ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยยอดประชาชนถูกหลอกลวงพุ่ง เฉพาะเดือนม.ค.ยอดพุ่งเป็น 316 ราย ทำให้ 4 เดือนที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนทั้งสิ้น 805 ราย ซึ่งใน 14 ราย ถูกหลอกให้โอนเงินไปคิดเป็นมูลค่าเสียหาย 1.7 ล้านบาท รายที่สูญเงินมากสุดถึง 3 แสนบาท เตือนพฤติกรรมหลอกลวงออกตัวยื่นมือมาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สิน ประสานแบงก์พาณิชย์หาทางป้องกัน
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพโทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงให้ทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็มหรือสอบถามข้อมูลการเงินส่วนตัวมากขึ้นเป็นลำดับ โดยนับตั้งแต่เดือนต.ค.ถึงธ.ค.มีผู้ร้องเรียนผ่านศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาสินเชื่อของธปท.ทั้งสิ้น 489 ราย แต่เฉพาะกลางเดือนม.ค.53 กลับมีเรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้น 316 ราย ทำให้ขณะนี้ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา(เดือนต.ค.-ธ.ค.52 และกลางเดือนม.ค.53)มีทั้งสิ้น 805 ราย โดยในจำนวนนี้ 14 รายหลงเชื่อและถูกหลอกให้โอนเงินไปแล้ว 1.7 ล้านบาท ซึ่งรายที่เสียหายมากที่สุดต้องสูญเงินไปถึง 3 แสนบาท
ทั้งนี้ พฤติกรรมของกลุ่มมิจฉาชีพในปัจจุบันจะมีหลักๆ 3 รูปแบบ โดยรูปแบบแรก คือ อ้างว่าเป็นหนี้ต่างๆ แล้วให้ประชาชนโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม รูปแบบที่สองหลอกถามข้อมูลส่วนตัวทั้งเลขที่บัตรประชาชนหรือบัตรเครดิต แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปปลอมแปลงบัตรหรือฉ้อโกงเงินในธนาคารที่มีบัญชีอยู่ และรูปแบบสุดท้ายหลอกว่าประชาชนได้รับแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำตามโครงการพิเศษจากหน่วยงานรัฐหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ทำรายการโอนชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าไปก่อน
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มมิจฉาชีพส่วนใหญ่จะเสนอตัวมาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ ต่างกับในปีก่อนที่ส่วนใหญ่ใช้เหตุผลเรื่องภาษีมาหลอกลวง ดังนั้น หากมีสายโทรศัพท์ที่เข้ามาในลักษณะดังกล่าวให้เชื่อได้ 100%เลยว่าเป็นการหลอกลวงแน่นอน เพราะธนาคารพาณิชย์หรือหน่วยงานรัฐไม่มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเป็นอันขาด จึงให้ยุติการพูดคุยกับกลุ่มมิจฉาชีพไปเลย หรือหากมีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารไหนก็ให้ประชาชนไปติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงที่สาขาธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวได้ทันที เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว หรือติดต่อมายังธปท.ที่เบอร์ 02-283-5900 เฉพาะวันและเวลาทำการเท่านั้น
สำหรับการแก้ไขปัญหานี้ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะรูปแบบการหลอกลวงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือกลุ่มมิจฉาชีพเปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ แต่ธปท.ได้ประสานงานไปยังธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ให้ป้องกันแก้ไขไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้ตัววิ่งในตู้เอทีเอ็มหรือติดป้ายเพิ่มเติม พร้อมทั้งร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวในขณะนี้
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพโทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงให้ทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็มหรือสอบถามข้อมูลการเงินส่วนตัวมากขึ้นเป็นลำดับ โดยนับตั้งแต่เดือนต.ค.ถึงธ.ค.มีผู้ร้องเรียนผ่านศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาสินเชื่อของธปท.ทั้งสิ้น 489 ราย แต่เฉพาะกลางเดือนม.ค.53 กลับมีเรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้น 316 ราย ทำให้ขณะนี้ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา(เดือนต.ค.-ธ.ค.52 และกลางเดือนม.ค.53)มีทั้งสิ้น 805 ราย โดยในจำนวนนี้ 14 รายหลงเชื่อและถูกหลอกให้โอนเงินไปแล้ว 1.7 ล้านบาท ซึ่งรายที่เสียหายมากที่สุดต้องสูญเงินไปถึง 3 แสนบาท
ทั้งนี้ พฤติกรรมของกลุ่มมิจฉาชีพในปัจจุบันจะมีหลักๆ 3 รูปแบบ โดยรูปแบบแรก คือ อ้างว่าเป็นหนี้ต่างๆ แล้วให้ประชาชนโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม รูปแบบที่สองหลอกถามข้อมูลส่วนตัวทั้งเลขที่บัตรประชาชนหรือบัตรเครดิต แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปปลอมแปลงบัตรหรือฉ้อโกงเงินในธนาคารที่มีบัญชีอยู่ และรูปแบบสุดท้ายหลอกว่าประชาชนได้รับแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำตามโครงการพิเศษจากหน่วยงานรัฐหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ทำรายการโอนชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าไปก่อน
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มมิจฉาชีพส่วนใหญ่จะเสนอตัวมาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ ต่างกับในปีก่อนที่ส่วนใหญ่ใช้เหตุผลเรื่องภาษีมาหลอกลวง ดังนั้น หากมีสายโทรศัพท์ที่เข้ามาในลักษณะดังกล่าวให้เชื่อได้ 100%เลยว่าเป็นการหลอกลวงแน่นอน เพราะธนาคารพาณิชย์หรือหน่วยงานรัฐไม่มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวเป็นอันขาด จึงให้ยุติการพูดคุยกับกลุ่มมิจฉาชีพไปเลย หรือหากมีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารไหนก็ให้ประชาชนไปติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงที่สาขาธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวได้ทันที เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว หรือติดต่อมายังธปท.ที่เบอร์ 02-283-5900 เฉพาะวันและเวลาทำการเท่านั้น
สำหรับการแก้ไขปัญหานี้ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะรูปแบบการหลอกลวงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือกลุ่มมิจฉาชีพเปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ แต่ธปท.ได้ประสานงานไปยังธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ให้ป้องกันแก้ไขไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้ตัววิ่งในตู้เอทีเอ็มหรือติดป้ายเพิ่มเติม พร้อมทั้งร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวในขณะนี้