ASTVผู้จัดการรายวัน- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แจงตัวเลขส่งออก-ลงทุนอุตสาหกรรมไทยเดือนธ.ค.52สะท้อนภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งเกินคาด คาดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี53ไต่รนะดับสูงกว่า 3.5% หลังตัวเลขการขยายตัวเดือนสุดท้ายของปี52 สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่2.3% นับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธ.ค.52 ที่ผ่านมา สะท้อนการขยายตัวในภาพกว้างดีดตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายๆตัว มีปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นสอดคล้องกัน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน บ่งชี้ว่ามีอัตราการขยายตัวในเดือนธ.ค.52เพิ่มขึ้น 1.3% จากเดือนพ.ย. ที่ขยายตัว 0.1% เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของรายได้ภาคการเกษตร และภาวะการจ้างงาน
นอกจากนี้ การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังสอดคล้องกับทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคซึ่งปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 77.7 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 76.5 ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี51การบริโภคภาคเอกชนมีการขยายตัว 3.9% ในเดือนธ.ค. ใกล้เคียงกับที่ขยายตัว 4.0% ในเดือนพ.ย. สำหรับองค์ประกอบสำคัญที่ชี้วัดถึงการขยายตัวได้ต่อเนื่อง คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัว 8.3% ภาคการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัว15.5% ขณะที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์ขยายตัว 35.5% หลังได้รับแรงกระตุ้นจากการเร่งทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย การนำเสนอรถรุ่นใหม่ และอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่อง
ส่วนยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ประมาณ15.7% เนื่องจากได้รับแรงหนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ภาคเกษตรกร นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี สังเกตได้จากดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ที่ขยายตัวจากเดือนพ.ย.52เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน โดยขยายตัวอยู่ที่ 1.4% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่ขยายตัว 2.2% ในเดือนพ.ย. โดยการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ
ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจปรับสู่ขึ้น สะท้อนความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงกว่าค่ากลาง (มากกว่า 50.0) โดยปรับตัวมาอยู่ที่50.4 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะกลับมาขยายตัวเท่ากับช่วงก่อนวิกฤต เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังคงอ่อนไหวต่อปัจจัยลบ อาทิ ความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศ การขยับขึ้นของต้นทุนการผลิตและราคาน้ำมัน ประเด็นทางการเมือง และการยืดเยื้อของปัญหาการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี51การลงทุนภาคเอกชนถือว่าชะลอการหดตัวมาแล้ว 8 เดือนติดต่อกัน โดยหดตัวเพียง2.3% ลดลงต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับการหดตัว 6.5% ในเดือนพ.ย. ซึ่งองค์ประกอบที่สะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่องของการลงทุน ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.4% ตามทิศทางของภาคการก่อสร้าง ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว13.2% เพราะได้รับแรงกระตุ้นจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย ขณะที่ การนำเข้าสินค้าทุน กลับมาขยายตัวที่ 2.3% หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี และมูลค่าการส่งเสริมลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ขยายตัวสูงถึง 2,245.8% ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
อุตฯ-เกษตรกรกลับมาขยายตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานต่อว่า สำหรับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม มีขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าสูงถึง 10.4% หลังจากที่มีการหดตัว 0.3% ในเดือนพ.ย. เนื่องจากอุตสาหกรรมส่งออกมีการเร่งขยายการผลิตค่อนข้างมาก โดยอัตราการผลิตสินค้าส่งออกมีสัดส่วนมากกว่า 60% ของการผลิตรวม หรือมีการขยายตัว 16.8% จากเดือนพ.ย.52 ขณะที่ สัดส่วนการส่งออกอยู่ระหว่าง30-60% ของการผลิตรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.0% จากเดือนพ.ย.เช่นกัน ทั้งนี้ การที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเร่งตัวสูงขึ้นส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแตะระดับ69.1% จากเดิมที่ในเดือนพ.ย.มีการใช้กำลังการผลิตรวมที่ 67.0%
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ถือว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างพร้อมเพรียงในทุกหมวด โดยอัตราการการผลิตสินค้าส่งออกมีสัดส่วนสูงถึง60% ของการผลิตรวม ขยายตัวถึง 70.5% ในเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว11.2% ในเดือนพ.ย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตในหมวดอาหารทะเลกระป๋อง/แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง แผงวงจรรวม Hard Disk Drive และโทรทัศน์สี ส่วนการผลิตสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่า30% ของการผลิตรวมขยายตัวต่อเนื่อง 9.9% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่ขยายตัว10.8% ในเดือนพ.ย. เช่น ปิโตรเคมีขั้นปลาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และรถยนต์นั่ง ส่วนการผลิตสินค้าที่สัดส่วนการส่งออกอยู่ระหว่าง30-60% ของการผลิตรวม ขยายตัวถึง 14.0% ในเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว 2.7% ในเดือนพ.ย. โดยเฉพาะการผลิตในหมวดเหล็กแผ่นรีดร้อนและเย็น รถยนต์พาณิชย์ และยางรถยนต์
ภาคเกษตรกรรับอานิสงส์ราคาพืชผลปรับตัว
ด้านรายได้ภาคเกษตรกร นั้นกลับมาขยายตัว 11.8% เมื่อเทียบปีต่อปี หลังจากที่ทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนก่อนหน้า โดยการปรับตัวขึ้นของรายได้เกษตรกร ได้รับอานิสงส์มาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลการเกษตรเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาพืชผล ขยายตัวสูง11.0% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.4 %ในเดือนพ.ย.
สำหรับการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นโดยในช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการส่งออกขยายตัว 14.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพ.ย. และขยายตัว 26.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี51 ซึ่งถือมีการขยายตัวต่อเนื่องจากที่ขยาย17.4% ในเดือนพ.ย.ปี52 โดยการส่งออกขยายตัวสูงในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดที่ใช้แรงงานสูง ที่หดตัว 41.9%
ขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และช่วงเดียวกันปีก่อนเช่นกัน โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 19.9% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วขยายตัวขึ้น 33.0% โดยเป็นการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญจากที่หดตัว 0.3%ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้ เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องได้กระตุ้นให้การนำเข้าขยายตัวพร้อมกันในทุกหมวด ได้แก่ หมวดสินค้าทุน ซึ่งพลิกจากที่หดตัวมาขยายตัว 4.6% สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัว 17.1% หมวดวัตถุดิบขยายตัว 29.3% และหมวดเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นขยายตัว15.9%
ขาดดุลการค้าในรอบ 13 เดือน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าเร่งตัวสูงขึ้นกว่ามูลค่าการส่งออก โดยดุลการค้าบันทึกยอดขาดดุลที่ระดับ 122 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในเดือนธ.ค.52 เทียบกับที่เกินดุล 1,106 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.52 ทั้งนี้ ดุลบริการฯ สามารถบันทึกยอดเกินดุลสูงถึง 880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค. เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45.2% ดังนั้น เมื่อรวมดุลการค้าที่ขาดดุลน้อยกว่าและยอดเกินดุลของดุลบริการเข้าด้วยกัน จึงส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงบันทึกยอดเกินดุลต่อเนื่องอีก 758 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เกินดุล 1,338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.
จากภาพการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่กระจายออกไปในทุกด้าน ทั้งการใช้จ่ายภาคเอกชน รายได้เกษตรกร ผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 52 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยน่าที่จะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5% เมื่อเทียบปีต่อปี โดยในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่2.3% ทั้งนี้ การพลิกกลับมาขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2552 นี้ นับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส และดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัว2.8% ในไตรมาส 3/2552 สำหรับภาพรวมในปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของเครื่องชี้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีดังกล่าว น่าที่จะทำให้อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยน้อยกว่าประมาณการเดิมที่ 3.1%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธ.ค.52 ที่ผ่านมา สะท้อนการขยายตัวในภาพกว้างดีดตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายๆตัว มีปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นสอดคล้องกัน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน บ่งชี้ว่ามีอัตราการขยายตัวในเดือนธ.ค.52เพิ่มขึ้น 1.3% จากเดือนพ.ย. ที่ขยายตัว 0.1% เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของรายได้ภาคการเกษตร และภาวะการจ้างงาน
นอกจากนี้ การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังสอดคล้องกับทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคซึ่งปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 77.7 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 76.5 ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี51การบริโภคภาคเอกชนมีการขยายตัว 3.9% ในเดือนธ.ค. ใกล้เคียงกับที่ขยายตัว 4.0% ในเดือนพ.ย. สำหรับองค์ประกอบสำคัญที่ชี้วัดถึงการขยายตัวได้ต่อเนื่อง คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัว 8.3% ภาคการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัว15.5% ขณะที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์ขยายตัว 35.5% หลังได้รับแรงกระตุ้นจากการเร่งทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย การนำเสนอรถรุ่นใหม่ และอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่อง
ส่วนยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ประมาณ15.7% เนื่องจากได้รับแรงหนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ภาคเกษตรกร นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดี สังเกตได้จากดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ที่ขยายตัวจากเดือนพ.ย.52เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน โดยขยายตัวอยู่ที่ 1.4% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่ขยายตัว 2.2% ในเดือนพ.ย. โดยการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ
ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจปรับสู่ขึ้น สะท้อนความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงกว่าค่ากลาง (มากกว่า 50.0) โดยปรับตัวมาอยู่ที่50.4 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะกลับมาขยายตัวเท่ากับช่วงก่อนวิกฤต เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังคงอ่อนไหวต่อปัจจัยลบ อาทิ ความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศ การขยับขึ้นของต้นทุนการผลิตและราคาน้ำมัน ประเด็นทางการเมือง และการยืดเยื้อของปัญหาการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี51การลงทุนภาคเอกชนถือว่าชะลอการหดตัวมาแล้ว 8 เดือนติดต่อกัน โดยหดตัวเพียง2.3% ลดลงต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับการหดตัว 6.5% ในเดือนพ.ย. ซึ่งองค์ประกอบที่สะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่องของการลงทุน ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.4% ตามทิศทางของภาคการก่อสร้าง ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว13.2% เพราะได้รับแรงกระตุ้นจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย ขณะที่ การนำเข้าสินค้าทุน กลับมาขยายตัวที่ 2.3% หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี และมูลค่าการส่งเสริมลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ขยายตัวสูงถึง 2,245.8% ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
อุตฯ-เกษตรกรกลับมาขยายตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานต่อว่า สำหรับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม มีขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าสูงถึง 10.4% หลังจากที่มีการหดตัว 0.3% ในเดือนพ.ย. เนื่องจากอุตสาหกรรมส่งออกมีการเร่งขยายการผลิตค่อนข้างมาก โดยอัตราการผลิตสินค้าส่งออกมีสัดส่วนมากกว่า 60% ของการผลิตรวม หรือมีการขยายตัว 16.8% จากเดือนพ.ย.52 ขณะที่ สัดส่วนการส่งออกอยู่ระหว่าง30-60% ของการผลิตรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.0% จากเดือนพ.ย.เช่นกัน ทั้งนี้ การที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเร่งตัวสูงขึ้นส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแตะระดับ69.1% จากเดิมที่ในเดือนพ.ย.มีการใช้กำลังการผลิตรวมที่ 67.0%
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ถือว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างพร้อมเพรียงในทุกหมวด โดยอัตราการการผลิตสินค้าส่งออกมีสัดส่วนสูงถึง60% ของการผลิตรวม ขยายตัวถึง 70.5% ในเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว11.2% ในเดือนพ.ย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตในหมวดอาหารทะเลกระป๋อง/แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง แผงวงจรรวม Hard Disk Drive และโทรทัศน์สี ส่วนการผลิตสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่า30% ของการผลิตรวมขยายตัวต่อเนื่อง 9.9% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่ขยายตัว10.8% ในเดือนพ.ย. เช่น ปิโตรเคมีขั้นปลาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และรถยนต์นั่ง ส่วนการผลิตสินค้าที่สัดส่วนการส่งออกอยู่ระหว่าง30-60% ของการผลิตรวม ขยายตัวถึง 14.0% ในเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว 2.7% ในเดือนพ.ย. โดยเฉพาะการผลิตในหมวดเหล็กแผ่นรีดร้อนและเย็น รถยนต์พาณิชย์ และยางรถยนต์
ภาคเกษตรกรรับอานิสงส์ราคาพืชผลปรับตัว
ด้านรายได้ภาคเกษตรกร นั้นกลับมาขยายตัว 11.8% เมื่อเทียบปีต่อปี หลังจากที่ทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนก่อนหน้า โดยการปรับตัวขึ้นของรายได้เกษตรกร ได้รับอานิสงส์มาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลการเกษตรเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาพืชผล ขยายตัวสูง11.0% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.4 %ในเดือนพ.ย.
สำหรับการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้นโดยในช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการส่งออกขยายตัว 14.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพ.ย. และขยายตัว 26.2% ในเดือนธ.ค.เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี51 ซึ่งถือมีการขยายตัวต่อเนื่องจากที่ขยาย17.4% ในเดือนพ.ย.ปี52 โดยการส่งออกขยายตัวสูงในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดที่ใช้แรงงานสูง ที่หดตัว 41.9%
ขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และช่วงเดียวกันปีก่อนเช่นกัน โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 19.9% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วขยายตัวขึ้น 33.0% โดยเป็นการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญจากที่หดตัว 0.3%ในเดือนพ.ย. ทั้งนี้ เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องได้กระตุ้นให้การนำเข้าขยายตัวพร้อมกันในทุกหมวด ได้แก่ หมวดสินค้าทุน ซึ่งพลิกจากที่หดตัวมาขยายตัว 4.6% สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัว 17.1% หมวดวัตถุดิบขยายตัว 29.3% และหมวดเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นขยายตัว15.9%
ขาดดุลการค้าในรอบ 13 เดือน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าเร่งตัวสูงขึ้นกว่ามูลค่าการส่งออก โดยดุลการค้าบันทึกยอดขาดดุลที่ระดับ 122 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในเดือนธ.ค.52 เทียบกับที่เกินดุล 1,106 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.52 ทั้งนี้ ดุลบริการฯ สามารถบันทึกยอดเกินดุลสูงถึง 880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค. เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 45.2% ดังนั้น เมื่อรวมดุลการค้าที่ขาดดุลน้อยกว่าและยอดเกินดุลของดุลบริการเข้าด้วยกัน จึงส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงบันทึกยอดเกินดุลต่อเนื่องอีก 758 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เกินดุล 1,338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย.
จากภาพการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่กระจายออกไปในทุกด้าน ทั้งการใช้จ่ายภาคเอกชน รายได้เกษตรกร ผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 52 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยน่าที่จะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5% เมื่อเทียบปีต่อปี โดยในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่2.3% ทั้งนี้ การพลิกกลับมาขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2552 นี้ นับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส และดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัว2.8% ในไตรมาส 3/2552 สำหรับภาพรวมในปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของเครื่องชี้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีดังกล่าว น่าที่จะทำให้อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยน้อยกว่าประมาณการเดิมที่ 3.1%