ASTVผู้จัดการรายวัน- กฟผ.ปรับประมาณการใช้ไฟปี’53 เพิ่มเป็น 4.72% หลังการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของไทยหรือพีคม.ค.53 ขยายตัว 21.01% จากม.ค.52 ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์เหตุศก.โลกตกทำให้ยอดใช้ไฟม.ค.52ดิ่งหนัก บ่งชี้ศก.ไทยกลับมาขยายตัวใกล้เคียงกับก่อนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เดือน ม.ค. 2553 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2552 มีอัตราเติบโตถึง 2,300 เมกะวัตต์ และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ 12,281 ล้านหน่วย ปรับตัวสูงขึ้น 2,132 ล้านหน่วย หรือ 21.01% นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ประเทศไทยเคยใช้ไฟฟ้ามา
“ มกราคม 2552 ไทยมีการใช้ไฟฟ้าทำสถิติลดต่ำสุดมากกว่า 10% เป็นเพราะวิกฤติเศรษฐกิจที่กระทบให้ภาคธุรกิจลดกำลังการผลิตลงขณะเดียวกันยังมีปัญหาการเมืองที่ปิดสนามบินกระทบต่อการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นม.ค. 53 เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจึงทำให้การใช้ไฟมีอัตราเติบโตที่สูงซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะภาคส่งออกกลับมาขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับก่อนเกิดเหตุวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์”นายสุทัศน์กล่าว
นายสุทัศน์ กล่าวว่า การใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นสูงทำให้กฟผ.ปรับประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปีนี้ใหม่จากเดิมคาดว่าจะมีพีคเติบโตประมาณ 3.5% เพิ่มเป็น 5.2 %หรือประมาณ 23,000 เมกะวัตต์ ส่วนปริมาณไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 4 %เป็น 4.72% หรือประมาณ 151,000 ล้านหน่วยให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว และเป็นไปตามที่มีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย ปีนี้จะขยายตัวประมาณ 3.5% โดยขอยืนยันว่า กฟผ.จัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยปัจจุบันมีสำรองไฟฟ้าประมาณ 25% และในปีนี้ยังมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบ 2 โรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเทิน 2 จาก สปป.ลาวอีก 920 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงกว่าปีที่แล้ว 10%ขณะที่ ไทยยังมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าสัดส่วนถึง 70% โดยเฉพาะก๊าซจากพม่ามีปริมาณสูงถึง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปริมาณก๊าซรวม 2,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยในส่วนของก๊าซพม่าที่ไทยรับจาก 2 แห่ง คือ ยาดานา และเยตากุน ที่มีค่าความร้อนแตกต่างกันดังนั้น หากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหยุดผลิตประเทศไทยก็จะไม่สามารถใช้ก๊าซจากทั้งสองแหล่งได้ซึ่งจะสร้างผลกระทบต่อการเดินเครื่อง ดังนั้น การกระจายเชื้อเพลิงไปใช้ประเภทอื่น ๆ จึงควรจะดำเนินการอย่างรวดเร็วที่สุด
ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวด้วยว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าเริ่มปรับเพิ่มขึ้นหลังจากติดลบเดือน ม.ค.-ก.ย. 2552 โดยเดือน ต.ค.- ธ.ค.ปีที่แล้ว ขยับขึ้นมาเป็นบวก 3% , 8% และ 16% ตามลำดับ โดยปริมาณการใช้ไฟฟ้าปี 2552 มีจำนวน 145,233 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 5.5 ล้านหน่วย หรือ 0.004% อย่างไรก็ตาม ปีนี้กฟผ.เดินหน้าลดการใช้พลังงานควบคู่ไปด้วยโครงการส่งเสริมประหยัดพลังงานทุกด้าน รวมทั้งโครงการลดภาวะโลกร้อน เช่น โครงการเปลี่ยนหลอดผอมประเภทต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2557 - 2558 การใช้ไฟฟ้าจะลดลงประมาณ 1,500 เมกะวัตต์
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เดือน ม.ค. 2553 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2552 มีอัตราเติบโตถึง 2,300 เมกะวัตต์ และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ 12,281 ล้านหน่วย ปรับตัวสูงขึ้น 2,132 ล้านหน่วย หรือ 21.01% นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่ประเทศไทยเคยใช้ไฟฟ้ามา
“ มกราคม 2552 ไทยมีการใช้ไฟฟ้าทำสถิติลดต่ำสุดมากกว่า 10% เป็นเพราะวิกฤติเศรษฐกิจที่กระทบให้ภาคธุรกิจลดกำลังการผลิตลงขณะเดียวกันยังมีปัญหาการเมืองที่ปิดสนามบินกระทบต่อการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นม.ค. 53 เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจึงทำให้การใช้ไฟมีอัตราเติบโตที่สูงซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะภาคส่งออกกลับมาขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับก่อนเกิดเหตุวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์”นายสุทัศน์กล่าว
นายสุทัศน์ กล่าวว่า การใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นสูงทำให้กฟผ.ปรับประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปีนี้ใหม่จากเดิมคาดว่าจะมีพีคเติบโตประมาณ 3.5% เพิ่มเป็น 5.2 %หรือประมาณ 23,000 เมกะวัตต์ ส่วนปริมาณไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 4 %เป็น 4.72% หรือประมาณ 151,000 ล้านหน่วยให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว และเป็นไปตามที่มีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย ปีนี้จะขยายตัวประมาณ 3.5% โดยขอยืนยันว่า กฟผ.จัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยปัจจุบันมีสำรองไฟฟ้าประมาณ 25% และในปีนี้ยังมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบ 2 โรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำเทิน 2 จาก สปป.ลาวอีก 920 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงกว่าปีที่แล้ว 10%ขณะที่ ไทยยังมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าสัดส่วนถึง 70% โดยเฉพาะก๊าซจากพม่ามีปริมาณสูงถึง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปริมาณก๊าซรวม 2,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยในส่วนของก๊าซพม่าที่ไทยรับจาก 2 แห่ง คือ ยาดานา และเยตากุน ที่มีค่าความร้อนแตกต่างกันดังนั้น หากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหยุดผลิตประเทศไทยก็จะไม่สามารถใช้ก๊าซจากทั้งสองแหล่งได้ซึ่งจะสร้างผลกระทบต่อการเดินเครื่อง ดังนั้น การกระจายเชื้อเพลิงไปใช้ประเภทอื่น ๆ จึงควรจะดำเนินการอย่างรวดเร็วที่สุด
ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวด้วยว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าเริ่มปรับเพิ่มขึ้นหลังจากติดลบเดือน ม.ค.-ก.ย. 2552 โดยเดือน ต.ค.- ธ.ค.ปีที่แล้ว ขยับขึ้นมาเป็นบวก 3% , 8% และ 16% ตามลำดับ โดยปริมาณการใช้ไฟฟ้าปี 2552 มีจำนวน 145,233 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 5.5 ล้านหน่วย หรือ 0.004% อย่างไรก็ตาม ปีนี้กฟผ.เดินหน้าลดการใช้พลังงานควบคู่ไปด้วยโครงการส่งเสริมประหยัดพลังงานทุกด้าน รวมทั้งโครงการลดภาวะโลกร้อน เช่น โครงการเปลี่ยนหลอดผอมประเภทต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2557 - 2558 การใช้ไฟฟ้าจะลดลงประมาณ 1,500 เมกะวัตต์