ASTV ผู้จัดการรายวัน – หุ้นไทยยังรูดติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ลดลงอีก 12.81 จุด สถาบัน -ต่างชาติ -โบรกเกอร์เทขาย รวม3.2พันล้าน จากปัจจัยภายในและนอกประเทศ ตั้งแต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงในเป้าหมายสุวรรณภูมิ ศิริราช และมาตรการทางเศรษบกิจของรัฐบาลจีน ฉุดเกิดแรงขายหุ้นบิ๊กแคปพลังงาน – แบงก์ กูรูประเมินวันนี้มีโอกาสรีบาวด์หลังร่วงลงมากว่า 30 จุด
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้(21ม.ค.)ลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยปิดที่ 718.99 จุด ลดลง 12.81 จุด หรือ -1.75% มูลค่าการซื้อขาย 18,767.68 ล้านบาท ซึ่งดัชนีลดลงแรงจากการเทขายหุ้นบิ๊กแคปด้านธนาคารพาณิชย์ และพลังงาน
อีกทั้งได้รับปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ จากความวิตกกรณีทางการจีนเพิ่มมาตรการเข้มงวดเพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และปัจจัยการเมืองในประเทศที่ยังวุ่นวาย โดยเฉพาะการเพิ่มอุณหภูมิความร้อนแรงขึ้น เมื่อคดียึดทรัพย์ใกล้เข้ามา รวมทั้งการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ ส่วนระหว่างวันดัชนีแตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 730.34 จุด และต่ำสุดที่ 718.99 จุด
ขณะทีมูลค่าการซื้อขายเมื่อแยกเป็นประเภทนักลงทุนพบว่า สถาบันขายสุทธิ 1,654.28 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,352.85 ล้านบาท รวมทั้งบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ -197.04 ล้านบาท มีเพียงนักลงทั่วไปที่ซื้อสุทธิ 3,204.17 ล้านบาท
นายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม ผู้อำนวยฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ยังลงต่อเนื่อง เนื่องจากมีแรงเทขายออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ทั้งกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง แต่ยังไม่สามารถฉุดดัชนีให้ดีดตัวขึ้นมาได้ อีกทั้งมีปัจจัยลบต่างๆ เข้ามากดดัน จึงมองว่าอาจเป็นการปรับฐานอีกครั้งของตลาดหุ้นไทย เพราะลงมารอบนี้จาก 753 จุด หรือลงมากว่า 30 จุดแล้ว
อย่างไรก็ตาม วันนี้(22ม.ค.)การซื้อขายคงจะปรับฐานและเข้าสู่ขาลงต่อจากวานนี้ โดยแนวรับใหม่อยู่ที่ 700 จุดหากหลุด 720 จุด แนวต้านที่ 730-735 จุด แต่หวังว่ามีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง
"เห็นตลาดหุ้นช่วงนี้เห็นแล้วหดหู่ ลงต่อเนื่องมา 30 จุดแล้ว หวังจะมีแรงซื้อเข้ามาทำให้หุ้นรีบาวน์กลับมาได้บ้าง แต่ตอนนี้แรงซื้อต้านแรงขายไม่ไหว หลุด 720 จุด อาจต้องมาดูที่ฐาน 700 จุดกันใหม่"นายเจริญ กล่าว
นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ปรับตัวลดลง เพราะได้รับปัจจัยกดดันทั้งภายในประเทศและภายนอก โดยปัจจัยภายในประเทศ คือปัญหาทางการเมือง ที่เข้ามาสร้างแรงกดดันต่อการลงทุน ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คือกรณีที่ประเทศจีนประกาศมาตรการลดการขยายตัวของสินเชื่อ โดยจีนลดสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ด้วยการขายตั๋วเงินคลังระยะสั้นโดยให้ yield สูงขึ้น ภายหลังการรายงานตัวเลข GDP ของประเทศจีนที่ออกมาร้อนแรง ส่งผลกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซีย
โดย ดัชนี ฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ระดับ 20,862.67 จุด ลดลง 423.50 จุด หรือ -1.99% ด้านดัชนี คอมโพสิต ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปิดที่ 2,638.38 จุด ลดลง 28.88 จุด หรือ -1.08% อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นบางแห่งปรับตัวเพิ่มขึ้น นำโดย ดัชนี SHI ตลาดหุ้นจีน ปิดที่ 3,158.86 จุด เพิ่มขึ้น 7.01 จุด หรือ 0.22%
“ตลาดช่วงนี้ซึมๆ เพราะมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งภายนอก คือ การประกาศมาตรการจีนที่คุ้มเข้มสินเชื่อ กดดันตลาดหุ้นภูมิภาค เราจะเห็นว่าดัชนีฮั่งเส็งปรับลดลงไปถึง 400 จุด ส่วนปัจจัยภายใน คือการเมืองภายในประเทศ ที่ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนจับตาอยู่ ในช่วงที่ตลาดลงต่อหลายวันทำการ สัญญาณทางเทคนิคเริ่มส่งสัญญาณไม่ดี ดูทางเทคนิคมีแนวรับที่ 718-710 จุด ซึ่งหากมาถึงจุดนี้ อาจจะเห็นเทคนิเคลรีบาวน์ขึ้นมาได้'นางสาวธีรดา กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการของประเทศจีนนั้น หากจะมองในระยะสั้น ถือว่าเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันต่อบรรยากาศการลงทุน เพราะนักลงทุนอาจจะกังวลว่าเศรษฐกิจอาจจะเติบโตไม่เป็นไปตามคาด แต่ถ้าหากจะมองในระยะยาวแล้ว เชื่อว่าการที่จีนเข้ามาควบคุมไม่ให้การขยายตัวในขณะนี้ ถือว่าดีกว่าปล่อยให้เศรษฐกิจขยายตัวแบบรวดเร็วจนเกิดปัญหา
สำหรับแนวโน้มของตลาดวันนี้ มีโอกาสที่จะรีบาวน์ขึ้น หลังดัชนีฯ ปรับตัวลดลงแตะ 718 จุด โดยเป็นไปตามสัญญาณเทคนิคเคลรีบาวน์ รวมถึงคาดการณ์ว่าจะมีแรงซื้อหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยอิงหุ้นที่ผลการดำเนินงานดี และจ่ายปันผลโดดเด่น เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดผันผวน เพราะต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาหุ้นขนาดใหญ่ถูกเทขาย ทั้งกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์ โดยหุ้นกลุ่มธนาคาร ถูกเทขายหลังประกาศงบผลดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกว่าจะส่งสัญญาณไปทิศทางใด กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ คือรอซื้อเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว โดยอิงหุ้นผลการดำเนินงานเติบโต และมีการจ่ายปันผลที่ดี ประเมินแนวรับ 710-704 จุด แนวต้าน 724-728 จุด
ด้านนายธวัชชัย อัศวพรชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีแกว่งตัวผันผวนในแดนลบ โดยปัจจัยกดดันเกิดจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ยังคงไม่มีความชัดเจนถึงกระแสข่าวที่จะชุมนุมทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับการที่ออกมาระบุว่าคนเสื้อแดงจะเดินทางไปที่โรงพยาบาลศิริราช ส่วนปัจจัยกดดันในต่างประเทศ ได้แก่จีนเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงิน ซึ่งได้สะท้อนออกมา
ยังดัชนีตลาดหุ้นขนาดใหญ่ให้ปรับตัวลง เช่น ดัชนีฮั่งเส็ง และดาวโจนส์
อย่างไรก็ตามมองว่าเม็ดเงินลงทุนต่างชาติยังคงวนเวียนในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากภาพรวมยังคงมีแนวโน้มที่ดีอยู่ แม้ทางการญี่ปุ่นจะออกมาระบุว่ามีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะถดถอยอีกครั้ง แต่นักลงทุนยังคงไม่ให้น้ำหนักเรื่องดังกล่าว ส่วนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีโอกาสอ่อนค่าลงได้อีก โดยล่าสุดราคาน้ำมันและทองคำปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทิศทางค่าเงินบาทยังคงมีโอกาสอ่อนค่า จากที่ค่าเงินสกุลดอลลาร์เริ่มมีแนวโน้มแข็งค่า
ดังนั้นแนวโน้มดัชนีฯ วันนี้คาดว่าดัชนีฯ ยังคงผันผวนในแดนลบช่วงการเปิดตลาดเช้า ก่อนจะปรับขึ้นในแดนบวกได้อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตลาดฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมา 3 วันทำการค่อนข้างมาก โดยนักลงทุนยังต้องติดตามการเคลื่อนไหวของปัจจัยต่างประเทศ รวมทั้งทิศทางของค่าเงิน โดยมองว่าหากค่าเงินบาทยืนอยู่ที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อาจจะมีเม็ดเงินบางส่วนไหลออก รวมทั้งปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองยังไม่ชัดเจน และประเด็นมาบตาพุดก็ยังไม่มีความคืบหน้าอีกด้วย
“กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ทยอยซื้อ ขณะที่ดัชนีฯ อ่อนตัวลง ซึ่งหุ้นในกลุ่มพลังงานยังคงมีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสภาพคล่องสูง แต่มองว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานอาจปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อย ตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลก ทั้งนี้ประเมินแนวรับอยู่ที่ 712 -710 จุด ส่วนแนวต้านที่ 720 จุด และหากผ่านแนวต้านดังกล่าวได้ แนวต้านถัดไปที่ 730 จุด”
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้(21ม.ค.)ลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยปิดที่ 718.99 จุด ลดลง 12.81 จุด หรือ -1.75% มูลค่าการซื้อขาย 18,767.68 ล้านบาท ซึ่งดัชนีลดลงแรงจากการเทขายหุ้นบิ๊กแคปด้านธนาคารพาณิชย์ และพลังงาน
อีกทั้งได้รับปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ จากความวิตกกรณีทางการจีนเพิ่มมาตรการเข้มงวดเพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และปัจจัยการเมืองในประเทศที่ยังวุ่นวาย โดยเฉพาะการเพิ่มอุณหภูมิความร้อนแรงขึ้น เมื่อคดียึดทรัพย์ใกล้เข้ามา รวมทั้งการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ ส่วนระหว่างวันดัชนีแตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 730.34 จุด และต่ำสุดที่ 718.99 จุด
ขณะทีมูลค่าการซื้อขายเมื่อแยกเป็นประเภทนักลงทุนพบว่า สถาบันขายสุทธิ 1,654.28 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,352.85 ล้านบาท รวมทั้งบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ -197.04 ล้านบาท มีเพียงนักลงทั่วไปที่ซื้อสุทธิ 3,204.17 ล้านบาท
นายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม ผู้อำนวยฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ยังลงต่อเนื่อง เนื่องจากมีแรงเทขายออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ทั้งกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง แต่ยังไม่สามารถฉุดดัชนีให้ดีดตัวขึ้นมาได้ อีกทั้งมีปัจจัยลบต่างๆ เข้ามากดดัน จึงมองว่าอาจเป็นการปรับฐานอีกครั้งของตลาดหุ้นไทย เพราะลงมารอบนี้จาก 753 จุด หรือลงมากว่า 30 จุดแล้ว
อย่างไรก็ตาม วันนี้(22ม.ค.)การซื้อขายคงจะปรับฐานและเข้าสู่ขาลงต่อจากวานนี้ โดยแนวรับใหม่อยู่ที่ 700 จุดหากหลุด 720 จุด แนวต้านที่ 730-735 จุด แต่หวังว่ามีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง
"เห็นตลาดหุ้นช่วงนี้เห็นแล้วหดหู่ ลงต่อเนื่องมา 30 จุดแล้ว หวังจะมีแรงซื้อเข้ามาทำให้หุ้นรีบาวน์กลับมาได้บ้าง แต่ตอนนี้แรงซื้อต้านแรงขายไม่ไหว หลุด 720 จุด อาจต้องมาดูที่ฐาน 700 จุดกันใหม่"นายเจริญ กล่าว
นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ปรับตัวลดลง เพราะได้รับปัจจัยกดดันทั้งภายในประเทศและภายนอก โดยปัจจัยภายในประเทศ คือปัญหาทางการเมือง ที่เข้ามาสร้างแรงกดดันต่อการลงทุน ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คือกรณีที่ประเทศจีนประกาศมาตรการลดการขยายตัวของสินเชื่อ โดยจีนลดสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ด้วยการขายตั๋วเงินคลังระยะสั้นโดยให้ yield สูงขึ้น ภายหลังการรายงานตัวเลข GDP ของประเทศจีนที่ออกมาร้อนแรง ส่งผลกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซีย
โดย ดัชนี ฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ระดับ 20,862.67 จุด ลดลง 423.50 จุด หรือ -1.99% ด้านดัชนี คอมโพสิต ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปิดที่ 2,638.38 จุด ลดลง 28.88 จุด หรือ -1.08% อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นบางแห่งปรับตัวเพิ่มขึ้น นำโดย ดัชนี SHI ตลาดหุ้นจีน ปิดที่ 3,158.86 จุด เพิ่มขึ้น 7.01 จุด หรือ 0.22%
“ตลาดช่วงนี้ซึมๆ เพราะมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งภายนอก คือ การประกาศมาตรการจีนที่คุ้มเข้มสินเชื่อ กดดันตลาดหุ้นภูมิภาค เราจะเห็นว่าดัชนีฮั่งเส็งปรับลดลงไปถึง 400 จุด ส่วนปัจจัยภายใน คือการเมืองภายในประเทศ ที่ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนจับตาอยู่ ในช่วงที่ตลาดลงต่อหลายวันทำการ สัญญาณทางเทคนิคเริ่มส่งสัญญาณไม่ดี ดูทางเทคนิคมีแนวรับที่ 718-710 จุด ซึ่งหากมาถึงจุดนี้ อาจจะเห็นเทคนิเคลรีบาวน์ขึ้นมาได้'นางสาวธีรดา กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการของประเทศจีนนั้น หากจะมองในระยะสั้น ถือว่าเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันต่อบรรยากาศการลงทุน เพราะนักลงทุนอาจจะกังวลว่าเศรษฐกิจอาจจะเติบโตไม่เป็นไปตามคาด แต่ถ้าหากจะมองในระยะยาวแล้ว เชื่อว่าการที่จีนเข้ามาควบคุมไม่ให้การขยายตัวในขณะนี้ ถือว่าดีกว่าปล่อยให้เศรษฐกิจขยายตัวแบบรวดเร็วจนเกิดปัญหา
สำหรับแนวโน้มของตลาดวันนี้ มีโอกาสที่จะรีบาวน์ขึ้น หลังดัชนีฯ ปรับตัวลดลงแตะ 718 จุด โดยเป็นไปตามสัญญาณเทคนิคเคลรีบาวน์ รวมถึงคาดการณ์ว่าจะมีแรงซื้อหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยอิงหุ้นที่ผลการดำเนินงานดี และจ่ายปันผลโดดเด่น เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดผันผวน เพราะต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาหุ้นขนาดใหญ่ถูกเทขาย ทั้งกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์ โดยหุ้นกลุ่มธนาคาร ถูกเทขายหลังประกาศงบผลดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกว่าจะส่งสัญญาณไปทิศทางใด กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ คือรอซื้อเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัว โดยอิงหุ้นผลการดำเนินงานเติบโต และมีการจ่ายปันผลที่ดี ประเมินแนวรับ 710-704 จุด แนวต้าน 724-728 จุด
ด้านนายธวัชชัย อัศวพรชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีแกว่งตัวผันผวนในแดนลบ โดยปัจจัยกดดันเกิดจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ยังคงไม่มีความชัดเจนถึงกระแสข่าวที่จะชุมนุมทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับการที่ออกมาระบุว่าคนเสื้อแดงจะเดินทางไปที่โรงพยาบาลศิริราช ส่วนปัจจัยกดดันในต่างประเทศ ได้แก่จีนเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงิน ซึ่งได้สะท้อนออกมา
ยังดัชนีตลาดหุ้นขนาดใหญ่ให้ปรับตัวลง เช่น ดัชนีฮั่งเส็ง และดาวโจนส์
อย่างไรก็ตามมองว่าเม็ดเงินลงทุนต่างชาติยังคงวนเวียนในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากภาพรวมยังคงมีแนวโน้มที่ดีอยู่ แม้ทางการญี่ปุ่นจะออกมาระบุว่ามีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะถดถอยอีกครั้ง แต่นักลงทุนยังคงไม่ให้น้ำหนักเรื่องดังกล่าว ส่วนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีโอกาสอ่อนค่าลงได้อีก โดยล่าสุดราคาน้ำมันและทองคำปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทิศทางค่าเงินบาทยังคงมีโอกาสอ่อนค่า จากที่ค่าเงินสกุลดอลลาร์เริ่มมีแนวโน้มแข็งค่า
ดังนั้นแนวโน้มดัชนีฯ วันนี้คาดว่าดัชนีฯ ยังคงผันผวนในแดนลบช่วงการเปิดตลาดเช้า ก่อนจะปรับขึ้นในแดนบวกได้อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตลาดฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมา 3 วันทำการค่อนข้างมาก โดยนักลงทุนยังต้องติดตามการเคลื่อนไหวของปัจจัยต่างประเทศ รวมทั้งทิศทางของค่าเงิน โดยมองว่าหากค่าเงินบาทยืนอยู่ที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อาจจะมีเม็ดเงินบางส่วนไหลออก รวมทั้งปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองยังไม่ชัดเจน และประเด็นมาบตาพุดก็ยังไม่มีความคืบหน้าอีกด้วย
“กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ทยอยซื้อ ขณะที่ดัชนีฯ อ่อนตัวลง ซึ่งหุ้นในกลุ่มพลังงานยังคงมีความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสภาพคล่องสูง แต่มองว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานอาจปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อย ตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลก ทั้งนี้ประเมินแนวรับอยู่ที่ 712 -710 จุด ส่วนแนวต้านที่ 720 จุด และหากผ่านแนวต้านดังกล่าวได้ แนวต้านถัดไปที่ 730 จุด”