“นายกฯ”ยอมรับประเมินผลเสียหายกรณีมาบตาพุดยาก ต้องติดตามผลการตัดสินจากศาลฯกรณีที่เอกชนยื่นขอยกเว้นการระงับกิจการชั่วคราว ยันการตรวจสอบ HIA ใช้เวลา 6 เดือนหรือไม่ขึ้นอยู่แต่ละกิจการ พร้อมแจงนักลงทุน ด้านคณะกรรมการ 4 ฝ่ายรอครม.ตั้งเป็นคณะกรรมการประสานงานฯ วันนี้หวังถกนัดแรกจันทร์หน้า ขณะที่”กนอ.”เตรียมชี้แจงภายในให้นักลงทุนรับรู้กติกาและอาจพ่วงเจโทรด้วยหากมาฟัง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ยากที่จะประเมินมูลค่าความเสียหายในกรณีปัญหามาบตาพุดเนื่องจากกระบวนการยังต้องพิจารณาในรายละเอียดโดยเฉพาะกรณีที่ภาคเอกชนได้มีการยื่นขอยกเว้นการระงับกิจการชั่วคราวต่อศาลปกครองกลางที่ทยอยดำเนินการอยู่ว่าท้ายสุดศาลฯจะพิจารณาออกมาอย่างไร โดยยอมรับว่าหากศาลอนุญาตให้มีการก่อสร้างต่อได้ ความเสียหายในเรื่องคนตกงาน เรื่องระยะเวลาที่ชะงักก็จะลดลงกว่าที่เคยประเมินกันไว้
สำหรับกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพ ระบุว่าอาจใช้เวลาในการตรวจสอบ HIA ของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเกิน 6 เดือน ว่าข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับแต่ละกิจการว่ามีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด ดังนั้นจะเหมามองไปในภาพรวมไม่ได้ ซึ่งเข้าใจว่าหากภาคเอกชนเร่งเสนอเรื่องเพื่อเข้าสู่กระบวนการที่จะให้เร็วขึ้น ดังนั้นหากนักลงทุนรายใดไม่เข้าใจก็สามารถสอบถามไปที่ศูนย์ประสานการบริการนักลงทุน (โอเอสโอเอส)ได้
ส่วนปัญหามาบตาพุดจะคลี่คลายลงภายใน 6 เดือนหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความชัดเจนจะมีทั้งขั้นตอนและความพร้อมของหน่วยปฏิบัติ ส่วนจะเสร็จครบถ้วนทุกกระบวนการ ทุกโครงการ ทุกเรื่องหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้ แต่ทุกคนจะมีความชัดเจนภายในเวลาที่สั้นกว่า 6 เดือน ซึ่งความชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการลงทุน
“ผมถือว่า วันนี้เราต้องการใช้รัฐธรรมนูญ ใช้มาตรฐานใหม่ เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยมา ต้องทำให้ดีที่สุด ทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งประโยชน์ส่วนรวมไม่ได้อยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า ทุกโครงการใครมาลงทุนได้ ลงทุนเร็วแล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ได้หมายความว่า การหยุดทุกโครงการจะเกิดประโยชน์สูงสุด ผมคิดว่าขณะนี้อยู่ระหว่างหาความพอดีและความสมดุลตรงนี้ และมีกติกาที่มีความชัดเจนก็น่าจะเป็นไปด้วยดี” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า พร้อมที่จะชี้แจงให้กับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น เกี่ยวกับปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่มีความชัดเจนเกือบสมบูรณ์แล้ว โดยเฉพาะระเบียบว่าด้วยการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)
**ก.พ.เปิดเวทีรับฟัง คห.กิจการรุนแรง
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ โฆษกคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดกล่าวว่า การหารือคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานวานนี้(18ม.ค.) ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับคำจำกัดความของคำว่ากิจการรุนแรงเพื่อกำหนดประเภทกิจการรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายในเม.ย.นี้
อย่างไรก็ตามจะมีการเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายช่วงปลายเดือนก.พ.นี้โดยจะจัดรับฟังความเห็น 5 ครั้ง
สำหรับกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นการจัดตั้งองค์การอิสระ(เฉพาะกาล)ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีทราบว่าจะมีการเสนอให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้าไปเป็นคณะกรรมการโดยมีนายอานันท์เป็นประธานเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้(19ม.ค.) หากเป็นไปตามนี้คาดว่าการประชุมครั้งแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.
**4 ฝ่ายยังไม่ยุติบทบาท
นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศณษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรรมการในคณะกรรมการประสานงาน กล่าวว่า คณะกรรมการ 4 ฝ่ายยังจะไม่หมดภารกิจโดยหากมีการตั้งให้เป็นคณะกรรมการประสานงานก็จะทำหน้าที่ใน 2 ชุดควบคู่กันไป โดยองค์การอิสระเฉพาะกาลคาดว่าจะแต่งตั้งได้ภายใน 60 วันตามที่กำหนด
**กนอ.แจงกติกาให้ผู้ประกอบการวันนี้
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า วันนี้(19ม.ค.) กนอ.ได้เชิญผู้ประกอบการ 53 รายที่ถูกคำสั่งระงับกิจการชั่วคราวที่ดำเนินงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและใกล้เคียงมารับฟังการชี้แจงถึงกรอบแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและกติกาที่รัฐบาลได้ดำเนินการออกมาเป็นระยะ เพื่อความชัดเจน ซึ่งอาจจะมีการเชิญนักลงทุนจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร)มารับฟังด้วย
“เราทำหนังสือเชิญไปแล้วแต่จะมาหรือไม่ก็คงขึ้นอยู่กับเอกชน ซึ่งเราถือว่าได้จัดเวทีเพื่อที่จะชี้แจงโดยจะเป็นลักษณะถาม ตอบ เพื่อที่จะให้กติกาที่รัฐออกมามีความชัดเจนโดยจะเชิญตัวแทนคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้ามาร่วมชี้แจงด้วย”นายประสานกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กนอ.ได้เชิญให้ไปทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติต่างๆ ในฐานะที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแต่ตนติดภารกิจในการประชุมที่ส.อ.ท.อาจจะมอบหมายให้คนอื่นไปชี้แจงแทน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ยากที่จะประเมินมูลค่าความเสียหายในกรณีปัญหามาบตาพุดเนื่องจากกระบวนการยังต้องพิจารณาในรายละเอียดโดยเฉพาะกรณีที่ภาคเอกชนได้มีการยื่นขอยกเว้นการระงับกิจการชั่วคราวต่อศาลปกครองกลางที่ทยอยดำเนินการอยู่ว่าท้ายสุดศาลฯจะพิจารณาออกมาอย่างไร โดยยอมรับว่าหากศาลอนุญาตให้มีการก่อสร้างต่อได้ ความเสียหายในเรื่องคนตกงาน เรื่องระยะเวลาที่ชะงักก็จะลดลงกว่าที่เคยประเมินกันไว้
สำหรับกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพ ระบุว่าอาจใช้เวลาในการตรวจสอบ HIA ของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเกิน 6 เดือน ว่าข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับแต่ละกิจการว่ามีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด ดังนั้นจะเหมามองไปในภาพรวมไม่ได้ ซึ่งเข้าใจว่าหากภาคเอกชนเร่งเสนอเรื่องเพื่อเข้าสู่กระบวนการที่จะให้เร็วขึ้น ดังนั้นหากนักลงทุนรายใดไม่เข้าใจก็สามารถสอบถามไปที่ศูนย์ประสานการบริการนักลงทุน (โอเอสโอเอส)ได้
ส่วนปัญหามาบตาพุดจะคลี่คลายลงภายใน 6 เดือนหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความชัดเจนจะมีทั้งขั้นตอนและความพร้อมของหน่วยปฏิบัติ ส่วนจะเสร็จครบถ้วนทุกกระบวนการ ทุกโครงการ ทุกเรื่องหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้ แต่ทุกคนจะมีความชัดเจนภายในเวลาที่สั้นกว่า 6 เดือน ซึ่งความชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการลงทุน
“ผมถือว่า วันนี้เราต้องการใช้รัฐธรรมนูญ ใช้มาตรฐานใหม่ เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยมา ต้องทำให้ดีที่สุด ทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งประโยชน์ส่วนรวมไม่ได้อยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า ทุกโครงการใครมาลงทุนได้ ลงทุนเร็วแล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ได้หมายความว่า การหยุดทุกโครงการจะเกิดประโยชน์สูงสุด ผมคิดว่าขณะนี้อยู่ระหว่างหาความพอดีและความสมดุลตรงนี้ และมีกติกาที่มีความชัดเจนก็น่าจะเป็นไปด้วยดี” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า พร้อมที่จะชี้แจงให้กับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น เกี่ยวกับปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่มีความชัดเจนเกือบสมบูรณ์แล้ว โดยเฉพาะระเบียบว่าด้วยการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)
**ก.พ.เปิดเวทีรับฟัง คห.กิจการรุนแรง
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ โฆษกคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดกล่าวว่า การหารือคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานวานนี้(18ม.ค.) ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับคำจำกัดความของคำว่ากิจการรุนแรงเพื่อกำหนดประเภทกิจการรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายในเม.ย.นี้
อย่างไรก็ตามจะมีการเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายช่วงปลายเดือนก.พ.นี้โดยจะจัดรับฟังความเห็น 5 ครั้ง
สำหรับกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นการจัดตั้งองค์การอิสระ(เฉพาะกาล)ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีทราบว่าจะมีการเสนอให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้าไปเป็นคณะกรรมการโดยมีนายอานันท์เป็นประธานเข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้(19ม.ค.) หากเป็นไปตามนี้คาดว่าการประชุมครั้งแรกจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.
**4 ฝ่ายยังไม่ยุติบทบาท
นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศณษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรรมการในคณะกรรมการประสานงาน กล่าวว่า คณะกรรมการ 4 ฝ่ายยังจะไม่หมดภารกิจโดยหากมีการตั้งให้เป็นคณะกรรมการประสานงานก็จะทำหน้าที่ใน 2 ชุดควบคู่กันไป โดยองค์การอิสระเฉพาะกาลคาดว่าจะแต่งตั้งได้ภายใน 60 วันตามที่กำหนด
**กนอ.แจงกติกาให้ผู้ประกอบการวันนี้
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า วันนี้(19ม.ค.) กนอ.ได้เชิญผู้ประกอบการ 53 รายที่ถูกคำสั่งระงับกิจการชั่วคราวที่ดำเนินงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและใกล้เคียงมารับฟังการชี้แจงถึงกรอบแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและกติกาที่รัฐบาลได้ดำเนินการออกมาเป็นระยะ เพื่อความชัดเจน ซึ่งอาจจะมีการเชิญนักลงทุนจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร)มารับฟังด้วย
“เราทำหนังสือเชิญไปแล้วแต่จะมาหรือไม่ก็คงขึ้นอยู่กับเอกชน ซึ่งเราถือว่าได้จัดเวทีเพื่อที่จะชี้แจงโดยจะเป็นลักษณะถาม ตอบ เพื่อที่จะให้กติกาที่รัฐออกมามีความชัดเจนโดยจะเชิญตัวแทนคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเข้ามาร่วมชี้แจงด้วย”นายประสานกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กนอ.ได้เชิญให้ไปทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติต่างๆ ในฐานะที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแต่ตนติดภารกิจในการประชุมที่ส.อ.ท.อาจจะมอบหมายให้คนอื่นไปชี้แจงแทน