ASTVผู้จัดการรายวัน- “อภิสิทธิ์”เตรียมแจงคืบหน้ามาบตาพุดหวังสร้างเชื่อมั่นเจโทร จับตาผลสำรวจนักลงทุนยุ่นกดดันหนัก ด้านอัยการสูงสุดเล็งช่องยื่นศาลปกครองสูงสุดตีความการ”ระงับ”เป็นระงับดำเนินงานไม่ใช่ก่อสร้างเพื่อเดินหน้าก่อสร้างได้คาด 29 กิจการถูกปลดล็อค สมาคมต้านโลกร้อนยื่น ป.ป.ช.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการเข้าพบของประธานองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) วานนี้ (3ก.พ.) ว่า วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ รัฐบาลไทยจะชี้แจงกับนักลงทุนญี่ปุ่นถึงการเดินหน้าของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งยอมรับว่า ขณะนี้เจโทรอยู่ระหว่างทบทวนแผนการลงทุนในไทยดังนั้นจึงได้ขอให้ไทยเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังเตรียมจัดส่งทีมไทยแลนด์นำโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือนมีนาคม 2553 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนไทยเพื่อชี้แจงต่อนักธุรกิจในญี่ปุ่นได้รับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องต่อแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการดังกล่าวซึ่งยังเชื่อว่านักลงทุนญี่ปุ่นยังคงเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของ
“สิ่งที่รัฐบาลจะเดินหน้าช่วยเหลือภาคเอกชนต่อไป คือ เตรียมจะให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลพิจารณาอนุญาตให้สามารถก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมมาบตาพุดต่อไปได้ เพียงแต่จะยังไม่เปิดดำเนินการผลิต เนื่องจากเห็นว่าขั้นตอนการก่อสร้างโรงงานไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หรือเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของชุมชน”นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ เจโทรจะประกาศผลการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจะนำประเด็นปัญหามาบตาพุดเข้ามาอยู่ในประเด็นหลัก
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด กล่าวว่า เร็วๆ นี้อัยการสูงสุดจะเป็นตัวแทนของภาครัฐไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ศาลยกเว้นคำสั่งระงับการก่อสร้างโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้เฉพาะโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างใหม่แต่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการให้สามารถเดินหน้าก่อสร้างต่อไปได้ คาดว่าจะมีจำนวน 29 โครงการ
ทั้งนี้อัยการสูงสุดจะขอศาลฯ เพื่อให้ตีความหมายของคำว่า"ระงับ"หมายถึงการระงับการประกอบกิจการ ซึ่งยังไม่ใช่การระงับการก่อสร้าง หรือเป็นการระงับการเปิดกิจการ ระงับการประกอบกิจการแทน เพราะการที่ภาคเอกชนต้องระงับการก่อสร้างไป ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และความเสียหายของประเทศในภาพรวม
“สาเหตุที่จะยื่นขอยกเว้นการระงับก่อสร้างเพราะเห็นว่าขั้นตอนการก่อสร้างโรงงานหรืออาคาร ยังไม่ได้ก่อให้เกิดมลภาวะ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอนามัยของคนภายในชุมชน ซึ่งแนวนโยบายนี้เป็นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่สั่งการล่าสุดลงมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด”นายจุลสิงห์กล่าว
ในคำร้องนั้นอัยการสูงสุดจะระบุรายละเอียดให้ศาลฯ ทราบอย่างชัดเจนว่า โครงการใดกำลังยื่นขอก่อสร้าง หรือกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง และหากอยู่ระหว่างก่อสร้างจริง ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ และการที่หยุดก่อสร้างได้สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าเท่าใด
**ยื่นเอกสารการันตีทำตามม.67(2)
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ขณะนี้คลินิคที่ปรึกษาผู้ประกอบการเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุดได้มีการเรียกเอกชนมาหารือระดับหนึ่งแล้วโดยในวันที่ 5 ก.พ.นี้จะเป็นกลุ่มเครือซิเมนต์ไทย รวมถึงดาวเคมิคอลและผู้บริหารฟอร์ด
ทั้งนี้เพื่อที่จะรวบรวมส่งเอกสารให้ครบถ้วนกับอัยการสูงสุดในการนำไปยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดโดยเฉพาะทุกกิจการจะต้องมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยืนยันว่าจะปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค สองอย่างครบถ้วนเพื่อการันตีกับศาลฯ
“กรณีที่อัยการระบุ 29 กิจการในกลุ่มที่จะยื่นขอให้ก่อสร้างได้นั้นเดิมทีได้มีการจัดกลุ่มที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 23 กิจการแต่เพิ่มขึ้นอาจจะรวมถึงกิจการก่อสรางแล้วอยู่ในช่วงทดสอบเครื่องจักรการผลิต ก็พยายามจะเร่งทำข้อมูลให้อัยการแต่ยังไม่มั่นใจว่าจะทันในสัปดาห์นี้หรือไม่หากไม่ทันอาจเป็นสัปดาห์หน้า”แหล่งข่าวกล่าว
**ลุ้นโรงแยกฯ 6 เว้นระงับกิจการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานกล่าวว่า ส่วนของกระทรวงพลังงานนั้นกลุ่มที่กำลังก่อสร้างคือ โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ของบมจ.ปตท.ซึ่งกรณีดังกล่าวได้มีการให้เหตุผลสำคัญที่หากมีการระงับกิจการจะมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะโดยเฉพาะการขาดแคลนก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่จะมีผลต่อการนำเข้าสูงขึ้นกระทบต่อฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นการจัดเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันเพื่อมาอุดหนุนผู้ใช้แอลพีจีซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
**สมาคมต้านโลกร้อนยื่น ป.ป.ช.
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 ก.พ. นี้ สมาคมฯ จะเดินทางไปร้องเรียนกล่าวโทษคณะกรรมการกฤษฎีกา, กนอ. และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้เอาผิดกับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ละเมิดรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กระทั่งทำให้เกิดวิกฤตมาบตาพุดในขณะนี้ และขอเรียกร้องให้ตัวแทนภาคประชาชนที่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายและคณะกรรมการประสานงานให้ความเห็นองค์กรอิสระถอนตัวเพราะรัฐบาลไม่เคยจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา แต่กลับพยายามลบหลู่ศาลและท้าทายภาคประชาชน โดยหาทางปลดล็อกให้โครงการเดินหน้าต่อไปตามแรงกดดันของนักลงทุน ทั้งการขอต่อศาลให้สร้างไปก่อนแล้วค่อยปฏิบัติตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญฯ การหลอกให้ชาวบ้านถอนฟ้องทั้งที่รู้ว่าไม่สามารถถอนฟ้องได้ การปล่อยให้ข้าราชการที่ไม่ยอมเสนอออกกฎหมายลูกตามมาตรา 67 วรรคสอง ลอยนวลโดยไม่สอบสวนหรือสั่งการลงโทษใดๆ เป็นต้น.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการเข้าพบของประธานองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) วานนี้ (3ก.พ.) ว่า วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ รัฐบาลไทยจะชี้แจงกับนักลงทุนญี่ปุ่นถึงการเดินหน้าของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งยอมรับว่า ขณะนี้เจโทรอยู่ระหว่างทบทวนแผนการลงทุนในไทยดังนั้นจึงได้ขอให้ไทยเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังเตรียมจัดส่งทีมไทยแลนด์นำโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือนมีนาคม 2553 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนไทยเพื่อชี้แจงต่อนักธุรกิจในญี่ปุ่นได้รับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องต่อแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการดังกล่าวซึ่งยังเชื่อว่านักลงทุนญี่ปุ่นยังคงเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของ
“สิ่งที่รัฐบาลจะเดินหน้าช่วยเหลือภาคเอกชนต่อไป คือ เตรียมจะให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลพิจารณาอนุญาตให้สามารถก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมมาบตาพุดต่อไปได้ เพียงแต่จะยังไม่เปิดดำเนินการผลิต เนื่องจากเห็นว่าขั้นตอนการก่อสร้างโรงงานไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หรือเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของชุมชน”นายอภิสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ เจโทรจะประกาศผลการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจะนำประเด็นปัญหามาบตาพุดเข้ามาอยู่ในประเด็นหลัก
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด กล่าวว่า เร็วๆ นี้อัยการสูงสุดจะเป็นตัวแทนของภาครัฐไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ศาลยกเว้นคำสั่งระงับการก่อสร้างโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้เฉพาะโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างใหม่แต่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการให้สามารถเดินหน้าก่อสร้างต่อไปได้ คาดว่าจะมีจำนวน 29 โครงการ
ทั้งนี้อัยการสูงสุดจะขอศาลฯ เพื่อให้ตีความหมายของคำว่า"ระงับ"หมายถึงการระงับการประกอบกิจการ ซึ่งยังไม่ใช่การระงับการก่อสร้าง หรือเป็นการระงับการเปิดกิจการ ระงับการประกอบกิจการแทน เพราะการที่ภาคเอกชนต้องระงับการก่อสร้างไป ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และความเสียหายของประเทศในภาพรวม
“สาเหตุที่จะยื่นขอยกเว้นการระงับก่อสร้างเพราะเห็นว่าขั้นตอนการก่อสร้างโรงงานหรืออาคาร ยังไม่ได้ก่อให้เกิดมลภาวะ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอนามัยของคนภายในชุมชน ซึ่งแนวนโยบายนี้เป็นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่สั่งการล่าสุดลงมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด”นายจุลสิงห์กล่าว
ในคำร้องนั้นอัยการสูงสุดจะระบุรายละเอียดให้ศาลฯ ทราบอย่างชัดเจนว่า โครงการใดกำลังยื่นขอก่อสร้าง หรือกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง และหากอยู่ระหว่างก่อสร้างจริง ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ และการที่หยุดก่อสร้างได้สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าเท่าใด
**ยื่นเอกสารการันตีทำตามม.67(2)
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า ขณะนี้คลินิคที่ปรึกษาผู้ประกอบการเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุดได้มีการเรียกเอกชนมาหารือระดับหนึ่งแล้วโดยในวันที่ 5 ก.พ.นี้จะเป็นกลุ่มเครือซิเมนต์ไทย รวมถึงดาวเคมิคอลและผู้บริหารฟอร์ด
ทั้งนี้เพื่อที่จะรวบรวมส่งเอกสารให้ครบถ้วนกับอัยการสูงสุดในการนำไปยื่นต่อศาลปกครองสูงสุดโดยเฉพาะทุกกิจการจะต้องมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยืนยันว่าจะปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค สองอย่างครบถ้วนเพื่อการันตีกับศาลฯ
“กรณีที่อัยการระบุ 29 กิจการในกลุ่มที่จะยื่นขอให้ก่อสร้างได้นั้นเดิมทีได้มีการจัดกลุ่มที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 23 กิจการแต่เพิ่มขึ้นอาจจะรวมถึงกิจการก่อสรางแล้วอยู่ในช่วงทดสอบเครื่องจักรการผลิต ก็พยายามจะเร่งทำข้อมูลให้อัยการแต่ยังไม่มั่นใจว่าจะทันในสัปดาห์นี้หรือไม่หากไม่ทันอาจเป็นสัปดาห์หน้า”แหล่งข่าวกล่าว
**ลุ้นโรงแยกฯ 6 เว้นระงับกิจการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานกล่าวว่า ส่วนของกระทรวงพลังงานนั้นกลุ่มที่กำลังก่อสร้างคือ โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ของบมจ.ปตท.ซึ่งกรณีดังกล่าวได้มีการให้เหตุผลสำคัญที่หากมีการระงับกิจการจะมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะโดยเฉพาะการขาดแคลนก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่จะมีผลต่อการนำเข้าสูงขึ้นกระทบต่อฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นการจัดเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันเพื่อมาอุดหนุนผู้ใช้แอลพีจีซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
**สมาคมต้านโลกร้อนยื่น ป.ป.ช.
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 ก.พ. นี้ สมาคมฯ จะเดินทางไปร้องเรียนกล่าวโทษคณะกรรมการกฤษฎีกา, กนอ. และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้เอาผิดกับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ละเมิดรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กระทั่งทำให้เกิดวิกฤตมาบตาพุดในขณะนี้ และขอเรียกร้องให้ตัวแทนภาคประชาชนที่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายและคณะกรรมการประสานงานให้ความเห็นองค์กรอิสระถอนตัวเพราะรัฐบาลไม่เคยจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา แต่กลับพยายามลบหลู่ศาลและท้าทายภาคประชาชน โดยหาทางปลดล็อกให้โครงการเดินหน้าต่อไปตามแรงกดดันของนักลงทุน ทั้งการขอต่อศาลให้สร้างไปก่อนแล้วค่อยปฏิบัติตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญฯ การหลอกให้ชาวบ้านถอนฟ้องทั้งที่รู้ว่าไม่สามารถถอนฟ้องได้ การปล่อยให้ข้าราชการที่ไม่ยอมเสนอออกกฎหมายลูกตามมาตรา 67 วรรคสอง ลอยนวลโดยไม่สอบสวนหรือสั่งการลงโทษใดๆ เป็นต้น.