ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดมหาสารคามแทนนายขจิต ชัยนิคม ซึ่งโดนคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใบเหลืองไปนั้น ผลปรากฏว่าประยุทธ ศิริพานิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 สมัย ลงสมัครครั้งนี้ในนามพรรคเพื่อไทยได้ไป 112,669 คะแนน ชนะนางคมคาย อุดรพิมพ์ พรรคภูมิใจไทยซึ่งได้ไป 111,223 คะแนน
แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะศึกการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ไปได้ แต่ก็ดูจะไม่ได้มีการฉลองกันเอิกเกริกเท่าไรนัก เพราะผลการเลือกตั้งครั้งนี้ขนาดที่เรียกว่าผู้บริหารพรรคลงทุนลงแรงหาเสียงเอง ทั้ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แต่คะแนนที่ได้ห่างกันเพียงแค่ประมาณ 1,436 คะแนน หมายความว่าแพ้ชนะเฉือนกันเพียงแค่ประมาณ 1.3% เท่านั้น
เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่านักโทษชายทักษิณเสื่อมลงอย่างชัดเจน !
เพราะถ้าพูดถึงการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 นายสุทิน คลังแสงเคยได้รับเลือกตั้งในพื้นที่ดังกล่าวมากกว่านี้ โดยได้คะแนนประมาณ 130,000 คะแนน มาครั้งนี้ขนาดส่งอดีต ส.ส.หลายสมัยลงในนามพรรคเพื่อไทย แต่คะแนนก็ยังหายไปประมาณ 17,000 คะแนน
ส่วนนางคมคาย อุดรพิมพ์ เคยลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2549 ได้มีฐานเสียงของตัวเองอยู่ประมาณ 73,948 คะแนน พอมาสังกัดพรรคภูมิใจไทยเที่ยวนี้ได้เพิ่มมาอีก 37,275 คะแนน
ต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคพลังประชาชน นายสุทิน คลังแสงต้องถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง นายขจิต ชัยนิคม จึงถูกดึงตัวมาจากจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือเป็นนักการเมืองนอกพื้นที่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย แต่ก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งด้วยคะแนน 83,251 คะแนน ทิ้งห่างนางกุสุมารวตี ศิริโกมุท พรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตส.ส.เจ้าถิ่นตัวเต็งซึ่งได้คะแนน 57,816 กับคู่แข่งสำคัญอีกคนหนึ่งคือนายอภิราช บรรณารักษ์ ผู้สมัครพรรคประชาราชซึ่งได้ไป 52,716 คะแนน
แต่การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคร่วมรัฐบาลได้ปล่อยให้พรรคภูมิใจไทยลงแข่งเพียงพรรคเดียว เพื่อให้คะแนนที่อยู่ตรงข้ามกับระบอบทักษิณรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ผลคะแนนจึงทำให้สูสีกันเช่นนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายที่เอาทักษิณที่กำลังเสื่อมลงกับไม่เอาทักษิณที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
บางคนวิเคราะห์ในอีกมุมหนึ่งว่า ถึงแม้จะมีคะแนนสูสีใกล้เคียงกัน แต่ขนาดทุกพรรครวมกันมาที่พรรคภูมิใจไทยแล้วก็ยังไม่สามารถชนะพรรคเพื่อไทยได้ในจังหวัดมหาสารคาม
แต่ที่มองข้ามไปไม่ได้ ก็ตรงที่จังหวัดมหาสารคามในวันนั้นมีการกากบาทในช่อง ไม่ประสงค์ลงคะแนนถึง 7,000 คะแนน และคนที่มาใช้สิทธิก็เพียงร้อยละ 50 เท่านั้น!
มีการวิเคราะห์กันว่าตัวเลขที่ไม่ลงคะแนนในวันนั้นและการมาใช้สิทธิที่น้อยลง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการประชุมของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดมหาสารคาม ได้กลับใจในคืนสุดท้ายจากเดิมที่จะลงคะแนนให้พรรคภูมิใจไทยมาเป็นกากบาทไม่ประสงค์ลงคะแนน เพราะในช่วงสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้งพรรคภูมิใจไทยออกอาการในทำให้น่าสงสัยว่าอาจมีการพลิกขั้วทางการเมืองถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลองคิดดูว่าถ้า 7,000 คะแนนที่ ไม่ประสงค์ลงคะแนนในวันนั้นกากบาทเลือกให้พรรคภูมิใจไทย สถานการณ์ย่อมพลิกผันเป็นพรรคภูมิใจไทยชนะการเลือกตั้งไปแล้ว และพรรคเพื่อไทยของนักโทษชายทักษิณก็จะแพ้การเลือกตั้งในพื้นที่ที่เคยมั่นใจว่าเป็นพื้นที่สีแดง
ชัยชนะการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดมหาสารคามของพรรคเพื่อไทย จึงเป็นชัยชนะที่มาพร้อมกับสัญญาณอันตรายแห่งความพ่ายแพ้ ที่ไม่สามารถจะไปคุยโวโอ้อวดได้มากนักของพรรคเพื่อไทย
มหาสารคามยังไม่ทันจะเอาชัยชนะไปคุยได้ พรรคเพื่อไทยก็ดันมาแพ้การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดปราจีนบุรีให้กับพรรคภูมิใจไทยอย่างขาดลอยอีก เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
นายอำนาจ วิลาวัลย์ จากพรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนรวม 132,468 คะแนน ในขณะที่ พล.อ.สิทธิ์ สิทธิมงคล จากพรรคเพื่อไทย ได้คะแนน รวม 69,898 คะแนน และผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 65.86
การเลือกตั้งครั้งนี้ คะแนนทิ้งขาด ห่างกันถึง 62,570 คะแนน !
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้เคยมีการเลือกตั้ง สส.ที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเลือกได้ 2 คน ปรากฏว่าในเวลานั้น นาชยุต ภุมมะกาญจนะ ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนน 94,782 ในขณะที่พรรคมัชฌิมาธิปไตยนั้นได้นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีฐานเสียงประมาณ 87,000 คะแนน มาเป็นที่ 2 ด้วยคะแนน 87,947 คะแนน แต่โดนใบแดงเสียก่อน จึงมีการเลือกตั้งใหม่ได้ ส.ส. นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้วหลังจากโดนยุบพรรคก็ย้ายมาอยู่ที่ประชาธิปัตย์ก่อนจะออกจากพรรคจนนำมาสู่การเลือกตั้งครั้งนี้
การที่นายอำนาจ วิลาวัลย์ ซึ่งเป็นหลานของนายสุนทร วิลาวัลย์ ได้คะแนนสูงถึง 132,468 คะแนน เพิ่มขึ้นมาจากนายสุนทรถึง 44,521 คะแนนนั้น ก็เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ลงเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ได้คะแนนมาเทที่พรรคภูมิใจไทยประมาณ 30,000 คะแนน ส่วนที่เหลือก็น่าจะได้มาจากกระแสตกลงของทักษิณที่พลิกกลับมาเลือกภูมิใจไทยอีกประมาณ 14,000 คะแนน ส่วนคนกาบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนก็มีสูงถึง 16,358 คะแนน !
อาจสรุปได้ว่าการที่มีชัยที่ปราจีนบุรี และคะแนนที่สูสีที่มหาสารคามของพรรคภูมิใจไทย เกิดจากการเทคะแนนรวมกันไปที่พรรคใดพรรคหนึ่งที่มีโอกาสมากที่สุดในพื้นที่นั้น เพื่อเอาชนะพรรคเพื่อไทยให้ถึงที่สุด
รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ได้เห็นปัญหานี้มาตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2549 แล้วว่า พรรคฝ่ายที่เลือกข้างทักษิณมีเอกภาพเพียงพรรคเดียวคือพรรคพลังประชาชน ในขณะที่พรรคที่แสดงออกว่าไม่เอากับทักษิณมีหลายพรรคมากเกินไป ทำให้คะแนนกระจายไปหลายพรรคและจะทำให้การเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งฝ่ายทักษิณจะมีคะแนนมาเป็นที่หนึ่ง ทั้งๆที่ฝ่ายไม่เอาทักษิณมีคะแนนรวมกันมีมากกว่าในหลายพื้นที่
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการรวมคะแนนในระบบสัดส่วนทั้งประเทศของพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเกือบเท่าๆกัน แต่พอมาเลือกตั้งในระบบเขตพรรคพลังประชาชนจะมีคะแนนสูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์มาก
ในปี 2553 นี้ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา จึงมีข้อเสนอพิเศษ ให้พรรคการเมืองที่มั่นใจว่าไม่เอากับระบอบทักษิณรวมตัวกันลงขันทำโพลสำรวจความคิดเห็น เพื่อประเมินในการลงคะแนนและร่วมมือกันเทคะแนนให้กับผู้สมัครหรือพรรคการเมืองที่มีโอกาสมากที่สุดในแต่ละพื้นที่เพื่อเอาชนะพรรคเพื่อไทยให้ได้ จะทำให้สมการทางการเมืองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยทันที
บทเรียนจากการเลือกตั้งซ่อมที่มหาสารคามและปราจีนบุรี เมื่อประกอบกับข้อเสนอพิเศษของ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑาครั้งนี้ ถ้าเป็นจริงเมื่อใด ก็คงจะสร้างความสยดสยองให้กับนักโทษชายทักษิณและพรรคเพื่อไทยได้ไม่น้อย!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดมหาสารคามแทนนายขจิต ชัยนิคม ซึ่งโดนคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใบเหลืองไปนั้น ผลปรากฏว่าประยุทธ ศิริพานิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 สมัย ลงสมัครครั้งนี้ในนามพรรคเพื่อไทยได้ไป 112,669 คะแนน ชนะนางคมคาย อุดรพิมพ์ พรรคภูมิใจไทยซึ่งได้ไป 111,223 คะแนน
แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะศึกการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ไปได้ แต่ก็ดูจะไม่ได้มีการฉลองกันเอิกเกริกเท่าไรนัก เพราะผลการเลือกตั้งครั้งนี้ขนาดที่เรียกว่าผู้บริหารพรรคลงทุนลงแรงหาเสียงเอง ทั้ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แต่คะแนนที่ได้ห่างกันเพียงแค่ประมาณ 1,436 คะแนน หมายความว่าแพ้ชนะเฉือนกันเพียงแค่ประมาณ 1.3% เท่านั้น
เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่านักโทษชายทักษิณเสื่อมลงอย่างชัดเจน !
เพราะถ้าพูดถึงการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 นายสุทิน คลังแสงเคยได้รับเลือกตั้งในพื้นที่ดังกล่าวมากกว่านี้ โดยได้คะแนนประมาณ 130,000 คะแนน มาครั้งนี้ขนาดส่งอดีต ส.ส.หลายสมัยลงในนามพรรคเพื่อไทย แต่คะแนนก็ยังหายไปประมาณ 17,000 คะแนน
ส่วนนางคมคาย อุดรพิมพ์ เคยลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2549 ได้มีฐานเสียงของตัวเองอยู่ประมาณ 73,948 คะแนน พอมาสังกัดพรรคภูมิใจไทยเที่ยวนี้ได้เพิ่มมาอีก 37,275 คะแนน
ต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคพลังประชาชน นายสุทิน คลังแสงต้องถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง นายขจิต ชัยนิคม จึงถูกดึงตัวมาจากจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือเป็นนักการเมืองนอกพื้นที่ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย แต่ก็ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งด้วยคะแนน 83,251 คะแนน ทิ้งห่างนางกุสุมารวตี ศิริโกมุท พรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตส.ส.เจ้าถิ่นตัวเต็งซึ่งได้คะแนน 57,816 กับคู่แข่งสำคัญอีกคนหนึ่งคือนายอภิราช บรรณารักษ์ ผู้สมัครพรรคประชาราชซึ่งได้ไป 52,716 คะแนน
แต่การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคร่วมรัฐบาลได้ปล่อยให้พรรคภูมิใจไทยลงแข่งเพียงพรรคเดียว เพื่อให้คะแนนที่อยู่ตรงข้ามกับระบอบทักษิณรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ผลคะแนนจึงทำให้สูสีกันเช่นนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายที่เอาทักษิณที่กำลังเสื่อมลงกับไม่เอาทักษิณที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
บางคนวิเคราะห์ในอีกมุมหนึ่งว่า ถึงแม้จะมีคะแนนสูสีใกล้เคียงกัน แต่ขนาดทุกพรรครวมกันมาที่พรรคภูมิใจไทยแล้วก็ยังไม่สามารถชนะพรรคเพื่อไทยได้ในจังหวัดมหาสารคาม
แต่ที่มองข้ามไปไม่ได้ ก็ตรงที่จังหวัดมหาสารคามในวันนั้นมีการกากบาทในช่อง ไม่ประสงค์ลงคะแนนถึง 7,000 คะแนน และคนที่มาใช้สิทธิก็เพียงร้อยละ 50 เท่านั้น!
มีการวิเคราะห์กันว่าตัวเลขที่ไม่ลงคะแนนในวันนั้นและการมาใช้สิทธิที่น้อยลง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการประชุมของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดมหาสารคาม ได้กลับใจในคืนสุดท้ายจากเดิมที่จะลงคะแนนให้พรรคภูมิใจไทยมาเป็นกากบาทไม่ประสงค์ลงคะแนน เพราะในช่วงสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้งพรรคภูมิใจไทยออกอาการในทำให้น่าสงสัยว่าอาจมีการพลิกขั้วทางการเมืองถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลองคิดดูว่าถ้า 7,000 คะแนนที่ ไม่ประสงค์ลงคะแนนในวันนั้นกากบาทเลือกให้พรรคภูมิใจไทย สถานการณ์ย่อมพลิกผันเป็นพรรคภูมิใจไทยชนะการเลือกตั้งไปแล้ว และพรรคเพื่อไทยของนักโทษชายทักษิณก็จะแพ้การเลือกตั้งในพื้นที่ที่เคยมั่นใจว่าเป็นพื้นที่สีแดง
ชัยชนะการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดมหาสารคามของพรรคเพื่อไทย จึงเป็นชัยชนะที่มาพร้อมกับสัญญาณอันตรายแห่งความพ่ายแพ้ ที่ไม่สามารถจะไปคุยโวโอ้อวดได้มากนักของพรรคเพื่อไทย
มหาสารคามยังไม่ทันจะเอาชัยชนะไปคุยได้ พรรคเพื่อไทยก็ดันมาแพ้การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดปราจีนบุรีให้กับพรรคภูมิใจไทยอย่างขาดลอยอีก เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
นายอำนาจ วิลาวัลย์ จากพรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนรวม 132,468 คะแนน ในขณะที่ พล.อ.สิทธิ์ สิทธิมงคล จากพรรคเพื่อไทย ได้คะแนน รวม 69,898 คะแนน และผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 65.86
การเลือกตั้งครั้งนี้ คะแนนทิ้งขาด ห่างกันถึง 62,570 คะแนน !
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้เคยมีการเลือกตั้ง สส.ที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเลือกได้ 2 คน ปรากฏว่าในเวลานั้น นาชยุต ภุมมะกาญจนะ ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนน 94,782 ในขณะที่พรรคมัชฌิมาธิปไตยนั้นได้นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีฐานเสียงประมาณ 87,000 คะแนน มาเป็นที่ 2 ด้วยคะแนน 87,947 คะแนน แต่โดนใบแดงเสียก่อน จึงมีการเลือกตั้งใหม่ได้ ส.ส. นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้วหลังจากโดนยุบพรรคก็ย้ายมาอยู่ที่ประชาธิปัตย์ก่อนจะออกจากพรรคจนนำมาสู่การเลือกตั้งครั้งนี้
การที่นายอำนาจ วิลาวัลย์ ซึ่งเป็นหลานของนายสุนทร วิลาวัลย์ ได้คะแนนสูงถึง 132,468 คะแนน เพิ่มขึ้นมาจากนายสุนทรถึง 44,521 คะแนนนั้น ก็เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ลงเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ได้คะแนนมาเทที่พรรคภูมิใจไทยประมาณ 30,000 คะแนน ส่วนที่เหลือก็น่าจะได้มาจากกระแสตกลงของทักษิณที่พลิกกลับมาเลือกภูมิใจไทยอีกประมาณ 14,000 คะแนน ส่วนคนกาบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนก็มีสูงถึง 16,358 คะแนน !
อาจสรุปได้ว่าการที่มีชัยที่ปราจีนบุรี และคะแนนที่สูสีที่มหาสารคามของพรรคภูมิใจไทย เกิดจากการเทคะแนนรวมกันไปที่พรรคใดพรรคหนึ่งที่มีโอกาสมากที่สุดในพื้นที่นั้น เพื่อเอาชนะพรรคเพื่อไทยให้ถึงที่สุด
รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ได้เห็นปัญหานี้มาตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2549 แล้วว่า พรรคฝ่ายที่เลือกข้างทักษิณมีเอกภาพเพียงพรรคเดียวคือพรรคพลังประชาชน ในขณะที่พรรคที่แสดงออกว่าไม่เอากับทักษิณมีหลายพรรคมากเกินไป ทำให้คะแนนกระจายไปหลายพรรคและจะทำให้การเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งฝ่ายทักษิณจะมีคะแนนมาเป็นที่หนึ่ง ทั้งๆที่ฝ่ายไม่เอาทักษิณมีคะแนนรวมกันมีมากกว่าในหลายพื้นที่
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการรวมคะแนนในระบบสัดส่วนทั้งประเทศของพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเกือบเท่าๆกัน แต่พอมาเลือกตั้งในระบบเขตพรรคพลังประชาชนจะมีคะแนนสูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์มาก
ในปี 2553 นี้ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา จึงมีข้อเสนอพิเศษ ให้พรรคการเมืองที่มั่นใจว่าไม่เอากับระบอบทักษิณรวมตัวกันลงขันทำโพลสำรวจความคิดเห็น เพื่อประเมินในการลงคะแนนและร่วมมือกันเทคะแนนให้กับผู้สมัครหรือพรรคการเมืองที่มีโอกาสมากที่สุดในแต่ละพื้นที่เพื่อเอาชนะพรรคเพื่อไทยให้ได้ จะทำให้สมการทางการเมืองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยทันที
บทเรียนจากการเลือกตั้งซ่อมที่มหาสารคามและปราจีนบุรี เมื่อประกอบกับข้อเสนอพิเศษของ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑาครั้งนี้ ถ้าเป็นจริงเมื่อใด ก็คงจะสร้างความสยดสยองให้กับนักโทษชายทักษิณและพรรคเพื่อไทยได้ไม่น้อย!