ข่าวการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงระดับ 7.0 ริกเตอร์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ห่างเพียง 25 กิโลเมตรไปทางตะวันตกของกรุงปอร์โต แปรงซ์ นครหลวงของเฮติซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นที่สุดในซีกโลกตะวันตก เมื่อวันอังคารที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา พร้อมกับการเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกกว่า33 ครั้ง ถือเป็นข่าวที่สร้างความตกตะลึงและเศร้าโศกไปทั่วโลก โดยเฉพาะการที่คาดว่าอาจมีผู้เสียชีวิตจากหายนะครั้งนี้มากกว่า 200,000 ราย รวมทั้ง การที่ชาวเฮติซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งไม่รู้หนังสือและมีรายได้เฉลี่ยเพียงไม่ถึง 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 65 บาทต่อคนต่อวัน ต้องประสบกับภาวะบ้านแตกสาแหรกขาดและไร้ที่อยู่อาศัยอีกนับล้านคน
ในช่วงจังหวะเวลาเดียวกันนั้นเองก็ได้มีอีกข่าวหนึ่งแพร่สะพัดออกมาจากกรุงวอชิงตันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีผิวสีวัย 48 กะรัตอย่างบารัค โอบามา มีแผนที่จะส่งทหารอเมริกันเข้ามาประจำการในเฮติโดยอ้างถึงเหตุผลความจำเป็นด้านมนุษยธรรม และการสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวเฮติของประชาคมโลก
ทันทีที่ข่าวดังกล่าวเล็ดลอดออกมาจากทำเนียบขาว บรรดาผู้นำฝีปากกล้าทั้งหลายแห่งทวีปอเมริกาทั้งโฮเซ ดาเนียล ออร์เตกา ซาเบดรา ประธานาธิบดีหนวดเฟิ้มแห่งนิการากัว และอูโก ราฟาเอล ชาเบซ ฟริอัส ผู้นำนิยมซ้ายวัย 55 ปี จากเวเนซุเอลา ต่างตบเท้ากันออกมาประณามรัฐบาลสหรัฐฯ และประธานาธิบดีโอบามาว่า กำลังฉกฉวยโอกาสจากความสูญเสียและคราบน้ำตาของชาวเฮติด้วยการส่งทหารอเมริกันเข้าไปยึดครองดินแดนแห่งนี้ ทั้งๆที่ไม่ได้มีภาวะสงครามแต่อย่างใด พร้อมกับตราหน้าว่า แท้จริงแล้ว สหรัฐฯ ไม่เคยเลิกล้มความตั้งใจที่จะกลับเข้ามามีอำนาจปกครองเหนือเฮติอีกครั้ง หลังจากที่สหรัฐฯ เคยยึดครองเฮติอยู่นานกว่า 19 ปี เมื่อช่วงปี 1915-1934
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูจากหลายฝ่าย ถึงมูลเหตุจูงใจที่แท้จริงของสหรัฐฯ ในการส่งทหารอเมริกันไปเหยียบแผ่นดินเฮติครั้งนี้ แต่จนแล้วจนรอดรัฐบาลโอบามาก็ยังคงเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป โดยที่รอเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศเมื่อวันจันทร์ (18) ที่ผ่านมาว่า สหรัฐฯจะส่งทหารจำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 คนไปยังกรุงปอร์โต แปรงซ์โดยเร็วที่สุด ขณะที่ประธานาธิบดีโอบามาเองก็ออกมาประกาศเช่นกันว่า สหรัฐฯมีแผนก้าวเข้าไปในเฮติคราวนี้ “แบบระยะยาว” เพื่อฟื้นฟูบูรณะประเทศเพี่อนบ้านของตนให้หลุดพ้นจากสภาพบ้านเมืองที่ไร้ขื่อแปอย่างสิ้นเชิงในขณะนี้
“ภารกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ คือ ต้องการอยู่ช่วยชาวเฮติให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จนกว่าสหรัฐฯ จะแน่ใจว่า ชาวเฮติสามารถกลับมายืนได้ด้วยขาของตัวเองอีกครั้ง” โอบามากล่าวถึงจุดยืนของสหรัฐฯในการส่งทหารเข้าไปในเฮติแบบน่ากังขา
ในเมื่อรัฐบาลสหรัฐฯเอง ก็ยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการส่งทหารเรือนหมื่นพร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชนิดไปยังเฮติแบบฉับพลันครั้งนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดานักวิเคราะห์จะมองว่า ข้อกล่าวหาของสองผู้นำฝ่ายซ้ายแห่งลาตินอเมริกาอย่างออร์เตกาและชาเบซที่ว่าโอบามาต้องการยึดครองเฮติอาจ “มีมูล”
แลร์รี เบิร์นส์ ผู้อำนวยการของกลุ่มเอ็นจีโอที่เรียกตัวเองว่า Council on Hemispheric Affairs (COHA) ในกรุงวอชิงตัน ระบุว่าประธานาธิบดีโอบามากำลังทำ “ผิดพลาดครั้งใหญ่”ที่นำพาสหรัฐฯให้ถลำตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองภายในประเทศของเฮติโดยไม่มีความจำเป็น ทั้งๆที่ตัวเองก็ยัง “ถอนตัวไม่ขึ้น” จากการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน นอกจากนั้น เบิร์นส์ยังระบุว่าการเข้าไปในเฮติแบบ “ระยะยาว” ตามที่โอบามาประกาศไว้นั้น ยังอาจทำให้สถานการณ์ในเฮติเลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจากโอบามากำลังพยายามทำให้ทั่วโลกเห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันของเฮติที่นำโดยประธานาธิบดีเรอเน เปรอวาลวัย 67 ปีที่ครองอำนาจอย่างชอบธรรมมาตั้งแต่ปี 2006 กำลังสูญเสียความสามารถในการปกครองตนเองจนต้องให้สหรัฐฯเข้าไปสวมบทบาทเป็น“พี่เลี้ยงจำเป็น”แบบใกล้ชิด ซึ่งไม่ต่างจากการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นที่ถือเป็นสิ่งที่ประชาคมโลกไม่อาจยอมรับได้
ขณะที่แดน เอริคสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเฮติจากสถาบัน Inter-American Dialogue ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่คอยติดตามตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อประเทศต่างๆในทวีปอเมริกามาตั้งแต่ปี 1982 ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน วัย 63 ปี ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นทูตพิเศษด้านเฮติให้กับองค์การสหประชาชาติอาจเป็นผู้ที่ “ อยู่เบื้องหลัง ” การตัดสินใจของประธานาธิบดีรุ่นน้องจากพรรคเดโมแครตอย่างโอบามาในการส่งทหารอเมริกันนับหมื่นมายังเฮติก็เป็นได้
เอริคสันระบุว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าอดีตประธานาธิบดีคลินตันยังมีงานสำคัญด้านต่างประเทศชิ้นหนึ่งที่ยังคงคั่งค้างและทำไม่สำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ การนำตัวอดีตประธานาธิบดีที่ “ชาวเฮติรังเกียจขยะแขยง” แต่ “สหรัฐฯชื่นชอบ” อย่างฌอง แบร์ตรองด์ อริสติดซึ่งมีอันต้องลี้ภัยอยู่ในแอฟริกาใต้จนถึงทุกวันนี้ หลังถูกยึดอำนาจถึง 2 ครั้งเมื่อปี 1991 และ 2004 ให้กลับคืนสู่อำนาจในเฮติอีกครั้ง และอาจมีความเป็นไปได้ที่บิล และฮิลลารี คลินตัน ศรีภรรยาของเขา ซึ่งมีฐานะเป็นถึงรัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันของโอบามา อาจ “ส่งไม้ต่อ” ให้โอบามาทำการยึดเฮติ และนำตัวอริสติด ซึ่งได้ชื่อว่า มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับนักการเมืองจำนวนมากของพรรคเดโมแครตในสหรัฐฯ กลับประเทศแทน
แต่ทางด้าน ราจิฟ ชาห์ ผู้อำนวยการสำนักงานการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) กลับยืนยันว่า การส่งทหารเข้าไปในเฮติจำนวนประมาณ 10,000 คนของประธานาธิบดีโอบามา ไม่เกี่ยวข้องกับความพยายามใดๆ ที่จะนำอดีตประธานาธิบดีอริสติดกลับมาครองอำนาจในเฮติอีกครั้ง เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของสหรัฐฯ คือการเข้าไปสนับสนุนรัฐบาลเฮติชุดปัจจุบันและสหประชาชาติในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว และช่วยรักษาความมั่นคงให้กับเฮติในยามที่กองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเฮติ (MINUSTAH) ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลัง หลังมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายจากภัยพิบัติครั้งนี้จำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของโอบามา และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการส่งทหารนับหมื่นเข้าสู่เฮติคืออะไร แต่ประธานาธิบดีโอบามาก็มีหน้าที่ต้องไขความกระจ่างและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของตัวเองว่า จริงๆแล้วการช่วยเหลือเฮติครั้งนี้เป็นไปเพื่อมนุษยธรรมโดยไม่ได้“มีอะไรในกอไผ่”แต่อย่างใด เพราะเป็นทราบกันดีว่านับตั้งแต่ที่สหรัฐฯ ประกาศเอกราชจากอังกฤษ และก่อตั้งประเทศของตัวเองเมื่อ 4 กรกฎาคม ปี 1776 เป็นต้นมา สหรัฐฯ มักฉวยโอกาสแทรกแซงเฮติอยู่ตลอดเวลาทั้งทางตรงและทางอ้อม ขณะเดียวกันก็ยังไม่เคยมีประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใดที่เมื่อขึ้นครองอำนาจแล้วจะไม่ทำการแทรกแซงเฮติเช่นกัน
ในช่วงจังหวะเวลาเดียวกันนั้นเองก็ได้มีอีกข่าวหนึ่งแพร่สะพัดออกมาจากกรุงวอชิงตันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีผิวสีวัย 48 กะรัตอย่างบารัค โอบามา มีแผนที่จะส่งทหารอเมริกันเข้ามาประจำการในเฮติโดยอ้างถึงเหตุผลความจำเป็นด้านมนุษยธรรม และการสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวเฮติของประชาคมโลก
ทันทีที่ข่าวดังกล่าวเล็ดลอดออกมาจากทำเนียบขาว บรรดาผู้นำฝีปากกล้าทั้งหลายแห่งทวีปอเมริกาทั้งโฮเซ ดาเนียล ออร์เตกา ซาเบดรา ประธานาธิบดีหนวดเฟิ้มแห่งนิการากัว และอูโก ราฟาเอล ชาเบซ ฟริอัส ผู้นำนิยมซ้ายวัย 55 ปี จากเวเนซุเอลา ต่างตบเท้ากันออกมาประณามรัฐบาลสหรัฐฯ และประธานาธิบดีโอบามาว่า กำลังฉกฉวยโอกาสจากความสูญเสียและคราบน้ำตาของชาวเฮติด้วยการส่งทหารอเมริกันเข้าไปยึดครองดินแดนแห่งนี้ ทั้งๆที่ไม่ได้มีภาวะสงครามแต่อย่างใด พร้อมกับตราหน้าว่า แท้จริงแล้ว สหรัฐฯ ไม่เคยเลิกล้มความตั้งใจที่จะกลับเข้ามามีอำนาจปกครองเหนือเฮติอีกครั้ง หลังจากที่สหรัฐฯ เคยยึดครองเฮติอยู่นานกว่า 19 ปี เมื่อช่วงปี 1915-1934
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูจากหลายฝ่าย ถึงมูลเหตุจูงใจที่แท้จริงของสหรัฐฯ ในการส่งทหารอเมริกันไปเหยียบแผ่นดินเฮติครั้งนี้ แต่จนแล้วจนรอดรัฐบาลโอบามาก็ยังคงเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป โดยที่รอเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศเมื่อวันจันทร์ (18) ที่ผ่านมาว่า สหรัฐฯจะส่งทหารจำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 คนไปยังกรุงปอร์โต แปรงซ์โดยเร็วที่สุด ขณะที่ประธานาธิบดีโอบามาเองก็ออกมาประกาศเช่นกันว่า สหรัฐฯมีแผนก้าวเข้าไปในเฮติคราวนี้ “แบบระยะยาว” เพื่อฟื้นฟูบูรณะประเทศเพี่อนบ้านของตนให้หลุดพ้นจากสภาพบ้านเมืองที่ไร้ขื่อแปอย่างสิ้นเชิงในขณะนี้
“ภารกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ คือ ต้องการอยู่ช่วยชาวเฮติให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จนกว่าสหรัฐฯ จะแน่ใจว่า ชาวเฮติสามารถกลับมายืนได้ด้วยขาของตัวเองอีกครั้ง” โอบามากล่าวถึงจุดยืนของสหรัฐฯในการส่งทหารเข้าไปในเฮติแบบน่ากังขา
ในเมื่อรัฐบาลสหรัฐฯเอง ก็ยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการส่งทหารเรือนหมื่นพร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชนิดไปยังเฮติแบบฉับพลันครั้งนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดานักวิเคราะห์จะมองว่า ข้อกล่าวหาของสองผู้นำฝ่ายซ้ายแห่งลาตินอเมริกาอย่างออร์เตกาและชาเบซที่ว่าโอบามาต้องการยึดครองเฮติอาจ “มีมูล”
แลร์รี เบิร์นส์ ผู้อำนวยการของกลุ่มเอ็นจีโอที่เรียกตัวเองว่า Council on Hemispheric Affairs (COHA) ในกรุงวอชิงตัน ระบุว่าประธานาธิบดีโอบามากำลังทำ “ผิดพลาดครั้งใหญ่”ที่นำพาสหรัฐฯให้ถลำตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองภายในประเทศของเฮติโดยไม่มีความจำเป็น ทั้งๆที่ตัวเองก็ยัง “ถอนตัวไม่ขึ้น” จากการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน นอกจากนั้น เบิร์นส์ยังระบุว่าการเข้าไปในเฮติแบบ “ระยะยาว” ตามที่โอบามาประกาศไว้นั้น ยังอาจทำให้สถานการณ์ในเฮติเลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจากโอบามากำลังพยายามทำให้ทั่วโลกเห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันของเฮติที่นำโดยประธานาธิบดีเรอเน เปรอวาลวัย 67 ปีที่ครองอำนาจอย่างชอบธรรมมาตั้งแต่ปี 2006 กำลังสูญเสียความสามารถในการปกครองตนเองจนต้องให้สหรัฐฯเข้าไปสวมบทบาทเป็น“พี่เลี้ยงจำเป็น”แบบใกล้ชิด ซึ่งไม่ต่างจากการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นที่ถือเป็นสิ่งที่ประชาคมโลกไม่อาจยอมรับได้
ขณะที่แดน เอริคสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองเฮติจากสถาบัน Inter-American Dialogue ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่คอยติดตามตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อประเทศต่างๆในทวีปอเมริกามาตั้งแต่ปี 1982 ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน วัย 63 ปี ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นทูตพิเศษด้านเฮติให้กับองค์การสหประชาชาติอาจเป็นผู้ที่ “ อยู่เบื้องหลัง ” การตัดสินใจของประธานาธิบดีรุ่นน้องจากพรรคเดโมแครตอย่างโอบามาในการส่งทหารอเมริกันนับหมื่นมายังเฮติก็เป็นได้
เอริคสันระบุว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าอดีตประธานาธิบดีคลินตันยังมีงานสำคัญด้านต่างประเทศชิ้นหนึ่งที่ยังคงคั่งค้างและทำไม่สำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ การนำตัวอดีตประธานาธิบดีที่ “ชาวเฮติรังเกียจขยะแขยง” แต่ “สหรัฐฯชื่นชอบ” อย่างฌอง แบร์ตรองด์ อริสติดซึ่งมีอันต้องลี้ภัยอยู่ในแอฟริกาใต้จนถึงทุกวันนี้ หลังถูกยึดอำนาจถึง 2 ครั้งเมื่อปี 1991 และ 2004 ให้กลับคืนสู่อำนาจในเฮติอีกครั้ง และอาจมีความเป็นไปได้ที่บิล และฮิลลารี คลินตัน ศรีภรรยาของเขา ซึ่งมีฐานะเป็นถึงรัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันของโอบามา อาจ “ส่งไม้ต่อ” ให้โอบามาทำการยึดเฮติ และนำตัวอริสติด ซึ่งได้ชื่อว่า มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับนักการเมืองจำนวนมากของพรรคเดโมแครตในสหรัฐฯ กลับประเทศแทน
แต่ทางด้าน ราจิฟ ชาห์ ผู้อำนวยการสำนักงานการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) กลับยืนยันว่า การส่งทหารเข้าไปในเฮติจำนวนประมาณ 10,000 คนของประธานาธิบดีโอบามา ไม่เกี่ยวข้องกับความพยายามใดๆ ที่จะนำอดีตประธานาธิบดีอริสติดกลับมาครองอำนาจในเฮติอีกครั้ง เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของสหรัฐฯ คือการเข้าไปสนับสนุนรัฐบาลเฮติชุดปัจจุบันและสหประชาชาติในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว และช่วยรักษาความมั่นคงให้กับเฮติในยามที่กองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเฮติ (MINUSTAH) ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลัง หลังมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายจากภัยพิบัติครั้งนี้จำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของโอบามา และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการส่งทหารนับหมื่นเข้าสู่เฮติคืออะไร แต่ประธานาธิบดีโอบามาก็มีหน้าที่ต้องไขความกระจ่างและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของตัวเองว่า จริงๆแล้วการช่วยเหลือเฮติครั้งนี้เป็นไปเพื่อมนุษยธรรมโดยไม่ได้“มีอะไรในกอไผ่”แต่อย่างใด เพราะเป็นทราบกันดีว่านับตั้งแต่ที่สหรัฐฯ ประกาศเอกราชจากอังกฤษ และก่อตั้งประเทศของตัวเองเมื่อ 4 กรกฎาคม ปี 1776 เป็นต้นมา สหรัฐฯ มักฉวยโอกาสแทรกแซงเฮติอยู่ตลอดเวลาทั้งทางตรงและทางอ้อม ขณะเดียวกันก็ยังไม่เคยมีประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใดที่เมื่อขึ้นครองอำนาจแล้วจะไม่ทำการแทรกแซงเฮติเช่นกัน