ASTVผู้จัดการรายวัน-สหรัฐฯ เลิกสนไทย หันทำเอฟทีเอกับกลุ่มทีพีพี เจาะตลาดอาเซียน ลาตินและออสซี่ กีวี่ หลังเจรจาไทยอืดอาดยืดยาด เหตุติดมาตรา 190 เผยไทยเสียเปรียบเวียดนามหลุดลุ่ยแน่ เอกชนกระทุ้งรัฐหาทางออกด่วน หวั่นชักช้าผู้ส่งออกเสียเปรียบหนัก
นางเกษสิริ ศิริภากรณ์ อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ กำลังจะเริ่มต้นเจรจาหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับกลุ่มข้ามแปซิฟิก หรือ ทีพีพี (Trans-Pacific Partnership Agreement) ประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เวียดนาม สิงคโปร์ และบรูไน เพราะต้องการเจาะเข้ากลุ่มอาเซียน ละตินอเมริกา และออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จ ไทยจะเสียเปรียบมากประเทศเหล่านี้มา โดยเฉพาะเวียดนาม ที่เป็นคู่แข่งโดยตรง
“การเจรจาจบเมื่อไร สหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องทำเอฟทีเอกับไทยอีกแล้ว เพราะสหรัฐฯ ได้คู่ค้าของเราไปทั้งหมด ทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลีในละตินอเมริกา และอาเซียน แต่ไทยจะไม่ได้อะไรเลย และยังเสียเปรียบประเทศเหล่านั้นอีก โดยเฉพาะเวียดนาม ที่เป็นคู่แข่งสำคัญ” นางเกษสิริกล่าว
นางเกษสิริ กล่าวว่า มาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่กำหนดให้การทำสนธิสัญญา และข้อตกลงระหว่างประเทศจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนนั้น มีข้อดี ที่ทำให้การเจรจามีความรอบคอบมากขึ้น แต่ข้อเสีย คือ ทำให้ไทยเจรจาข้อตกลงต่างๆ ล่าช้า ไม่ทันประเทศอื่น จึงควรจะกำหนดให้ชัดเจนว่า ข้อตกลง หรือสนธิสัญญาใดบ้างต้องเข้าสภา หรือไม่ต้องเข้าน่าจะเป็นประโยชน์กับไทยมากกว่า
ทั้งนี้ เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ หยุดการเจรจามาตั้งแต่ไทยปฏิรูปการปกครองในปี 2549 เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ไทยก็ต้องนำข้อตกลงเข้าสู่การพิจารณาของสภาใหม่ ซึ่งทำให้การดำเนินการเจรจาล่าช้าอย่างมาก แต่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศยังไม่มีท่าทีชัดเจนในเรื่องการเดินหน้าการเจรจา
นายสุกิจ คงปิยาจารย์ อุปนายกสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า สหรัฐฯ ทำเอฟทีเอกับทีพีพี มองว่า เพื่อต้องการสร้างความสมดุลอำนาจทางการค้ากับจีน ที่ทำเอฟทีเอกับอาเซียนสำเร็จแล้ว ซึ่งหากการเจรจากับทีพีพีสำเร็จ ไทยจะเสียเปรียบคู่แข่งอย่างเวียดนามมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะเวียดนามจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่สูงมากเช่น ภาษีนำเข้าฝ้าย 20% ใยสังเคราะห์ 30% แต่ไทยยังต้องเสียภาษีสูงเท่าเดิม
นอกจากนี้ การที่เวียดนามได้รับการลดภาษี และค่าแรงงานถูก จะทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิต หรือมุ่งไปสร้างฐานการผลิตที่เวียดนามแทน ซึ่งผู้ประกอบการไทยผลิตและส่งออกแข่งขันกับเวียดนามไม่ได้ และล้มตายในที่สุด ส่วนที่พอแข่งได้ก็จะย้ายฐานไปเวียดนามเช่นกัน
“ปัญหาการเจรจาเอฟทีเอของไทยที่ล้าช้า ไม่ทันคู่แข่งที่การเจรจาคล่องตัวกว่า จนทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่งนั้น เกิดจากมาตรา 190 ทั้งสิ้น เมื่อเจรจาไม่ได้ ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้เหนือคู่แข่งได้ อยากให้รัฐบาลหาทางออกเจรจาเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย”นายสุกิจกล่าว
นางเกษสิริ ศิริภากรณ์ อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ กำลังจะเริ่มต้นเจรจาหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับกลุ่มข้ามแปซิฟิก หรือ ทีพีพี (Trans-Pacific Partnership Agreement) ประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เวียดนาม สิงคโปร์ และบรูไน เพราะต้องการเจาะเข้ากลุ่มอาเซียน ละตินอเมริกา และออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จ ไทยจะเสียเปรียบมากประเทศเหล่านี้มา โดยเฉพาะเวียดนาม ที่เป็นคู่แข่งโดยตรง
“การเจรจาจบเมื่อไร สหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องทำเอฟทีเอกับไทยอีกแล้ว เพราะสหรัฐฯ ได้คู่ค้าของเราไปทั้งหมด ทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลีในละตินอเมริกา และอาเซียน แต่ไทยจะไม่ได้อะไรเลย และยังเสียเปรียบประเทศเหล่านั้นอีก โดยเฉพาะเวียดนาม ที่เป็นคู่แข่งสำคัญ” นางเกษสิริกล่าว
นางเกษสิริ กล่าวว่า มาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่กำหนดให้การทำสนธิสัญญา และข้อตกลงระหว่างประเทศจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนนั้น มีข้อดี ที่ทำให้การเจรจามีความรอบคอบมากขึ้น แต่ข้อเสีย คือ ทำให้ไทยเจรจาข้อตกลงต่างๆ ล่าช้า ไม่ทันประเทศอื่น จึงควรจะกำหนดให้ชัดเจนว่า ข้อตกลง หรือสนธิสัญญาใดบ้างต้องเข้าสภา หรือไม่ต้องเข้าน่าจะเป็นประโยชน์กับไทยมากกว่า
ทั้งนี้ เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ หยุดการเจรจามาตั้งแต่ไทยปฏิรูปการปกครองในปี 2549 เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ไทยก็ต้องนำข้อตกลงเข้าสู่การพิจารณาของสภาใหม่ ซึ่งทำให้การดำเนินการเจรจาล่าช้าอย่างมาก แต่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศยังไม่มีท่าทีชัดเจนในเรื่องการเดินหน้าการเจรจา
นายสุกิจ คงปิยาจารย์ อุปนายกสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า สหรัฐฯ ทำเอฟทีเอกับทีพีพี มองว่า เพื่อต้องการสร้างความสมดุลอำนาจทางการค้ากับจีน ที่ทำเอฟทีเอกับอาเซียนสำเร็จแล้ว ซึ่งหากการเจรจากับทีพีพีสำเร็จ ไทยจะเสียเปรียบคู่แข่งอย่างเวียดนามมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะเวียดนามจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่สูงมากเช่น ภาษีนำเข้าฝ้าย 20% ใยสังเคราะห์ 30% แต่ไทยยังต้องเสียภาษีสูงเท่าเดิม
นอกจากนี้ การที่เวียดนามได้รับการลดภาษี และค่าแรงงานถูก จะทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิต หรือมุ่งไปสร้างฐานการผลิตที่เวียดนามแทน ซึ่งผู้ประกอบการไทยผลิตและส่งออกแข่งขันกับเวียดนามไม่ได้ และล้มตายในที่สุด ส่วนที่พอแข่งได้ก็จะย้ายฐานไปเวียดนามเช่นกัน
“ปัญหาการเจรจาเอฟทีเอของไทยที่ล้าช้า ไม่ทันคู่แข่งที่การเจรจาคล่องตัวกว่า จนทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่งนั้น เกิดจากมาตรา 190 ทั้งสิ้น เมื่อเจรจาไม่ได้ ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้เหนือคู่แข่งได้ อยากให้รัฐบาลหาทางออกเจรจาเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย”นายสุกิจกล่าว