ASTV ผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยธุรกิจบัตรเครดิตฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจล่าสุดพ.ย.ปริมาณการใช้จ่ายบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 5.69 พันล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นเท่าตัวคือ 1.39 หมื่นล้านบาท เป็นผลจากการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นสำคัญ ด้านการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 450 ล้านบาทจากยอดผู้ถือบัตรแบงก์พาณิชย์ ขณะที่ยอดคงค้างบัตรเครดิตและจำนวนบัตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างและจำนวนบัญชียังลดต่อเนื่อง
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ระบุว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุดเดือนพ.ย.ของปี 52 พบว่า ธุรกิจบัตรเครดิตมีปริมาณการใช้จ่ายรวม 8.57 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.39 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.38% และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 5.69 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.11% การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ หากพิจารณาตามประเภทการใช้จ่ายพบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศของผู้ถือบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 6.58 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.36 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 26.12% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 5.84 พันล้านบาท คิดเป็น 9.73% ซึ่งธนาคารพาณิชย์มีปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมากที่สุด รองลงมาบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) และสาขาธนาคารต่างชาติ
ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้ามียอดทั้งสิ้น 1.69 หมื่นล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังคงลดลง 136 ล้านบาท ลดลง 0.8% ซึ่งนอนแบงก์ลดลง 580 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 126 ล้านบาท แต่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ยังมียอดเพิ่มขึ้น 570 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับเพิ่มขึ้น 450 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.74% โดยธนาคารพาณิชย์มียอดเพิ่มขึ้น 576 ล้านบาท แต่สาขาต่างประเทศและนอนแบงก์ยังลดลง 82 ล้านบาท และ44 ล้านบาท ตามลำดับ
ด้านปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศที่มีอยู่เกือบ 3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 413 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16% ในระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทต่างมียอดเพิ่มขึ้น ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 310 ล้านบาท รองลงมาเป็นนอนแบงก์ 89 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 15 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับมียอดลดลง 601 ล้านบาท หรือลดลง 16.71% ซึ่งผู้ให้บริการด้านนี้ทุกประเภทต่างมียอดลดลง โดยนอนแบงก์ 254 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 244 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 104 ล้านบาท
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตในเดือนนี้มีทั้งสิ้น 1.88 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนหน้าในระดับที่ใกล้เคียงกัน คือเพิ่มขึ้น 4.04 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 2.19% และเพิ่มขึ้น 3.94 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 2.14% ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 2.40 พันล้านบาท ส่วนสาขาธนาคารต่างชาติและนอนแบงก์เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน คือ 771 ล้านบาท และ 763 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนปริมาณบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 13.40 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 4.49 แสนใบ คิดเป็น 3.47% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่มีปริมาณบัตรลดลง 4.50 หมื่นใบ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.27 แสนใบ คิดเป็น 0.95% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทล้วนมียอดบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น
สายนโยบายสถาบันการเงิน แจ้งว่า ในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.16 แสนล้านบาท ลดลงระยะเดียวกันปีก่อน 1.44 หมื่นล้านบาท ลดลง 6.27% ผู้ประกอบการทุกประเภทลดลง นอนแบงก์มากที่สุด 7.36 พันล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 488 ล้านบาท ลดลง 0.23% โดยธนาคารพาณิชย์ลดลง 847 ล้านบาท นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 359 ล้านบาท ส่วนสาขาธนาคารต่างชาติยอดสินเชื่อไม่ขยับ
ขณะที่จำนวนบัญชีมีทั้งสิ้น 8.82 ล้านบัญชี ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน 2.60 ล้านบัญชี ลดลง 22.81% ซึ่งนอนแบงก์ลดลงมากที่สุด 2.34 แสนบัญชี เทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 5.23 หมื่นบัญชี ลดลง 0.59% มีเพียงนอนแบงก์เท่านั้นที่กลับมียอดเพิ่มขึ้น 1.92 พันบัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ระบุว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุดเดือนพ.ย.ของปี 52 พบว่า ธุรกิจบัตรเครดิตมีปริมาณการใช้จ่ายรวม 8.57 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.39 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.38% และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 5.69 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.11% การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ หากพิจารณาตามประเภทการใช้จ่ายพบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศของผู้ถือบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 6.58 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.36 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 26.12% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 5.84 พันล้านบาท คิดเป็น 9.73% ซึ่งธนาคารพาณิชย์มีปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมากที่สุด รองลงมาบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) และสาขาธนาคารต่างชาติ
ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้ามียอดทั้งสิ้น 1.69 หมื่นล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังคงลดลง 136 ล้านบาท ลดลง 0.8% ซึ่งนอนแบงก์ลดลง 580 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 126 ล้านบาท แต่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ยังมียอดเพิ่มขึ้น 570 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับเพิ่มขึ้น 450 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.74% โดยธนาคารพาณิชย์มียอดเพิ่มขึ้น 576 ล้านบาท แต่สาขาต่างประเทศและนอนแบงก์ยังลดลง 82 ล้านบาท และ44 ล้านบาท ตามลำดับ
ด้านปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศที่มีอยู่เกือบ 3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 413 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16% ในระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทต่างมียอดเพิ่มขึ้น ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 310 ล้านบาท รองลงมาเป็นนอนแบงก์ 89 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 15 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับมียอดลดลง 601 ล้านบาท หรือลดลง 16.71% ซึ่งผู้ให้บริการด้านนี้ทุกประเภทต่างมียอดลดลง โดยนอนแบงก์ 254 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 244 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 104 ล้านบาท
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตในเดือนนี้มีทั้งสิ้น 1.88 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนหน้าในระดับที่ใกล้เคียงกัน คือเพิ่มขึ้น 4.04 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 2.19% และเพิ่มขึ้น 3.94 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 2.14% ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 2.40 พันล้านบาท ส่วนสาขาธนาคารต่างชาติและนอนแบงก์เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน คือ 771 ล้านบาท และ 763 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนปริมาณบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 13.40 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 4.49 แสนใบ คิดเป็น 3.47% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่มีปริมาณบัตรลดลง 4.50 หมื่นใบ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.27 แสนใบ คิดเป็น 0.95% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทล้วนมียอดบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น
สายนโยบายสถาบันการเงิน แจ้งว่า ในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.16 แสนล้านบาท ลดลงระยะเดียวกันปีก่อน 1.44 หมื่นล้านบาท ลดลง 6.27% ผู้ประกอบการทุกประเภทลดลง นอนแบงก์มากที่สุด 7.36 พันล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 488 ล้านบาท ลดลง 0.23% โดยธนาคารพาณิชย์ลดลง 847 ล้านบาท นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 359 ล้านบาท ส่วนสาขาธนาคารต่างชาติยอดสินเชื่อไม่ขยับ
ขณะที่จำนวนบัญชีมีทั้งสิ้น 8.82 ล้านบัญชี ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน 2.60 ล้านบัญชี ลดลง 22.81% ซึ่งนอนแบงก์ลดลงมากที่สุด 2.34 แสนบัญชี เทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 5.23 หมื่นบัญชี ลดลง 0.59% มีเพียงนอนแบงก์เท่านั้นที่กลับมียอดเพิ่มขึ้น 1.92 พันบัญชี