“หมอวิชัย” ค้านวุ่น ชี้”จุรินทร์” ควรตั้งคณะกรรมการสอบวินัย ไม่ใช่สอบข้อมูลเพิ่มเติมอีก เหตุคณะกรรมการฯ “หมอบรรลุ” ชี้มูลความผิดแล้ว ขีดเส้นคนสอบต้องซี 11 แต่เป็นใครขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรมว.สธ. ด้าน “หมอเรวัต” ขยาดทีมหมอลุ ลั่นต้องไม่มีชื่อร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ชุดใหม่ ขอสเปคคนมีความรู้กระบวนการสอบสวน มีคุณธรรม-จริยธรรม เป็นกลาง ขณะที่ประชาคมสธ.เสนอ 4 รายชื่อ “คณิต-สุนัย-ปิยะวัฒก์-ประทิน” เหมาะนั่งประธานฯ มั่นใจไม่มีอคติ กล้าชี้ถูกชี้ผิด ส่วนแพทย์ชนบทไม่เสนอชื่อใคร เกรงถูกข้อครหา "ไม่เป็นกลาง" แต่เสนอให้มีแพทย์ด้านเทคนิคอยู่ในคณะกรรมการด้วย
เมื่อวันที่ 21 มกราคม นพ.วิชัย โชควิวัฒน เลขานุการและกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน กล่าวถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตรียมแต่งตั้งประธานคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการประจำที่ถูกชี้มูลความผิดจากคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ว่า คณะกรรมการฯ ชุดใหม่ที่จะดำเนินการตรวจสอบโครงการไทยเข้มแข็งของสธ.ต่อควรจะเป็นการสอบสวนวินัยไม่ใช่การสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก เพราะถือว่าผลสอบของคณะกรรมการฯ ชุดนพ.บรรลุ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และมีการชี้มูลผู้ที่มีพฤติกรรมส่อทุจริตแล้ว อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดใหม่ จะเป็นการสอบวินัยหรือไม่นั้นคงต้องรอดูคำสั่งแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่ง
“นายจุรินทร์ ไม่ได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้มายังคณะกรรมการฯ แต่หากมีการสอบถามคณะกรรมการฯ ก็จะไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยขอให้เป็นดุลยพินิจของนายจุรินทร์ที่จะตัดสินแต่งตั้งผู้มีความเหมาะสมมาตรวจสอบต่อไป อย่างไรก็ตาม การที่คระกรรมการฯ เสนอให้ตั้งคระกรรมการสอบวินัย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีการลงโทษผู้ชี้มูลทุกราย แต่การตัดสินลงโทษขึ้นอยู่กับหลักฐาน การให้ข้อมูลและการตัดสินใจของคณะกรรมการฯ ว่าจะวินิจฉัยอย่างไร” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า สำหรับการสอบวินัยกับข้าราชการ ก็มีกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ.) ซึ่งตามหลักผู้ที่เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบวินัย จะต้องเป็นระดับเดียวกัน หรือระดับสูงกว่าผู้ที่ถูกตรวจสอบ ซึ่งในกรณีไทยเข้มแข็งของสธ. มีปลัด สธ. ถูกชี้มูลความผิดด้วยเช่นกัน ดังนั้นประธานคณะกรรมการตรวจสอบฯ จะต้องเป็นข้าราชการระดับ 11 ขึ้นไป
“สมัยการตรวจสอบคดีทุจริตยาของสธ. ขณะนั้น ปลัด สธ. ก็ถูกสอบสวนด้วย ซึ่งนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้แต่งตั้งให้รองปลัด สำนักนายกรับมนตรีเป็นประธานตรวจสอบ ส่วนผู้ถูกชี้มูลที่เกษียณอายุราชการไปแล้วมี 3 คนนั้น หากเกษียณอายุราชการไม่เกิน 2 ปี สามารถส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) ได้ทันที” นพ.วิชัย กล่าว
ด้าน นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ไม่ได้มีการหารือกับนายจุรินทร์เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ จึงไม่ทราบว่าเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือสอบวินัย รวมถึงไม่ทราบว่าจะมีการเชิญผู้มีความเหมาะสมท่านใดมาเป็นประธานและกรมการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ตนมั่นใจในการตัดสินใจของนายจุรินทร์ ว่าจะเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมมาเป็นกรรมการตรวจสอบ
“ตามหลักสากลแล้วการตรวจสอบจะไม่ให้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบซ้ำซ้อนกัน หรือแต่งตั้งคนที่เป็นผู้ร้องเรียนมาสอบผู้ถูกร้องอีกเพราะมีโอกาสทำให้กระบวนการตรวจสอบไม่เป็นธรรมได้ จึงมั่นใจว่าจะไม่มีรายชื่อคณะกรรมการฯ ชุดนพ.บรรลุ มาร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ที่กำลังจะแต่งตั้งขึ้นด้วย” นพ.เรวัตกล่าว
นพ.เรวัต กล่าวว่า สำหรับองค์ประกอบของคณะกรมการตรวจสอบชุดใหม่ ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญกระบวนการสอบสวน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ก็ได้ แต่ต้องมีมาตรฐาน 3 เรื่อง คือ 1.เป็นคนมีคุณธรรม 2.มีจริยธรรม และ3.มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากมีองค์ประกอบครบ3 ด้าน เชื่อว่าจะทำให้เรื่องนี้เกิดความชัดเจนได้
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ไม่ขอเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้น เพราะเกรงจะถูกมองว่า หากรมว.สธ. เลือกบุคคลที่ชมรมแพทย์ชนบทเสนอก็จะทำให้กลายเป็นว่าคนนี้ไม่เป็นกลางอีก ซึ่งอีกฝ่ายพยายามที่จะเบี่ยงประเด็นอยู่แล้ว ซึ่งการให้นายจุรินทร์ เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจจะทำให้คณะกรรมการชุดใหม่ทำงานโดยไม่มีแรงกดดัน ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการจะเป็นใครก็ได้ที่มีความเป็นกลาง ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์แต่ควรเป็นผู้ที่มีความเข้าใจกลไกระบบข้าราชการ อย่างไรก็องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควรมีแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคเครื่องมือแพทย์ต่างๆ อยู่ด้วย
“มั่นใจว่า ผลการสอบสวนคงจะไม่ออกมาแบบกลับตาลปัตรกับผลสอบของคณะกรรมการชุดนพ.บรรลุ ขณะเดียวกันก็ไม่เชื่อว่า ผลการสอบสวนจะออกมาเหมือนกับผลสอบที่มีการชี้มูล 100% อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบสอบของคณะกรรมการฯ มีเนื้อหาที่เปิดกว้างมาก มีเอกสาร หลักฐานชัดเจนสามารถนำไปต่อยอด สืบหาความจริงเพิ่มเติมโดยที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่ ที่สำคัญเชื่อว่า ผลการสอบสวนน่าจะออกมาเป็นธรรมกับทุกฝ่าย”นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข(สวส.) กล่าวว่า สมาคมฯเห็นว่าบุคคลที่มีความเหมาะสมในการทำหน้าที่นี้อย่างน้อย 3 คน ได้แก่ 1.ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2.นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสวนสวนคดีพิเศษ และ3.พ.อ. ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เนื่องจากบุคคลทั้ง 3 ไม่มีอคติ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคม อีกทั้งเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ และกล้าหาญในการชี้ถูกชี้ผิด
“การที่สมาคมฯเสนอชื่อบุคคลในครั้งนี้ เพราะเห็นว่าสังคมกำลังจับตาข่าวอื้อฉาวของสธ.ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำ ถือได้ว่าเป็นความเสื่อมเสียอย่างใหญ่หลวงประเมินค่าไม่ได้ สมาคมฯจึงต้องการให้สะสางต้นตอของปัญหาอย่างจริงจัง ตราบใดก็ตามหากยังไม่มีการสะสางปัญหาให้หมดไป การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่มาเป็นรมว.สธ.ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ และยิ่งทำให้การดำเนินนโยบายทางการบริหารยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น” นายไพศาลกล่าว
ด้านนพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) กล่าวว่า ส่วนตัวเสนอให้พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากเป็นบุคคลที่สังคมให้การยอมรับและเชื่อถือสูง ที่สำคัญ ไม่มีอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เห็นได้จากการทำงานที่ผ่านมาโดยเฉพาะการเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯชุดนพ.บรรลุ เป็นเพียงคนเดียวที่ชี้มูลความผิดตามหลักฐานตามแบบฉบับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใครที่ผิดก็ชี้ว่าผิด ใครไม่ผิดก็ชี้ว่าไม่ผิด ไม่ได้เอียงไปเอียงมาแล้วสุดท้ายก็เอียงมั่ว สำหรับในส่วนของคณะกรรมการสอบสวนอยากให้มีการคัดสรรบุคคลให้มีความสมดุล อาจจะเรียกว่าฝ่ายซ้ายครึ่งหนึ่งและฝ่ายขวาอีกครึ่งหนึ่ง เพราะหากจะมองหาบุคคลที่เป็นกลางมาร่วมเป็นคณะกรรมการคงยาก แต่การสอบสวนให้ดำเนินการในลักษณะคณะกรรมการ 3 ฝ่าย มีฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาและพล.ต.อ.ประทิน เป็นคนกลาง มาชี้แจงกันด้วยข้อมูลหลักฐานที่แท้จริง
เมื่อวันที่ 21 มกราคม นพ.วิชัย โชควิวัฒน เลขานุการและกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน กล่าวถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตรียมแต่งตั้งประธานคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการประจำที่ถูกชี้มูลความผิดจากคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ว่า คณะกรรมการฯ ชุดใหม่ที่จะดำเนินการตรวจสอบโครงการไทยเข้มแข็งของสธ.ต่อควรจะเป็นการสอบสวนวินัยไม่ใช่การสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก เพราะถือว่าผลสอบของคณะกรรมการฯ ชุดนพ.บรรลุ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว และมีการชี้มูลผู้ที่มีพฤติกรรมส่อทุจริตแล้ว อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนฯ ชุดใหม่ จะเป็นการสอบวินัยหรือไม่นั้นคงต้องรอดูคำสั่งแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่ง
“นายจุรินทร์ ไม่ได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้มายังคณะกรรมการฯ แต่หากมีการสอบถามคณะกรรมการฯ ก็จะไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยขอให้เป็นดุลยพินิจของนายจุรินทร์ที่จะตัดสินแต่งตั้งผู้มีความเหมาะสมมาตรวจสอบต่อไป อย่างไรก็ตาม การที่คระกรรมการฯ เสนอให้ตั้งคระกรรมการสอบวินัย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีการลงโทษผู้ชี้มูลทุกราย แต่การตัดสินลงโทษขึ้นอยู่กับหลักฐาน การให้ข้อมูลและการตัดสินใจของคณะกรรมการฯ ว่าจะวินิจฉัยอย่างไร” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า สำหรับการสอบวินัยกับข้าราชการ ก็มีกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ.) ซึ่งตามหลักผู้ที่เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบวินัย จะต้องเป็นระดับเดียวกัน หรือระดับสูงกว่าผู้ที่ถูกตรวจสอบ ซึ่งในกรณีไทยเข้มแข็งของสธ. มีปลัด สธ. ถูกชี้มูลความผิดด้วยเช่นกัน ดังนั้นประธานคณะกรรมการตรวจสอบฯ จะต้องเป็นข้าราชการระดับ 11 ขึ้นไป
“สมัยการตรวจสอบคดีทุจริตยาของสธ. ขณะนั้น ปลัด สธ. ก็ถูกสอบสวนด้วย ซึ่งนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้แต่งตั้งให้รองปลัด สำนักนายกรับมนตรีเป็นประธานตรวจสอบ ส่วนผู้ถูกชี้มูลที่เกษียณอายุราชการไปแล้วมี 3 คนนั้น หากเกษียณอายุราชการไม่เกิน 2 ปี สามารถส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) ได้ทันที” นพ.วิชัย กล่าว
ด้าน นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ไม่ได้มีการหารือกับนายจุรินทร์เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ จึงไม่ทราบว่าเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือสอบวินัย รวมถึงไม่ทราบว่าจะมีการเชิญผู้มีความเหมาะสมท่านใดมาเป็นประธานและกรมการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ตนมั่นใจในการตัดสินใจของนายจุรินทร์ ว่าจะเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมมาเป็นกรรมการตรวจสอบ
“ตามหลักสากลแล้วการตรวจสอบจะไม่ให้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบซ้ำซ้อนกัน หรือแต่งตั้งคนที่เป็นผู้ร้องเรียนมาสอบผู้ถูกร้องอีกเพราะมีโอกาสทำให้กระบวนการตรวจสอบไม่เป็นธรรมได้ จึงมั่นใจว่าจะไม่มีรายชื่อคณะกรรมการฯ ชุดนพ.บรรลุ มาร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ที่กำลังจะแต่งตั้งขึ้นด้วย” นพ.เรวัตกล่าว
นพ.เรวัต กล่าวว่า สำหรับองค์ประกอบของคณะกรมการตรวจสอบชุดใหม่ ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญกระบวนการสอบสวน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ก็ได้ แต่ต้องมีมาตรฐาน 3 เรื่อง คือ 1.เป็นคนมีคุณธรรม 2.มีจริยธรรม และ3.มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากมีองค์ประกอบครบ3 ด้าน เชื่อว่าจะทำให้เรื่องนี้เกิดความชัดเจนได้
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ไม่ขอเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้น เพราะเกรงจะถูกมองว่า หากรมว.สธ. เลือกบุคคลที่ชมรมแพทย์ชนบทเสนอก็จะทำให้กลายเป็นว่าคนนี้ไม่เป็นกลางอีก ซึ่งอีกฝ่ายพยายามที่จะเบี่ยงประเด็นอยู่แล้ว ซึ่งการให้นายจุรินทร์ เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจจะทำให้คณะกรรมการชุดใหม่ทำงานโดยไม่มีแรงกดดัน ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการจะเป็นใครก็ได้ที่มีความเป็นกลาง ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์แต่ควรเป็นผู้ที่มีความเข้าใจกลไกระบบข้าราชการ อย่างไรก็องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควรมีแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคเครื่องมือแพทย์ต่างๆ อยู่ด้วย
“มั่นใจว่า ผลการสอบสวนคงจะไม่ออกมาแบบกลับตาลปัตรกับผลสอบของคณะกรรมการชุดนพ.บรรลุ ขณะเดียวกันก็ไม่เชื่อว่า ผลการสอบสวนจะออกมาเหมือนกับผลสอบที่มีการชี้มูล 100% อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบสอบของคณะกรรมการฯ มีเนื้อหาที่เปิดกว้างมาก มีเอกสาร หลักฐานชัดเจนสามารถนำไปต่อยอด สืบหาความจริงเพิ่มเติมโดยที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่ ที่สำคัญเชื่อว่า ผลการสอบสวนน่าจะออกมาเป็นธรรมกับทุกฝ่าย”นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข(สวส.) กล่าวว่า สมาคมฯเห็นว่าบุคคลที่มีความเหมาะสมในการทำหน้าที่นี้อย่างน้อย 3 คน ได้แก่ 1.ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2.นายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสวนสวนคดีพิเศษ และ3.พ.อ. ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เนื่องจากบุคคลทั้ง 3 ไม่มีอคติ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคม อีกทั้งเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ และกล้าหาญในการชี้ถูกชี้ผิด
“การที่สมาคมฯเสนอชื่อบุคคลในครั้งนี้ เพราะเห็นว่าสังคมกำลังจับตาข่าวอื้อฉาวของสธ.ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำ ถือได้ว่าเป็นความเสื่อมเสียอย่างใหญ่หลวงประเมินค่าไม่ได้ สมาคมฯจึงต้องการให้สะสางต้นตอของปัญหาอย่างจริงจัง ตราบใดก็ตามหากยังไม่มีการสะสางปัญหาให้หมดไป การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่มาเป็นรมว.สธ.ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ และยิ่งทำให้การดำเนินนโยบายทางการบริหารยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น” นายไพศาลกล่าว
ด้านนพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) กล่าวว่า ส่วนตัวเสนอให้พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากเป็นบุคคลที่สังคมให้การยอมรับและเชื่อถือสูง ที่สำคัญ ไม่มีอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เห็นได้จากการทำงานที่ผ่านมาโดยเฉพาะการเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯชุดนพ.บรรลุ เป็นเพียงคนเดียวที่ชี้มูลความผิดตามหลักฐานตามแบบฉบับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใครที่ผิดก็ชี้ว่าผิด ใครไม่ผิดก็ชี้ว่าไม่ผิด ไม่ได้เอียงไปเอียงมาแล้วสุดท้ายก็เอียงมั่ว สำหรับในส่วนของคณะกรรมการสอบสวนอยากให้มีการคัดสรรบุคคลให้มีความสมดุล อาจจะเรียกว่าฝ่ายซ้ายครึ่งหนึ่งและฝ่ายขวาอีกครึ่งหนึ่ง เพราะหากจะมองหาบุคคลที่เป็นกลางมาร่วมเป็นคณะกรรมการคงยาก แต่การสอบสวนให้ดำเนินการในลักษณะคณะกรรมการ 3 ฝ่าย มีฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาและพล.ต.อ.ประทิน เป็นคนกลาง มาชี้แจงกันด้วยข้อมูลหลักฐานที่แท้จริง