ASTVผู้จัดการรายวัน-คณะกรรมการ 4 ฝ่ายหวังยุติบทบาทได้ในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า เหตุได้ทำหน้าที่เกือบสมบูรณ์แล้วเหลือเพียงการจัดประเภทกิจการรุนแรงและแนวทางการแก้ไขและขจัดมลพิษในมาบตาพุดเท่านั้น พร้อมอ้าแขนรับสวมหมวกใบที่ 2 เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นขององค์กรอิสระเหตุโครงสร้างเหมือน 4ฝ่ายนำไปสวมได้ทันที แต่ขึ้นอยู่กับนายกฯ ลั่นตั้งใจออกแบบบ้านแต่คนสร้างบ้านเป็นหน้าที่รัฐบาล แนะเอกชนทำHIAเสี่ยงน้อยกว่าลุ้นพ้นปลดล็อคจากศาลฯเหตุท้ายสุดคดีหลักยังอยู่
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเปิดเผยว่า คณะกรรมการ 4 ฝ่ายหวังว่าจะสามารถยุติบทบาทได้ในอีก 4-5 เดือนข้างหน้าหรือประมาณเม.ย. หลังจากที่ได้มีข้อสรุปในเรื่องของการกำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและการจัดการแก้ไขลดและขจัดมลพิษสำหรับเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเป็นธรรม
ทั้งนี้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ตั้งคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการปรับปรุงรายการโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยมีศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์เป็นประธานเพื่อการพิจารณาจัดทำรายการประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายคาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในเดือน เม.ย.
ขณะเดียวกันได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและเติมเต็มทางเทคนิคเพื่อลดและขจัดมลพิษในมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงโดยมีรศ.ดร.สุทิน อยู่สุขเป็นประธาน เพื่อศึกษาประเมินสถานการณ์มลพิษค้นหาและระบุสาเหตุของประเด็นปัญหามลพิษที่สำคัญและการจัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขคาดว่าจะเสร็จใน 2 เดือนเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ 4 ฝ่ายก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายซึ่งมีการประชุมทั้งหมด 18 ครั้งได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสอง ในเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และกติกาเพื่อการปฏิบัติในเนื้อหา 4 ประเด็นเกือบครบถ้วนแล้วคือ 1. แนวทางการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)และสุขภาพ(HIA) 2. แนวทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.การจัดตั้งองค์การอิสระ เหลือเพียงในเรื่องของการกำหนดประเภทกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
ทั้งนี้การจัดตั้งองค์การอิสระได้ทำเป็น 2 ระยะคือ การจัดตั้งองค์การอิสระ(เฉพาะกาล) โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอสระในโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงพ.ศ..... เพราะจะทำได้เร็วและการจัดตั้งองค์การอิสระ(ถาวร)โดยพระราชบัญญัติที่ใช้เวลานาน ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากครม.เมื่อวันที่ 12ม.ค. และได้ลงประกาศระเบียบสำนักนายกฯในราชกิจจานุกเบกษาแล้วในวันเดียวกันเพื่อนำไปสู่การเกิดขึ้นขององค์การอิสระภายใน 60 วันนับจากวันแต่วันที่แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นขององค์กรอิสระ
**พร้อมสวมหมวกใบที่ 2
นายอานันท์ กล่าวว่า คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นขององค์กรอิสระจะมีโครงสร้างเหมือนกับคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ดังนั้นหากจะให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมการประสานงานฯก็พร้อมที่จะสวมหมวกใบที่ 2 เนื่องจากการทำงานก็สามารถต่อเนื่องได้ทันที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีว่าจะแต่งตั้งหรือไม่ โดยคาดว่านายกฯจะแต่งตั้งได้ในเร็วๆ นี้
“คณะกรรมการประสานงานฯจะเป็นผู้คัดเลือกตัวองค์การอิสระเฉพาะกาลขึ้นและองค์การอิสระจะหมดอายุลงก็ต่อเมื่อมีองค์การอิสระถาวรก็คือรัฐบาลผ่านกระบวนการรัฐสภาออกมาเป็นพระราชบัญญัติอาจใช้เวลา 8 เดือนกว่าจะจัดตั้งรวมแล้วอาจจะใช้เวลา 15 เดือนจึงได้เขียนไว้คร่าวๆ ว่าคณะกรรมการประสานงานจะมีอายุ 2 ปีเป็นตัวเลขคร่าวๆ “นายอานันท์กล่าว
**สมบูรณ์หรือไม่อยู่ที่นำไปปฏิบัติ
นายอานันท์กล่าวว่า คณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างตั้งใจและจะสมบูรณ์หรือไม่อยู่ที่ฝ่ายการเมือง ราชการ จะนำไปปฏิบัติอย่างเข้มแข็งโดยคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเปรียบเหมือนผู้ออกแบบบ้าน แต่คนสร้างบ้านเป็นฝ่ายรัฐบาล ส่วนที่มีนักลงทุนมองว่าล่าช้าจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจย้ายฐานหนีนั้น ตนอยู่ในธุรกิจมานานอย่าไปบ้าจี้ตามนักลงทุนมากเกินไป
“เมื่อออกกติกาให้เอกชนปฏิบัติแล้ว ซึ่งหากไม่หลุดพ้นจากการระงับกิจการชั่วคราวก็จะต้องผ่านกระบวนการทำ EIA และ HIA ใหม่หมด โดยดูแล้วน่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน”นายอานันท์กล่าว
**แนะทำ HIA เสี่ยงน้อยเหตุคดีหลักยังอยู่
นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายกล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่ากิจการที่ศาลสั่งระงับการดำเนินกิจการชั่วคราวทั้งหมดน่าจะพิจารณาจัดทำรายงาน HIA จะเสี่ยงน้อยกว่าแม้ว่าจะหลุดพ้นจากคำสั่งระงับกิจการจากศาลปกครองกลางก็ตามเนื่องจากต้องยอมรับว่าคดีหลักนั้นยังอยู่ไม่รู้อนาคตท้ายสุดจะจบอย่างไร
“ผมคิดว่าเอกชนทำตอนนี้จะจบเร็วกว่าไปรอศาลฯด้วยซ้ำไปและหลักการในแง่กฏหมายให้กิจการที่ไม่ได้ถูกยกเว้นคำสั่งระงับกิจการต้องเริ่มต้นทำ EIA และ HIA ใหม่แต่เนื้อหาของ EIA เดิมที่เคยทำไว้ก็สามารถนำมาต่อยอดทำใหม่ได้ก็จะทำให้ระยะเวลาจะลดลงกว่าการเริ่มนับหนึ่งใหม่ทั้งหมด”นายเดชรัตกล่าว
**ภาคประชาชนฟ้องได้ถ้าไม่เร่งทำ
นายเดชรัต กล่าวยอมรับว่า การออกพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การอิสระถาวรรัฐบาลนี้คงจะต้องรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วและยอมรับว่าก็อาจเสียงเช่นกันหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อย่างไรก็ตามการเมืองเองหากไม่คิดที่จะดำเนินการภาคประชาชนก็อาจฟ้องร้องรัฐบาลได้เช่นเดียวกับที่ผ่านมาได้เช่นกัน
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเปิดเผยว่า คณะกรรมการ 4 ฝ่ายหวังว่าจะสามารถยุติบทบาทได้ในอีก 4-5 เดือนข้างหน้าหรือประมาณเม.ย. หลังจากที่ได้มีข้อสรุปในเรื่องของการกำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและการจัดการแก้ไขลดและขจัดมลพิษสำหรับเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเป็นธรรม
ทั้งนี้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ตั้งคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการปรับปรุงรายการโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยมีศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์เป็นประธานเพื่อการพิจารณาจัดทำรายการประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายคาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในเดือน เม.ย.
ขณะเดียวกันได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและเติมเต็มทางเทคนิคเพื่อลดและขจัดมลพิษในมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงโดยมีรศ.ดร.สุทิน อยู่สุขเป็นประธาน เพื่อศึกษาประเมินสถานการณ์มลพิษค้นหาและระบุสาเหตุของประเด็นปัญหามลพิษที่สำคัญและการจัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขคาดว่าจะเสร็จใน 2 เดือนเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ 4 ฝ่ายก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป
สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายซึ่งมีการประชุมทั้งหมด 18 ครั้งได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสอง ในเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และกติกาเพื่อการปฏิบัติในเนื้อหา 4 ประเด็นเกือบครบถ้วนแล้วคือ 1. แนวทางการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)และสุขภาพ(HIA) 2. แนวทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3.การจัดตั้งองค์การอิสระ เหลือเพียงในเรื่องของการกำหนดประเภทกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
ทั้งนี้การจัดตั้งองค์การอิสระได้ทำเป็น 2 ระยะคือ การจัดตั้งองค์การอิสระ(เฉพาะกาล) โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอสระในโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงพ.ศ..... เพราะจะทำได้เร็วและการจัดตั้งองค์การอิสระ(ถาวร)โดยพระราชบัญญัติที่ใช้เวลานาน ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากครม.เมื่อวันที่ 12ม.ค. และได้ลงประกาศระเบียบสำนักนายกฯในราชกิจจานุกเบกษาแล้วในวันเดียวกันเพื่อนำไปสู่การเกิดขึ้นขององค์การอิสระภายใน 60 วันนับจากวันแต่วันที่แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นขององค์กรอิสระ
**พร้อมสวมหมวกใบที่ 2
นายอานันท์ กล่าวว่า คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นขององค์กรอิสระจะมีโครงสร้างเหมือนกับคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ดังนั้นหากจะให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมการประสานงานฯก็พร้อมที่จะสวมหมวกใบที่ 2 เนื่องจากการทำงานก็สามารถต่อเนื่องได้ทันที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีว่าจะแต่งตั้งหรือไม่ โดยคาดว่านายกฯจะแต่งตั้งได้ในเร็วๆ นี้
“คณะกรรมการประสานงานฯจะเป็นผู้คัดเลือกตัวองค์การอิสระเฉพาะกาลขึ้นและองค์การอิสระจะหมดอายุลงก็ต่อเมื่อมีองค์การอิสระถาวรก็คือรัฐบาลผ่านกระบวนการรัฐสภาออกมาเป็นพระราชบัญญัติอาจใช้เวลา 8 เดือนกว่าจะจัดตั้งรวมแล้วอาจจะใช้เวลา 15 เดือนจึงได้เขียนไว้คร่าวๆ ว่าคณะกรรมการประสานงานจะมีอายุ 2 ปีเป็นตัวเลขคร่าวๆ “นายอานันท์กล่าว
**สมบูรณ์หรือไม่อยู่ที่นำไปปฏิบัติ
นายอานันท์กล่าวว่า คณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างตั้งใจและจะสมบูรณ์หรือไม่อยู่ที่ฝ่ายการเมือง ราชการ จะนำไปปฏิบัติอย่างเข้มแข็งโดยคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเปรียบเหมือนผู้ออกแบบบ้าน แต่คนสร้างบ้านเป็นฝ่ายรัฐบาล ส่วนที่มีนักลงทุนมองว่าล่าช้าจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจย้ายฐานหนีนั้น ตนอยู่ในธุรกิจมานานอย่าไปบ้าจี้ตามนักลงทุนมากเกินไป
“เมื่อออกกติกาให้เอกชนปฏิบัติแล้ว ซึ่งหากไม่หลุดพ้นจากการระงับกิจการชั่วคราวก็จะต้องผ่านกระบวนการทำ EIA และ HIA ใหม่หมด โดยดูแล้วน่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน”นายอานันท์กล่าว
**แนะทำ HIA เสี่ยงน้อยเหตุคดีหลักยังอยู่
นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายกล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่ากิจการที่ศาลสั่งระงับการดำเนินกิจการชั่วคราวทั้งหมดน่าจะพิจารณาจัดทำรายงาน HIA จะเสี่ยงน้อยกว่าแม้ว่าจะหลุดพ้นจากคำสั่งระงับกิจการจากศาลปกครองกลางก็ตามเนื่องจากต้องยอมรับว่าคดีหลักนั้นยังอยู่ไม่รู้อนาคตท้ายสุดจะจบอย่างไร
“ผมคิดว่าเอกชนทำตอนนี้จะจบเร็วกว่าไปรอศาลฯด้วยซ้ำไปและหลักการในแง่กฏหมายให้กิจการที่ไม่ได้ถูกยกเว้นคำสั่งระงับกิจการต้องเริ่มต้นทำ EIA และ HIA ใหม่แต่เนื้อหาของ EIA เดิมที่เคยทำไว้ก็สามารถนำมาต่อยอดทำใหม่ได้ก็จะทำให้ระยะเวลาจะลดลงกว่าการเริ่มนับหนึ่งใหม่ทั้งหมด”นายเดชรัตกล่าว
**ภาคประชาชนฟ้องได้ถ้าไม่เร่งทำ
นายเดชรัต กล่าวยอมรับว่า การออกพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การอิสระถาวรรัฐบาลนี้คงจะต้องรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วและยอมรับว่าก็อาจเสียงเช่นกันหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อย่างไรก็ตามการเมืองเองหากไม่คิดที่จะดำเนินการภาคประชาชนก็อาจฟ้องร้องรัฐบาลได้เช่นเดียวกับที่ผ่านมาได้เช่นกัน