ASTVผู้จัดการรายวัน - อธิบดีอัยการต่างประเทศชี้หากอัยการสหรัฐฯ ต้องการตัว “จุฑามาศ ศิริวรรณ” ไปดำเนินคดีต้องยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อหา ถ้าเข้าหลักเกณฑ์สามารถยื่นคำร้องศาลส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ขณะที่อัยการมะกันสั่งฟ้องข้อหารับสินบน 2 โปรดิวเซอร์หนังแล้ว
วานนี้ (21 ม.ค.) นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่อัยการสหรัฐอเมริกา สั่งฟ้อง นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในคดีรับสินจำนวน 1 ล้าน 8 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 ล้าน 3 แสน บาท จากนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน สามีภรรยาผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวสหรัฐฯ เพื่อนำภาพยนตร์เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล ฟิล์ม เฟสติวัล 2007 ว่า หากอัยการสหรัฐฯ ต้องการตัวนางจุฑามาศไปดำเนินคดีก็จะต้องยื่นคำร้องมาที่อัยการสูงสุด ในฐานะผู้ประสานงานกลาง ตามสนธิสัญญาความร่วมมือในคดีอาญาระหว่างประเทศ และ พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 ซึ่งจะต้องพิจารณาดูว่าอัยการสหรัฐฯ บรรยายคำร้องว่านางจุฑามาศ กระทำผิดอย่างไร และถูกตั้งข้อหาใดบ้าง
จากนั้นอัยการไทยต้องพิจารณาต่อไปว่าคำร้องนั้นเข้าหลักเกณฑ์ ที่เป็นความผิดของทั้งสองประเทศหรือไม่ มีโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ เป็นคดีการเมือง หรือทางทหารหรือเป็นคดีที่กระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่
“หากอัยการสหรัฐฯ ยื่นคำร้องถูกต้องครบถ้วน อัยการไทยก็พร้อมดำเนินการให้ โดยหากเข้าหลักเกณฑ์ตามสนธิสัญญาฯ ขั้นตอนต่อไปอัยการก็จะยื่นคำร้องต่อศาลให้ออกหมายจับเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสามารถแต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีได้” นายศิริศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าที่อัยการสหรัฐฯ ตั้งข้อหาอะไรกับนางจุฑามาศ เป็นคดีเดียวกันกับที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เคยยื่นเรื่องให้ทางอัยการประสานขอข้อมูลจากสหรัฐฯมาดำเนินคดีกับนางจุฑามาศ ฐานรับสินบนหรือไม่ โดยคดีนั้นทางอัยการก็ได้ยื่นคำร้องไปยังสหรัฐฯแล้ว แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลหลักฐาน ซึ่งถ้าหากเป็นคดีเดียวกันเชื่อว่าไม่น่าจะมีความยุ่งยาก
**ปัดจุฑามาศผิดไม่เกี่ยวองค์กร
นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กรณี นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรื่องการรับสินบนจากโครงการ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ หรือ “บางกอกฟิล์ม “ กระบวนการพิจารณาไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท. แต่อยู่ในการพิจารณาของ DSI และ ปปช. แต่หากทางรัฐบาล ต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวหาข้อมูลเพิ่มเติมก็จะดำเนินการให้ทันที
ด้านแหล่งข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ระบุว่า กรณีความผิดของนางจุฑามาศ เป็นความผิดเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวกับองค์กร หรือพนักงานของ ททท. โดยล่าสุดคณะทำงานตรวจสอบและรวบรวมเอกสารกรณีการรับสินบนงานบากกอกฟิมล์ ซึ่งมีนางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศภูมิภาคยุโรป แอฟริกา ททท. เป็นประธานคณะทำงาน ฯ ได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีพนักงานททท.เข้าไปเกี่ยวข้องในการรับสินบนในครั้งนี้เลย แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะมีการสงสัยว่าอาจมีพนักงาน ททท.เกี่ยวข้องกับการทุจริตนี้ถึง 30 คน ก็ตาม แต่เมื่อมีการตรวจสอบอย่างละเอียดกลับไม่พบว่ามีใครเกี่ยวข้องด้วยเลย
“เรื่องนี้เป็นคดีระดับประเทศไปแล้ว ไม่ใช้ความผิดภายในประเทศหรือภายในองค์กร ในส่วนของประเทศไทยก็เป็นหน้าที่ของดีเอสไอ และปปช.ที่จะนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ส่วนความผิดระหว่างประเทศ ระหว่างไทยกับอเมริกาก็มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันอยู่แล้วซึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบ” แหล่งข่าวกล่าว
**อัยการสหรัฐสั่งฟ้อง
ทั้งนี้ การฟ้องร้องดังกล่าว ถูกเปิดเผยขึ้นในวันอังคาร (19) โดยอัยการกลางสหรัฐฯ ได้กล่าวหานางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวไทย และ น.ส.จิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว ว่าสมรู้ร่วมคิดกันกระทำความผิด และอีก 8 ข้อหา โดยหากศาลพิจารณาพบว่ามีความผิดจริง ทั้งสองจะถูกจำคุกสูงสุดคนละ 20 ปี
อัยการกลางสหรัฐฯ ระบุว่า นางจุฑามาศ และลูกสาว รับเงินสินบนประมาณ 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 60 ล้านบาท จากผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เจรัลด์ และแพทริเซีย กรีน ในระหว่างปี 2002-2007 เพื่อที่คู่สามีภรรยาคู่นี้ได้สิทธิ์จัดงานบางกอก ฟิล์มฯ และงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอื่นๆ โดยที่นางจุฑามาศอาจได้รับเงินสินบนสูงสุดถึง 13.5 ล้านดอลลลาร์
สำหรับการจ่ายเงินสินบน ซึ่งบางส่วนได้มอบเป็นเงินสดให้แก่นางจุฑามาศโดยตรง ถูกแอบแฝงว่าเป็นเงินค่าคอมมิชชัน 10-20% ซึ่งอัยการเสริมว่า จุฑามาศ และจิตติโสภาได้เปิดบัญชีธนาคารในประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร เพื่อรับเงินฉ้อโกงดังกล่าว
ขณะที่คู่สามีภรรยากรีนถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงฐานสมรู้ร่วมคิด และฟอกเงิน ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา และมีกำหนดรับโทษในวันที่ 22 นี้ โดยอัยการได้ระบุในเอกสารสั่งฟ้องว่า เจรัลด์ กรีน วัย 78 ปี อาจต้องติดคุกมากกว่า 30 ปี ขณะที่ภรรยาวัย 55 ปี อาจรับโทษจำคุก 19-24 ปี
อย่างไรก็ตาม คู่สามีภรรยากรีนได้ช่วยทำให้งานเทศกาลดังกล่าวกลายเป็นที่รู้จักในระดับสากล ในการฉายภาพยนตร์ใหม่ๆ โดยยังดึงดูดผู้อำนวยการสร้างดังๆ มายังประเทศไทยด้วย
ทั้งคู่ ถือเป็นบุคคลในอุตสาหกรรมบันเทิงคู่แรก ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง ภายใต้กฏหมายกระทำการคอรัปชันในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายกลาง ที่ห้ามการติดสินบนเจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติ เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจ
ยิ่งไปกว่านั้น เจอรัลด์ กรีนยังเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทอง 2 รางวัลคู่กับโอลิเวอร์ สโตน จากภาพยนตร์เรื่อง "Salvador" และเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ "Rescue Dawn" ของคริสเตียน เบล ในปี 2006 ส่วนแพทริเซีย เคยผลิตภาพยนตร์เรื่อง "Diamonds" หนังตลก ที่นำแสดงโดยเคิร์ก ดักกลาส และลอเรน บาคอล.
วานนี้ (21 ม.ค.) นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่อัยการสหรัฐอเมริกา สั่งฟ้อง นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในคดีรับสินจำนวน 1 ล้าน 8 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 ล้าน 3 แสน บาท จากนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน สามีภรรยาผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวสหรัฐฯ เพื่อนำภาพยนตร์เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล ฟิล์ม เฟสติวัล 2007 ว่า หากอัยการสหรัฐฯ ต้องการตัวนางจุฑามาศไปดำเนินคดีก็จะต้องยื่นคำร้องมาที่อัยการสูงสุด ในฐานะผู้ประสานงานกลาง ตามสนธิสัญญาความร่วมมือในคดีอาญาระหว่างประเทศ และ พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 ซึ่งจะต้องพิจารณาดูว่าอัยการสหรัฐฯ บรรยายคำร้องว่านางจุฑามาศ กระทำผิดอย่างไร และถูกตั้งข้อหาใดบ้าง
จากนั้นอัยการไทยต้องพิจารณาต่อไปว่าคำร้องนั้นเข้าหลักเกณฑ์ ที่เป็นความผิดของทั้งสองประเทศหรือไม่ มีโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ เป็นคดีการเมือง หรือทางทหารหรือเป็นคดีที่กระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่
“หากอัยการสหรัฐฯ ยื่นคำร้องถูกต้องครบถ้วน อัยการไทยก็พร้อมดำเนินการให้ โดยหากเข้าหลักเกณฑ์ตามสนธิสัญญาฯ ขั้นตอนต่อไปอัยการก็จะยื่นคำร้องต่อศาลให้ออกหมายจับเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสามารถแต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีได้” นายศิริศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าที่อัยการสหรัฐฯ ตั้งข้อหาอะไรกับนางจุฑามาศ เป็นคดีเดียวกันกับที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เคยยื่นเรื่องให้ทางอัยการประสานขอข้อมูลจากสหรัฐฯมาดำเนินคดีกับนางจุฑามาศ ฐานรับสินบนหรือไม่ โดยคดีนั้นทางอัยการก็ได้ยื่นคำร้องไปยังสหรัฐฯแล้ว แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลหลักฐาน ซึ่งถ้าหากเป็นคดีเดียวกันเชื่อว่าไม่น่าจะมีความยุ่งยาก
**ปัดจุฑามาศผิดไม่เกี่ยวองค์กร
นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กรณี นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรื่องการรับสินบนจากโครงการ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ หรือ “บางกอกฟิล์ม “ กระบวนการพิจารณาไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท. แต่อยู่ในการพิจารณาของ DSI และ ปปช. แต่หากทางรัฐบาล ต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวหาข้อมูลเพิ่มเติมก็จะดำเนินการให้ทันที
ด้านแหล่งข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ระบุว่า กรณีความผิดของนางจุฑามาศ เป็นความผิดเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวกับองค์กร หรือพนักงานของ ททท. โดยล่าสุดคณะทำงานตรวจสอบและรวบรวมเอกสารกรณีการรับสินบนงานบากกอกฟิมล์ ซึ่งมีนางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศภูมิภาคยุโรป แอฟริกา ททท. เป็นประธานคณะทำงาน ฯ ได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีพนักงานททท.เข้าไปเกี่ยวข้องในการรับสินบนในครั้งนี้เลย แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะมีการสงสัยว่าอาจมีพนักงาน ททท.เกี่ยวข้องกับการทุจริตนี้ถึง 30 คน ก็ตาม แต่เมื่อมีการตรวจสอบอย่างละเอียดกลับไม่พบว่ามีใครเกี่ยวข้องด้วยเลย
“เรื่องนี้เป็นคดีระดับประเทศไปแล้ว ไม่ใช้ความผิดภายในประเทศหรือภายในองค์กร ในส่วนของประเทศไทยก็เป็นหน้าที่ของดีเอสไอ และปปช.ที่จะนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ส่วนความผิดระหว่างประเทศ ระหว่างไทยกับอเมริกาก็มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันอยู่แล้วซึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบ” แหล่งข่าวกล่าว
**อัยการสหรัฐสั่งฟ้อง
ทั้งนี้ การฟ้องร้องดังกล่าว ถูกเปิดเผยขึ้นในวันอังคาร (19) โดยอัยการกลางสหรัฐฯ ได้กล่าวหานางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวไทย และ น.ส.จิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว ว่าสมรู้ร่วมคิดกันกระทำความผิด และอีก 8 ข้อหา โดยหากศาลพิจารณาพบว่ามีความผิดจริง ทั้งสองจะถูกจำคุกสูงสุดคนละ 20 ปี
อัยการกลางสหรัฐฯ ระบุว่า นางจุฑามาศ และลูกสาว รับเงินสินบนประมาณ 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 60 ล้านบาท จากผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เจรัลด์ และแพทริเซีย กรีน ในระหว่างปี 2002-2007 เพื่อที่คู่สามีภรรยาคู่นี้ได้สิทธิ์จัดงานบางกอก ฟิล์มฯ และงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอื่นๆ โดยที่นางจุฑามาศอาจได้รับเงินสินบนสูงสุดถึง 13.5 ล้านดอลลลาร์
สำหรับการจ่ายเงินสินบน ซึ่งบางส่วนได้มอบเป็นเงินสดให้แก่นางจุฑามาศโดยตรง ถูกแอบแฝงว่าเป็นเงินค่าคอมมิชชัน 10-20% ซึ่งอัยการเสริมว่า จุฑามาศ และจิตติโสภาได้เปิดบัญชีธนาคารในประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร เพื่อรับเงินฉ้อโกงดังกล่าว
ขณะที่คู่สามีภรรยากรีนถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงฐานสมรู้ร่วมคิด และฟอกเงิน ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา และมีกำหนดรับโทษในวันที่ 22 นี้ โดยอัยการได้ระบุในเอกสารสั่งฟ้องว่า เจรัลด์ กรีน วัย 78 ปี อาจต้องติดคุกมากกว่า 30 ปี ขณะที่ภรรยาวัย 55 ปี อาจรับโทษจำคุก 19-24 ปี
อย่างไรก็ตาม คู่สามีภรรยากรีนได้ช่วยทำให้งานเทศกาลดังกล่าวกลายเป็นที่รู้จักในระดับสากล ในการฉายภาพยนตร์ใหม่ๆ โดยยังดึงดูดผู้อำนวยการสร้างดังๆ มายังประเทศไทยด้วย
ทั้งคู่ ถือเป็นบุคคลในอุตสาหกรรมบันเทิงคู่แรก ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง ภายใต้กฏหมายกระทำการคอรัปชันในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายกลาง ที่ห้ามการติดสินบนเจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติ เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจ
ยิ่งไปกว่านั้น เจอรัลด์ กรีนยังเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทอง 2 รางวัลคู่กับโอลิเวอร์ สโตน จากภาพยนตร์เรื่อง "Salvador" และเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ "Rescue Dawn" ของคริสเตียน เบล ในปี 2006 ส่วนแพทริเซีย เคยผลิตภาพยนตร์เรื่อง "Diamonds" หนังตลก ที่นำแสดงโดยเคิร์ก ดักกลาส และลอเรน บาคอล.