังหวัดอื่นมาเพิ่มเติม จึงเชื่อว่าไม่มีปัญหาข้าวปนเปื้อนแคดเมียมในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐ หรือปัญหาการส่งออก
“ไม่เข้าใจเหตุผลที่กระทรวงพาณิชย์ออกมาปล่อยข่าวแบบนนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย โดยต้นปีนี้ก็มีตัวแทนจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงญี่ปุ่นเข้ามาดูข้อมูลและซักถามในพื้นที่แล้ว ซึ่งก็มีความเข้าใจที่ดีถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากทุกฝ่าย”
แหล่งข่าวจากผาแดง กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมมือกับกลุ่มน้ำตาลมิตรผล และ ไทยออยล์ ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในตาก ที่ได้เปิดดำเนินการเมื่อต้นปี 2552 โดยโรงงานดังกล่าวจะรับซื้ออ้อยในพื้นที่มาเป็นวัตถุดิบ โดยผาแดงฯได้ส่งเสริมการปลูกอ้อยโดยดูแลปัจจัยการผลิต เช่น การไถปรับที่ดิน ให้ท่อนพันธุ์อ้อย ปุ๋ย และ ยา ขณะที่เกษตรกรออกแรงเพาะปลูก ขณะที่ราคาขายอ้อยก็จะอิงตามคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กำหนดไว้ เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีเกษตรกรหันมาปลูกอ้อยแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาข้าวปนเปื้อนสารแคดเมียมต่อไปได้
ที่ผ่านมา ผาแดง ได้มีการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลในการทำธุรกิจเหมืองแร่และผลิตสังกะสี
ก่อนที่ นายธนพร ศรียากูล จะก้าวมาเป็นที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เคยเป็นหน้าห้องนักการเมืองท่านหนึ่งในกระทรวงทรัพยากรฯมาก่อน ในช่วงนั้นได้รับการกล่าวขวัญ ว่า มีการเตะถ่วงการอนุมัติผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จะด้วยเหตุผลใดสุดจะคาดเดา ซึ่งหนึ่งในมีเหมืองผาแดง คั่งค้างอยู่ด้วย