ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเผยฐานะการคลังทั้งปีงบประมาณ 52 รัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนถึง 3.49 แสนล้านบาท หรือ 4.0% ของ GDP ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ฐานะการคลังของภาครัฐบาล ในปีงบประมาณ 2552 ภาครัฐบาลมีรายได้รวม 2.17 ล้านล้านบาท คิดเป็น 25.0% ของ GDP ต่ำกว่าปีที่แล้ว 1.29 แสนล้านบาท หรือ 5.6% โดยรายได้ทั้งในส่วนของรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง ขณะที่รายจ่ายภาครัฐบาลมีจำนวน 2.52 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 2.23 แสนล้านบาท หรือ 9.7% จากสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายรัฐบาลภายใต้นโยบายงบประมาณขาดดุล และทั้งหมดนี้ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลขาดดุลการคลังจำนวน 3.49 แสนล้านบาท
“ในปีงบประมาณที่ผ่านมา เป็นภาวะที่ภาคเอกชนชะลอการลงทุน แต่รัฐบาลได้ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ” นายสาธิตกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อัดฉีดเงินสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหรือขาดดุลการคลังทั้งสิ้น 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.0% ของ GDP โดยการใช้งบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทของนโยบายการคลังในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเป็นไปตามเป้าหมาย การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่
สำหรับฐานะการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค. ในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2552 รายได้ภาครัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 5.8 แสนล้านบาท คิดเป็น 6.7% ของ GDP และลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 3.9 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่ของรัฐบาลลดลงได้ส่งผลให้รายได้รัฐบาลและ อปท. ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนบัญชีเงินนอกงบประมาณ (กองทุนเงินนอกงบประมาณ และเงินฝากนอกงบประมาณ) มีรายได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.6 พันล้านบาท เนื่องจากเป็นผลกระทบของการที่รัฐบาลมีรายได้ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่งผลให้รายได้รัฐบาลโดยรวมลดลงทั้งหมด
ขณะที่รายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจริงมีจำนวน 6.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 8.4 หมื่นล้านบาทหรือ 14.2% เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นโดยมีจำนวน 5 แสนล้านบาท ขณะที่ อปท. คาดว่าจะมีรายจ่ายจำนวน 1 แสนล้านบาท และรายจ่ายจากบัญชีเงินนอกงบประมาณและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาลรวม 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากรายจ่ายเพื่อชดเชย ราคาน้ำมันของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศที่เบิกจ่ายจำนวน 2.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4 พันล้านบาท.
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ฐานะการคลังของภาครัฐบาล ในปีงบประมาณ 2552 ภาครัฐบาลมีรายได้รวม 2.17 ล้านล้านบาท คิดเป็น 25.0% ของ GDP ต่ำกว่าปีที่แล้ว 1.29 แสนล้านบาท หรือ 5.6% โดยรายได้ทั้งในส่วนของรัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง ขณะที่รายจ่ายภาครัฐบาลมีจำนวน 2.52 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 2.23 แสนล้านบาท หรือ 9.7% จากสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายรัฐบาลภายใต้นโยบายงบประมาณขาดดุล และทั้งหมดนี้ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลขาดดุลการคลังจำนวน 3.49 แสนล้านบาท
“ในปีงบประมาณที่ผ่านมา เป็นภาวะที่ภาคเอกชนชะลอการลงทุน แต่รัฐบาลได้ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ” นายสาธิตกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อัดฉีดเงินสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหรือขาดดุลการคลังทั้งสิ้น 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็น 4.0% ของ GDP โดยการใช้งบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทของนโยบายการคลังในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเป็นไปตามเป้าหมาย การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่
สำหรับฐานะการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค. ในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2552 รายได้ภาครัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 5.8 แสนล้านบาท คิดเป็น 6.7% ของ GDP และลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 3.9 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่ของรัฐบาลลดลงได้ส่งผลให้รายได้รัฐบาลและ อปท. ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนบัญชีเงินนอกงบประมาณ (กองทุนเงินนอกงบประมาณ และเงินฝากนอกงบประมาณ) มีรายได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.6 พันล้านบาท เนื่องจากเป็นผลกระทบของการที่รัฐบาลมีรายได้ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่งผลให้รายได้รัฐบาลโดยรวมลดลงทั้งหมด
ขณะที่รายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจริงมีจำนวน 6.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 8.4 หมื่นล้านบาทหรือ 14.2% เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นโดยมีจำนวน 5 แสนล้านบาท ขณะที่ อปท. คาดว่าจะมีรายจ่ายจำนวน 1 แสนล้านบาท และรายจ่ายจากบัญชีเงินนอกงบประมาณและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาลรวม 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากรายจ่ายเพื่อชดเชย ราคาน้ำมันของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศที่เบิกจ่ายจำนวน 2.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4 พันล้านบาท.