ASTVผู้จัดการรายวัน - กมธ.ศึกษา วุฒิสภา เรียกเลขาฯ อาชีวะ สอบ ยังไม่เคลียร์ไม่นำสเปกครุภัณฑ์ขึ้นเว็บ เตรียมเรียก “นิวัตร” ปธ.สอบจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวะ – “ธีรพัฒน์” แจงอีกครั้ง 28 ม.ค. ด้าน“ปธ.บอร์ด กอศ.” ฝาก รมว.ศธ.คนใหม่ ตั้งกฎเหล็ก 9 ข้อ เข้มการทำงาน รมช.ศธ. ผู้บริหาร 5 แท่ง หากส่งกลิ่นทุจริตฟันได้ทันที ขณะที่กระทรวงหมอ “วิชัย” ค้าน“จุรินทร์” ควรตั้งคณะกรรมการฯ สอบวินัย ไม่ใช่สอบข้อมูลเพิ่มเติม เพราะชี้มูลความผิดแล้ว
นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.).การศึกษา วุฒิสภา กล่าวว่า ตนวานนี้(21 ม.ค.)ได้เชิญนายพรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) และคณะมาร่วมประชุม กมธ.การศึกษา วุฒิสภา โดยได้สอบถามเกี่ยวกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง หรือ SP2 ใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1.จะส่งสเปกครุภัณฑ์กลุ่มไอซีทีให้ กมธ.การศึกษาฯ ได้หรือไม่ เพราะเคยขอหลายครั้งแล้วแต่ไม่ได้ ซึ่งเลขาธิการ กอศ.ตอบว่าได้ 2.ได้สอบถามว่าทำไมไม่มีการนำสเปกดังกล่าวที่ทำเสร็จแล้ว ขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์ สอศ.เพื่อประชาพิจารณ์ ซึ่งได้คำตอบว่าเพราะยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วย จึงต้องทบทวนใหม่ ตนจึงได้ตั้งข้อสังเกตไปว่าถ้ายังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ให้สาธารณะตรวจสอบ จะมีเสียงร้องเรียนหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างไร และถ้ายังไม่มีการนำขึ้นเว็บไซต์ให้สาธารณะชนตรวจสอบ สังคมก็จะมีคำถามในเรื่องความไม่โปร่งใสต่อไปหรือไม่ 3.ได้ขอผลการประมูลจัดซื้อจัดจ้างในครุภัณฑ์อื่นๆ ด้วยรวม 30 กลุ่มครุภัณฑ์ ทั้งที่มีการประมูลผ่านไปแล้ว และอยู่ระหว่างการทบทวน เพราะต้องการรู้ว่ารายการครุภัณฑ์ที่ประมูลไปแล้วสอดคล้องกับความต้องการของวิทยาลัยแต่ละแห่งหรือไม่
นายสิริวัฒน์ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 28 ม.ค.นี้ จะเชิญนายนิวัตร นาคะเวช รองปลัด ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างงบฯ SP2 สอศ.และ นายธีรพัฒน์ คำคูบอน ตัวแทนครูอาชีวะมาร่วมประชุม จากนั้นจะสรุปผลการศึกษาสอบสวน พร้อมข้อสังเกต และความเห็นของ กมธ.การศึกษา วุฒิสภาในเรื่องนี้ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ต่อไป และหากจำเป็นต้องเสนอต่อนายกรัฐมนตรีด้วย ก็จะดำเนินการ
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนอยากให้ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศธ.ในฐานะกำกับดูแล สอศ. และสมาคมครูอาชีวศึกษาแห่งประเทศ ที่ออกมาโต้กันผ่านสื่อหยุดทะเลาะกัน และอยากให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศธ.คนใหม่ เข้ามาเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหานี้ โดยเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามาพูดคุยหาทางออก หากสมาคมครูอาชีวะมีข้อมูล หลักฐานเด็ดๆ ก็ให้เอามาเปิดเผยกันต่อหน้า เพราะสิ่งที่ตอบโต้กันไปมาไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นเลย
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของรัฐมนตรีที่กำกับ สอศ. สังคมเองยังมองว่ามีด้านมืดติดตัวอยู่ ก็อยากให้เร่งสร้างความชัดเจน เคลียร์ตัวเองให้ได้ ไม่เช่นนั้นหากปล่อยให้เรื่องนี้ดำเนินต่อไปเชื่อว่ากฎเหล็ก 9 ข้อของนายกรัฐมนตรี ที่เคยออกฤทธิ์กับกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) อาจจะกลับมาเกิดขึ้นกับคนบางคนใน ศธ.ก็ได้ นอกจากนี้ในการอภิปรายไม่วางใจที่กำลังจะเกิดขึ้นอาชีวศึกษาก็จะเป็นแผลใหญ่ให้ฝ่ายค้านเล่นงานอีก จึงต้องรีบสางปัญหาให้ดี
ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในฐานะประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวถึงมาตรการที่วิทยาลัยอาชีวะทั่วประเทศจะไม่รับครุภัณฑ์ผิดสเปก ราคาแพงเกินจริงว่า เป็นการแสดงท่าทีของวิทยาลัย แต่อยากให้ทุกแห่งลองตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดครุภัณฑ์ต่างๆ จึงไม่พบความผิดปกติตั้งแต่เลขาธิการคนเก่า จนปล่อยให้มีการร้องเรียนแล้วตรวจสอบจึงพบความผิดปกติ เลยสั่งระงับ แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาการตรวจสอบสเปกครุภัณฑ์ไม่มีความจริงจังใช่หรือไม่ ดังนั้น จึงอยากให้ลองเปรียบเทียบดูก่อนระหว่างสเปกของเก่า และสเปกใหม่ที่เลขาฯ กอศ. คนใหม่สั่งปรับปรุง
"อยากให้นายชินวรณ์ ในฐานะ รมว.ศธ.คนใหม่ ตั้งกฎเหล็ก 9 ข้อเหมือนอย่างที่นายกรัฐมนตรีใช้กับรัฐบาล เพื่อนำมาใช้โดยเฉพาะกับ รมช.ศธ.ทั้ง 2 คน พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงทั้ง 5 แท่ง เพื่อกำกับดูแลการทำงาน ว่าหากพบความไม่ชอบมาพากล พบทุจริตในเรื่องต่างๆ ก็ให้พิจารณาตามกฎเหล็กที่ตั้งขึ้น เพื่อสร้างเป็นบรรทัดฐานใหม่ใน ศธ."ศ.ดร.ธีรวุฒิกล่าว
วันเดียวกัน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาการ เปิดเผยว่า ได้ลงนามคำสั่ง ศธ.โดยยังให้ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศธ. สั่งและปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับงาน สอศ.เช่นเดิม
ส่วนที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน เลขานุการและกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน กล่าวถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รมว.สาธารณสุข เตรียมแต่งตั้งประธานคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการประจำที่ถูกชี้มูลความผิดจากคณะกรรมการฯ ว่า คณะกรรมการฯ ชุดใหม่ที่จะดำเนินการตรวจสอบต่อควรจะเป็นการสอบสวนวินัยไม่ใช่การสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก เพราะถือว่าผลสอบของคณะกรรมการฯ ชุดนพ.บรรลุ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และมีการชี้มูลผู้ที่มีพฤติกรรมส่อทุจริตแล้ว อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดใหม่ จะเป็นการสอบวินัยหรือไม่นั้นคงต้องรอดูคำสั่งแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่ง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ไม่ขอเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้น เพราะเกรงจะถูกมองว่า หากรมว.สธ. เลือกบุคคลที่ชมรมแพทย์ชนบทเสนอก็จะทำให้กลายเป็นว่าคนนี้ไม่เป็นกลางอีก ซึ่งประธานคณะกรรมการจะเป็นใครก็ได้ที่มีความเป็นกลาง ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์แต่ควรเป็นผู้ที่มีความเข้าใจกลไกระบบข้าราชการ อย่างไรก็องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควรมีแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคเครื่องมือแพทย์ต่างๆ อยู่ด้วย
“มั่นใจว่า ผลการสอบสวนคงจะไม่ออกมาแบบกลับตาลปัตรกับผลสอบของคณะกรรมการชุดนพ.บรรลุ ขณะเดียวกันก็ไม่เชื่อว่า ผลการสอบสวนจะออกมาเหมือนกับผลสอบที่มีการชี้มูล 100% อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบสอบของคณะกรรมการฯ มีเนื้อหาที่เปิดกว้างมาก มีเอกสาร หลักฐานชัดเจนสามารถนำไปต่อยอด สืบหาความจริงเพิ่มเติมโดยที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่ ที่สำคัญเชื่อว่า ผลการสอบสวนน่าจะออกมาเป็นธรรมกับทุกฝ่าย”นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข(สวส.) กล่าวว่า สมาคมฯเห็นว่าบุคคลที่มีความเหมาะสมในการทำหน้าที่นี้อย่างน้อย 3 คน ได้แก่ 1.ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2.นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสวนสวนคดีพิเศษ และ3.พ.อ. ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เนื่องจากบุคคลทั้ง 3 ไม่มีอคติ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคม อีกทั้งเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ และกล้าหาญในการชี้ถูกชี้ผิด
ด้าน นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) กล่าวว่า ส่วนตัวเสนอให้พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากเป็นบุคคลที่สังคมให้การยอมรับและเชื่อถือสูง ที่สำคัญ ไม่มีอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เห็นได้จากการทำงานที่ผ่านมา ในส่วนของคณะกรรมการสอบสวนอยากให้มีการคัดสรรบุคคลให้มีความสมดุล.
นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.).การศึกษา วุฒิสภา กล่าวว่า ตนวานนี้(21 ม.ค.)ได้เชิญนายพรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) และคณะมาร่วมประชุม กมธ.การศึกษา วุฒิสภา โดยได้สอบถามเกี่ยวกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง หรือ SP2 ใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1.จะส่งสเปกครุภัณฑ์กลุ่มไอซีทีให้ กมธ.การศึกษาฯ ได้หรือไม่ เพราะเคยขอหลายครั้งแล้วแต่ไม่ได้ ซึ่งเลขาธิการ กอศ.ตอบว่าได้ 2.ได้สอบถามว่าทำไมไม่มีการนำสเปกดังกล่าวที่ทำเสร็จแล้ว ขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์ สอศ.เพื่อประชาพิจารณ์ ซึ่งได้คำตอบว่าเพราะยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วย จึงต้องทบทวนใหม่ ตนจึงได้ตั้งข้อสังเกตไปว่าถ้ายังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ให้สาธารณะตรวจสอบ จะมีเสียงร้องเรียนหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างไร และถ้ายังไม่มีการนำขึ้นเว็บไซต์ให้สาธารณะชนตรวจสอบ สังคมก็จะมีคำถามในเรื่องความไม่โปร่งใสต่อไปหรือไม่ 3.ได้ขอผลการประมูลจัดซื้อจัดจ้างในครุภัณฑ์อื่นๆ ด้วยรวม 30 กลุ่มครุภัณฑ์ ทั้งที่มีการประมูลผ่านไปแล้ว และอยู่ระหว่างการทบทวน เพราะต้องการรู้ว่ารายการครุภัณฑ์ที่ประมูลไปแล้วสอดคล้องกับความต้องการของวิทยาลัยแต่ละแห่งหรือไม่
นายสิริวัฒน์ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 28 ม.ค.นี้ จะเชิญนายนิวัตร นาคะเวช รองปลัด ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างงบฯ SP2 สอศ.และ นายธีรพัฒน์ คำคูบอน ตัวแทนครูอาชีวะมาร่วมประชุม จากนั้นจะสรุปผลการศึกษาสอบสวน พร้อมข้อสังเกต และความเห็นของ กมธ.การศึกษา วุฒิสภาในเรื่องนี้ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ต่อไป และหากจำเป็นต้องเสนอต่อนายกรัฐมนตรีด้วย ก็จะดำเนินการ
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนอยากให้ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศธ.ในฐานะกำกับดูแล สอศ. และสมาคมครูอาชีวศึกษาแห่งประเทศ ที่ออกมาโต้กันผ่านสื่อหยุดทะเลาะกัน และอยากให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศธ.คนใหม่ เข้ามาเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหานี้ โดยเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามาพูดคุยหาทางออก หากสมาคมครูอาชีวะมีข้อมูล หลักฐานเด็ดๆ ก็ให้เอามาเปิดเผยกันต่อหน้า เพราะสิ่งที่ตอบโต้กันไปมาไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นเลย
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของรัฐมนตรีที่กำกับ สอศ. สังคมเองยังมองว่ามีด้านมืดติดตัวอยู่ ก็อยากให้เร่งสร้างความชัดเจน เคลียร์ตัวเองให้ได้ ไม่เช่นนั้นหากปล่อยให้เรื่องนี้ดำเนินต่อไปเชื่อว่ากฎเหล็ก 9 ข้อของนายกรัฐมนตรี ที่เคยออกฤทธิ์กับกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) อาจจะกลับมาเกิดขึ้นกับคนบางคนใน ศธ.ก็ได้ นอกจากนี้ในการอภิปรายไม่วางใจที่กำลังจะเกิดขึ้นอาชีวศึกษาก็จะเป็นแผลใหญ่ให้ฝ่ายค้านเล่นงานอีก จึงต้องรีบสางปัญหาให้ดี
ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในฐานะประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวถึงมาตรการที่วิทยาลัยอาชีวะทั่วประเทศจะไม่รับครุภัณฑ์ผิดสเปก ราคาแพงเกินจริงว่า เป็นการแสดงท่าทีของวิทยาลัย แต่อยากให้ทุกแห่งลองตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดครุภัณฑ์ต่างๆ จึงไม่พบความผิดปกติตั้งแต่เลขาธิการคนเก่า จนปล่อยให้มีการร้องเรียนแล้วตรวจสอบจึงพบความผิดปกติ เลยสั่งระงับ แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาการตรวจสอบสเปกครุภัณฑ์ไม่มีความจริงจังใช่หรือไม่ ดังนั้น จึงอยากให้ลองเปรียบเทียบดูก่อนระหว่างสเปกของเก่า และสเปกใหม่ที่เลขาฯ กอศ. คนใหม่สั่งปรับปรุง
"อยากให้นายชินวรณ์ ในฐานะ รมว.ศธ.คนใหม่ ตั้งกฎเหล็ก 9 ข้อเหมือนอย่างที่นายกรัฐมนตรีใช้กับรัฐบาล เพื่อนำมาใช้โดยเฉพาะกับ รมช.ศธ.ทั้ง 2 คน พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงทั้ง 5 แท่ง เพื่อกำกับดูแลการทำงาน ว่าหากพบความไม่ชอบมาพากล พบทุจริตในเรื่องต่างๆ ก็ให้พิจารณาตามกฎเหล็กที่ตั้งขึ้น เพื่อสร้างเป็นบรรทัดฐานใหม่ใน ศธ."ศ.ดร.ธีรวุฒิกล่าว
วันเดียวกัน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาการ เปิดเผยว่า ได้ลงนามคำสั่ง ศธ.โดยยังให้ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศธ. สั่งและปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับงาน สอศ.เช่นเดิม
ส่วนที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน เลขานุการและกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน กล่าวถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รมว.สาธารณสุข เตรียมแต่งตั้งประธานคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการประจำที่ถูกชี้มูลความผิดจากคณะกรรมการฯ ว่า คณะกรรมการฯ ชุดใหม่ที่จะดำเนินการตรวจสอบต่อควรจะเป็นการสอบสวนวินัยไม่ใช่การสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก เพราะถือว่าผลสอบของคณะกรรมการฯ ชุดนพ.บรรลุ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และมีการชี้มูลผู้ที่มีพฤติกรรมส่อทุจริตแล้ว อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดใหม่ จะเป็นการสอบวินัยหรือไม่นั้นคงต้องรอดูคำสั่งแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่ง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ไม่ขอเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้น เพราะเกรงจะถูกมองว่า หากรมว.สธ. เลือกบุคคลที่ชมรมแพทย์ชนบทเสนอก็จะทำให้กลายเป็นว่าคนนี้ไม่เป็นกลางอีก ซึ่งประธานคณะกรรมการจะเป็นใครก็ได้ที่มีความเป็นกลาง ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์แต่ควรเป็นผู้ที่มีความเข้าใจกลไกระบบข้าราชการ อย่างไรก็องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควรมีแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคเครื่องมือแพทย์ต่างๆ อยู่ด้วย
“มั่นใจว่า ผลการสอบสวนคงจะไม่ออกมาแบบกลับตาลปัตรกับผลสอบของคณะกรรมการชุดนพ.บรรลุ ขณะเดียวกันก็ไม่เชื่อว่า ผลการสอบสวนจะออกมาเหมือนกับผลสอบที่มีการชี้มูล 100% อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบสอบของคณะกรรมการฯ มีเนื้อหาที่เปิดกว้างมาก มีเอกสาร หลักฐานชัดเจนสามารถนำไปต่อยอด สืบหาความจริงเพิ่มเติมโดยที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่ ที่สำคัญเชื่อว่า ผลการสอบสวนน่าจะออกมาเป็นธรรมกับทุกฝ่าย”นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข(สวส.) กล่าวว่า สมาคมฯเห็นว่าบุคคลที่มีความเหมาะสมในการทำหน้าที่นี้อย่างน้อย 3 คน ได้แก่ 1.ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2.นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสวนสวนคดีพิเศษ และ3.พ.อ. ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เนื่องจากบุคคลทั้ง 3 ไม่มีอคติ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคม อีกทั้งเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ และกล้าหาญในการชี้ถูกชี้ผิด
ด้าน นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) กล่าวว่า ส่วนตัวเสนอให้พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากเป็นบุคคลที่สังคมให้การยอมรับและเชื่อถือสูง ที่สำคัญ ไม่มีอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เห็นได้จากการทำงานที่ผ่านมา ในส่วนของคณะกรรมการสอบสวนอยากให้มีการคัดสรรบุคคลให้มีความสมดุล.