เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (11 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศรอบแรก จำนวน 375 กองทุน วงเงิน 112.48 ล้านบาท จัดโดย คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแหงชาติ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน โดยมีนายอิสสระ สมชัย รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนษย์ ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรสวัสดิการชุมชน มาร่วมงานประมาณ 1,000 คน
ทั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจแก่ประชาชนที่มุ่งมั่นทำความดี และเพื่อเป็นแบบอย่างในการขยายผลการดำเนินการงานสวัสดิการชุมชนได้เผยแพร่ครอบคลุมทั่วประเทศอย่างทั่วถึง
คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า หลักการสำคัญของนโยบายสวัสดิการชุมชนคือ การมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ เพื่อความเข้มแข็งที่ยั่งยืนของกองุทนสวัสดิการชุมชน ที่คำนึงถึงการดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสามารถของประชาชน โดยภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน ส่วนภาคประชาชน เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน
สำหรับองค์กรสวัสดิการชุมชนที่ได้รับเงินสมทบในครั้งนี้ ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัดตามหลักเกณฑ์ โดยเน้นเฉพาะองค์กรสวัสดิการชุมชนที่มีคุณภาพดี สามารถเป็นแบบอย่างที่จะนำไปสู่การขยายผลในจังหวัดได้ โดยคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสมทบกองทุนฯ ในรอบแรกเป็นเงิน จำนวน 112,488,872 บาท สำหรับ 375 กองทุน จาก 66 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 12 จังหวัด 71 ตำบล ภาคกลางบน/ตะวันตก 14 จังหวัด 34 ตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด 67 ตำบล ภาคใต้ 13 จังหวัด 158 ตำบล กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก 10 จังหวัด 45 ตำบล
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเงินงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนให้กับผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/ท้องถิ่น แต่ละภาค จากนั้นได้กล่าวว่า ความปรารถนาสูงสุดของประชาชน และเป็นความต้องการของรัฐบาลชุดนี้ คือการเห็นประชาชนทุกคนมีระบบสวัสดิการที่ดี ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค มีความยั่งยืน และสามารถทำให้ประเทศมีการบริหารจัดการที่ดีได้
สิ่งที่สำคัญในวันนี้คือ กระบวนการทำงานทั้งหมดซึ่งมาจากประชาชนและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มาถึงจุดที่สามารถเดินหน้าว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของภาครัฐนั้น จะเพิ่มความมั่นคงให้กับกองทุนทั้งหลายที่ได้มีการดำเนินการมา และกองทุนที่เป็นกองทุนชุดแรก หรือ “กองทุนสวัสดิการต้นแบบ” ที่ได้รับเงินสมทบในวันนี้ คงจะเป็นแบบอย่างให้อีกหลาย กองทุนที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระดับชุมชน ระดับจังหวัด จะสามารถขยายผลไปสู่กองทุนอื่น ๆ ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการดำเนินการของโครงการฯ ที่จะมาต่อยอดการทำงานของประชาชนว่า จำเป็นต้องยึดมั่นในหลักการที่สำคัญ เพราะเป็นที่มาของความสำเร็จ คือ "การให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี" ต้องมีการสร้างระบบที่ทำให้เกิดความไว้วางใจจากประชาชนในชุมชน ใช้ระบบคุณธรรมเพื่อช่วยสร้างหลักประกันความสำเร็จของโครงการ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้รัฐบาลหรือท้องถิ่นจะสมทบเงินให้มากเพียงไร แต่สิ่งที่คณะกรรมการของกองทุนจะต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาคือ การบริหารจัดการเงินที่ต้องคำนึงถึงผลระยะยาว ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพราะการจัดทำสวัสดิการที่เกินกำลังของกองทุน ย่อมจะเป็นที่มาของความเสี่ยงและความล้มเหลวของกองทุน
ในส่วนของรัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นโครงการที่นำมาซึ่งความมั่นคงในการใช้ชีวิตของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ และจะสามารถนำมาซึ่งการกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญในเรื่องของการออม การมีส่วนร่วม และการที่ประชาชนในแต่ละชุมชนมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เกื้อกูลกัน อันจะเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมที่ดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่า จุดเริ่มต้นในวันนี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จของอีกหลายกองทุน ในแต่ละพื้นที่ และจะทำให้ระบบนี้ช่วยเสริมแนวนโยบายของรัฐบาลทางด้านระบบสวัสดิการอื่นๆ เช่น กองทุนเงินออมแห่งชาติ การขยายระบบประกันสังคม ไปจนถึงนโยบายอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น เรื่องการเรียนฟรี ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า การจ่ายเบี้ยยังชีพให้คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มีความเชื่อมั่นในกระบวนการที่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันดำเนินการ และหากการดำเนินการมีประสบการณ์ ปัญหาหรือสิ่งใดๆ ที่ต้องการสะท้อนมายังรัฐบาลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขหรือทำให้โครงการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการก้าวไปสู่การมีโครงการใหม่ๆ ครอบคลุมไปในด้านอื่นๆ เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการความเสี่ยง การบริหารจัดการปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ เป็นต้น รัฐบาลยินดีที่จะรับฟังเสียงสะท้อนต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนางานทางด้านนี้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจแก่ประชาชนที่มุ่งมั่นทำความดี และเพื่อเป็นแบบอย่างในการขยายผลการดำเนินการงานสวัสดิการชุมชนได้เผยแพร่ครอบคลุมทั่วประเทศอย่างทั่วถึง
คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า หลักการสำคัญของนโยบายสวัสดิการชุมชนคือ การมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ เพื่อความเข้มแข็งที่ยั่งยืนของกองุทนสวัสดิการชุมชน ที่คำนึงถึงการดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสามารถของประชาชน โดยภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน ส่วนภาคประชาชน เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน
สำหรับองค์กรสวัสดิการชุมชนที่ได้รับเงินสมทบในครั้งนี้ ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัดตามหลักเกณฑ์ โดยเน้นเฉพาะองค์กรสวัสดิการชุมชนที่มีคุณภาพดี สามารถเป็นแบบอย่างที่จะนำไปสู่การขยายผลในจังหวัดได้ โดยคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสมทบกองทุนฯ ในรอบแรกเป็นเงิน จำนวน 112,488,872 บาท สำหรับ 375 กองทุน จาก 66 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 12 จังหวัด 71 ตำบล ภาคกลางบน/ตะวันตก 14 จังหวัด 34 ตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด 67 ตำบล ภาคใต้ 13 จังหวัด 158 ตำบล กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก 10 จังหวัด 45 ตำบล
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเงินงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนให้กับผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/ท้องถิ่น แต่ละภาค จากนั้นได้กล่าวว่า ความปรารถนาสูงสุดของประชาชน และเป็นความต้องการของรัฐบาลชุดนี้ คือการเห็นประชาชนทุกคนมีระบบสวัสดิการที่ดี ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค มีความยั่งยืน และสามารถทำให้ประเทศมีการบริหารจัดการที่ดีได้
สิ่งที่สำคัญในวันนี้คือ กระบวนการทำงานทั้งหมดซึ่งมาจากประชาชนและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มาถึงจุดที่สามารถเดินหน้าว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของภาครัฐนั้น จะเพิ่มความมั่นคงให้กับกองทุนทั้งหลายที่ได้มีการดำเนินการมา และกองทุนที่เป็นกองทุนชุดแรก หรือ “กองทุนสวัสดิการต้นแบบ” ที่ได้รับเงินสมทบในวันนี้ คงจะเป็นแบบอย่างให้อีกหลาย กองทุนที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระดับชุมชน ระดับจังหวัด จะสามารถขยายผลไปสู่กองทุนอื่น ๆ ได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการดำเนินการของโครงการฯ ที่จะมาต่อยอดการทำงานของประชาชนว่า จำเป็นต้องยึดมั่นในหลักการที่สำคัญ เพราะเป็นที่มาของความสำเร็จ คือ "การให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี" ต้องมีการสร้างระบบที่ทำให้เกิดความไว้วางใจจากประชาชนในชุมชน ใช้ระบบคุณธรรมเพื่อช่วยสร้างหลักประกันความสำเร็จของโครงการ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้รัฐบาลหรือท้องถิ่นจะสมทบเงินให้มากเพียงไร แต่สิ่งที่คณะกรรมการของกองทุนจะต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาคือ การบริหารจัดการเงินที่ต้องคำนึงถึงผลระยะยาว ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพราะการจัดทำสวัสดิการที่เกินกำลังของกองทุน ย่อมจะเป็นที่มาของความเสี่ยงและความล้มเหลวของกองทุน
ในส่วนของรัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นโครงการที่นำมาซึ่งความมั่นคงในการใช้ชีวิตของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ และจะสามารถนำมาซึ่งการกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญในเรื่องของการออม การมีส่วนร่วม และการที่ประชาชนในแต่ละชุมชนมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เกื้อกูลกัน อันจะเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมที่ดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่า จุดเริ่มต้นในวันนี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จของอีกหลายกองทุน ในแต่ละพื้นที่ และจะทำให้ระบบนี้ช่วยเสริมแนวนโยบายของรัฐบาลทางด้านระบบสวัสดิการอื่นๆ เช่น กองทุนเงินออมแห่งชาติ การขยายระบบประกันสังคม ไปจนถึงนโยบายอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น เรื่องการเรียนฟรี ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า การจ่ายเบี้ยยังชีพให้คนพิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มีความเชื่อมั่นในกระบวนการที่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันดำเนินการ และหากการดำเนินการมีประสบการณ์ ปัญหาหรือสิ่งใดๆ ที่ต้องการสะท้อนมายังรัฐบาลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขหรือทำให้โครงการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการก้าวไปสู่การมีโครงการใหม่ๆ ครอบคลุมไปในด้านอื่นๆ เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการความเสี่ยง การบริหารจัดการปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ เป็นต้น รัฐบาลยินดีที่จะรับฟังเสียงสะท้อนต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนางานทางด้านนี้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นต่อไป