เจโทร-CEO บริษัทญี่ปุ่นพบนายกฯ อภิสิทธิ์ เผยดีใจรัฐบาลใส่ใจมาบตาพุด มั่นใจตลาดอาเซียนยังน่าสนใจ
วันนี้ (3 ก.พ.) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯหรือเจโทร (JETRO) เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย ณ ห้องรับรองนายกรัฐมนตรี ชั้น 2 อาคารรัฐสภา เพื่อหารือและรับทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหามาบตาพุดของรัฐบาล หลังจากเกิดปัญหา จนทำให้การลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นต้องหยุดชะงัก ทั้งนี้ ประธานเจโทรใช้เวลาในการเข้าพบ 30 นาที อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นเวลา 13.00 น. นายเทรุโอะ อาซะดะ ประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหารบริษัท มารูเบนิ (ประเทศญี่ปุ่น) ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีและคณะด้วยเช่นกัน
จากนั้น นายกรัฐมนตรีแถลงผลการหารือกับประธานเจโทรว่า เจโทรเขาจะทำการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่ประกอบการที่ประเทศไทย แต่ว่าผลการสำรวจเจโทรจะเปิดเผยในวันที่ 5 ก.พ. ซึ่งเขาก็จะนำเสนอการสำรวจทั้งในแง่ของความมั่นใจในเรื่องของการประกอบธุรกิจ อุปสรรคปัญหา และมีประเด็นพิเศษที่เขาจะให้ความสำคัญแล้ว แต่จังหวะเวลาของการสำรวจ โดยสรุปภาพรวมที่ได้คุยกันก็มีในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ ที่เห็นสอดคล้องกันว่าเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวที่ดีต่อไป
นายกฯ กล่าวอีกว่า ส่วนอุปสรรคปัญหาการลงทุนทั้งหลาย บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เราเห็นมาทุกปี เช่น ปัญหาเรื่องระบบศุลกากร ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลและกระทรวงการคลัง ได้แก้ไขไปส่วนหนึ่งและกำลังจะมีการนำเสนอเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง รวมไปถึงปัญหามาบตาพุดที่เขาหยิบบกขึ้นมาคุย ซึ่งตนก็ได้อธิบายให้เกิดความเข้าใจชัดเจนว่าประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ประเด็นของนโยบายรัฐบาล แต่เป็นเรื่องของการตีความกฎหมาย เพราะว่าสิ่งที่ภาคธุรกิจเขาจะเข้าใจได้ยากก็คือเสมือนกับว่ารัฐบาลอนุญาตให้เขาทำบางสิ่งบางอย่างไปแล้ว ต่อมากลับไม่ให้เขาทำ ก็อธิบายให้เขาฟังว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องที่รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่เป็นเรื่องของการตีความกฎหมาย ที่เราต้องเคารพความเห็นของศาล และขณะเดียวกันก็ได้อธิบายให้ทราบถึงแนวทางที่แก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้
“ซึ่งเขาก็บอกว่าเขาก็ดีใจที่ได้เห็นรัฐบาลให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่องนี้ เพียงแต่ว่าการคลี่คลายเรื่องนี้ เขาก็อยากเห็นเกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะว่าถ้าเนิ่นนานไปก็ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน” นายกฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าเขาเข้าใจในกระบวนการทางศาลของไทยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ก็ได้อธิบายเพราะว่าในขณะนี้สิ่งที่เราจะร้องขอต่อศาลก็คือเรื่องของการก่อสร้าง ขณะเดียวกัน กระบวนการที่จะไปทำตามมาตรา 67 วรรคสองก็มีระเบียบที่มารองรับชัดเจน ทั้งนี้ ก่อนที่เจโทรจะเดินทางมาพบ ได้มีประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหารบริษัท มารูเบนิ (ประเทศญี่ปุ่น) มาพบ ซึ่งบริษัทดังกล่าวยังต้องก่อสร้างอีก 12 เดือน เพราะฉะนั้นถ้าเขาสามารถก่อสร้างได้ แล้วระหว่างนี้ดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งอาจจะใช้เวลา 8-9 เดือน เขาก็จะไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้ามันหยุดการก่อสร้าง ก็จะเป็นปัญหาในเรื่องของเงินทุน เรื่องของต้นทุนในการก่อสร้างและวางแผนทางธุรกิจ
“อย่างไรก็ตาม เขาก็ต้องรับความเสี่ยง แต่ผมคิดว่าทุกคนพร้อมรับความเสี่ยงเพราะว่าทุกคนค่อนข้างมั่นใจว่าธุรกิจของตัวเองไม่ได้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพในลักษณะที่จะประกอบการไม่ได้ อย่างมากที่สุดก็คือน่าจะเป็นในเรื่องของการประเมินออกมาแล้วว่าจะต้องมีมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลบรรเทาสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบหรือไม่อย่างไร” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่ามีการพูดเรื่องการย้ายฐานการผลิตหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เข้าใจก็คงมีบางส่วนพอเห็นเรื่องนี้ ก็อาจจะมีการทบทวนเรื่องแผนการลงทุน แต่ว่าในวันที่ 8 ก.พ. เขาจะมีการจัดสัมมนา และได้เชิญตนไปพูด ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะได้ไปชี้แจง นอกจากนี้ วันที่ 5 ก.พ. เจโทรจะแถลงผลสำรวจของเขาซึ่งทำไว้ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2552 ที่หลังจากนั้น ก็มีเรื่องที่เกิดขึ้นและเกี่ยวกับข้องกับมาบตาพุดด้วย
เมื่อถามว่าห่วงหรือไม่ว่าเงินลงทุนส่วนนี้จะหายไป นายกฯ กล่าวว่า ตนยังคิดว่าจริงๆแล้วนักลงทุนญี่ปุ่น ก็ยังมองเห็นจุดแข็งของประเทศไทยหลายเรื่อง และฐานการผลิตที่มีอยู่ รวมทั้งโอกาสในอาเซียน ที่จะเปิดกว้างมากขึ้นเขาก็คงอยากจะใช้ฐานที่นี่ ซึ่งตนคิดว่าปัญหามาบตาพุดเป็นปัญหาเฉพาะ ถ้าเราผ่านไปแล้วน่าจะทำให้ความห่วงใยในเรื่องอื่นๆ น่าจะมาบดบังศักยภาพในการที่จะทำธุรกิจ ทั้งนี้ ในวันจันทร์ที่ 8 ก.พ.ที่ตนจะไปพูด ก็จะใช้โอกาสในการที่จะอธิบายให้เห็นถึงตรงนี้ และเดือนหน้านายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ก็จะเดินทางไปกับภาคเอกชนที่ประเทศญี่ปุ่น คิดว่าก็จะช่วยสร้างความมั่นใจได้
เมื่อถามว่าที่นายกฯ บรรยายพิเศษเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยของม.เกษตรศาสตร์มั่นใจว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะถึง 4.7% นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 4.7% เป็นอัตราที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ((IMF) เขาประมาณการสำหรับอาเซียน 5 ประเทศ ซึ่งตนคิดว่าเราควรจะอยู่ในระดับนั้นได้ ทั้งนี้มีการคุยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังก็เชื่อว่าเป็นไปได้
ส่วนปัจจัยที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 4.7% นั้น นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ในช่วง 2-3 เดือนแรกต้องบอกว่ากำลังซื้อของเกษตรกรมีส่วนสำคัญ ขณะเดียวกันการส่งออก การท่องเที่ยว ก็ยังขยายตัวในอัตราค่อนข้างจะดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจุดหลักอยู่ที่ปลายปีว่าเราจะสามารถที่จะทำให้เอกชนเข้าลงทุนได้มากแค่ไหน เพราะว่าเราไม่อยากจะเห็นเอกชนเข้ามาเป็นตัวจักรสำหรับเรื่องเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ สัญญาณที่ดีคือการใช้กำลังการผลิตซึ่งตัวเลขล่าสุดเกิน 70% แล้ว และบางอุตสาหกรรม เช่นอิเล็กทรอนิคขึ้นถึงร้อยละ 80 กว่า เพราะฉะนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มเห็นการลงทุนเข้ามา
เมื่อถามว่าแสดงว่าปัญหามาบตาพุดไม่ได้เป็นปัญหาต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขส่วนใหญ่ในช่วงที่มีการประการว่า 3.5% พูดง่ายๆ ก็คือว่าเหมือนกับเผื่อไว้แล้วเพราะมีผลกระทบตรงนี้อยู่
วันนี้ (3 ก.พ.) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯหรือเจโทร (JETRO) เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย ณ ห้องรับรองนายกรัฐมนตรี ชั้น 2 อาคารรัฐสภา เพื่อหารือและรับทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหามาบตาพุดของรัฐบาล หลังจากเกิดปัญหา จนทำให้การลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นต้องหยุดชะงัก ทั้งนี้ ประธานเจโทรใช้เวลาในการเข้าพบ 30 นาที อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นเวลา 13.00 น. นายเทรุโอะ อาซะดะ ประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหารบริษัท มารูเบนิ (ประเทศญี่ปุ่น) ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีและคณะด้วยเช่นกัน
จากนั้น นายกรัฐมนตรีแถลงผลการหารือกับประธานเจโทรว่า เจโทรเขาจะทำการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่ประกอบการที่ประเทศไทย แต่ว่าผลการสำรวจเจโทรจะเปิดเผยในวันที่ 5 ก.พ. ซึ่งเขาก็จะนำเสนอการสำรวจทั้งในแง่ของความมั่นใจในเรื่องของการประกอบธุรกิจ อุปสรรคปัญหา และมีประเด็นพิเศษที่เขาจะให้ความสำคัญแล้ว แต่จังหวะเวลาของการสำรวจ โดยสรุปภาพรวมที่ได้คุยกันก็มีในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ ที่เห็นสอดคล้องกันว่าเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวที่ดีต่อไป
นายกฯ กล่าวอีกว่า ส่วนอุปสรรคปัญหาการลงทุนทั้งหลาย บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เราเห็นมาทุกปี เช่น ปัญหาเรื่องระบบศุลกากร ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลและกระทรวงการคลัง ได้แก้ไขไปส่วนหนึ่งและกำลังจะมีการนำเสนอเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง รวมไปถึงปัญหามาบตาพุดที่เขาหยิบบกขึ้นมาคุย ซึ่งตนก็ได้อธิบายให้เกิดความเข้าใจชัดเจนว่าประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ประเด็นของนโยบายรัฐบาล แต่เป็นเรื่องของการตีความกฎหมาย เพราะว่าสิ่งที่ภาคธุรกิจเขาจะเข้าใจได้ยากก็คือเสมือนกับว่ารัฐบาลอนุญาตให้เขาทำบางสิ่งบางอย่างไปแล้ว ต่อมากลับไม่ให้เขาทำ ก็อธิบายให้เขาฟังว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องที่รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่เป็นเรื่องของการตีความกฎหมาย ที่เราต้องเคารพความเห็นของศาล และขณะเดียวกันก็ได้อธิบายให้ทราบถึงแนวทางที่แก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้
“ซึ่งเขาก็บอกว่าเขาก็ดีใจที่ได้เห็นรัฐบาลให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่องนี้ เพียงแต่ว่าการคลี่คลายเรื่องนี้ เขาก็อยากเห็นเกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะว่าถ้าเนิ่นนานไปก็ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน” นายกฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าเขาเข้าใจในกระบวนการทางศาลของไทยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ก็ได้อธิบายเพราะว่าในขณะนี้สิ่งที่เราจะร้องขอต่อศาลก็คือเรื่องของการก่อสร้าง ขณะเดียวกัน กระบวนการที่จะไปทำตามมาตรา 67 วรรคสองก็มีระเบียบที่มารองรับชัดเจน ทั้งนี้ ก่อนที่เจโทรจะเดินทางมาพบ ได้มีประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหารบริษัท มารูเบนิ (ประเทศญี่ปุ่น) มาพบ ซึ่งบริษัทดังกล่าวยังต้องก่อสร้างอีก 12 เดือน เพราะฉะนั้นถ้าเขาสามารถก่อสร้างได้ แล้วระหว่างนี้ดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งอาจจะใช้เวลา 8-9 เดือน เขาก็จะไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้ามันหยุดการก่อสร้าง ก็จะเป็นปัญหาในเรื่องของเงินทุน เรื่องของต้นทุนในการก่อสร้างและวางแผนทางธุรกิจ
“อย่างไรก็ตาม เขาก็ต้องรับความเสี่ยง แต่ผมคิดว่าทุกคนพร้อมรับความเสี่ยงเพราะว่าทุกคนค่อนข้างมั่นใจว่าธุรกิจของตัวเองไม่ได้มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพในลักษณะที่จะประกอบการไม่ได้ อย่างมากที่สุดก็คือน่าจะเป็นในเรื่องของการประเมินออกมาแล้วว่าจะต้องมีมาตรการเพิ่มเติมในการดูแลบรรเทาสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบหรือไม่อย่างไร” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่ามีการพูดเรื่องการย้ายฐานการผลิตหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เข้าใจก็คงมีบางส่วนพอเห็นเรื่องนี้ ก็อาจจะมีการทบทวนเรื่องแผนการลงทุน แต่ว่าในวันที่ 8 ก.พ. เขาจะมีการจัดสัมมนา และได้เชิญตนไปพูด ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะได้ไปชี้แจง นอกจากนี้ วันที่ 5 ก.พ. เจโทรจะแถลงผลสำรวจของเขาซึ่งทำไว้ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2552 ที่หลังจากนั้น ก็มีเรื่องที่เกิดขึ้นและเกี่ยวกับข้องกับมาบตาพุดด้วย
เมื่อถามว่าห่วงหรือไม่ว่าเงินลงทุนส่วนนี้จะหายไป นายกฯ กล่าวว่า ตนยังคิดว่าจริงๆแล้วนักลงทุนญี่ปุ่น ก็ยังมองเห็นจุดแข็งของประเทศไทยหลายเรื่อง และฐานการผลิตที่มีอยู่ รวมทั้งโอกาสในอาเซียน ที่จะเปิดกว้างมากขึ้นเขาก็คงอยากจะใช้ฐานที่นี่ ซึ่งตนคิดว่าปัญหามาบตาพุดเป็นปัญหาเฉพาะ ถ้าเราผ่านไปแล้วน่าจะทำให้ความห่วงใยในเรื่องอื่นๆ น่าจะมาบดบังศักยภาพในการที่จะทำธุรกิจ ทั้งนี้ ในวันจันทร์ที่ 8 ก.พ.ที่ตนจะไปพูด ก็จะใช้โอกาสในการที่จะอธิบายให้เห็นถึงตรงนี้ และเดือนหน้านายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ก็จะเดินทางไปกับภาคเอกชนที่ประเทศญี่ปุ่น คิดว่าก็จะช่วยสร้างความมั่นใจได้
เมื่อถามว่าที่นายกฯ บรรยายพิเศษเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยของม.เกษตรศาสตร์มั่นใจว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะถึง 4.7% นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 4.7% เป็นอัตราที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ((IMF) เขาประมาณการสำหรับอาเซียน 5 ประเทศ ซึ่งตนคิดว่าเราควรจะอยู่ในระดับนั้นได้ ทั้งนี้มีการคุยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังก็เชื่อว่าเป็นไปได้
ส่วนปัจจัยที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 4.7% นั้น นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ในช่วง 2-3 เดือนแรกต้องบอกว่ากำลังซื้อของเกษตรกรมีส่วนสำคัญ ขณะเดียวกันการส่งออก การท่องเที่ยว ก็ยังขยายตัวในอัตราค่อนข้างจะดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจุดหลักอยู่ที่ปลายปีว่าเราจะสามารถที่จะทำให้เอกชนเข้าลงทุนได้มากแค่ไหน เพราะว่าเราไม่อยากจะเห็นเอกชนเข้ามาเป็นตัวจักรสำหรับเรื่องเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ สัญญาณที่ดีคือการใช้กำลังการผลิตซึ่งตัวเลขล่าสุดเกิน 70% แล้ว และบางอุตสาหกรรม เช่นอิเล็กทรอนิคขึ้นถึงร้อยละ 80 กว่า เพราะฉะนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มเห็นการลงทุนเข้ามา
เมื่อถามว่าแสดงว่าปัญหามาบตาพุดไม่ได้เป็นปัญหาต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขส่วนใหญ่ในช่วงที่มีการประการว่า 3.5% พูดง่ายๆ ก็คือว่าเหมือนกับเผื่อไว้แล้วเพราะมีผลกระทบตรงนี้อยู่