น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่มีนักการเมืองมีการครอบครองที่ดินต้องห้าม หรือที่สาธารณะว่า ตน เห็นว่าสังคมไทย ให้ความสนใจในเรื่องนี้น้อยมากโดยเฉพาะนักการเมือง หรือผู้มีอำนาจทางการเมือง จะเห็นได้ว่ามีการครอบครองเป็นของตัวเองอยู่เป็นจำนวนมาก หากภาคสังคม มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เชื่อว่าจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางสังคม ทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ละอาย ไม่กล้ากระทำผิดกฎหมาย เช่นกรณีการครอบครอง ที่ดินเขายายเที่ยง ซึ่งหากมีการกำหนดชัดว่าผิดกฎหมาย บุคคลที่ครอบครอง จะต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่ล่าสุดทางอัยการสูงสุดก็มีการตีความว่า การถือครอง โดยไม่ทราบ หรือไม่ได้ถือครองตั้งแต่ต้น ถือว่าไม่ผิดนั้น เห็นได้ชัดว่า มีการตีความจริยธรรมทางกฎหมายในระดับไหน
ขณะนี้เรื่องจริยธรรมในสังคมไทย โดยเฉพาะนักการเมืองลดน้อยลง หากเป็นต่างประเทศ รับผิดชอบด้วยการลาออกแล้ว แต่ในสังคมไทย กลับตรงข้าม โดยมักอ้างว่าไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ล่าสุดเรื่องการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง ที่เหล่าบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างยืนยันว่ายังไม่มีการใช้จ่ายงบประมาณ จึงไม่ผิด ขอถามว่า ต้องให้เกิดความเสียหายก่อนใช่หรือไม่ จึงจะมีความผิด อย่างน้อยควรคำนึง เรื่องจริยธรรมอันต้องห้ามบ้าง
น.ส.รสนา กล่าวว่า ตนเห็นว่าประชาชนควรเรียกร้องให้นักการเมืองมีความรับผิดชอบทางจริยธรรมให้ถึงที่สุด ซึ่งตนทราบมาว่ายังมีนักการเมือง และอดีตนักการเมืองชื่อดังหลายคนได้เข้าครอบครองที่ดินต้องห้าม หรือที่ดินสาธารณะหลายแห่ง จึงอยากให้ประชาชนได้ร่วมตรวจสอบ และกดดันนักการเมืองเหล่านี้ไม่ให้กระทำผิดด้วย เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐานและสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านสิ่งที่ผิดจริยธรรมให้สูงขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่จับตามมองเฉพาะกรณีที่เป็นประเด็นทางการเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวถึงปัญหาที่ดินของพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ที่บริเวณเขายายเที่ยง ว่า กรณีนี้ต้องแยกเป็น 2 ประเด็นคือ ความผิดทางอาญา และความผิดทางแพ่ง โดยความผิดทางอาญา ตนเห็นด้วยกับสำนักงานอัยการที่ไม่สั่งฟ้อง เพราะจากมติครม.ปี 2541 ที่จัดสรรที่ดินให้ประชาชนทำกิน บริเวณนั้นมีเงื่อนไขว่า เอาไปซื้อขายไม่ได้ ฉะนั้นจึงเป็นการให้สิทธิทำกิน ไม่ได้เป็นการให้สิทธิการเป็นกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ จะเห็นว่ากรณีนี้จึงไม่มีเอกสาร กรรมสิทธิ์ เมื่อมีการเอามาขายเป็นทอดๆ จึงเป็นการทำผิดเงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์ทำกิน กับผู้รับซื้อทอดแรก
ฉะนั้นกรณีภรรยาพล.อ.สุรยุทธ์ ไปรับซื้อมาทอดที่สาม ถ้าไม่รู้ว่าห้ามโอนสิทธิ์ การเป็นกรรมสิทธิ์ก็ถือว่าไม่มีเจตนา ไม่มีความผิดทางอาญา ส่วนความผิดทางแพ่ง แม้ผู้รับซื้อทอดต่อๆ มาจะซื้อโดยสุจริต แต่เงื่อนไขจากมติ ครม. ในกรณีไม่ได้อนุญาต ให้สิทธิการครอบครอง หรือโอนสิทธิ์ ฉะนั้นผู้ช่วงมาก็ต้องคืนที่ดินแน่นอน
นายสุรชัย กล่าวว่า ส่วนปัญหาภาพรวมทั่วประเทศในการรุกที่ป่าสงวนและเขตอุทยาน ไปตรวจที่ไหนก็เจอที่นั่น กมธ.ได้รับเรื่องร้องเรียนเยอะมาก อย่างไรก็ดี ต้องดูเป็นรายๆ ไป จะบอกว่าทุกแปลงไม่ผิดอาญาไม่ได้ เพราะต้องดูว่า ได้ที่ดินมาทอดที่เท่าไหร่ หรือมีการบุกรุกหรือสั่งการให้ใครไปบุกรุก แล้วค่อยสวมมาโอนที่รายภายหลังเป็นทอดที่สองหรือสามหรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้ยังมีความผิดอยู่
ทั้งนี้การแก้ไข ต้องแก้ 2 ด้านคือ 1.ภาครัฐต้องวางมาตรการจริงจัง ข้าราชการประจำโดยเฉพาะกรมป่าไม้ กรมที่ดิน ต้องไม่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ซึ่งที่ผ่านมามีการสมประโยชน์ระหว่างข้าราชการและนายทุนที่เข้าไปรุกพื้นที่ เพราะหลายพื้นที่ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ไปๆมาๆมีการไปออกเอกสารสิทธิ์ ให้ได้อย่างหน้าตาเฉย 2 ต้องสร้างความผูกพันในพื้นที่ทำกินกับประชาชน ไม่ให้เอามาขายต่อแก่กลุ่มทุน
ปัญหาภาพรวม ไปตรวจพื้นที่ไหนก็เจอที่นั่น ฉะนั้นการใช้หลักกฎหมายล้วนๆ เช่น การที่จะเรียกพื้นที่คืนมาทั้งหมด ณ เวลานี้แก้ไม่ได้ เพราะเรื้อรัง จะเจอปัญหามวลชน ผมคิดว่า ควรแยกกลุ่มผู้กระทำความผิดอกมาก่อนระหว่างเกษตรกร ที่ไม่มีที่ทำกินจริงๆ กับกลุ่มทุนที่เข้าไปบุกรุกแสวงประโยชน์ แล้วค่อยมากำหนดวิธีการ แก้ปัญหาของแต่ละประเภท ซึ่งกมธ.จะนำเรื่องนี้มาศึกษา โดยจะนำเข้าที่ประชุมวันที่ 14 มกราคม เพื่อมีข้อเสนอแนะรัฐบาลในการแก้ปัญหาภาพรวม
ขณะนี้เรื่องจริยธรรมในสังคมไทย โดยเฉพาะนักการเมืองลดน้อยลง หากเป็นต่างประเทศ รับผิดชอบด้วยการลาออกแล้ว แต่ในสังคมไทย กลับตรงข้าม โดยมักอ้างว่าไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ล่าสุดเรื่องการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง ที่เหล่าบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างยืนยันว่ายังไม่มีการใช้จ่ายงบประมาณ จึงไม่ผิด ขอถามว่า ต้องให้เกิดความเสียหายก่อนใช่หรือไม่ จึงจะมีความผิด อย่างน้อยควรคำนึง เรื่องจริยธรรมอันต้องห้ามบ้าง
น.ส.รสนา กล่าวว่า ตนเห็นว่าประชาชนควรเรียกร้องให้นักการเมืองมีความรับผิดชอบทางจริยธรรมให้ถึงที่สุด ซึ่งตนทราบมาว่ายังมีนักการเมือง และอดีตนักการเมืองชื่อดังหลายคนได้เข้าครอบครองที่ดินต้องห้าม หรือที่ดินสาธารณะหลายแห่ง จึงอยากให้ประชาชนได้ร่วมตรวจสอบ และกดดันนักการเมืองเหล่านี้ไม่ให้กระทำผิดด้วย เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐานและสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านสิ่งที่ผิดจริยธรรมให้สูงขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่จับตามมองเฉพาะกรณีที่เป็นประเด็นทางการเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวถึงปัญหาที่ดินของพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ที่บริเวณเขายายเที่ยง ว่า กรณีนี้ต้องแยกเป็น 2 ประเด็นคือ ความผิดทางอาญา และความผิดทางแพ่ง โดยความผิดทางอาญา ตนเห็นด้วยกับสำนักงานอัยการที่ไม่สั่งฟ้อง เพราะจากมติครม.ปี 2541 ที่จัดสรรที่ดินให้ประชาชนทำกิน บริเวณนั้นมีเงื่อนไขว่า เอาไปซื้อขายไม่ได้ ฉะนั้นจึงเป็นการให้สิทธิทำกิน ไม่ได้เป็นการให้สิทธิการเป็นกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ จะเห็นว่ากรณีนี้จึงไม่มีเอกสาร กรรมสิทธิ์ เมื่อมีการเอามาขายเป็นทอดๆ จึงเป็นการทำผิดเงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์ทำกิน กับผู้รับซื้อทอดแรก
ฉะนั้นกรณีภรรยาพล.อ.สุรยุทธ์ ไปรับซื้อมาทอดที่สาม ถ้าไม่รู้ว่าห้ามโอนสิทธิ์ การเป็นกรรมสิทธิ์ก็ถือว่าไม่มีเจตนา ไม่มีความผิดทางอาญา ส่วนความผิดทางแพ่ง แม้ผู้รับซื้อทอดต่อๆ มาจะซื้อโดยสุจริต แต่เงื่อนไขจากมติ ครม. ในกรณีไม่ได้อนุญาต ให้สิทธิการครอบครอง หรือโอนสิทธิ์ ฉะนั้นผู้ช่วงมาก็ต้องคืนที่ดินแน่นอน
นายสุรชัย กล่าวว่า ส่วนปัญหาภาพรวมทั่วประเทศในการรุกที่ป่าสงวนและเขตอุทยาน ไปตรวจที่ไหนก็เจอที่นั่น กมธ.ได้รับเรื่องร้องเรียนเยอะมาก อย่างไรก็ดี ต้องดูเป็นรายๆ ไป จะบอกว่าทุกแปลงไม่ผิดอาญาไม่ได้ เพราะต้องดูว่า ได้ที่ดินมาทอดที่เท่าไหร่ หรือมีการบุกรุกหรือสั่งการให้ใครไปบุกรุก แล้วค่อยสวมมาโอนที่รายภายหลังเป็นทอดที่สองหรือสามหรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้ยังมีความผิดอยู่
ทั้งนี้การแก้ไข ต้องแก้ 2 ด้านคือ 1.ภาครัฐต้องวางมาตรการจริงจัง ข้าราชการประจำโดยเฉพาะกรมป่าไม้ กรมที่ดิน ต้องไม่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ซึ่งที่ผ่านมามีการสมประโยชน์ระหว่างข้าราชการและนายทุนที่เข้าไปรุกพื้นที่ เพราะหลายพื้นที่ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ไปๆมาๆมีการไปออกเอกสารสิทธิ์ ให้ได้อย่างหน้าตาเฉย 2 ต้องสร้างความผูกพันในพื้นที่ทำกินกับประชาชน ไม่ให้เอามาขายต่อแก่กลุ่มทุน
ปัญหาภาพรวม ไปตรวจพื้นที่ไหนก็เจอที่นั่น ฉะนั้นการใช้หลักกฎหมายล้วนๆ เช่น การที่จะเรียกพื้นที่คืนมาทั้งหมด ณ เวลานี้แก้ไม่ได้ เพราะเรื้อรัง จะเจอปัญหามวลชน ผมคิดว่า ควรแยกกลุ่มผู้กระทำความผิดอกมาก่อนระหว่างเกษตรกร ที่ไม่มีที่ทำกินจริงๆ กับกลุ่มทุนที่เข้าไปบุกรุกแสวงประโยชน์ แล้วค่อยมากำหนดวิธีการ แก้ปัญหาของแต่ละประเภท ซึ่งกมธ.จะนำเรื่องนี้มาศึกษา โดยจะนำเข้าที่ประชุมวันที่ 14 มกราคม เพื่อมีข้อเสนอแนะรัฐบาลในการแก้ปัญหาภาพรวม