ASTVผู้จัดการรายวัน - มติกก.บห.ปชป.ล้มสังฆกรรมแก้รธน.พรรคร่วม “มาร์ค” เลิกหงอพรรคร่วมฯ กร้าวท้าเปิดเทปย้อนคำพูด ไม่เคยรับปากจะร่วมแก้ เปรย “ยินดีรับผลที่จะตามมา “เทือก” รับสภาพยอมรับมติพรรค “ชวน” กระตุกต่อมลูกพรรคเรียกศรัทธาปชช.”ปู่จิ้น” แรงข้ามช็อตฟรีโหวตซักฟอก
บรรยากาสที่อึมครึมตลอดสัปดาห์ในพรรคประชาธิปัตย์ ในความเห็นที่แตกต่างกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ทำท่าจะอึมครึมต่อไปอีกหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรคที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคเป็นประธานโดยใช้เวลาเพียง 20 นาที ซึ่งที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคมีมติว่า “ยังไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคร่วมรัฐบาล”
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรรมการบริหารพรรคมีความเห็นว่าการยื่นญัติติการแก้ไขของรัฐธรรมนูญของแต่ละพรรค เป็นสิ่งที่ทำได้ตามระบอบรัฐสภา แต่ “ยังไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมยื่นญัติติแก้ไขรัฐธรรมนูญ” อย่างไรก็ตาม การลงคะแนนเป็นเรื่องของรัฐสภาโดยรวม การลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ทางกรรมการบริหารพรรคจะให้ที่ประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตัดสินใจ
เวลา 17.20 น.นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่ามติออกมา 82 ต่อ 48 เสียง เห็นควรไม่สนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งนี้เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย ก็ต้องไม่เห็นด้วยทั้งร่าง ดังนั้นเรื่องนี้จะกระทบกับการทำงานหรือไม่ก็ได้คุยกันแล้วว่าเป็นเรื่องของสภาและพรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และคงไม่มีความขัดแย้งอะไร ซึ่งก็ยินดีนัดพบและแจ้งผลมติพรรค โดยพรรคกิจสังคมจะเป็นเจ้าภาพ และเชื่อว่าคงไม่เกี่ยวกันหากพรรคร่วมฯจะนำมากดดันในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นก็ เป็นสิทธิของแต่ละพรรค คิดว่าแต่ละพรรคการเมืองจะตัดสินใจอะไรก็ต้องมีเหตุผลของตัวเองและมีหน้าที่อธิบายไป
เมื่อถามว่า ต่อไปนี้คำสัญญาของพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องอื่นๆ จะเป็นเช่นใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ไม่มีใครผิดสัญญา เมื่อถามว่า นายกฯ เคยรับปากกับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์กล่าวย้อนอย่างมีอารมณ์ว่า “ไปเปิดเทปไหมละครับ”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเรียนแล้วว่า วันที่มีการไปคุยกันเรื่องการตั้งรัฐบาล เขาถามเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนบอกไปว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากไม่แก้ไขเรื่องนิรโทษกรรม คงไม่เป็นปัญหา แต่จุดยืนของแต่ละพรรคไม่ตรงกัน ตนยังจำได้ว่าเขายกประเด็นเขตเลือกตั้งขึ้นมา ตนบอกไปว่า ประเด็นนี้ก็ลำบากหน่อย เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอตอนที่เขายกร่างรัฐธรรมนูญและขอความเห็นจากพรรคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอให้ยืนระบบเขตใหญ่ แต่พรรคการเมืองมีความเห็นแตกต่างกัน ก็เท่านั้นเองและเราก็รับมาพิจารณา และความจริงมีช่วงหนึ่งที่ตนบอกว่า ยินดี ถ้าเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในภาพรวมและนำไปสู่ความสมานฉันท์โดยมีกาประชาชนลงประชามติ ฉะนั้นไม่มีอะไรที่ผิดสัญญา
**เทือก รับสภาพยอมรับมติพรรค
เวลา 19.00 น.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรับมนตรีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาณ์ว่า คงไม่ต้องไปชี้แจงพรรคร่วมฯ ที่ติดตามข่าวจากสื่อมวลชนแล้ว และคงไม่มีอะไรไปคุย ตนเป็นเลขาธิการพรรคก็ต้องเคารพในมติของพรรค เมื่อผลออกมาเป็นอย่างนี้ก็ต้องรับและการโหวตของส.ส.ช่วงพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคจะมีทิศทางเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์จะต้องมีเอกภาพในการปฏิบัติงานในสภา เราโหวตในทางเดียวกัน
นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่อยู่ในวิสัยที่จะผิดหวังหรือสมหวังได้ ตนทำหน้าที่ของตน ยอมรับการทำงานผู้จัดการรัฐบาลก็จะยาก เสถียรภาพวันนี้ยังมั่นคงอยู่ วันหน้าก็ต้องแล้วแต่สถานการณ์ และต้องพยายามต่อไป ซึ่งเชื่อว่าพรรคร่วมฯก็คงจะเข้าใจวิธีคิดและ ตัดสืนใจของพรรคประชาธิปัตย์ว่าพรรคก็มีวิธีการตัดสินใจ มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมขององค์กร ดังนั้นตนก็ไม่ถอดใจ กว่าจะได้เป็นก็ยาก
**ส.ส.ปชป. ฉีกหน้า เทพเทือก ไม่ร่วมสังฆกรรมแก้ รธน.
รายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์แจ้งว่า สาเหตุที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติไม่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยโยนให้ที่ประชุม ส.ส.ตัดสิน เพราะนายสุเทพ ประเมินแล้วว่าเสียงในส่วนของตนอาจจะแพ้ได้ จึงคิดว่า จะสามารถโน้มน้าวให้ ส.ส.มีมติรับหลักการได้ เพราะมีการล๊อบบี้ตลอดคืนของวันที่ 25 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้หลังจากคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติเสร็จสิ้นที่ประชุม ส.ส.พรรคเพิ่มขึ้นในเวลา14.30 น. โดยรายงานข่าวแจ้งว่าระหว่างการประชุม นายสุเทพ กล่าวว่า อยากให้ทุกคนได้คำนึงก่อนจะตัดสินใจว่าแก้ หรือ ไม่แก้ และต้องเห็นใจตนด้วย เพราะในช่วงที่ไปเจรจากับพรรคร่วมไปในหน้าตาของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครคาดคิดว่านายสุเทพจะทำได้ จนสามารถดันนายอภิสิทธิ์ขึ้นเป็นนายกฯ เมื่อพรรคร่วมรัฐบาล มาทวงสัญญา ถ้าเราไม่ยอมเขาก็อาจจะตัดสินใจไปร่วมกับพรรคเพื่อไทยในการหยิบยกเอารัฐธรรมนูญปี 40 รวมถึงไม่ยกมือโหวตในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนตัวก็หนักใจกับเรื่องนี้ แม้ว่าพรรคจะเคยประกาศจุดยืนก็ตาม แต่เมื่อเราเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเราก็พร้อมที่จะหาทางออกเพื่อสู้กับระบอบทักษิณ
นายสุเทพกล่าวว่า ถ้าเราไม่แก้ตามที่พรรคร่วมเสนอมาเขาก็พร้อมจะไม่เอาเราเหมือนกัน การทำงานร่วมกันก็จะไม่ค่อยได้ผล จะมีการขัดแข้งขัดขา ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ขอให้ชิงยุบสภาไปก่อนจะดีเสียก่อน เพราะถ้าเกิดการอภิปรายฯ และเกิดพรรคร่วมไม่ยกมือให้แล้วถ้ามีการสวนมติไม่หนุนนายกฯ ตนก็ยอมรับไม่ได้ ไม่หนุนนายอภิสิทธิ์เราก็หน้าแตกกลางสภา ชิงยุบไปก่อนไม่ดีกว่าหรือ ถ้ามีการเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนายกฯ ตนก็รับไม่ได้ แต่ถามว่าถ้ายุบสภาในเวลานี้พรรคไหนบ้างมีความพร้อม ก็ไม่พร้อมกันทุกพรรค ในเมื่อเราไม่ต้องการอย่างนั้นทำไมไม่ร่วมกันแก้รัฐธรรมนูญไปก่อน เพราะตนเชื่อมั่นว่าคะแนนนิยมของนายกฯและรัฐบาลจะดีวันดีคืน ดูจากผลโพลที่ออกมาก็เห็นแนวโน้มแล้ว ขอให้เราร่วมกันอยู่ต่ออีก 2 ปีตามที่หลายฝ่ายคาดหวังไว้ แล้วค่อยไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวันข้างหน้าร่วมกัน
นายสุเทพกล่าวว่า ในส่วนของทหาร กองทัพ และข้าราชการประจำ เขาก็ชื่นชมท่าทีของนายกฯ ว่าไม่เคยเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการใดๆ และผลงานจากโครงการของรัฐบาก็เริ่มออกมาชัดเจน ถ้าเรายิ่งอยู่นาน ฝ่ายค้านต่างหากต้องกลัวบารมีเรา ถ้าเป็นเช่นนั้นทักษิณก็จะกลับมายาก
“คนอย่างผมประเมินมิตร และศัตรูได้ถูก ถ้าเราไม่จับมือกับพรรคร่วมต่อไป หากทักษิณกลับมาประชาชนจะเดือดร้อน ประเทศชาติจะได้รับผลกระทบเพราะเขาเป็นคนที่ไม่สนใจวิธีที่จะใช้ในการจัดการประชาธิปไตยจะหายไป จึงขอให้เราร่วมมือกับพรรคร่วมในการแก้ไขปัญหานี้”
**“ชวน” กระตุกต่อมลูกพรรคเรียกศรัทธาปชช.
จากนั้น นายชวน หลีกภัยประธานกรรมการที่ปรึกษาพรรค ได้เดินขึ้นไปพูดหน้าเวทีว่า ไม่ต้องห่วงว่าเราจะอยู่ยาวหรือ สั้น ถ้ารัฐบาลอยู่รอดได้ แต่ประชาธิปัตย์เสยศักดิ์ศรี และเสียจุดยืนเราจะเป็นรัฐบาลไปทำไม ถือว่าไม่คุ้มค่า ถ้าเราไม่ได้เป็นรัฐบาลเราก็ไม่ตาย เราเคยเป็นพรรคฝ่ายค้านมาแล้วยาวนานไม่เห็นว่าจะมีใครตายเลย
นายชวน กล่าวว่า การแก้ไข 2 ประเด็น ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ แต่เป็นประโยชน์ของนักการเมืองล้วนๆ และหากไม่แก้ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย และหากเราจะแก้จะอธิบายต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างไร เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาส่วนตัวของนายบรรหาร ศิลปอาชา และนายเนวิน ชิดชอบ เราจะเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นปัญหาภายในพรรคไม่ได้ หน้าที่ของ ส.ส.คือช่วยรัฐบาลให้แก้ไขวิกฤติ ไม่ใช่ไปซ้ำเติมวิกฤต ไม่ใช่ไปร่วมมือกับพรรคร่วมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเขตเดียวเบอร์ดียว นั่นไม่ใช่วิกฤตของชาติ และไม่สามารถทำให้พรรคประชาธิปัตย์อยู่รอดได้ เราต้องช่วยกันแก้ปัญหาวิดกฤต ด้วยการทำให้ ส.ส. ปราศจากการทุจริตเลือกตั้งและเข้ามาโกงชาติบ้านเมือง
“ที่มีคนกล่าวว่า ปชป.เป็นพรรคคบอยาก ก็อยากจะบอกว่า ถ้าขอคบเราแล้วมาทุจริต เราก็ไม่ควรคบกับเขา”
นอกจากนี้นายชวนยังได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการขอให้พรรคร่วมมาจับมือกับเราแทน แล้วเสนอมาว่าอยากแก้มาตราใดบ้าง แต่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เพื่อแก้ปัยหาธุรกิจการเมืองแบบโครตโกง โกงทั้งโคตร ผลที่จะได้คือรัฐบาลได้ทำงานต่อ พรรคร่วมก็ได้ร่วมกับเรา โดยยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง เพราะประชาชนคาดหวังให้เราเข้ามาทำงานบริหารประเทศ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อโกง ฉะนั้นความอยู่รอดของรัฐบาล และเกียรติของพรรคประชาธัตย์ต้องอยู่ร่วมกัน
**“มาร์ค” ลั่นไม่ยอมให้พรรคร่วมขี่คออีกต่อไป
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวว่า เรื่องเขตใหญ่เขตเล็กเราไม่ต้องพูดถึงกันแล้ว เพราะไม่ว่าจะใช้รูปแบบการเลือกตั้งอย่างไรเราก็พร้อมที่จะสู้ และการใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ ตนเป็นคนเสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ให้ใช้เอง เพราะคิดว่ายังมี ส.ส.ที่ดีกว่าไม่ดี ถ้าเราอยู่กับพรรคร่วมโดยยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูย เราต้องมีคำตอบให้กับสังคม เพราะสังคมจะตีตราเราว่าประชาธิปัตย์แก้ไขเพราะอยากเป็นรัฐบาลต่อ การที่เราเข้ามาเป็นรัฐบาล 1 ปีไม่ใช่มาเพื่อหาเงินเตรียมการเลือกตั้ง แต่เรามาเพื่อทำงาน มีคำกล่าวว่า ประชาธิปัตย์ เป็นพรรคที่คบยาก แต่เราก็ไม่เคยหักหลังใคร และส่วนตัวตนเป็นคนที่ละเอียดรอบคอบมีความอดทน สัญญาอะไรกับใครไว้จำได้หมด
“ถ้าคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นสารพิษตกค้าง การจะถอนสารพิษได้มีทางเดียวคือ ต้องเรียกคืนศรัทธาจากปราชนให้ได้จากการเลือกตั้ง เราต้องไม่กลัวเรื่องยุบสภา เพราะไม่มีใครขู่ผมได้ ตราบใดที่ผมยังเป็นนายกฯ การเป้นรัฐบาลที่ดีเราต้องทำให้แตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น ถ้าเราไม่แตกต่าง หรือเทียบเท่ากับทักษิณ เราก็แพ้ประชาชน เราไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้กลับมาเป็นรัฐบาล หรือกลัวการปฏิวัติ เราต้องเป็นหลักให้บ้านเมือง แม้ทุกคนจะลงมติให้เลือกเขตใหญ่แล้วให้ผมยุบสภา ผมก็ไม่รุ้จะเอาเหตุผลอะไรมาเพื่อยุบ หากแก้ไปแล้วก็ไม่มีอะไรยืนยันว่าพรรคร่วมจะอยู่กับเราต่อไป แต่พรรคต้องรักษาจุดยืนและสุดท้ายตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าการเลือกตั้งใหม่เราไม่ใช่ผู้ชนะก็อย่าได้หวังว่าใครจะมาร่วมรัฐบาลกับเรา”
“ผมยอมรับไม่ได้ที่จะเป็นรัฐบาลที่พรรคร่วมคอยกดดัน ข่มขู่ หากเขาขู่ได้ก็จะขู่เลื่อยไป หากเป็นรัฐบาลในสภาพการณ์เช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากพ.ต.ท.ทักษิณ ขอให้สมาชิกพรรคตัดสินใจให้ดีอีกครั้งอย่าไปกลัว หรืออย่าไปสนแรงกดดันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขู่ยุบสภา หรือยกมือโหวตไม่ไว้วางใจ ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริง เราต้องยึดมั่นในหลักการ ถ้าประชาธิปัตย์ไม่เป็นหลักให้บ้านเมืองประเทศชาติก็จะไม่เหลืออะไร ประชาธิปัตย์ก็ไม่อยู่รอด และทักษิณจะกลับมาในที่สุด”
จากนั้น นายสุเทพได้เสนอให้มีการลงมติโหวตแบบลับ เรียงตามอักษร โดยมีการขานชื่อแล้วให้สมาชิกแต่ละคนเขียนลงในกระดาษว่า “แก้” กับ “ ไม่แก้” นำไปหย่อนลงในกล่อง ในระหว่างการซาวเสียงช่วงต้นมีการประเมินว่าเสียงสู่สีมาก จนต้องมีการวิ่งตามสมาชิกในสายของนายบัญญัติที่ไม่ได้ร่วมประชุมในช่วงแรก มาร่วมลงคะแนนด้วย โดยหลังจากลงคะแนนเสร็จแล้วนายอภิสิทธิ์ ได้เป็นผู้หยิบกระดาษมาอ่านและขานคะแนน ขณะที่นายสุเทพเป็นคนบันทึกผลการนับคะแนน ท่ามกลางการรอลุ้นผลการนับคะแนนของสมาชิกด้วยใจระทึก
ผลการนับคะแนน จากสมาชิกทั้งหมด 172 เสียงและเข้าร่วมประชุม 140 คน โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนที่จะมีมติ 82 เสียง ต่อ 48 เสียง ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่งดออกเสียง 2 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากทราบผลคะแนนที่ชัดเจน ส.ส.ที่สนับสนุนไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทยอยลงมาจากห้องประชุมด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม ขณะที่ส.ส.ฝ่ายที่สนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญต่างไปยืนสูบบุหรี่อย่างเคร่งเครียด
**ปู่จิ้น แรงข้ามช็อตฟรีโหวตซักฟอก
ที่พรรคภูมิใจไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงมติคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์จะส่งผลต่อการจับมือของสองพรรคต่อไปหรือไม่ ว่า เป็นคนละเรื่องกัน การแก้รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องความสมัครใจของคนที่จะดำเนินการในสภา ไม่เกี่ยวกับการร่วมรัฐบาล
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสะดุดหรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า หากดูจำนวนคนที่มาลงชื่อเสนอญัตติแก้รัฐธรรมนูญ เราพอแล้วแต่ยังไม่มากพอ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับเราก็ได้มากขึ้น ตอนนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จะกลัวพันธมิตร ฯ หรือไม่ ตนไม่ทราบ และก็ไม่แน่เหมือนกันว่าจะมีฟรีโหวต เพราะเป็นเรื่องการเมือง ส่วนหากมีการขอให้ช่วยโหวตกฎหมายสำคัญ ๆ และลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจจะทำอย่างไร นายชวรัตน์ กล่าวว่า เป็นเรื่องเอกสิทธิ์ ในสภาของ ส.ส.เราก็ให้ฟรีโหวตได้เลย เป็นอิสระของแต่ละคน เหมือนกับการแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นเรื่องของสภา
ขณะที่ นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ได้กล่าวแทรกขึ้นมาทันทีว่า การฟรีโหวตก็พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป เรื่องนี้ต้องแยะแยะเป็น 2 ห้วงเวลา คือ พรรคร่วมรัฐบาลนำโดยพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคอื่น ๆ จะยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นส.ส.จะยกมืออย่างไรก็เป็นอีกเรื่อง วันนี้พรรคภูมิใจไทยยังเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญได้ ขณะที่รัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังเดินหน้าบริหารประเทศได้ จากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังกลับมาร่วมกันได้
** “ศิลปอาชา”ปิดปากปัดรออภิปราย
นายชุมพล ศิลปอาชา หัวพรรคชาติไทยพฒนา กล่าวว่ามติพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยตอนนี้อยู่ในขั้นนำญัตติเข้าสภาฯเท่านั้น ความเห็นด้วยไม่เห็นด้วย เอาไว้ตอนอภิปรายและลงมติ แต่หลังอภิปรายแล้วโลกมันกลมหมุนไปหมุนมา
“ต้องชมพรรคประชาธิปัตย์เขา เพราะ พรรคเขาค่อนข้างเป็นประชาธิปไตยพอสมควร ยืนยันไม่มีปัญหาในการร่วมรัฐบาล
"ความรู้สึกตอนนี้ผมไม่มี ทุกท่านก็ไม่ควรจะมี แต่ควรจะมีในขั้นตอนการอภิปราย และลงมติ อภิปรายกันด้วยเหตุผล ใช้สมองอภิปราย ใช้ปัญญา เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ"
**พท.เพ้อสลับขั้ว-ยุบสภา
นายนิสิต สินธุไพร อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำกลุ่ม นปช. กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ที่กำหนดว่าจะให้สถานการณ์ออกมาในด้านไหน ซึ่งก็มีอยู่ทั้ง ในเรื่องการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล การยุบสภา แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมแก้ไข จะทำให้พรรคร่วมหาทางเพื่อให้สามารถเดินหน้าแก้ไขได้ ซึ่งอาจเปลี่ยนขั้วหรือทางหนึ่งอาจจะเป็นการยื่นเงื่องไขกับพรรคเพื่อไทย โดยให้มีการพิจารณาร่างแก้กฎหมายทั้งสองฉบับพร้อมกัน ให้ผ่านสภาชั้นรับหลักการไปก่อน เพื่อให้สามารถเดินหน้าแก้ไขได้ จนสุดท้ายทำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ต้องประกาศยุบสภา
บรรยากาสที่อึมครึมตลอดสัปดาห์ในพรรคประชาธิปัตย์ ในความเห็นที่แตกต่างกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ทำท่าจะอึมครึมต่อไปอีกหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรคที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคเป็นประธานโดยใช้เวลาเพียง 20 นาที ซึ่งที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคมีมติว่า “ยังไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคร่วมรัฐบาล”
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรรมการบริหารพรรคมีความเห็นว่าการยื่นญัติติการแก้ไขของรัฐธรรมนูญของแต่ละพรรค เป็นสิ่งที่ทำได้ตามระบอบรัฐสภา แต่ “ยังไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมยื่นญัติติแก้ไขรัฐธรรมนูญ” อย่างไรก็ตาม การลงคะแนนเป็นเรื่องของรัฐสภาโดยรวม การลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ทางกรรมการบริหารพรรคจะให้ที่ประชุมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตัดสินใจ
เวลา 17.20 น.นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่ามติออกมา 82 ต่อ 48 เสียง เห็นควรไม่สนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งนี้เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย ก็ต้องไม่เห็นด้วยทั้งร่าง ดังนั้นเรื่องนี้จะกระทบกับการทำงานหรือไม่ก็ได้คุยกันแล้วว่าเป็นเรื่องของสภาและพรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และคงไม่มีความขัดแย้งอะไร ซึ่งก็ยินดีนัดพบและแจ้งผลมติพรรค โดยพรรคกิจสังคมจะเป็นเจ้าภาพ และเชื่อว่าคงไม่เกี่ยวกันหากพรรคร่วมฯจะนำมากดดันในช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นก็ เป็นสิทธิของแต่ละพรรค คิดว่าแต่ละพรรคการเมืองจะตัดสินใจอะไรก็ต้องมีเหตุผลของตัวเองและมีหน้าที่อธิบายไป
เมื่อถามว่า ต่อไปนี้คำสัญญาของพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องอื่นๆ จะเป็นเช่นใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ไม่มีใครผิดสัญญา เมื่อถามว่า นายกฯ เคยรับปากกับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์กล่าวย้อนอย่างมีอารมณ์ว่า “ไปเปิดเทปไหมละครับ”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเรียนแล้วว่า วันที่มีการไปคุยกันเรื่องการตั้งรัฐบาล เขาถามเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนบอกไปว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากไม่แก้ไขเรื่องนิรโทษกรรม คงไม่เป็นปัญหา แต่จุดยืนของแต่ละพรรคไม่ตรงกัน ตนยังจำได้ว่าเขายกประเด็นเขตเลือกตั้งขึ้นมา ตนบอกไปว่า ประเด็นนี้ก็ลำบากหน่อย เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอตอนที่เขายกร่างรัฐธรรมนูญและขอความเห็นจากพรรคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอให้ยืนระบบเขตใหญ่ แต่พรรคการเมืองมีความเห็นแตกต่างกัน ก็เท่านั้นเองและเราก็รับมาพิจารณา และความจริงมีช่วงหนึ่งที่ตนบอกว่า ยินดี ถ้าเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในภาพรวมและนำไปสู่ความสมานฉันท์โดยมีกาประชาชนลงประชามติ ฉะนั้นไม่มีอะไรที่ผิดสัญญา
**เทือก รับสภาพยอมรับมติพรรค
เวลา 19.00 น.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรับมนตรีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาณ์ว่า คงไม่ต้องไปชี้แจงพรรคร่วมฯ ที่ติดตามข่าวจากสื่อมวลชนแล้ว และคงไม่มีอะไรไปคุย ตนเป็นเลขาธิการพรรคก็ต้องเคารพในมติของพรรค เมื่อผลออกมาเป็นอย่างนี้ก็ต้องรับและการโหวตของส.ส.ช่วงพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญพรรคจะมีทิศทางเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์จะต้องมีเอกภาพในการปฏิบัติงานในสภา เราโหวตในทางเดียวกัน
นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่อยู่ในวิสัยที่จะผิดหวังหรือสมหวังได้ ตนทำหน้าที่ของตน ยอมรับการทำงานผู้จัดการรัฐบาลก็จะยาก เสถียรภาพวันนี้ยังมั่นคงอยู่ วันหน้าก็ต้องแล้วแต่สถานการณ์ และต้องพยายามต่อไป ซึ่งเชื่อว่าพรรคร่วมฯก็คงจะเข้าใจวิธีคิดและ ตัดสืนใจของพรรคประชาธิปัตย์ว่าพรรคก็มีวิธีการตัดสินใจ มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมขององค์กร ดังนั้นตนก็ไม่ถอดใจ กว่าจะได้เป็นก็ยาก
**ส.ส.ปชป. ฉีกหน้า เทพเทือก ไม่ร่วมสังฆกรรมแก้ รธน.
รายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์แจ้งว่า สาเหตุที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติไม่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยโยนให้ที่ประชุม ส.ส.ตัดสิน เพราะนายสุเทพ ประเมินแล้วว่าเสียงในส่วนของตนอาจจะแพ้ได้ จึงคิดว่า จะสามารถโน้มน้าวให้ ส.ส.มีมติรับหลักการได้ เพราะมีการล๊อบบี้ตลอดคืนของวันที่ 25 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้หลังจากคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติเสร็จสิ้นที่ประชุม ส.ส.พรรคเพิ่มขึ้นในเวลา14.30 น. โดยรายงานข่าวแจ้งว่าระหว่างการประชุม นายสุเทพ กล่าวว่า อยากให้ทุกคนได้คำนึงก่อนจะตัดสินใจว่าแก้ หรือ ไม่แก้ และต้องเห็นใจตนด้วย เพราะในช่วงที่ไปเจรจากับพรรคร่วมไปในหน้าตาของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครคาดคิดว่านายสุเทพจะทำได้ จนสามารถดันนายอภิสิทธิ์ขึ้นเป็นนายกฯ เมื่อพรรคร่วมรัฐบาล มาทวงสัญญา ถ้าเราไม่ยอมเขาก็อาจจะตัดสินใจไปร่วมกับพรรคเพื่อไทยในการหยิบยกเอารัฐธรรมนูญปี 40 รวมถึงไม่ยกมือโหวตในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนตัวก็หนักใจกับเรื่องนี้ แม้ว่าพรรคจะเคยประกาศจุดยืนก็ตาม แต่เมื่อเราเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเราก็พร้อมที่จะหาทางออกเพื่อสู้กับระบอบทักษิณ
นายสุเทพกล่าวว่า ถ้าเราไม่แก้ตามที่พรรคร่วมเสนอมาเขาก็พร้อมจะไม่เอาเราเหมือนกัน การทำงานร่วมกันก็จะไม่ค่อยได้ผล จะมีการขัดแข้งขัดขา ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ขอให้ชิงยุบสภาไปก่อนจะดีเสียก่อน เพราะถ้าเกิดการอภิปรายฯ และเกิดพรรคร่วมไม่ยกมือให้แล้วถ้ามีการสวนมติไม่หนุนนายกฯ ตนก็ยอมรับไม่ได้ ไม่หนุนนายอภิสิทธิ์เราก็หน้าแตกกลางสภา ชิงยุบไปก่อนไม่ดีกว่าหรือ ถ้ามีการเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนายกฯ ตนก็รับไม่ได้ แต่ถามว่าถ้ายุบสภาในเวลานี้พรรคไหนบ้างมีความพร้อม ก็ไม่พร้อมกันทุกพรรค ในเมื่อเราไม่ต้องการอย่างนั้นทำไมไม่ร่วมกันแก้รัฐธรรมนูญไปก่อน เพราะตนเชื่อมั่นว่าคะแนนนิยมของนายกฯและรัฐบาลจะดีวันดีคืน ดูจากผลโพลที่ออกมาก็เห็นแนวโน้มแล้ว ขอให้เราร่วมกันอยู่ต่ออีก 2 ปีตามที่หลายฝ่ายคาดหวังไว้ แล้วค่อยไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวันข้างหน้าร่วมกัน
นายสุเทพกล่าวว่า ในส่วนของทหาร กองทัพ และข้าราชการประจำ เขาก็ชื่นชมท่าทีของนายกฯ ว่าไม่เคยเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการใดๆ และผลงานจากโครงการของรัฐบาก็เริ่มออกมาชัดเจน ถ้าเรายิ่งอยู่นาน ฝ่ายค้านต่างหากต้องกลัวบารมีเรา ถ้าเป็นเช่นนั้นทักษิณก็จะกลับมายาก
“คนอย่างผมประเมินมิตร และศัตรูได้ถูก ถ้าเราไม่จับมือกับพรรคร่วมต่อไป หากทักษิณกลับมาประชาชนจะเดือดร้อน ประเทศชาติจะได้รับผลกระทบเพราะเขาเป็นคนที่ไม่สนใจวิธีที่จะใช้ในการจัดการประชาธิปไตยจะหายไป จึงขอให้เราร่วมมือกับพรรคร่วมในการแก้ไขปัญหานี้”
**“ชวน” กระตุกต่อมลูกพรรคเรียกศรัทธาปชช.
จากนั้น นายชวน หลีกภัยประธานกรรมการที่ปรึกษาพรรค ได้เดินขึ้นไปพูดหน้าเวทีว่า ไม่ต้องห่วงว่าเราจะอยู่ยาวหรือ สั้น ถ้ารัฐบาลอยู่รอดได้ แต่ประชาธิปัตย์เสยศักดิ์ศรี และเสียจุดยืนเราจะเป็นรัฐบาลไปทำไม ถือว่าไม่คุ้มค่า ถ้าเราไม่ได้เป็นรัฐบาลเราก็ไม่ตาย เราเคยเป็นพรรคฝ่ายค้านมาแล้วยาวนานไม่เห็นว่าจะมีใครตายเลย
นายชวน กล่าวว่า การแก้ไข 2 ประเด็น ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ แต่เป็นประโยชน์ของนักการเมืองล้วนๆ และหากไม่แก้ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย และหากเราจะแก้จะอธิบายต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างไร เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาส่วนตัวของนายบรรหาร ศิลปอาชา และนายเนวิน ชิดชอบ เราจะเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นปัญหาภายในพรรคไม่ได้ หน้าที่ของ ส.ส.คือช่วยรัฐบาลให้แก้ไขวิกฤติ ไม่ใช่ไปซ้ำเติมวิกฤต ไม่ใช่ไปร่วมมือกับพรรคร่วมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเขตเดียวเบอร์ดียว นั่นไม่ใช่วิกฤตของชาติ และไม่สามารถทำให้พรรคประชาธิปัตย์อยู่รอดได้ เราต้องช่วยกันแก้ปัญหาวิดกฤต ด้วยการทำให้ ส.ส. ปราศจากการทุจริตเลือกตั้งและเข้ามาโกงชาติบ้านเมือง
“ที่มีคนกล่าวว่า ปชป.เป็นพรรคคบอยาก ก็อยากจะบอกว่า ถ้าขอคบเราแล้วมาทุจริต เราก็ไม่ควรคบกับเขา”
นอกจากนี้นายชวนยังได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการขอให้พรรคร่วมมาจับมือกับเราแทน แล้วเสนอมาว่าอยากแก้มาตราใดบ้าง แต่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เพื่อแก้ปัยหาธุรกิจการเมืองแบบโครตโกง โกงทั้งโคตร ผลที่จะได้คือรัฐบาลได้ทำงานต่อ พรรคร่วมก็ได้ร่วมกับเรา โดยยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง เพราะประชาชนคาดหวังให้เราเข้ามาทำงานบริหารประเทศ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อโกง ฉะนั้นความอยู่รอดของรัฐบาล และเกียรติของพรรคประชาธัตย์ต้องอยู่ร่วมกัน
**“มาร์ค” ลั่นไม่ยอมให้พรรคร่วมขี่คออีกต่อไป
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวว่า เรื่องเขตใหญ่เขตเล็กเราไม่ต้องพูดถึงกันแล้ว เพราะไม่ว่าจะใช้รูปแบบการเลือกตั้งอย่างไรเราก็พร้อมที่จะสู้ และการใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ ตนเป็นคนเสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ให้ใช้เอง เพราะคิดว่ายังมี ส.ส.ที่ดีกว่าไม่ดี ถ้าเราอยู่กับพรรคร่วมโดยยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูย เราต้องมีคำตอบให้กับสังคม เพราะสังคมจะตีตราเราว่าประชาธิปัตย์แก้ไขเพราะอยากเป็นรัฐบาลต่อ การที่เราเข้ามาเป็นรัฐบาล 1 ปีไม่ใช่มาเพื่อหาเงินเตรียมการเลือกตั้ง แต่เรามาเพื่อทำงาน มีคำกล่าวว่า ประชาธิปัตย์ เป็นพรรคที่คบยาก แต่เราก็ไม่เคยหักหลังใคร และส่วนตัวตนเป็นคนที่ละเอียดรอบคอบมีความอดทน สัญญาอะไรกับใครไว้จำได้หมด
“ถ้าคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นสารพิษตกค้าง การจะถอนสารพิษได้มีทางเดียวคือ ต้องเรียกคืนศรัทธาจากปราชนให้ได้จากการเลือกตั้ง เราต้องไม่กลัวเรื่องยุบสภา เพราะไม่มีใครขู่ผมได้ ตราบใดที่ผมยังเป็นนายกฯ การเป้นรัฐบาลที่ดีเราต้องทำให้แตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น ถ้าเราไม่แตกต่าง หรือเทียบเท่ากับทักษิณ เราก็แพ้ประชาชน เราไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้กลับมาเป็นรัฐบาล หรือกลัวการปฏิวัติ เราต้องเป็นหลักให้บ้านเมือง แม้ทุกคนจะลงมติให้เลือกเขตใหญ่แล้วให้ผมยุบสภา ผมก็ไม่รุ้จะเอาเหตุผลอะไรมาเพื่อยุบ หากแก้ไปแล้วก็ไม่มีอะไรยืนยันว่าพรรคร่วมจะอยู่กับเราต่อไป แต่พรรคต้องรักษาจุดยืนและสุดท้ายตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าการเลือกตั้งใหม่เราไม่ใช่ผู้ชนะก็อย่าได้หวังว่าใครจะมาร่วมรัฐบาลกับเรา”
“ผมยอมรับไม่ได้ที่จะเป็นรัฐบาลที่พรรคร่วมคอยกดดัน ข่มขู่ หากเขาขู่ได้ก็จะขู่เลื่อยไป หากเป็นรัฐบาลในสภาพการณ์เช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากพ.ต.ท.ทักษิณ ขอให้สมาชิกพรรคตัดสินใจให้ดีอีกครั้งอย่าไปกลัว หรืออย่าไปสนแรงกดดันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขู่ยุบสภา หรือยกมือโหวตไม่ไว้วางใจ ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริง เราต้องยึดมั่นในหลักการ ถ้าประชาธิปัตย์ไม่เป็นหลักให้บ้านเมืองประเทศชาติก็จะไม่เหลืออะไร ประชาธิปัตย์ก็ไม่อยู่รอด และทักษิณจะกลับมาในที่สุด”
จากนั้น นายสุเทพได้เสนอให้มีการลงมติโหวตแบบลับ เรียงตามอักษร โดยมีการขานชื่อแล้วให้สมาชิกแต่ละคนเขียนลงในกระดาษว่า “แก้” กับ “ ไม่แก้” นำไปหย่อนลงในกล่อง ในระหว่างการซาวเสียงช่วงต้นมีการประเมินว่าเสียงสู่สีมาก จนต้องมีการวิ่งตามสมาชิกในสายของนายบัญญัติที่ไม่ได้ร่วมประชุมในช่วงแรก มาร่วมลงคะแนนด้วย โดยหลังจากลงคะแนนเสร็จแล้วนายอภิสิทธิ์ ได้เป็นผู้หยิบกระดาษมาอ่านและขานคะแนน ขณะที่นายสุเทพเป็นคนบันทึกผลการนับคะแนน ท่ามกลางการรอลุ้นผลการนับคะแนนของสมาชิกด้วยใจระทึก
ผลการนับคะแนน จากสมาชิกทั้งหมด 172 เสียงและเข้าร่วมประชุม 140 คน โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนที่จะมีมติ 82 เสียง ต่อ 48 เสียง ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่งดออกเสียง 2 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากทราบผลคะแนนที่ชัดเจน ส.ส.ที่สนับสนุนไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทยอยลงมาจากห้องประชุมด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม ขณะที่ส.ส.ฝ่ายที่สนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญต่างไปยืนสูบบุหรี่อย่างเคร่งเครียด
**ปู่จิ้น แรงข้ามช็อตฟรีโหวตซักฟอก
ที่พรรคภูมิใจไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงมติคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์จะส่งผลต่อการจับมือของสองพรรคต่อไปหรือไม่ ว่า เป็นคนละเรื่องกัน การแก้รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องความสมัครใจของคนที่จะดำเนินการในสภา ไม่เกี่ยวกับการร่วมรัฐบาล
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสะดุดหรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า หากดูจำนวนคนที่มาลงชื่อเสนอญัตติแก้รัฐธรรมนูญ เราพอแล้วแต่ยังไม่มากพอ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับเราก็ได้มากขึ้น ตอนนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จะกลัวพันธมิตร ฯ หรือไม่ ตนไม่ทราบ และก็ไม่แน่เหมือนกันว่าจะมีฟรีโหวต เพราะเป็นเรื่องการเมือง ส่วนหากมีการขอให้ช่วยโหวตกฎหมายสำคัญ ๆ และลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจจะทำอย่างไร นายชวรัตน์ กล่าวว่า เป็นเรื่องเอกสิทธิ์ ในสภาของ ส.ส.เราก็ให้ฟรีโหวตได้เลย เป็นอิสระของแต่ละคน เหมือนกับการแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นเรื่องของสภา
ขณะที่ นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ได้กล่าวแทรกขึ้นมาทันทีว่า การฟรีโหวตก็พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป เรื่องนี้ต้องแยะแยะเป็น 2 ห้วงเวลา คือ พรรคร่วมรัฐบาลนำโดยพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคอื่น ๆ จะยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นส.ส.จะยกมืออย่างไรก็เป็นอีกเรื่อง วันนี้พรรคภูมิใจไทยยังเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญได้ ขณะที่รัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังเดินหน้าบริหารประเทศได้ จากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังกลับมาร่วมกันได้
** “ศิลปอาชา”ปิดปากปัดรออภิปราย
นายชุมพล ศิลปอาชา หัวพรรคชาติไทยพฒนา กล่าวว่ามติพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยตอนนี้อยู่ในขั้นนำญัตติเข้าสภาฯเท่านั้น ความเห็นด้วยไม่เห็นด้วย เอาไว้ตอนอภิปรายและลงมติ แต่หลังอภิปรายแล้วโลกมันกลมหมุนไปหมุนมา
“ต้องชมพรรคประชาธิปัตย์เขา เพราะ พรรคเขาค่อนข้างเป็นประชาธิปไตยพอสมควร ยืนยันไม่มีปัญหาในการร่วมรัฐบาล
"ความรู้สึกตอนนี้ผมไม่มี ทุกท่านก็ไม่ควรจะมี แต่ควรจะมีในขั้นตอนการอภิปราย และลงมติ อภิปรายกันด้วยเหตุผล ใช้สมองอภิปราย ใช้ปัญญา เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ"
**พท.เพ้อสลับขั้ว-ยุบสภา
นายนิสิต สินธุไพร อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำกลุ่ม นปช. กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ที่กำหนดว่าจะให้สถานการณ์ออกมาในด้านไหน ซึ่งก็มีอยู่ทั้ง ในเรื่องการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล การยุบสภา แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมแก้ไข จะทำให้พรรคร่วมหาทางเพื่อให้สามารถเดินหน้าแก้ไขได้ ซึ่งอาจเปลี่ยนขั้วหรือทางหนึ่งอาจจะเป็นการยื่นเงื่องไขกับพรรคเพื่อไทย โดยให้มีการพิจารณาร่างแก้กฎหมายทั้งสองฉบับพร้อมกัน ให้ผ่านสภาชั้นรับหลักการไปก่อน เพื่อให้สามารถเดินหน้าแก้ไขได้ จนสุดท้ายทำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ต้องประกาศยุบสภา