นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) พยานปากเอกของฝ่ายอัยการในคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่าการที่กลุ่มพ.ต.ท.ทักษิณจะมีการจัดทำเอกสารหลายแสนเล่มแจกจ่ายประชาชนทั่วประเทศเพื่อยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติก่อนที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะนัดอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์เป็นเรื่องที่ แม้จะทำได้ แต่การนำเสนอต้องเสนอในเชิงข้อเท็จจริงในลักษณะเดียวกันกับการสู้คดี ของพ.ต.ท.ทักษิณในชั้นศาลที่เป็นการแก้ต่างคำฟ้องของอัยการว่า ไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในสมัยเป็นนายกรัฐมนตรีจนทำให้รวยผิดปกติ แบบนี้น่าจะทำได้ แต่หากไปทำนอกจากนี้ก็เป็นการจะไปกดดันการตัดสินของศาล
การนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงของแต่ละฝ่ายไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย กลัวจะไปละเมิดอำนาจศาล ขยับไม่ได้ มันไม่ใช่แบบนั้น มีสิทธิ์เสนอได้แต่ที่สำคัญต้องไม่ไปกดดันศาล ไม่ไปก้าวล่วง รัฐบาลเองก็ควรต้องคิดได้แล้วว่าจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงที่มาที่ไปของคดียึดทรัพย์
นายแก้วสรรเสนอว่ารัฐบาลควรใช้สื่อของรัฐให้เป็นประโยชน์ในการเสนอ ข้อเท็จจริงให้สังคมเข้าใจ ก่อนที่ศาลจะตัดสินคดียึดทรัพย์ เช่นการลำดับความเป็นมาของคดียึดทรัพย์ตั้งแต่ต้น การใช้อำนาจอายัดทรัพย์ของ คตส. จนคดีไปที่อัยการ ไปที่การไต่สวนของศาลว่าทุกอย่างทำตามกระบวนการยุติธรรม จะได้ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นำไปทำให้เกิดความเข้าใจผิด หลังศาลตัดสิน แต่ไม่ใช่ไปบอกว่าทักษิณผิดหรือไม่ผิด สมควรยึดทรัพย์หรือไม่ หรือหากนายกอภิสิทธิ์ ไม่กล้า หน่วยงานอื่นเช่นสำนักงาน ป.ป.ช.ก็ทำหน้าที่ได้ เช่นการทำหนังสือแจก การทำวีซีดีแจกจ่ายประชาชนทั่วประเทศ เรื่องแบบนี้ไม่ใช่การก้าวล่วงการตัดสินคดีของศาล ก็ใช้สื่อของรัฐให้เป็นประโยชน์ เอาทั้งสองฝ่ายมาออกทีวีกันเลย ให้ความรู้กับประชาชนไป
นายแก้วสรรได้เปิดประเด็นใหม่ที่น่าสนใจคือการเสนอให้มีการนิรโทษกรรมกับพ.ต.ท.ทักษิณหากว่าสุดท้ายศาลตัดสินว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด
ผมมองว่าการขยายผลคำพิพากษาไม่ว่าจะตัดสินออกมาอย่างไรสำคัญมาก มันต้องเริ่มก่อนศาลตัดสินด้วยว่ามาตกลงกันไหม ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมจะบอกก่อนเลยในการเป็นผู้นำที่เคารพกระบวนการยุติธรรมไทย ก็เห็นด่าเขมรว่า ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมไทย นายกรัฐมนตรี คุณอภิสิทธิ์ต้องเป็นผู้นำ บอกก่อนเลยว่าทุกคนต้องหยุดตามนี้ถ้าทักษิณไม่ผิด นายกรัฐมนตรีกล้านิรโทษกรรมไหม ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเลย เดิมพันกันเลย เอาไหม บอกเลยทักษิณกลับมาเลย ติดคุกสักสามเดือนในคดีทุจริตที่ดินรัชดาก็ได้ นิรโทษไปเลยก็ว่าไป มันจะทำให้ช่วงชุลมุนเหล่านี้จบลงได้ จบลงด้วยคำพิพากษาของศาล ปัญหาที่เกิดขึ้น 3-4 ปีมานี้มันจะจบลงด้วยคดีนี้ เสนอก่อนเลย ไม่ต้องไปห่วงเรื่องศาล แนวทางแบบนี้ ไม่ใช่การชี้นำศาล ศาลเขาตัดสินละเอียดอยู่แล้ว ศาลไม่ยอมตัดสินอะไรที่ถูกด่าง่ายๆ หรอก ถ้าขนาดทักษิณไม่อยู่ในอำนาจ แล้วศาลตัดสินยกฟ้องทักษิณแล้ว ยังไม่หยุดอีกหรือ
ด้านนายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะทำงานอัยการคดียึดทรัพย์ กล่าวว่าที่ผ่านมาการตัดสินคดีของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ เป็นคดีอาญา แต่คดียึดทรัพย์เป็นคดีแพ่งคดีแรก จึงยังไม่เคยมีบรรทัดฐานมาก่อนว่าการอุทธรณ์คำตัดสินของศาลฎีกาภายใน 30 วันหลังวันตัดสินคดีทำได้หรือไม่ คดีนี้จึงเป็นคดีแรกซึ่งต้องดูว่าองค์คณะตุลาการผู้พิจารณา คำร้องอุทธรณ์ที่จะคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกาจะพิจารณาอย่างไร
อย่างไรก็ตามถ้าดูตามรัฐธรรมนูญปี 50 ในมาตรา 278(3) บัญญัติว่า การอุทธรณ์ให้ทำภายใน 30 วันโดยไม่ได้เขียนแยกว่าเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่ง และต่อมาศาลฎีกาฯได้ออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการอุทธรณ์คดีเพื่อรองรับรัฐธรรมนูญซึ่งก็ไม่ได้แยกว่าการรับเรื่องรับเฉพาะคดีอาญาอย่างเดียวหรือไม่ เมื่อไม่ได้บัญญัติตรงนี้ให้ชัดเจน ฝ่ายผู้ถูกร้องก็สามารถยื่นได้อันเป็นกระบวนการตามปกติอยู่แล้ว”นายนันทศักดิ์กล่าว
ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เตรียมทำหนังสือเผยแพร่ต่อประชาชนยืนยันตัวเองรวยก่อนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการมองกันว่าเพื่อกดดันศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะตัดสินคดียึดทรัพย์ 7-6 หมื่นล้านบาทว่า ตนคิดว่ามันเป็นเรื่องข้อเท็จจริง และเมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูล ที่เป็นข้อเท็จจริงรัฐบาลก็ต้องชี้แจง ส่วนกระทรวงการต่างประเทศจะชี้แจงไประดับไหน และผลกระทบนั้นมาถึงในประเทศหรือไม่ ก็ต้องประเมินอีกที และถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ จะทำหนังสือแจงประชาชนและจะมีผลทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ก็ต้องมีการชี้แจงต่อประชาชนเช่นเดียวกัน ตนว่าไม่เป็นไร เรื่องนี้หากเขาพูดซ้ำ เราก็ชี้แจงซ้ำได้
การนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงของแต่ละฝ่ายไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย กลัวจะไปละเมิดอำนาจศาล ขยับไม่ได้ มันไม่ใช่แบบนั้น มีสิทธิ์เสนอได้แต่ที่สำคัญต้องไม่ไปกดดันศาล ไม่ไปก้าวล่วง รัฐบาลเองก็ควรต้องคิดได้แล้วว่าจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงที่มาที่ไปของคดียึดทรัพย์
นายแก้วสรรเสนอว่ารัฐบาลควรใช้สื่อของรัฐให้เป็นประโยชน์ในการเสนอ ข้อเท็จจริงให้สังคมเข้าใจ ก่อนที่ศาลจะตัดสินคดียึดทรัพย์ เช่นการลำดับความเป็นมาของคดียึดทรัพย์ตั้งแต่ต้น การใช้อำนาจอายัดทรัพย์ของ คตส. จนคดีไปที่อัยการ ไปที่การไต่สวนของศาลว่าทุกอย่างทำตามกระบวนการยุติธรรม จะได้ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นำไปทำให้เกิดความเข้าใจผิด หลังศาลตัดสิน แต่ไม่ใช่ไปบอกว่าทักษิณผิดหรือไม่ผิด สมควรยึดทรัพย์หรือไม่ หรือหากนายกอภิสิทธิ์ ไม่กล้า หน่วยงานอื่นเช่นสำนักงาน ป.ป.ช.ก็ทำหน้าที่ได้ เช่นการทำหนังสือแจก การทำวีซีดีแจกจ่ายประชาชนทั่วประเทศ เรื่องแบบนี้ไม่ใช่การก้าวล่วงการตัดสินคดีของศาล ก็ใช้สื่อของรัฐให้เป็นประโยชน์ เอาทั้งสองฝ่ายมาออกทีวีกันเลย ให้ความรู้กับประชาชนไป
นายแก้วสรรได้เปิดประเด็นใหม่ที่น่าสนใจคือการเสนอให้มีการนิรโทษกรรมกับพ.ต.ท.ทักษิณหากว่าสุดท้ายศาลตัดสินว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด
ผมมองว่าการขยายผลคำพิพากษาไม่ว่าจะตัดสินออกมาอย่างไรสำคัญมาก มันต้องเริ่มก่อนศาลตัดสินด้วยว่ามาตกลงกันไหม ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมจะบอกก่อนเลยในการเป็นผู้นำที่เคารพกระบวนการยุติธรรมไทย ก็เห็นด่าเขมรว่า ไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมไทย นายกรัฐมนตรี คุณอภิสิทธิ์ต้องเป็นผู้นำ บอกก่อนเลยว่าทุกคนต้องหยุดตามนี้ถ้าทักษิณไม่ผิด นายกรัฐมนตรีกล้านิรโทษกรรมไหม ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเลย เดิมพันกันเลย เอาไหม บอกเลยทักษิณกลับมาเลย ติดคุกสักสามเดือนในคดีทุจริตที่ดินรัชดาก็ได้ นิรโทษไปเลยก็ว่าไป มันจะทำให้ช่วงชุลมุนเหล่านี้จบลงได้ จบลงด้วยคำพิพากษาของศาล ปัญหาที่เกิดขึ้น 3-4 ปีมานี้มันจะจบลงด้วยคดีนี้ เสนอก่อนเลย ไม่ต้องไปห่วงเรื่องศาล แนวทางแบบนี้ ไม่ใช่การชี้นำศาล ศาลเขาตัดสินละเอียดอยู่แล้ว ศาลไม่ยอมตัดสินอะไรที่ถูกด่าง่ายๆ หรอก ถ้าขนาดทักษิณไม่อยู่ในอำนาจ แล้วศาลตัดสินยกฟ้องทักษิณแล้ว ยังไม่หยุดอีกหรือ
ด้านนายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด หนึ่งในคณะทำงานอัยการคดียึดทรัพย์ กล่าวว่าที่ผ่านมาการตัดสินคดีของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ เป็นคดีอาญา แต่คดียึดทรัพย์เป็นคดีแพ่งคดีแรก จึงยังไม่เคยมีบรรทัดฐานมาก่อนว่าการอุทธรณ์คำตัดสินของศาลฎีกาภายใน 30 วันหลังวันตัดสินคดีทำได้หรือไม่ คดีนี้จึงเป็นคดีแรกซึ่งต้องดูว่าองค์คณะตุลาการผู้พิจารณา คำร้องอุทธรณ์ที่จะคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกาจะพิจารณาอย่างไร
อย่างไรก็ตามถ้าดูตามรัฐธรรมนูญปี 50 ในมาตรา 278(3) บัญญัติว่า การอุทธรณ์ให้ทำภายใน 30 วันโดยไม่ได้เขียนแยกว่าเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่ง และต่อมาศาลฎีกาฯได้ออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการอุทธรณ์คดีเพื่อรองรับรัฐธรรมนูญซึ่งก็ไม่ได้แยกว่าการรับเรื่องรับเฉพาะคดีอาญาอย่างเดียวหรือไม่ เมื่อไม่ได้บัญญัติตรงนี้ให้ชัดเจน ฝ่ายผู้ถูกร้องก็สามารถยื่นได้อันเป็นกระบวนการตามปกติอยู่แล้ว”นายนันทศักดิ์กล่าว
ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เตรียมทำหนังสือเผยแพร่ต่อประชาชนยืนยันตัวเองรวยก่อนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการมองกันว่าเพื่อกดดันศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะตัดสินคดียึดทรัพย์ 7-6 หมื่นล้านบาทว่า ตนคิดว่ามันเป็นเรื่องข้อเท็จจริง และเมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูล ที่เป็นข้อเท็จจริงรัฐบาลก็ต้องชี้แจง ส่วนกระทรวงการต่างประเทศจะชี้แจงไประดับไหน และผลกระทบนั้นมาถึงในประเทศหรือไม่ ก็ต้องประเมินอีกที และถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ จะทำหนังสือแจงประชาชนและจะมีผลทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ก็ต้องมีการชี้แจงต่อประชาชนเช่นเดียวกัน ตนว่าไม่เป็นไร เรื่องนี้หากเขาพูดซ้ำ เราก็ชี้แจงซ้ำได้