โดย...ศรีสุวรรณ จรรยา
ความสำเร็จของภาคประชาสังคมและภาคประชาชนในการใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับให้รัฐบาลและผู้ประกอบการเอกชนหันมาให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพอนามัยของประชาชนตามเจตนารมณ์ของมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีวิกฤตมาบตาพุดเป็นต้นแบบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังคงมีปัญหาอุปสรรคขวากหนามและแรงเสียดทานอีกมากมายที่ยังคงท้าทายและเผชิญกับแรงกดดันจากทุกภาคส่วน
วิกฤตครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของสังคมที่จะนำไปสู่กระบวนการการยกระดับมาตรฐานการจัดกระบวนทรรศ์อุตสาหกรรมใหม่ของประเทศให้สามารถพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมและอยู่ร่วมกับชุมชนได้ในระยะยาว
แต่โอกาสทองอาจจะหลุดหายไปได้โดยง่ายเพราะรัฐบาลโดยหน่วยงานของรัฐร่วมกับผู้ประกอบการกำลังทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห่วงปัจจุบัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การมีพฤติกรรมกวนน้ำให้ขุ่น
นั่นคือ ความพยายามแทรกแซงอำนาจศาลหรือกระบวนการยุติธรรมอย่างไม่เหมาะสม ด้วยการกดดันศาล ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสารมวลชนอันเป็นเท็จ เช่น คำสั่งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เม็ดเงินการลงทุนหายไปกว่าหกแสนล้านบาท คนงานตกงานนับหมื่นคน ก๊าซหุงต้มจะแพงขึ้น ฯลฯ ทั้งที่ข้อมูลดังกล่าวเป็นการปั่นกระแส สร้างตัวเลข หาใช่ข้อเท็จจริงไม่ เพราะขัดหรือแย้งต่อข้อมูลที่ปรากฏในชั้นการไต่สวนของศาลก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง
ปัดความรับผิดชอบกันง่ายๆ แต่ให้ไปตกอยู่กับคำสั่งศาล ขณะที่รัฐบาลลอยตัวอยู่เหนือปัญหา
ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายผิด เหตุเพราะปล่อยให้ราชการเกียร์ว่างมีการละเว้นเพิกเฉยของหน่วยงานภาครัฐโดยเฉไฉไม่ยอมปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่กลับใช้อำนาจทางปกครอง คิดเองเออเองโดยมีคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นฉากบังหน้า โดยไม่แยแสต่อนโยบายของตนเองที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ที่ส่วนใหญ่ระบุถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเป็นหลัก ในการตัดสินใจทางนโยบายและการกำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขใหม่ทางสังคม
ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะช่วยผู้ประกอบการจนออกหน้าออกตา โดยละทิ้งความเสียหายของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเดือดร้อนของชาวบ้านที่เจ็บป่วยกันทั้งมาบตาพุดและบ้านฉางเอาไว้ด้านหลัง แต่กลับมากระตือรือร้นในการช่วยผู้ประกอบการทุกวิถีทางเพื่อทำคำร้องขอศาลอีกครั้งเพื่อให้ศาลแก้ไขคำสั่งหรือปลดล็อกโครงการอีกกว่า 19 หรือ 42 โครงการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับไว้จาก 64 โครงการ โดยสมอ้างว่าเป็นโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ 11 โครงการที่ศาลเคยอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมต่อไปได้ เพราะเป็นโครงการที่ช่วยลดมลพิษ และขอให้ก่อสร้างไปก่อน เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ฟังดูแล้วช่างไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เพราะขัดแย้งกับความจริงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่มาบตาพุดมากที่สุด เพราะที่นั่นการก่อสร้างล้วนก่อให้เกิดปัญหามลพิษแทบทุกโครงการทั้งฝุ่นละออง เสียงดัง ชุมชนแออัดของแรงงานอพยพ เกิดขยะน้ำเสียโดยไม่มีมาตรการหรือแผนการรองรับ ข้อเท็จจริงเหล่านี้คิดว่าศาลปกครองไม่มีข้อมูลหรือมาตรฐานการพิจารณาหรือออกคำสั่งหรือเช่นไร
ขนาดมีเหตุแก๊สพิษรั่วซ้ำซ้อน ต้องหามชาวบ้านและคนงานเข้าโรงพยาบาลเป็นทิวแถว หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการยังควาญหาต้นเหตุที่แพร่กระจายมลพิษยังไม่เจอเลย ยังคิดจะมาหลอกศาลว่าเป็นโครงการที่ไม่ก่อมลพิษอีกหรือ
ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าศาลปกครองสูงสุดได้ไต่สวนข้อมูลจากคู่กรณีและผู้ร้องสอดจนครบถ้วนกระบวนความแล้ว โดยได้ออกคำสั่งอันถือเป็นที่สุดในการคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ด้วยการสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าวทั้งหมด เว้นแต่เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานอนุญาตก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2550 ประกาศบังคับใช้ หรือจนกว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองให้ครบถ้วนเสียก่อน
คำสั่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งเป็นมาตรการเชิงป้องกัน (Precautionary Approach) มากกว่าการไปแก้ไข เยียวยา หรือฟื้นฟู เพราะหากปล่อยให้ดำเนินการไปก่อนเมื่อเกิดปัญหาแล้วค่อยตามไปแก้ทีหลัง จะไม่สามารถจัดการปัญหาได้ตามระบบราชการไทยที่นิยมเช้าชามเย็นชาม
วันนี้ประตูทางออกทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตครั้งนี้ได้ คือ ต้องเร่งให้ผู้ประกอบการทั้งหมดปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วเท่านั้น โดยใช้เครื่องมือที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มี ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้ร่วมกันหาข้อยุติและเสนอให้รัฐบาลนำไปประกาศบังคับใช้เท่านั้น
แต่ขณะเดียวกันกลับมีความพยายามของผู้ประกอบการบางกลุ่มใช้กลเล่ห์เพทุบาย หรือการให้อามิสสินจ้างรางวัลเพื่อหลอกล่อให้ชาวบ้านผู้ฟ้องคดีผิดหลงจนลงชื่อถอนฟ้อง จึงเป็นความคิดที่ผิดพลาดทั้งที่รู้หรือแสร้งไม่รู้ว่าคดีนี้เป็นคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่สามารถถอนฟ้องได้
คิดหรือว่าจ่ายเงินเพียง 1,200 บาทต่อคนจะสามารถพลิกกลับคดีนี้ได้ โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สนับสนุนหรือตัวการที่แท้จริง เพราะอีกไม่นานความจริงก็จะปรากฏเอง เพราะคนที่ถอนฟ้องคดีและเครือญาติจะได้มีโอกาสไปสมัครงานทำงานอยู่กับกลุ่มบริษัทหรือผู้รับเหมาที่อยู่เบื้องหลังตามข้อตกลงหรือข้อสัญญาใจในที่สุด
ที่สำคัญขณะนี้เหตุดังกล่าวกลายเป็นชนวนนำไปสู่การตั้งกำแพงกั้นของชาวชุมชนบางส่วนที่เห็นพฤติกรรมความไม่ซื่อของผู้ประกอบการและทุนอุตสาหกรรมบางกลุ่มแล้ว และในที่สุดก็จะนำไปสู่การก่อหวอดคัดค้านการก่อสร้างหรือขยายโรงงานทั้งหมด โดยใช้มาตรการไม่ให้ฝ่าด่านการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียออกมาได้ รัฐบาลและผู้ประกอบการคิดว่าโรงงานทั้ง 64 โครงการจะผ่านด่านเหล่านั้นได้ง่ายๆ อย่างนั้นหรือ
ในเมื่อรัฐบาลและผู้ประกอบการบางส่วนไม่มีความจริงใจในการที่จะปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ คิดแต่จะใช้เล่ห์กลแบบเก่าๆ กับมือที่มองไม่เห็นทำลายความรู้สึกของชาวบ้าน ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
อย่าลืมเป็นอันขาดว่าหลักเกณฑ์การจัดทำ HIA ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมาซึ่งต้องบูรณาการร่วมกับการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต้องผ่านขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกขั้นวางกรอบการจัดทำการประเมิน ครั้งที่สอง ขั้นการพิจารณารายงานที่จัดทำเสร็จแล้ว และครั้งที่สาม คือ ขั้นที่หน่วยงานอนุญาตต้องให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอีกครั้ง
ทั้งนี้ไม่รวมเวทีขององค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ (คณะกรรมการ 4 ฝ่ายกำลังหาข้อยุติรูปแบบ) ที่จะสามารถไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อีกไม่จำกัดจำนวนและเวลาอีกหลายครั้งเพื่อให้ตกผลึกทางความคิดในการจัดทำความเห็นเสนอหน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต
ถึงวันนั้นอีก 10 เดือนข้างหน้า รัฐบาลและผู้ประกอบการคิดว่า 64 โรงงานจะผ่านได้สักกี่โรง และไม่ได้ผุดได้เกิดอีกกี่โรง โดยเฉพาะโรงงานที่ชาวบ้านรับรู้มานานแล้วว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สะอาด เป็นโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษมากที่สุด มีอัตราการแพร่กระจายสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และปล่อยสารพิษมากที่สุด โดยเฉพาะบริษัทหรือโรงงานที่มีแต่เล่ห์เหลี่ยมคิดไม่ซื่อกับชาวชุมชน ไม่เคยคิดปันผลกำไรเพื่อดูแลชุมชนสังคม
เชื่อได้เลยว่าอย่างน้อยต้องมีไม่ต่ำกว่า 20 โรงงานใน 64 โรงงานที่ต้องพับเสื่อกลับบ้าน เพราะ HIA ไม่ผ่าน ชาวบ้านและผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่คัดค้าน รวมทั้งองค์การอิสระอาจให้ความเห็นว่าไม่ควรอนุญาตให้ก่อสร้างหรือขยายได้อีกแล้วในพื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง เพราะเป็นโรงงานก่อมลพิษ ขืนอนุญาตไปจะเติมให้มลพิษเต็มมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ศักยภาพของพื้นที่ไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไปแล้ว (Over Carrying Capacity)
หากรัฐบาลและหน่วยงานอนุญาต ยังคิดดื้อดึงเข็ญใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการได้ ทั้งๆ ที่ชาวบ้านและผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่คัดค้าน เชื่อได้เลยว่า มหากาพย์ของความขัดแย้ง โดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน จะเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังมีอีกกว่า 181 โครงการทั่วประเทศที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง
ถึงวันนั้น กว่าที่รัฐบาลและผู้ประกอบการจะคิดได้ ก็สายไปเสียแล้ว...
ความสำเร็จของภาคประชาสังคมและภาคประชาชนในการใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับให้รัฐบาลและผู้ประกอบการเอกชนหันมาให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพอนามัยของประชาชนตามเจตนารมณ์ของมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีวิกฤตมาบตาพุดเป็นต้นแบบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังคงมีปัญหาอุปสรรคขวากหนามและแรงเสียดทานอีกมากมายที่ยังคงท้าทายและเผชิญกับแรงกดดันจากทุกภาคส่วน
วิกฤตครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของสังคมที่จะนำไปสู่กระบวนการการยกระดับมาตรฐานการจัดกระบวนทรรศ์อุตสาหกรรมใหม่ของประเทศให้สามารถพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมและอยู่ร่วมกับชุมชนได้ในระยะยาว
แต่โอกาสทองอาจจะหลุดหายไปได้โดยง่ายเพราะรัฐบาลโดยหน่วยงานของรัฐร่วมกับผู้ประกอบการกำลังทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห่วงปัจจุบัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การมีพฤติกรรมกวนน้ำให้ขุ่น
นั่นคือ ความพยายามแทรกแซงอำนาจศาลหรือกระบวนการยุติธรรมอย่างไม่เหมาะสม ด้วยการกดดันศาล ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสารมวลชนอันเป็นเท็จ เช่น คำสั่งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เม็ดเงินการลงทุนหายไปกว่าหกแสนล้านบาท คนงานตกงานนับหมื่นคน ก๊าซหุงต้มจะแพงขึ้น ฯลฯ ทั้งที่ข้อมูลดังกล่าวเป็นการปั่นกระแส สร้างตัวเลข หาใช่ข้อเท็จจริงไม่ เพราะขัดหรือแย้งต่อข้อมูลที่ปรากฏในชั้นการไต่สวนของศาลก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง
ปัดความรับผิดชอบกันง่ายๆ แต่ให้ไปตกอยู่กับคำสั่งศาล ขณะที่รัฐบาลลอยตัวอยู่เหนือปัญหา
ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายผิด เหตุเพราะปล่อยให้ราชการเกียร์ว่างมีการละเว้นเพิกเฉยของหน่วยงานภาครัฐโดยเฉไฉไม่ยอมปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่กลับใช้อำนาจทางปกครอง คิดเองเออเองโดยมีคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นฉากบังหน้า โดยไม่แยแสต่อนโยบายของตนเองที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ที่ส่วนใหญ่ระบุถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเป็นหลัก ในการตัดสินใจทางนโยบายและการกำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขใหม่ทางสังคม
ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะช่วยผู้ประกอบการจนออกหน้าออกตา โดยละทิ้งความเสียหายของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเดือดร้อนของชาวบ้านที่เจ็บป่วยกันทั้งมาบตาพุดและบ้านฉางเอาไว้ด้านหลัง แต่กลับมากระตือรือร้นในการช่วยผู้ประกอบการทุกวิถีทางเพื่อทำคำร้องขอศาลอีกครั้งเพื่อให้ศาลแก้ไขคำสั่งหรือปลดล็อกโครงการอีกกว่า 19 หรือ 42 โครงการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับไว้จาก 64 โครงการ โดยสมอ้างว่าเป็นโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ 11 โครงการที่ศาลเคยอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมต่อไปได้ เพราะเป็นโครงการที่ช่วยลดมลพิษ และขอให้ก่อสร้างไปก่อน เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ฟังดูแล้วช่างไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เพราะขัดแย้งกับความจริงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่มาบตาพุดมากที่สุด เพราะที่นั่นการก่อสร้างล้วนก่อให้เกิดปัญหามลพิษแทบทุกโครงการทั้งฝุ่นละออง เสียงดัง ชุมชนแออัดของแรงงานอพยพ เกิดขยะน้ำเสียโดยไม่มีมาตรการหรือแผนการรองรับ ข้อเท็จจริงเหล่านี้คิดว่าศาลปกครองไม่มีข้อมูลหรือมาตรฐานการพิจารณาหรือออกคำสั่งหรือเช่นไร
ขนาดมีเหตุแก๊สพิษรั่วซ้ำซ้อน ต้องหามชาวบ้านและคนงานเข้าโรงพยาบาลเป็นทิวแถว หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการยังควาญหาต้นเหตุที่แพร่กระจายมลพิษยังไม่เจอเลย ยังคิดจะมาหลอกศาลว่าเป็นโครงการที่ไม่ก่อมลพิษอีกหรือ
ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าศาลปกครองสูงสุดได้ไต่สวนข้อมูลจากคู่กรณีและผู้ร้องสอดจนครบถ้วนกระบวนความแล้ว โดยได้ออกคำสั่งอันถือเป็นที่สุดในการคุ้มครองชั่วคราวแล้ว ด้วยการสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าวทั้งหมด เว้นแต่เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานอนุญาตก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2550 ประกาศบังคับใช้ หรือจนกว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองให้ครบถ้วนเสียก่อน
คำสั่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งเป็นมาตรการเชิงป้องกัน (Precautionary Approach) มากกว่าการไปแก้ไข เยียวยา หรือฟื้นฟู เพราะหากปล่อยให้ดำเนินการไปก่อนเมื่อเกิดปัญหาแล้วค่อยตามไปแก้ทีหลัง จะไม่สามารถจัดการปัญหาได้ตามระบบราชการไทยที่นิยมเช้าชามเย็นชาม
วันนี้ประตูทางออกทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตครั้งนี้ได้ คือ ต้องเร่งให้ผู้ประกอบการทั้งหมดปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วเท่านั้น โดยใช้เครื่องมือที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มี ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้ร่วมกันหาข้อยุติและเสนอให้รัฐบาลนำไปประกาศบังคับใช้เท่านั้น
แต่ขณะเดียวกันกลับมีความพยายามของผู้ประกอบการบางกลุ่มใช้กลเล่ห์เพทุบาย หรือการให้อามิสสินจ้างรางวัลเพื่อหลอกล่อให้ชาวบ้านผู้ฟ้องคดีผิดหลงจนลงชื่อถอนฟ้อง จึงเป็นความคิดที่ผิดพลาดทั้งที่รู้หรือแสร้งไม่รู้ว่าคดีนี้เป็นคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่สามารถถอนฟ้องได้
คิดหรือว่าจ่ายเงินเพียง 1,200 บาทต่อคนจะสามารถพลิกกลับคดีนี้ได้ โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สนับสนุนหรือตัวการที่แท้จริง เพราะอีกไม่นานความจริงก็จะปรากฏเอง เพราะคนที่ถอนฟ้องคดีและเครือญาติจะได้มีโอกาสไปสมัครงานทำงานอยู่กับกลุ่มบริษัทหรือผู้รับเหมาที่อยู่เบื้องหลังตามข้อตกลงหรือข้อสัญญาใจในที่สุด
ที่สำคัญขณะนี้เหตุดังกล่าวกลายเป็นชนวนนำไปสู่การตั้งกำแพงกั้นของชาวชุมชนบางส่วนที่เห็นพฤติกรรมความไม่ซื่อของผู้ประกอบการและทุนอุตสาหกรรมบางกลุ่มแล้ว และในที่สุดก็จะนำไปสู่การก่อหวอดคัดค้านการก่อสร้างหรือขยายโรงงานทั้งหมด โดยใช้มาตรการไม่ให้ฝ่าด่านการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียออกมาได้ รัฐบาลและผู้ประกอบการคิดว่าโรงงานทั้ง 64 โครงการจะผ่านด่านเหล่านั้นได้ง่ายๆ อย่างนั้นหรือ
ในเมื่อรัฐบาลและผู้ประกอบการบางส่วนไม่มีความจริงใจในการที่จะปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ คิดแต่จะใช้เล่ห์กลแบบเก่าๆ กับมือที่มองไม่เห็นทำลายความรู้สึกของชาวบ้าน ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
อย่าลืมเป็นอันขาดว่าหลักเกณฑ์การจัดทำ HIA ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมาซึ่งต้องบูรณาการร่วมกับการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต้องผ่านขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกขั้นวางกรอบการจัดทำการประเมิน ครั้งที่สอง ขั้นการพิจารณารายงานที่จัดทำเสร็จแล้ว และครั้งที่สาม คือ ขั้นที่หน่วยงานอนุญาตต้องให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอีกครั้ง
ทั้งนี้ไม่รวมเวทีขององค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ (คณะกรรมการ 4 ฝ่ายกำลังหาข้อยุติรูปแบบ) ที่จะสามารถไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้อีกไม่จำกัดจำนวนและเวลาอีกหลายครั้งเพื่อให้ตกผลึกทางความคิดในการจัดทำความเห็นเสนอหน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต
ถึงวันนั้นอีก 10 เดือนข้างหน้า รัฐบาลและผู้ประกอบการคิดว่า 64 โรงงานจะผ่านได้สักกี่โรง และไม่ได้ผุดได้เกิดอีกกี่โรง โดยเฉพาะโรงงานที่ชาวบ้านรับรู้มานานแล้วว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สะอาด เป็นโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษมากที่สุด มีอัตราการแพร่กระจายสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และปล่อยสารพิษมากที่สุด โดยเฉพาะบริษัทหรือโรงงานที่มีแต่เล่ห์เหลี่ยมคิดไม่ซื่อกับชาวชุมชน ไม่เคยคิดปันผลกำไรเพื่อดูแลชุมชนสังคม
เชื่อได้เลยว่าอย่างน้อยต้องมีไม่ต่ำกว่า 20 โรงงานใน 64 โรงงานที่ต้องพับเสื่อกลับบ้าน เพราะ HIA ไม่ผ่าน ชาวบ้านและผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่คัดค้าน รวมทั้งองค์การอิสระอาจให้ความเห็นว่าไม่ควรอนุญาตให้ก่อสร้างหรือขยายได้อีกแล้วในพื้นที่มาบตาพุด-บ้านฉาง เพราะเป็นโรงงานก่อมลพิษ ขืนอนุญาตไปจะเติมให้มลพิษเต็มมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ศักยภาพของพื้นที่ไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไปแล้ว (Over Carrying Capacity)
หากรัฐบาลและหน่วยงานอนุญาต ยังคิดดื้อดึงเข็ญใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการได้ ทั้งๆ ที่ชาวบ้านและผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่คัดค้าน เชื่อได้เลยว่า มหากาพย์ของความขัดแย้ง โดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน จะเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังมีอีกกว่า 181 โครงการทั่วประเทศที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง
ถึงวันนั้น กว่าที่รัฐบาลและผู้ประกอบการจะคิดได้ ก็สายไปเสียแล้ว...