“ปทีป” ปิดทาง 3 นายพลตำรวจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง ระบุ ก.ตร.มีมติรับอุทธรณ์แล้วถือว่าจบ แค่ สตช.รอมติ ก.ตร.เพื่อนำมาพิจารณาว่ามีปัญหาข้อกฎหมายหรือไม่ ก่อนตัดสินใจส่งกฤษฎีกาวินิจฉัย ด้าน “วิชา”ชี้ ถ้านายกฯไม่ส่งศาล รธน.ตีความก็จบ ต้องทำตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด เฉ่ง ตำรวจเป็นองค์กรเดียวที่มีปัญหา
วานนี้ (20 ม.ค.) พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการการแทนผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ถึงการ ดำเนินการเกี่ยวกับมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่ยืนยันให้รับ พล.ต.อ .พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. พล..ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผบช.น. และพล.ต.ท. เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีตผบช.ภ.จว.อุดรธานีกลับเข้ารับราชการ ทั้งๆ ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดร้ายแรง และยังสวนทางกับความเห็นของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีว่า ก็คงเป็นไปตามมติของที่ประชุมก.ตร.ที่ระบุว่าการอุทธรณ์ของตำรวจทั้ง 3 ฟังขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในประเด็นใด พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ตนยังไม่ได้บอกว่าจะส่งให้กฤษฎีกาตีความ เพราะขั้นตอนยังอยู่ระหว่างรอให้ ก.ตร.แจ้งมติมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สต ช.) เพื่อดูรายละเอียดต่างๆ ก่อนว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่หากไม่มีปัญหาก็ดำเนินการไปตามขั้นตอน ซึ่งอะไรที่อยู่ ในอำนาจการทำงานของ สตช.ก็ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าเกินขอบเขตอำนาจก็จะเสนอไปยังผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง จึงมีความเป็นไปได้ ที่จะยื่นเรื่องหรือไม่ยื่นให้กฤษฎีกาพิจารณาก็ได้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง
ส่วนหาก สตช.เห็นว่ามติ ก.ตร.ไม่ขัดต่อกฎหมายจำเป็นต้องรอความเห็น จากนายกรัฐมนตรีก่อนส่งให้กฤษฎีกาหรือไม่ พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ถ้าเป็นปัญหาในข้อกฎหมายถือเป็นเรื่องของสตช.จะพิจารณา ส่วนที่ป.ป.ช.ระบุว่า กฎหมายของป.ป.ช.เหนือกว่ามติของ ก.ตร.นั้น จำเป็นที่ก.ตร.ต้องปฏิบัติตามหรือไม่ พล.ต.ท.ปทีป กล่าวว่า ตรงนี้ถือเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องกลับไปดู
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก สตช.ส่งเรื่องมาให้นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาแล้วเห็นว่าขั้นตอนทุกอย่างควรยุติโดยไม่ปฏิบัติตามมติของ ก.ตร.ได้หรือไม่ พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ต้องย้ำว่าเมื่อ สตช.เสนอเรื่องถึงผู้บังคับบัญชา ซึ่งผู้บังคับบัญชามีสิทธิ์ที่จะเห็นแย้งได้ ขณะนี้ สตช.ยังไม่ได้รับมติของ ก.ตร.
ส่วนที่ นายกรัฐมนตรี ระบุว่ามติก.ตร.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะทำให้กระบวนการของ ก.ตร.ยุติลงหรือไม่ พล.ต.อ..ปทีป กล่าวว่า ต้องรอดูมติ ก.ตร.ก่อน ทั้งนี้ในแง่ของ ก.ตร.ยืนยันว่ามติของคณะกรรมการอุทธรณ์ฟังขึ้นซึ่งยังไม่ตรง กับ ป.ป.ช. ดังนั้นต้องเดินหน้าตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อำนาจไว้ อย่างไรก็ตามหากทาง ป.ป.ช. ต้องการมติ ก.ตร.ก็จะต้องไปขอทาง ก.ตร ทาง สตช.เองก็ยังไม่ได้รับมติ ก.ตร.ดังกล่าว และไม่ใช่อำนาจของสตช. เป็นอำนาจของก.ตร.
ผู้สื่อข่าวถามว่า 3นายพลจะใช้สิทธิ์ในการยื่นขออุทธรณ์วินัยต่อศาลปกครอง ได้หรือไม่ พล.ตอ.ปทีป กล่าวว่า โดยความเห็นส่วนตัวแล้วเห็นว่า ถ้ามติ ก.ตร. เห็นว่า การอุทธรณ์ของ 3นายพลฟังขึ้น ก็คงไม่ต้องไปยื่นศาลปกครองเพราะจบในขั้น ก.ตร. ไปแล้ว แต่ถ้าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นก็สามารถไปยื่นศาลปกครองได้ แต่ขณะนี้อุทธรณ์ฟังขึ้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าว ว่า ป.ป.ช.คงต้องรอมติก.ตร. อย่างเป็นทางการในเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะดำเนินการใดๆ เพราะขณะนี้ ก.ตร.ยังไม่ส่งมติดังกล่าวมาให้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้อยู่ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ตร. หากนายกฯไม่รับเรื่องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก.ตร.ก็ไม่สามารถ ดำเนินการต่อไปได้ อีกทั้งมติของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ชี้ชัดว่า กฎหมายป.ป.ช.มีศักดิ์สูงกว่า กฎหมาย ก.ตร. ส่วนที่ ก.ตร.อ้างว่า ป.ป.ช.ไม่ให้ความเป็นธรรมในการ ชี้มูลความผิดต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 อดีตนายพลตำรวจนั้น หากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ ทั้งนี้ยืนยันว่า การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. มีความเป็นธรรม ไม่ได้เข้าข้างหรือกลั่นแกล้งใคร เพราะถ้าป.ป.ช.ทำผิดก็จะโดนลงโทษสองเท่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก.ตร.ระบุว่า ป.ป.ช.ไม่สามารถชี้มูลความผิดตำรวจทั้ง 3 คนข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ได้ เพราะเรื่องดังกล่าวไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ นายวิชา กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิดของ ก.ตร.เพราะอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ของสหประชาชาติระบุไว้ว่า การทุจริตไม่ได้หมายถึงเฉพาะการรับสินบน แต่รวมถึง การใช้อำนาจในทางที่ผิด การใช้อำนาจขู่เข็ญผู้อื่น ก็คือการคอรัปชั่นเช่นกัน เพราะเป็นห่วงว่าการใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐจะก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นองค์กรที่ใช้อำนาจจึงต้องใช้อำนาจให้ตรงคำนิยามเรื่องคอรัปชั่นของสหประชาชาติด้วย
วานนี้ (20 ม.ค.) พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการการแทนผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ถึงการ ดำเนินการเกี่ยวกับมติของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่ยืนยันให้รับ พล.ต.อ .พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. พล..ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผบช.น. และพล.ต.ท. เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีตผบช.ภ.จว.อุดรธานีกลับเข้ารับราชการ ทั้งๆ ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดร้ายแรง และยังสวนทางกับความเห็นของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีว่า ก็คงเป็นไปตามมติของที่ประชุมก.ตร.ที่ระบุว่าการอุทธรณ์ของตำรวจทั้ง 3 ฟังขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในประเด็นใด พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ตนยังไม่ได้บอกว่าจะส่งให้กฤษฎีกาตีความ เพราะขั้นตอนยังอยู่ระหว่างรอให้ ก.ตร.แจ้งมติมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สต ช.) เพื่อดูรายละเอียดต่างๆ ก่อนว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่หากไม่มีปัญหาก็ดำเนินการไปตามขั้นตอน ซึ่งอะไรที่อยู่ ในอำนาจการทำงานของ สตช.ก็ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าเกินขอบเขตอำนาจก็จะเสนอไปยังผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง จึงมีความเป็นไปได้ ที่จะยื่นเรื่องหรือไม่ยื่นให้กฤษฎีกาพิจารณาก็ได้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง
ส่วนหาก สตช.เห็นว่ามติ ก.ตร.ไม่ขัดต่อกฎหมายจำเป็นต้องรอความเห็น จากนายกรัฐมนตรีก่อนส่งให้กฤษฎีกาหรือไม่ พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ถ้าเป็นปัญหาในข้อกฎหมายถือเป็นเรื่องของสตช.จะพิจารณา ส่วนที่ป.ป.ช.ระบุว่า กฎหมายของป.ป.ช.เหนือกว่ามติของ ก.ตร.นั้น จำเป็นที่ก.ตร.ต้องปฏิบัติตามหรือไม่ พล.ต.ท.ปทีป กล่าวว่า ตรงนี้ถือเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องกลับไปดู
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก สตช.ส่งเรื่องมาให้นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาแล้วเห็นว่าขั้นตอนทุกอย่างควรยุติโดยไม่ปฏิบัติตามมติของ ก.ตร.ได้หรือไม่ พล.ต.อ.ปทีป กล่าวว่า ต้องย้ำว่าเมื่อ สตช.เสนอเรื่องถึงผู้บังคับบัญชา ซึ่งผู้บังคับบัญชามีสิทธิ์ที่จะเห็นแย้งได้ ขณะนี้ สตช.ยังไม่ได้รับมติของ ก.ตร.
ส่วนที่ นายกรัฐมนตรี ระบุว่ามติก.ตร.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะทำให้กระบวนการของ ก.ตร.ยุติลงหรือไม่ พล.ต.อ..ปทีป กล่าวว่า ต้องรอดูมติ ก.ตร.ก่อน ทั้งนี้ในแง่ของ ก.ตร.ยืนยันว่ามติของคณะกรรมการอุทธรณ์ฟังขึ้นซึ่งยังไม่ตรง กับ ป.ป.ช. ดังนั้นต้องเดินหน้าตามขั้นตอนที่กฎหมายให้อำนาจไว้ อย่างไรก็ตามหากทาง ป.ป.ช. ต้องการมติ ก.ตร.ก็จะต้องไปขอทาง ก.ตร ทาง สตช.เองก็ยังไม่ได้รับมติ ก.ตร.ดังกล่าว และไม่ใช่อำนาจของสตช. เป็นอำนาจของก.ตร.
ผู้สื่อข่าวถามว่า 3นายพลจะใช้สิทธิ์ในการยื่นขออุทธรณ์วินัยต่อศาลปกครอง ได้หรือไม่ พล.ตอ.ปทีป กล่าวว่า โดยความเห็นส่วนตัวแล้วเห็นว่า ถ้ามติ ก.ตร. เห็นว่า การอุทธรณ์ของ 3นายพลฟังขึ้น ก็คงไม่ต้องไปยื่นศาลปกครองเพราะจบในขั้น ก.ตร. ไปแล้ว แต่ถ้าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นก็สามารถไปยื่นศาลปกครองได้ แต่ขณะนี้อุทธรณ์ฟังขึ้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าว ว่า ป.ป.ช.คงต้องรอมติก.ตร. อย่างเป็นทางการในเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะดำเนินการใดๆ เพราะขณะนี้ ก.ตร.ยังไม่ส่งมติดังกล่าวมาให้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้อยู่ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ตร. หากนายกฯไม่รับเรื่องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก.ตร.ก็ไม่สามารถ ดำเนินการต่อไปได้ อีกทั้งมติของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ชี้ชัดว่า กฎหมายป.ป.ช.มีศักดิ์สูงกว่า กฎหมาย ก.ตร. ส่วนที่ ก.ตร.อ้างว่า ป.ป.ช.ไม่ให้ความเป็นธรรมในการ ชี้มูลความผิดต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 อดีตนายพลตำรวจนั้น หากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ ทั้งนี้ยืนยันว่า การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. มีความเป็นธรรม ไม่ได้เข้าข้างหรือกลั่นแกล้งใคร เพราะถ้าป.ป.ช.ทำผิดก็จะโดนลงโทษสองเท่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก.ตร.ระบุว่า ป.ป.ช.ไม่สามารถชี้มูลความผิดตำรวจทั้ง 3 คนข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ได้ เพราะเรื่องดังกล่าวไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ นายวิชา กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิดของ ก.ตร.เพราะอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ของสหประชาชาติระบุไว้ว่า การทุจริตไม่ได้หมายถึงเฉพาะการรับสินบน แต่รวมถึง การใช้อำนาจในทางที่ผิด การใช้อำนาจขู่เข็ญผู้อื่น ก็คือการคอรัปชั่นเช่นกัน เพราะเป็นห่วงว่าการใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐจะก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นองค์กรที่ใช้อำนาจจึงต้องใช้อำนาจให้ตรงคำนิยามเรื่องคอรัปชั่นของสหประชาชาติด้วย