ASTVผู้จัดการรายวัน - กรุงศรีฯปลื้มกำไรปี 52 โต 55% ลั่นปีนี้เดินหน้าขยายต่อ ตั้งเป้าโตสินเชื่อรวมไว้ที่ 8% หรือคิดเป็นเม็ดเงินสุทธิ 4.8 หมื่นล้าน เผยกลยุทธ"ซีอีโอใหม่"เน้นโตจากภายใน บริหาร 3 แห่งที่ซื้อมาปีก่อนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนซื้อกิจการรอจังหวะเหมาะ ฟุ้งภายใน 3 ปี ขึ้นแท่นติดอันดับ 1 ใน 3 ของแบงก์ที่ให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสูงสุด
นายมาร์ค อาร์โนลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) เปิดเผยหลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่งที่ธนาคารเป็นระยะเวลา 15 วันว่า แผนการดำเนินงานในปี 2553 ของธนาคารยังคงมีการเติบโตต่อเนื่องจากปี 2552 ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าหมายเติบโตสินเชื่อรวมไว้ที่ 8% คิดเป็นเม็ดเงินสุทธิ 4.8 หมื่นล้านบาท บนพื้นฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)ปีนี้ที่ระดับ 3% เทียบกับปีที่แล้วที่ยอดสินเชื่อรวมเติบโต 8% คิดเป็นเม็ดเงินปล่อยใหม่อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารจะมุ่งเน้นเติบโตธุรกิจจากฐานภายใน หลังจากการรวมกิจการที่ได้ซื้อเข้ามาทั้ง 3 รายการในช่วงปี 2552 ได้แก่ ธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)และบริษัท เอไอจีคาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด ,บริษัทซีเอฟจี เซอวิส จำกัด และ บริษัทจีอี มันนี่ (ไทยแลนด์) เพื่อให้สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่ธนาคารมีให้กับลูกค้าได้อย่างมั่นคงในอนาคตได้ ในขณะเดียวกันก็ยังมุ่งเน้นที่จะขยายตัวจากการซื้อกิจการจากภายนอกเข้ามาหากมีโอกาสและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสม ซึ่งคาดว่าในปีนี้น่าจะยังมีบริษัทที่ต้องการขายธุรกิจของตนเองในตลาดอยู่
"ตอนนี้ธนาคารกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเข้ามาเมื่อปีที่แล้วเพื่อหลอมรวมให้เป็นธุรกิจเดียวกันภายใต้การบริการงานของธนาคาร เพราะการรวมธุรกิจทั้ง 3 รายการนั้นธนาคารไม่ได้ซื้อเข้ามาเฉพาะสินทรัพย์ แต่ธนาคารซื้อพนักงาน ซื้อระบบ ซื้อทักษะของกิจการนั้นมาด้วย ดังนั้น ปีนี้จึงเป็นปีแห่งการเติบโตจากฐานที่เคยสร้างมาในปีที่แล้ว ซึ่งจะเป็นในส่วนของเป้าหมายสินเชื่อคือสินเชื่อรายใหญ่จะโต 1.5 เท่าของจีดีพี สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะโต 2.5 เท่าของจีดีพี และสินเชื่อรายย่อยจะโต 3 เท่าของจีดีพี ส่วนทางด้านเงินฝากต้องการเพิ่มสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันเป็น 40% จากปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 38%” นายมาร์ค กล่าว
สำหรับเป้าหมายด้านรายได้ค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) จากการให้บริการนั้นคาดว่าปีนี้จะเติบโตประมาณ 30% จากปีที่แล้วที่รายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต 26% โดยจะมาจากการที่ธนาคารจะพยายามกระตุ้นให้ลูกค้ามีการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีทั้งหมดในขณะนี้เพิ่มเป็น 3 รายการต่อลูกค้า 1 ราย จากสิ้นปีที่แล้วที่พบว่าลูกค้า 1 รายมีการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการน้อยกว่า 2 รายการ ซึ่งหากเป็นไปได้ก็จะส่งผลให้รายค่าธรรมเนียมของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นายมาร์คยังกล่าวถึงแนวทางการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ในปีนี้ว่า จะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิน 4.8% ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการหนี้เอ็นพีแอลในปีนี้ให้ลดลงจะเป็นในลักษณะของการขยายตัวของฐานสินเชื่อที่จะเพิ่มขึ้นและการขายออกไปเป็นจำนวน 5 พัน-1 หมื่นล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าจะมีการขายเอ็นพีแอลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ที่ราคาและการประเมินผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นของธนาคาร
นอกจากนี้ ธนาคารยังวางแผนว่าภายในระยะเวลา 3 ปี (2553-2555) จะต้องติดอันดับ 1 ใน 3 ของธนาคารในประเทศไทยที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดทั้งในส่วนของผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นและผลตอบแทนต่อหุ้น โดยในปีที่แล้วอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของธนาคารอยู่ที่ 7.5% เพิ่มขึ้นประมาณ 2% จากปี 2551 ซึ่งในปัจจุบันธนาคารที่มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นดีที่สุดคือมี ROE อยู่ที่ระดับ 15-16%
"ใน 3 ปีต่อจากนี้ไปเราตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของผู้ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันขนาดสินทรัพย์ของเราใหญ่เป็นอันดับที่ 5 เรามีธุรกิจที่หลากหลาย บางธุรกิจโตจากภายในได้ดี แต่บางธุรกิจก็โตจากการซื้อกิจการภายนอกได้ดี ดังนั้นกลยุทธ์หลักเราต้องดูแลลูกค้าให้มีความพอใจสูงสุด"นายมาร์ค กล่าว
ส่วนเรื่องแผนการออกหุ้นกู้ในปีนี้ก็ยังเป็นนโยบายที่ธนาคารให้ความสำคัญอยู่เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมโยงในแง่ของสินเชื่อและเงินฝากกับการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะต้องขอประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดีจะไม่มีการออกหุ้นกู้ในช่วงไตรมาส 1ของปีนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากในไตรมาส 4 ปีที่แล้วธนาคารเพิ่งออกหุ้นก็เป็นจำนวน 7.2 พันล้านบาท
**โชว์กำไรเพิ่ม 55%-CIMBTพลิกกำไร**
ล่าสุดธนาคารแถลงผลการดำเนินงานปี 2552 มีกำไรสุทธิ 6.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 55% เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีกำไรอยู่ที่ 4.3 พันล้านบาท ซึ่งปรับปรุงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยธนาคารและบริษัทในเครือมีกำไรก่อนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและภาษี จำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับปี 2551 และหลังตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 1 หมื่นล้านบาท และหลังหักภาษี จำนวน 1.5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานของธนาคารในปีที่แล้วปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเพิ่มขึ้น 7% รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 73% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 12% ด้านสินเชื่อมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 8% คิดเป็นเม็ดเงินสุทธิจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเติบโตจากธุรกิจปกติและการเข้าซื้อกิจการในสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ การเข้าซื้อกิจการต่างๆ ที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในระหว่างปี ที่แล้วยังช่วยให้โครงสร้างสินเชื่อของธนาคารปรับปรุงดีขึ้น โดยมีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจาก 32% เมื่อต้นปี เป็น 42% ณ สิ้นปีแล้ว
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT)แจ้งว่า ปี 2552 ธนาคารมีกำไร 1,667 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่มีผลขาดทุน 1,999 ล้านบาท
นายมาร์ค อาร์โนลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) เปิดเผยหลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่งที่ธนาคารเป็นระยะเวลา 15 วันว่า แผนการดำเนินงานในปี 2553 ของธนาคารยังคงมีการเติบโตต่อเนื่องจากปี 2552 ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าหมายเติบโตสินเชื่อรวมไว้ที่ 8% คิดเป็นเม็ดเงินสุทธิ 4.8 หมื่นล้านบาท บนพื้นฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)ปีนี้ที่ระดับ 3% เทียบกับปีที่แล้วที่ยอดสินเชื่อรวมเติบโต 8% คิดเป็นเม็ดเงินปล่อยใหม่อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารจะมุ่งเน้นเติบโตธุรกิจจากฐานภายใน หลังจากการรวมกิจการที่ได้ซื้อเข้ามาทั้ง 3 รายการในช่วงปี 2552 ได้แก่ ธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)และบริษัท เอไอจีคาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด ,บริษัทซีเอฟจี เซอวิส จำกัด และ บริษัทจีอี มันนี่ (ไทยแลนด์) เพื่อให้สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่ธนาคารมีให้กับลูกค้าได้อย่างมั่นคงในอนาคตได้ ในขณะเดียวกันก็ยังมุ่งเน้นที่จะขยายตัวจากการซื้อกิจการจากภายนอกเข้ามาหากมีโอกาสและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสม ซึ่งคาดว่าในปีนี้น่าจะยังมีบริษัทที่ต้องการขายธุรกิจของตนเองในตลาดอยู่
"ตอนนี้ธนาคารกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเข้ามาเมื่อปีที่แล้วเพื่อหลอมรวมให้เป็นธุรกิจเดียวกันภายใต้การบริการงานของธนาคาร เพราะการรวมธุรกิจทั้ง 3 รายการนั้นธนาคารไม่ได้ซื้อเข้ามาเฉพาะสินทรัพย์ แต่ธนาคารซื้อพนักงาน ซื้อระบบ ซื้อทักษะของกิจการนั้นมาด้วย ดังนั้น ปีนี้จึงเป็นปีแห่งการเติบโตจากฐานที่เคยสร้างมาในปีที่แล้ว ซึ่งจะเป็นในส่วนของเป้าหมายสินเชื่อคือสินเชื่อรายใหญ่จะโต 1.5 เท่าของจีดีพี สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะโต 2.5 เท่าของจีดีพี และสินเชื่อรายย่อยจะโต 3 เท่าของจีดีพี ส่วนทางด้านเงินฝากต้องการเพิ่มสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันเป็น 40% จากปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 38%” นายมาร์ค กล่าว
สำหรับเป้าหมายด้านรายได้ค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) จากการให้บริการนั้นคาดว่าปีนี้จะเติบโตประมาณ 30% จากปีที่แล้วที่รายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต 26% โดยจะมาจากการที่ธนาคารจะพยายามกระตุ้นให้ลูกค้ามีการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีทั้งหมดในขณะนี้เพิ่มเป็น 3 รายการต่อลูกค้า 1 ราย จากสิ้นปีที่แล้วที่พบว่าลูกค้า 1 รายมีการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการน้อยกว่า 2 รายการ ซึ่งหากเป็นไปได้ก็จะส่งผลให้รายค่าธรรมเนียมของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นายมาร์คยังกล่าวถึงแนวทางการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ในปีนี้ว่า จะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิน 4.8% ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการหนี้เอ็นพีแอลในปีนี้ให้ลดลงจะเป็นในลักษณะของการขยายตัวของฐานสินเชื่อที่จะเพิ่มขึ้นและการขายออกไปเป็นจำนวน 5 พัน-1 หมื่นล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าจะมีการขายเอ็นพีแอลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ที่ราคาและการประเมินผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นของธนาคาร
นอกจากนี้ ธนาคารยังวางแผนว่าภายในระยะเวลา 3 ปี (2553-2555) จะต้องติดอันดับ 1 ใน 3 ของธนาคารในประเทศไทยที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดทั้งในส่วนของผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นและผลตอบแทนต่อหุ้น โดยในปีที่แล้วอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของธนาคารอยู่ที่ 7.5% เพิ่มขึ้นประมาณ 2% จากปี 2551 ซึ่งในปัจจุบันธนาคารที่มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นดีที่สุดคือมี ROE อยู่ที่ระดับ 15-16%
"ใน 3 ปีต่อจากนี้ไปเราตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของผู้ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันขนาดสินทรัพย์ของเราใหญ่เป็นอันดับที่ 5 เรามีธุรกิจที่หลากหลาย บางธุรกิจโตจากภายในได้ดี แต่บางธุรกิจก็โตจากการซื้อกิจการภายนอกได้ดี ดังนั้นกลยุทธ์หลักเราต้องดูแลลูกค้าให้มีความพอใจสูงสุด"นายมาร์ค กล่าว
ส่วนเรื่องแผนการออกหุ้นกู้ในปีนี้ก็ยังเป็นนโยบายที่ธนาคารให้ความสำคัญอยู่เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมโยงในแง่ของสินเชื่อและเงินฝากกับการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะต้องขอประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดีจะไม่มีการออกหุ้นกู้ในช่วงไตรมาส 1ของปีนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากในไตรมาส 4 ปีที่แล้วธนาคารเพิ่งออกหุ้นก็เป็นจำนวน 7.2 พันล้านบาท
**โชว์กำไรเพิ่ม 55%-CIMBTพลิกกำไร**
ล่าสุดธนาคารแถลงผลการดำเนินงานปี 2552 มีกำไรสุทธิ 6.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 55% เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีกำไรอยู่ที่ 4.3 พันล้านบาท ซึ่งปรับปรุงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยธนาคารและบริษัทในเครือมีกำไรก่อนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและภาษี จำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับปี 2551 และหลังตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 1 หมื่นล้านบาท และหลังหักภาษี จำนวน 1.5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานของธนาคารในปีที่แล้วปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเพิ่มขึ้น 7% รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 73% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 12% ด้านสินเชื่อมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 8% คิดเป็นเม็ดเงินสุทธิจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเติบโตจากธุรกิจปกติและการเข้าซื้อกิจการในสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ การเข้าซื้อกิจการต่างๆ ที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในระหว่างปี ที่แล้วยังช่วยให้โครงสร้างสินเชื่อของธนาคารปรับปรุงดีขึ้น โดยมีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจาก 32% เมื่อต้นปี เป็น 42% ณ สิ้นปีแล้ว
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT)แจ้งว่า ปี 2552 ธนาคารมีกำไร 1,667 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่มีผลขาดทุน 1,999 ล้านบาท