ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐบาลชี้ช่องทางให้ 30 กิจการที่ศาลฯยกคำร้องให้ยื่นกลับไปใหม่อีกครั้ง มั่นใจแนวทางแก้ไขทั้งหมดเห็นชัดใน 5 เดือน บีโอไอเปิดเวทีดึงทุกส่วนแจงความคืบหน้ามาบตาพุดให้หอการค้าญี่ปุ่นวันนี้ ด้านเอกชนเร่งทำตามเกณฑ์มาตรา 67(2) คาดว่าใช้เวลา 8-12 เดือน
วานนี้ (27 ม.ค.) นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ-เอกชน (กรอ.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวานนี้(27ม.ค.) ว่า กรณีศาลปกครองกลางยกคำร้อง 30 กิจการได้ให้ทุกหน่วยงานที่ครม.ตั้งให้เป็นคณะกรรมการประสานงานและให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เร่งหาทางแก้ไขด้วยการดึงอัยการสูงสุดมาช่วยเป็นแกนกลางจัดทำสำนวนเพื่อส่งเรื่องไปยังไปยังศาลปกครองกลางให้พิจารณาใหม่อีกครั้ง
“ยอมรับว่าการยื่นขอยกเว้นระงับกิจการของเอกชนต่างคนต่างทำไปและพบว่ามีคำร้องที่ผิดหลักเกณฑ์ เพราะโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่กลับเสนอขอให้ศาลเปิดดำเนินการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ศาลจะพิจารณา เพราะควรจะขออนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างก่อน ส่วนขั้นตอนต่อไปเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงค่อยมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้ศาลไม่สามารถพิจาณาอนุมัติได้”นายไตรรงค์กล่าว
ทั้งนี้ ความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA ) และผลกระทบต่อสุขภาพ(HIA ) ได้ชัดเจนแล้วและรัฐบาลจะพยายามเร่งผลักดันการออกพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์การอิสระถาวรขึ้นมาบังคับใช้ให้ทันในการประชุมสภาสมัยหน้าเพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ จึงเชื่อมั่นว่าแนวทางแก้ไขทั้งหมดน่าจะมีความชัดเจนภายใน 5 เดือน
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เห็นชอบตามข้อเสนอของ กนอ. ในการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 โดยจะเพิ่มสายงานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับรองผู้ว่าการ กนอ.เพื่อทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่แรกเริ่มจนประกอบกิจการ
**บีโอไอเปิดเวทีแจงญี่ปุ่นวันนี้
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กล่าวว่า วันนี้(28ม.ค.) นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และบีโอไอ จะจัดประชุมหารือร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JCC) ซึ่งนำโดย นายโย จิซึคาตะ ประธาน JCC และคณะกว่า 20 คน เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นและรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการลงทุน และการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
**ปูนใหญ่ชี้แก้ปัญหามาบตาพุด8-12เดือน
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC กล่าวถึงกรณีที่ศาลมีคำสั่งในวันที่ 22 มกราคม 52 ยกคำร้องใน 30 โครงการของเอกชนและมีคำสั่งให้เอกชนไปทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อหาทางออกว่า ขณะนี้บริษัทฯเริ่มทำตามเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ทั้งเกณฑ์ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ซึ่งเป็นการทำงานควบคู่ไปทั้งสองทาง โดยปัจจุบันบริษัทฯยังไม่มีแนวคิดที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
สำหรับส่วนโครงการลงทุนในมาบตาพุดที่ศาลปกครองยกคำร้องอุทธรณ์ 30 โครงการ เป็นโครงการของเครือปูนซิเมนต์ไทย ที่ดำเนินการร่วมกับพันธมิตร 11 โครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าจะใช้เวลาแก้ปัญหา 8-12 เดือน โดยมี 4-5 โครงการที่จะรับรู้รายได้ในช่วงปลายปี 53 และในปี 54 แต่ทางบริษัทยังไม่มีการประเมินตัวเลขรายได้จากโครงการดังกล่าว ซึ่งโครงการของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของSCCมี 18 โครงการ มูลค่า 57,500 ล้านบาท.
วานนี้ (27 ม.ค.) นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ-เอกชน (กรอ.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวานนี้(27ม.ค.) ว่า กรณีศาลปกครองกลางยกคำร้อง 30 กิจการได้ให้ทุกหน่วยงานที่ครม.ตั้งให้เป็นคณะกรรมการประสานงานและให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เร่งหาทางแก้ไขด้วยการดึงอัยการสูงสุดมาช่วยเป็นแกนกลางจัดทำสำนวนเพื่อส่งเรื่องไปยังไปยังศาลปกครองกลางให้พิจารณาใหม่อีกครั้ง
“ยอมรับว่าการยื่นขอยกเว้นระงับกิจการของเอกชนต่างคนต่างทำไปและพบว่ามีคำร้องที่ผิดหลักเกณฑ์ เพราะโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่กลับเสนอขอให้ศาลเปิดดำเนินการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ศาลจะพิจารณา เพราะควรจะขออนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างก่อน ส่วนขั้นตอนต่อไปเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงค่อยมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้ศาลไม่สามารถพิจาณาอนุมัติได้”นายไตรรงค์กล่าว
ทั้งนี้ ความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA ) และผลกระทบต่อสุขภาพ(HIA ) ได้ชัดเจนแล้วและรัฐบาลจะพยายามเร่งผลักดันการออกพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์การอิสระถาวรขึ้นมาบังคับใช้ให้ทันในการประชุมสภาสมัยหน้าเพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ จึงเชื่อมั่นว่าแนวทางแก้ไขทั้งหมดน่าจะมีความชัดเจนภายใน 5 เดือน
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เห็นชอบตามข้อเสนอของ กนอ. ในการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 โดยจะเพิ่มสายงานด้านสิ่งแวดล้อมในระดับรองผู้ว่าการ กนอ.เพื่อทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่แรกเริ่มจนประกอบกิจการ
**บีโอไอเปิดเวทีแจงญี่ปุ่นวันนี้
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กล่าวว่า วันนี้(28ม.ค.) นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และบีโอไอ จะจัดประชุมหารือร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JCC) ซึ่งนำโดย นายโย จิซึคาตะ ประธาน JCC และคณะกว่า 20 คน เพื่อร่วมระดมความคิดเห็นและรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการลงทุน และการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
**ปูนใหญ่ชี้แก้ปัญหามาบตาพุด8-12เดือน
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC กล่าวถึงกรณีที่ศาลมีคำสั่งในวันที่ 22 มกราคม 52 ยกคำร้องใน 30 โครงการของเอกชนและมีคำสั่งให้เอกชนไปทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อหาทางออกว่า ขณะนี้บริษัทฯเริ่มทำตามเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ทั้งเกณฑ์ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ซึ่งเป็นการทำงานควบคู่ไปทั้งสองทาง โดยปัจจุบันบริษัทฯยังไม่มีแนวคิดที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
สำหรับส่วนโครงการลงทุนในมาบตาพุดที่ศาลปกครองยกคำร้องอุทธรณ์ 30 โครงการ เป็นโครงการของเครือปูนซิเมนต์ไทย ที่ดำเนินการร่วมกับพันธมิตร 11 โครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าจะใช้เวลาแก้ปัญหา 8-12 เดือน โดยมี 4-5 โครงการที่จะรับรู้รายได้ในช่วงปลายปี 53 และในปี 54 แต่ทางบริษัทยังไม่มีการประเมินตัวเลขรายได้จากโครงการดังกล่าว ซึ่งโครงการของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของSCCมี 18 โครงการ มูลค่า 57,500 ล้านบาท.